อยากทำธุรกิจให้ปัง เติบโตเร็ว แต่ถ้าขาดการวางแผน ขาดโมเดลธุรกิจ สิ่งที่ตั้งใจ และคาดการณ์เอาไว้ อาจจะไปไม่ถึงเป้าหมาย แต่ถ้าอยากประสบความสำเร็จได้สบายๆ ต้องมีเครื่องมือช่วยวางแผนธุรกิจ และวิเคราะห์ธุรกิจได้อย่างเป็นระบบ นั่นก็คือ การใช้ Business Model Canvas (BMC) ซึ่งเป็นเครื่องมือทางธุรกิจ ซึ่งเป็นที่เป็นที่นิยมใช้กันอยู่ทั่วโลก เราจะมาดูกันว่า เมื่อไหร่กันนะ ที่เราควรจะใช้ Business Model Canvas (BMC)

Business Model Canvas คืออะไร?

Business Model Canvas หรือ BMC เป็นแผนธุรกิจที่ง่าย และรวดเร็ว สำหรับคนที่เริ่มต้นทำธุรกิจ หรือคนที่มีธุรกิจอยู่แล้ว แต่ไม่รู้ว่า จะดำเนินธุรกิจไปในทิศทางไหนดี  Business Model Canvas จะช่วยให้คุณมีโครงสร้างของแผนธุรกิจโดยไม่มีค่าใช้จ่าย และสามารถแสดงภาพรวมธุรกิจของคุณได้อย่างลงตัว ตั้งแต่รู้จักธุรกิจตัวเอง อธิบายธุรกิจของตัวเองให้ชัดเจน กลุ่มลูกค้าเป็นใคร ช่องทางการตลาดจะสื่อสารทางไหน และอื่นๆ ซึ่งจะช่วยให้ธุรกิจบรรลุเป้าหมายมากขึ้น ด้วยกระดาษแผ่นเดียว แค่ใช้ Business Model Canvas

องค์ประกอบของ Business Model Canvas มีดังนี้

  1. Customer Segment กลุ่มบุคคลหรือบริษัท ซึ่งเป็นกลุ่มที่เรากำหนดให้เป็นเป้าหมาย เพื่อขายสินค้าหรือบริการ
  2. Customer Relationships  การรักษาความสัมพันธ์กับลูกค้า ต้องออกแบบวิธีการรักษาฐานลูกค้าไว้ 
  3. Channel ช่องทางในการส่งมอบคุณค่าถึงลูกค้า เป็นการเลือกว่าจะเชื่อมต่อกับลูกค้าผ่านช่องทางไหน เช่น Social Online
  4. Revenue Strem กระแสรายได้ ธุรกิจของเรา ทำรายได้อย่างไร แหล่งที่มาได้มาอย่างไร 
  5. Key Activities กิจกรรมหรืองานที่เราต้องทำ เพื่อให้ธุรกิจบรรลุตามเป้าหมายได้สำเร็จ แล้วเกิดการเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้า 
  6. Key Resources ทรัพยากรหลัก ที่จะแสดงรายการปัจจัยการผลิต เพื่อดำเนินกิจกรรมธุรกิจต่างๆ ได้อย่างราบรื่น 
  7. Key Partner คู่ค้าหลัก หรือกลุ่มพันธมิตรของธุรกิจเรา เป็นคนที่จะช่วยให้เราดำเนินกิจการไปได้ด้วยดี เพื่อลดความเสี่ยง และขยายอำนาจของธุรกิจ โดยมีพาร์ทเนอร์มาช่วยซัพพอร์ต 
  8. Cost Structure ต้นทุนที่เราต้องระบุ ประเมินต้นทุนตั้งแต่แรก จนถึงการส่งมอบงาน การดำเนินกิจกรรม การรักษาฐานลูกค้า 
  9. Value Preposition เขียนคุณค่าของสินค้า ที่ต้องแตกต่างจากคู่แข่ง มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ถ้าทำผลิตภัณฑ์ใหม่ 

การใช้ Business Model Canvas เป็นที่นิยมมาก ในผู้ประกอบการ โดยข้อดี ของการใช้ Business Model Canvas มี 3 สิ่ง คือ

  1. เขียนแผนธุรกิจใน 1 หน้า จากที่การวางแผนธุรกิจแบบเดิม อาจจะต้องเขียนตั้งแต่ 40-100 หน้า กว่าจะร่างเสร็จทุกหัวข้อ กินเวลาไปนาน แต่ถ้าใช้ Business Model Canvas จะช่วยทำทุกอย่างให้ชัดเจน และขับเคลื่อนธุรกิจได้ง่ายขึ้น ใน 1 หน้ากระดาษ
  2. ความยืดหยุ่น สามารถปรับจัดตำแหน่งโมเดลธุรกิจได้ง่ายขึ้น วางแผน และแก้ไขให้ลงตัวได้อย่างสบายใจ ไม่ต้องเปิดดูหลายหน้า อยากปรับแผนตรงไหน แก้ไขลงไปในช่องว่าง
  3. ความโปร่งใส ทำให้ทีมเข้าใจโมเดลธุรกิจของคุณได้ง่ายขึ้น และยอมรับเป้าหมายที่คุณวางไว้ในด้วยกระดาษแผ่นเดียว 

เริ่มต้นทำ Business Model Canvas อย่างไร

เริ่มจากการดาวน์โหลดแผนธุรกิจ Business Model Canvas ออกมา จะสั่งพิมพ์ หรือ ทำบนหน้าจอ ก็ได้ โดยการเขียนแผนลงไปตามช่องหัวข้อองค์ประกอบต่างๆ ของธุรกิจ และสามารถนำไปแชร์ให้กับทีมงานได้

เมื่อไหร่ที่เราควรใช้ Business Model Canvas

เมื่ออ่านมาจนถึงตอนนี้ ทุกคนคงพอเดาออกแล้วใช่ไหมว่า เราควรเริ่มใช้ BMC ตั้งแต่ก่อนเริ่มธุรกิจเลย เพราะทำให้เรามองเห็นภาพรวมของธุรกิจ ว่าจุดไหนที่เราจะไปต่อได้ หรือจุดไหนที่ติดขัด และทำให้ธุรกิจเติบโตไม่ได้ เพราะถ้าแผนจะพัง ก็ให้พังในกระดาษก่อน รวมถึงการใช้ Business Model Canvas ยังเหมาะสำหรับคนที่ทำธุรกิจแล้ว และต้องการชี้แจง อธิบายรายละเอียดของโมเดลธุรกิจให้กับทีมงาน ลูกค้า หรือพาร์ทเนอร์ฟัง เพื่อให้เข้าใจภาพรวมธุรกิจทั้งหมดร่วมกัน สามารถมองเห็นภาพชัดเจนขึ้นในหน้าเดียว

อีกช่วงเวลาหนึ่ง คือการจำลองธุรกิจขึ้นมา สำหรับผู้เริ่มต้น เพื่อที่จะนำมาวิเคราะห์ว่า ธุรกิจที่คุณกำลังจะทำ สมเหตุสมผล มีความเสี่ยงที่จะขาดทุน หรือมีความหวังที่จะประสบความสำเร็จได้มากน้อยแค่ไหน ซึ่งการร่าง Business Model Canvas ในแผ่นเดียว ทำให้ไม่เสียเวลาในการคิดแผนธุรกิจ หากลองเขียนลงไปแล้วไม่ใช่ ก็สามารถเปลี่ยนแผ่นใหม่ได้เลย ทำจนกว่าจะหาแผนธุรกิจที่ลงตัวที่สุด ก่อนนำไปกระจายงาน และลงมือทำจริงตามแผนที่วางไว้ใน Business Model Canvas 

มาดูคำอธิบายให้เข้าใจง่ายๆ เราสามารถใช้  Business Model Canvas  ตามสถานการณ์ 10 ข้อนี้ได้เลย

1. เริ่มต้นธุรกิจใหม่ Business Model Canvas ช่วยให้คุณคิดวิเคราะห์และวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจได้อย่างเป็นระบบ เหมาะสำหรับผู้ประกอบการที่ต้องการเริ่มต้นธุรกิจใหม่

2. ปรับปรุงธุรกิจเดิม Business Model Canvas ช่วยให้มองเห็นภาพรวมของธุรกิจ วิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค ช่วยให้ระบุปัญหาและหาแนวทางพัฒนาธุรกิจ

3. ทดสอบไอเดียธุรกิจ Business Model Canvas ช่วยให้ทดสอบไอเดียธุรกิจโดยไม่ต้องลงทุนจริง ช่วยให้ประเมินความเป็นไปได้ของธุรกิจและปรับปรุงไอเดียให้ดีขึ้น

4. สื่อสารกลยุทธ์ธุรกิจ Business Model Canvas ช่วยให้สื่อสารกลยุทธ์ธุรกิจกับทีมงาน นักลงทุน หรือพันธมิตร ช่วยให้ทุกคนเข้าใจทิศทางและเป้าหมายของธุรกิจ

5. ระดมความคิด Business Model Canvas ช่วยกระตุ้นการระดมความคิด ช่วยให้หาไอเดียใหม่ ๆ พัฒนาธุรกิจ

6. วางแผนกลยุทธ์ Business Model Canvas ช่วยวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจ วิเคราะห์คู่แข่ง หาช่องทางการตลาด พัฒนาสินค้า/บริการ

7. เข้าใจลูกค้า Business Model Canvas ช่วยให้เข้าใจลูกค้า วิเคราะห์ความต้องการ พฤติกรรม และความคาดหวัง

8. วิเคราะห์โมเดลธุรกิจ Business Model Canvas ช่วยวิเคราะห์โมเดลธุรกิจ หาจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค

9. ประเมินความเสี่ยง Business Model Canvas ช่วยประเมินความเสี่ยงของธุรกิจ หาวิธีป้องกันและจัดการความเสี่ยง

10. พัฒนาโมเดลรายได้ Business Model Canvas ช่วยพัฒนาโมเดลรายได้ หาช่องทางสร้างรายได้ใหม่ เพิ่มรายได้

การใช้ Business Model Canvas ถือได้ว่ามีประโยชน์ต่อการทำธุรกิจมากๆ ไม่ว่าจะธุรกิจใหม่ หรือ ธุรกิจเดิม ก็วางแผนได้โดยง่าย และประหยัดเวลาสุดๆ

หากใครไม่รู้ว่าจะใช้ Business Model Canvas มาลงคอร์ส นี้ BUSINESS MODEL CANVAS ออกแบบแผนธุรกิจ ด้วยการเขียน Business Model “ถ้าธุรกิจจะเจ๊ง ก็ให้เจ๊งแค่ในกระดาษ” สอนการใช้ BUSINESS MODEL CANVAS เปิดมุมมองการวิเคราะห์ธุรกิจ และตัวอย่างจาก Case Study ทั่วโลก พบกันที่ eddu เลย

หลายคนพยายามทำธุรกิจให้สำเร็จ แต่ก็ล้มไม่เป็นท่า นั่นเป็นเพราะอะไร? การวางแผนทำธุรกิจ ต้องอาศัยความรอบคอบ และแนวคิดรอบด้าน รวมถึงการวางกลยุทธ์เพื่อให้เกิดยอดขาย ตั้งแต่เริ่มต้นทำ แน่นอนว่า หลายธุรกิจ ยังไม่มีทิศทางที่ชัดเจนให้กับตัวเอง ว่าจะดำเนินธุรกิจอย่างไร ให้ขายได้ปังๆ ดังนั้น ทางเลือกในยุคใหม่ คนทำธุรกิจ ต้องหันมาสนใจในการวางแผนโดยใช้เครื่องมือที่เรียกว่า Business Model Canvas ซึ่งมีความสำคัญมาก ต่อการทำธุรกิจ เพียงแค่ลงรายละเอียดในกระดาษแผ่นเดียว ก็สามารถวางแผนธุรกิจในระยะยาวได้แล้ว

เราจะมาทำความเข้าใจ และดูกันว่า Business Model Canvas มีความสำคัญต่อธุรกิจอย่างไร ทำไมต้องใช้เครื่องมือนี้

Business Model Canvas คืออะไร

Business Model Canvas หรือ BMC เป็นเครื่องมือการจัดการเชิงกลยุทธ์ เพื่อกำหนดและสื่อสารแนวคิดทางธุรกิจได้อย่างรวดเร็วและง่ายขึ้น ผ่านรูปแบบ Business Model Canvas เพียงแผ่นเดียว ที่มีองค์ประกอบพื้นฐานของธุรกิจหรือผลิตภัณฑ์ โดยจัดโครงสร้างให้สอดคล้องกัน วางแผนตั้งแต่เริ่มต้น ว่าธุรกิจทำอะไร อธิบายภาพธุรกิจให้ชัดเจน กลุ่มลูกค้าเป็นใคร ช่องทางการตลาดเป็นอย่างไร ทำยังไงให้เกิดมูลค่าทางธุรกิจ ซึ่งคนทำธุรกิจ จะต้องเข้าใจจุดนี้ และวิธีการทำ Business Model Canvas ก็ไม่ได้ยากเลย เพียงแต่ต้องวิเคราะห์ธุรกิจของตัวเองให้ได้ ว่าจะสามารถเติบโตได้มากน้อยแค่ไหน

ทำไมธุรกิจต้องใช้ Business Model Canvas

แทนที่จะพยายามเขียนแผนธุรกิจออกมาเป็นร้อย ๆ หน้า เราสามารถร่างแผนธุรกิจออกมาได้อย่างรวดเร็วมากขึ้น เมื่อใช้ Business Model Canvas ช่วยให้เราเข้าใจธุรกิจของตัวเอง ผ่านกระบวนการเชื่อมโยงโดยแนวคิด ไอเดีย และทำให้เกิดเป็นธุรกิจที่มีเป้าหมาย มองกลุ่มเป้าหมายที่วางไว้เป็นหลัก เพื่อจะพิจารณาได้ว่า ลูกค้าประเภทใด มีอิทธิพลต่อการซื้อสินค้าหรือบริการของเรา การทำ Business Model Canvas ยังช่วยให้ทุกคนมีความคิดที่ชัดเจน ว่าจะวางธุรกิจของตัวเองเป็นแบบไหนด้วย

แนวคิดเกี่ยวกับธุรกิจหรือผลิตภัณฑ์ของคุณก่อนลงมือทำ Business Model Canvas

เขียนอะไรบ้าง ใน Business Model Canvas 

ในการวางแผนธุรกิจผ่านเครื่องมือ Business Model Canvas จะมีหัวข้อที่ให้เราเขียนรายละเอียดลงไป เกี่ยวกับธุรกิจหรือบริการของเรา โดยมีส่วนประกอบหลัก ทั้งหมด 9 ข้อ ดังนี้

  1. Customer Segments เป็นกลุ่มลูกค้า ที่เราจะต้องแบ่งฐานออกมาใน Business Model Canvas ว่าลักษณะลูกค้าของเราเป็นใคร เช่น อายุ เพศ ความสนใจ และพฤติกรรมการใช้จ่าย สิ่งที่ต้องพิจารณาเลยคือ เรากำลังทำสินค้าหรือบริการให้ใคร และใครคือคนที่เราต้องให้ความสำคัญ ที่จะสร้างมูลค่า และให้คุณค่ากับสินค้าหรือบริการของเราได้ ซึ่งจะทำให้เราสามารถสร้างสินค้าให้กับกลุ่มลูกค้าของเราได้อย่างตรงกลุ่มเป้าหมาย
  2. Customer Relationships เป็นการสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า ใน Business Model Canvas โดยหาวิธีที่จะสื่อสารกับลูกค้า เพื่อให้ลูกค้าเกิดความรัก และสนใจในสินค้าอย่างต่อเนื่อง สร้างความสัมพันธ์ผ่านทุกช่องทาง รักษาฐานลูกค้าไว้ ไม่ว่าจะเป็นทางโทรศัพท์ ออนไลน์ หรือพบปะตัวต่อตัว
  3. Channel เป็นช่องทางการตลาด ใน Business Model Canvas ที่อยากจะสื่อสารการรับรู้สินค้าและบริการผ่านไปยังลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย และเป็นช่องทางที่ลูกค้า สามารถติดต่อกับธุรกิจของเราได้  ไม่ว่าจะเป็นผ่านเว็บไซต์ โซเชียลมีเดีย Facebook IG Tiktok และอื่นๆ ใช้เครื่องมือทางการตลาดเหล่านี้ สร้าง Community ให้เกิดการประชาสัมพันธ์สินค้าผ่านทุกแพลตฟอร์ม ที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย โดยการวิเคราะห์ได้ว่า กลุ่มลูกค้าของเรา อยู่บนแพลตฟอร์มใดด้วย
  4. กิจกรรมหลัก Key Activities เป็นกิจกรรมหลักของธุรกิจ ใน Business Model Canvas ต้องเขียนลงไปว่าเราจะสร้างกิจกรรมหรือแคมเปญอะไร ให้สินค้าหรือบริการ บรรลุเป้าหมาย สร้างคุณค่าของแบรนด์ให้ลูกค้าเกิดความสนใจ ในทางเดียวกัน ธุรกิจจะต้องมีพนักงานคอยให้บริการในส่วนต่างๆ กิจกรรมอะไรที่จะเกิดขึ้นกับพนักงาน เพื่อให้พนักงานมีความเข้าใจในสินค้าหรือบริการด้วย เช่น การกระจายสินค้าทำอย่างไร การฝึกอบรมพนักงานต้องฝึกอะไรบ้าง การจัดโปรโมชั่นประจำเดือน เพื่อดึงดูดลูกค้ามีอะไรบ้าง
  1. Key Resources เป็นการจัดเตรียมทรัพยากรที่สำคัญต่อการดำเนินธุรกิจ ใน Business Model Canvas หากต้องการเป็นเจ้าของแบรนด์สินค้า ต้องมีอะไรบ้าง เช่น มีพื้นที่ออฟฟิศ มีโกดังสินค้า มีระบบขาย POS มีพนักงานบริการ มีคอมพิวเตอร์ มีโต๊ะทำงาน มีรถขนส่งสินค้า เป็นต้น ซึ่งคีย์เหล่านี้ คนทำธุรกิจจะต้องวางแผนลิสต์ออกมาให้ได้ว่า ธุรกิจของเราต้องการทรัพยากรอะไรบ้าง เพื่อประเมินค่าใช้จ่ายในการลงทุน
  1. Key Partners เป็นพันธมิตรหรือคู่ค้าหลักสำคัญ ที่ต้องมี ใน Business Model Canvas เพื่อร่วมกันสร้างสินค้า หรือกิจกรรมที่ตอบโจทย์ ส่งมอบให้กับลูกค้า ซึ่งบางธุรกิจหากทำคนเดียว อาจจะไม่ประสบความสำเร็จ ต้องพึ่งพาพาร์ทเนอร์ในการช่วยให้สินค้าหรือบริการสมบูรณ์ขึ้น เช่น ต้องการเปิดธุรกิจรับจ้างทำความสะอาด เราอาจจะซื้อเครื่องทำความสะอาดมาเองหลายๆ รุ่น ตามที่อยากได้ แต่อาจไม่ตอบโจทย์การใช้งานจริง ก็ควรเลือกพาร์ทเนอร์ที่ผลิตสินค้าในการทำความสะอาดโดยเฉพาะ และเสนอแผนธุรกิจร่วมกัน เพื่อให้เกิดผลประโยชน์ทั้ง 2 ฝ่าย
  2. Cost Structures เป็นโครงสร้างต้นทุนธุรกิจ ใน Business Model Canvas ที่เราควรกำหนดให้เป็นต้นทุนทางการเงิน ในการดำเนินธุรกิจ เช่น ต้นทุนการทำธุรกิจมีเท่าไหร่ ค่าใช้จ่ายในการสร้างสินค้า หรือซื้อทรัพยากรต่างๆ เท่าๆ ไหร่ ค่าใช้จ่ายทางด้านกฎหมาย ค่าใช้จ่ายในการจ้างคน ค่าความเสี่ยง ที่ต้องเตรียมเงินสำรองธุรกิจไว้ กำไรเป็นอย่างไร ก็ต้องคิดวางแผนไว้เช่นกัน
  1. Revenue Strem คือ กระแสรายได้ ใน Business Model Canvas ธุรกิจของเรา ทำรายได้อย่างไร แหล่งที่มาได้มาอย่างไร จากการขายสินค้า หรือบริการ เราต้องมีรายละเอียดชัดเจนลงใน  Business Model Canvas ว่าสินค้าของเรามีคุณค่า จนลูกค้ายอมจ่ายด้วยอะไร กระแสรายได้ มี 2 รูปแบบ ได้แก่ Transactional Revenue เป็นการชำระครั้งเดียว  ซื้อครั้งเดียว แล้วรอกลับมาซื้อซ้ำใหม่อีกครั้ง ส่วนอีกแบบ คือ Recurring Revenue เป็นการชำระแบบต่อเนื่อง เช่น การจ่ายตัดผ่านบัตรเครดิตทุกเดือน ทำให้เรามีรายได้เป็นประจำ 
  2. Value Preposition คือ เขียนคุณค่าของสินค้า ใน Business Model Canvas ที่ต้องแตกต่างจากคู่แข่ง มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ถ้าทำผลิตภัณฑ์ใหม่ ก็ต้องเป็นนวัตกรรมที่แตกต่างจากเดิม แต่หากทำสินค้าที่มีในตลาดแล้ว ก็ต้องโดดเด่น เราต้องให้ความสำคัญของประสบการณ์ผู้ใช้ ที่จะได้รับคุณค่าจากสินค้าและบริการของเรา 

แน่นอนว่า สิ่งเหล่านี้ หากคนทำธุรกิจเข้าใจ และเห็นความสำคัญตรงกัน ในการทำ Business Model Canvas ซึ่งมีส่วนสำคัญต่อการทำธุรกิจโดยตรง ก็จะช่วยให้ธุรกิจประสบความสำเร็จได้อย่างรวดเร็วมากขึ้น เพราะมีแนวทางที่จะดำเนินธุรกิจว่าต้องเริ่มต้นตรงไหน จบที่ตรงไหน แค่ใช้ Business Model Canvas

หากใครไม่รู้ว่าจะใช้ Business Model Canvas มาลงคอร์ส นี้ BUSINESS MODEL CANVAS ออกแบบแผนธุรกิจ ด้วยการเขียน Business Model “ถ้าธุรกิจจะเจ๊ง ก็ให้เจ๊งแค่ในกระดาษ” สอนการใช้ BUSINESS MODEL CANVAS เปิดมุมมองการวิเคราะห์ธุรกิจ และตัวอย่างจาก Case Study ทั่วโลก พบกันที่ eddu เลย

เชื่อว่า คนที่กำลังเริ่มต้นทำธุรกิจมาสักพักแล้ว จะมองธุรกิจของตัวเองออก ว่ากำลังไปในทิศทางที่ดี เตรียมรับความสำเร็จ หรือ อาจจะต้องหยุดธุรกิจนั้นลง เพราะผลตอบรับไม่ค่อยดีนัก สิ่งเหล่านี้ มักเป็นเรื่องที่กังวลใจของธุรกิจหลายคน ที่ลงทุนไปแล้ว อยากได้ผลตอบแทนที่คุ้มค่า แต่ถ้ามองกลับมาดีๆ การที่ธุรกิจจะประสบความสำเร็จหรือไม่นั้น ย่อมเริ่มมาจากการวางแผนธุรกิจที่ดี วางกลยุทธ์ทางการตลาดทุกช่องทางอย่างรอบคอบ และเป็นระบบ ถึงจะสามารถย้อนกลับมาดู แก้ไข ปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ต่างๆ ให้สอดคคล้องกับธุรกิจได้

ดังนั้น ทุกการทำธุรกิจ จึงควรมีเครื่องมือช่วยวางแผน เพื่อให้การดำเนินธุรกิจเป็นไปอย่างราบรื่น เราเรียกเครื่องมือนี้ว่า Business Model Canvas หรือ BMC ซึ่งจะช่วยลดความยุ่งยากในการวางแผนธุรกิจ ทำให้เรารู้ว่า ธุรกิจของเราคืออะไร สามารถอธิบายธุรกิจของตัวเองได้ หาจุดเด่นของธุรกิจให้เจอ และทำให้เราวางกลยุทธ์ได้ว่าคนจะรู้จักสินค้าเราได้อย่างไร คุยกับพาร์ทเนอร์ยังไงให้น่าเชื่อถือ ทุกแผนธุรกิจอยู่ได้ในกระดาษแผ่นเดียว ไม่ต้องเสียเวลาเขียนแผนเป็นร้อย ๆ หน้า ถ้าใครได้รู้จักการทำ Business Model Canvas มั่นใจได้เลยว่า ธุรกิจเดิมจะถูกยกระดับให้ประสบความสำเร็จมากขึ้นแน่นอน

Business Model Canvas  คืออะไร

ก่อนอื่นเรามาทำความเข้าใจกันก่อน ว่าเครื่องมือ Business Model Canvas (BMC) คืออะไร ถ้าให้นิยามความหมายง่ายๆ Business Model Canvas คือ ภาพรวมของธุรกิจทั้งหมด ที่เราจะทำ หรือกำลังทำ ซึ่งใน Business Model Canvas มีส่วนประกอบสำคัญต่างๆ ที่แสดงให้รู้ว่า ธุรกิจของเราคืออะไร ทำให้เกิดรายได้อย่างไร และมีคุณค่าต่อผู้ใช้ยังไง ทำอย่างไรให้ลูกค้ากลับมาซื้อหรือใช้บริการซ้ำ สิ่งที่เรากำลังขาย เป็นสิ่งที่ลูกค้าต้องการจริงๆ รึเปล่า กลุ่มลูกค้าของเราคือใครกันแน่ ซึ่งส่วนประกอบเหล่านี้ เราทำได้ผ่าน Business Model Canvas แบ่งได้ทั้งหมด 9 ส่วนประกอบ เรามาดูกันว่า มีอะไรบ้าง

  1. Customer Segment คือ กลุ่มแรกที่ต้องเขียนลงไปใน  Business Model Canvas คือ กลุ่มบุคคลหรือบริษัท ซึ่งเป็นกลุ่มที่เรากำหนดให้เป็นเป้าหมาย เพื่อขายสินค้าหรือบริการให้  เป็นการหาว่า ลูกค้าของเราเป็นใคร แยกได้ตาม พื้นที่ เพศ อายุ พฤติกรรม ความสนใจ ฯลฯ เพื่อนำมาวิเคราะห์ให้เกิดสินค้าที่มีคุณค่า เป็นที่ต้องการ เพื่อค้นหากลุ่มเป้าหมายที่ใช่ที่สุด
  2. Customer Relationships  คือ การรักษาความสัมพันธ์กับลูกค้า ส่วนสำคัญที่ขาดไม่ได้ในการเขียน Business Model Canvas เราต้องออกแบบวิธีการรักษาฐานลูกค้าไว้ จากแผน Customer Journey Map เพื่อดูว่า ลูกค้าเกิดปัญหาอะไร เปรียบเทียบกับคู่แข่ง แล้วเกิดการตัดสินใจซื้อ รวมถึงทำอย่างไรให้ลูกค้ากลับมาซื้อซ้ำให้ได้ ทำความเข้าใจกับขึ้นต้องที่ลูกค้าต้องเผชิญ เพื่อแก้ปัญหาและขยายฐานลูกค้าให้ตรงจุด การเขียน CRM ถือว่า เป็นความยั่งยืนทางธุรกิจเลยก็ว่าได้ เพราะใช้ต้นทุนในการทำการตลาดน้อย และอาจเป็นหนึ่งในปัจจัยที่ทำให้แบรนด์สินค้าเกิด Royal Customer ได้ด้วย
  3. Channel คือ ช่องทางในการส่งมอบคุณค่าถึงลูกค้า ใน Business Model Canvas  ข้อนี้ จะทำให้เราสามารถสื่อสารและเข้าถึงลูกค้าของเราได้ เป็นการเลือกว่าจะเชื่อมต่อกับลูกค้าผ่านช่องทางไหน เช่น เปิดคาเฟ่ เราจะเพิ่มการรับรู้ให้ลูกค้าผ่านช่องทางไหนได้อีก ขยายเพิ่มไปทาง Facebook, Instragram หรือ สร้าง Tiktok ทำคอนเท้นต์เมนูกาแฟสวยๆ หรือบรรยากาศในร้าน ให้คนสนใจอยากมาใช้บริการ 
  4. Revenue Strem คือ กระแสรายได้ ธุรกิจของเรา ทำรายได้อย่างไร แหล่งที่มาได้มาอย่างไร จากการขายสินค้า หรือบริการ เราต้องมีรายละเอียดชัดเจนลงใน  Business Model Canvas ว่าสินค้าของเรามีคุณค่า จนลูกค้ายอมจ่ายด้วยอะไร กระแสรายได้ มี 2 รูปแบบ ได้แก่ Transactional Revenue เป็นการชำระครั้งเดียว  ซื้อครั้งเดียว แล้วรอกลับมาซื้อซ้ำใหม่อีกครั้ง ส่วนอีกแบบ คือ Recurring Revenue เป็นการชำระแบบต่อเนื่อง เช่น การจ่ายตัดผ่านบัตรเครดิตทุกเดือน ทำให้เรามีรายได้เป็นประจำ 
  5. Key Activities คือ กิจกรรมหรืองานที่เราต้องทำ เพื่อให้ธุรกิจบรรลุตามเป้าหมายได้สำเร็จ แล้วเกิดการเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้า ใน Business Model Canvas  เราจะต้องเขียนทุกกิจกรรมหลักที่เราต้องทำ ระหว่างทางสามารถปรับเปลี่ยนกิจกรรมได้ เพื่อให้สอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมาย สินค้า และบริการของเราด้วย โดยประเภทของ Key Activities ได้แก่ Production การออกแบบผลิตภัณฑ์ บริการ การผลิต การส่งมอบงาน Problem Solving มีวิธีบริหารจัดการยังไง หลังขายสินค้าไปแล้ว จะแก้ไขปัญหาลูกค้าได้อย่างไร Platform/ Network มีหน้าที่ดูแลความเรียบร้อยของระบบ ไม่ว่าจะเป็นเว็บไซต์ แอพพลิเคชั่น ฯลฯ ที่จะต้องตอบโจทย์การรับรู้ของลูกค้าด้วย
  6. Key Resources คือ ทรัพยากรหลัก ที่จะแสดงรายการปัจจัยการผลิต ใน Business Model Canvas เพื่อดำเนินกิจกรรมธุรกิจต่างๆ ได้อย่างราบรื่น วิเคราะห์ได้ว่าทรัพยากรที่มี จะสามารถสร้างคุณค่าให้กับสินค้าได้ การมี Key Resources จะต้องมีเรื่องของ Human (คน) Financial (เงิน) Intellectual (การจดสิทธิบัตร)  Physical (สถานที่ อุปกรณ์ เครื่องมือ) เข้ามาเกี่ยวข้อง เพื่อให้เราสามารถจัดการธุรกิจได้อย่างลงตัว 
  7. Key Partner คือ คู่ค้าหลัก หรือกลุ่มพันธมิตรของธุรกิจเรา ใน Business Model Canvas ส่วนนี้เป็นคนที่จะช่วยให้เราดำเนินกิจการไปได้ด้วยดี เพื่อลดความเสี่ยง และขยายอำนาจของธุรกิจ โดยมีพาร์ทเนอร์มาช่วยซัพพอร์ต ไม่ต้องใช้ทรัพยากรของตัวเองทั้งหมด เช่น ทำธุรกิจแอพพลิเคชั่นคอนเท้นต์หนัง ซีรีส์ ก็ต้องมีพาร์ทเนอร์ธุรกิจ เป็นบริษัทหนัง ซีรีส์ต่างประเทศ มาร่วมทำด้วย 
  8. Cost Structure คือ ต้นทุนที่เราต้องระบุ วางแผนโดย Business Model Canvas ประเมินต้นทุนตั้งแต่แรก จนถึงการส่งมอบงาน การดำเนินกิจกรรม การรักษาฐานลูกค้า ธุรกิจสามารถแบ่งความสัมพันธ์ของต้นทุน ได้ 2 แบบ คือ Cost-driven business เน้นกลยุทธ์ของต้นทุน เช่น ธุรกิจต้นทุนต่ำ และ Value- driven business เน้นคุณค่าของสินค้า บริการ เช่น ให้ความสะดวกสบายของลูกค้าเป็นหลัก
  9. Value Preposition คือ เขียนคุณค่าของสินค้า ใน Business Model Canvas ที่ต้องแตกต่างจากคู่แข่ง มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ถ้าทำผลิตภัณฑ์ใหม่ ก็ต้องเป็นนวัตกรรมที่แตกต่างจากเดิม แต่หากทำสินค้าที่มีในตลาดแล้ว ก็ต้องโดดเด่น เราต้องให้ความสำคัญของประสบการณ์ผู้ใช้ ที่จะได้รับคุณค่าจากสินค้าและบริการของเรา 

ทั้ง 9 ข้อนี้ เป็นส่วนประกอบสำคัญ ใน Business Model Canvas ที่คนทำธุรกิจ จะต้องเขียนลงไป เพื่อใช้เป็นแนวทาง ปรับธุรกิจเดิม ให้ประสบความสำเร็จมากขึ้น โดยการประยุกต์ใช้ Business Model Canvas เป็นหลัก

ยกตัวอย่าง Case Study  หากเขียนลงใน Business Model Canvas : Apple แบรนด์สมาร์ทโฟนระดับโลก ขายแพง แต่ยอดทะลุเป้าทุกปี 

  1. Customer Segment: กลุ่ม High-end มีกำลังซื้อสูง/ กลุ่มที่ใช้ Apple อยู่แล้วเปลี่ยนทุกปี
  2. Key Activities: ใส่ใจและควบคุมรายละเอียดของ Operation ทุกด้าน มีระบบเฉพาะไม่เหมือนใคร
  3. Cost Structure: ลดต้นทุนจากการทำกล่อง รุ่นหลังไม่ใส่ที่ชาร์จแถม ทำให้กล่องเล็กลง ส่งของไปขายได้มากขึ้น ด้วยต้นทุนเท่าเดิม แต่ขายดี ได้กำไร รวมถึง Apple ไม่ได้ผลิตเอง หาพาร์ทเนอร์ผลิต แต่ Apple ควบคุมคุณภาพ คุมต้นทุนได้ดี, ทำ Marketing & Branding เป็นที่จดจำ
  4. Value Preposition: สมาร์ทโฟนระดับสูง เทคโนโลยีขั้นสูง การใช้งานเสถียรด้วยระบบปฏิบัติการ IOS ที่อัพเดทได้เรื่อยๆ และยังใส่ใจด้วยระบบ Eco System 
  5. Channel: Apple Store
  6. Revenue Strem: ยอดดาวน์โหลดแอพจาก App Store, มี App Developers สำหรับให้นักพัฒนามาเขียนแอพได้เลย แล้วแบ่งเปอร์เซ็นต์กัน
  7. Key Resources: IOS Platform ของตัวเอง, แบรนด์ที่แข็งแกร่ง, ควบคุม Cost เองได้
  8. Key Partner: มีโรงงานผลิตที่เป็นพาร์ทเนอร์ ไม่ต้องผลิตเอง
  9. Customer Relationships: ด้วยความเป็นแบรนด์ระดับสูง ราคาสูงแต่เทคโนโลยีดีมาก การดีไซน์ที่เป็นเอกลักษณ์ ใช้แล้วคุ้มค่า ลูกค้ามองเห็นคุณค่าของแบรนด์ รักในตัวแบรนด์ และใช้รุ่นต่อๆ ไปของ Apple 

จากตัวอย่าง จะเห็นได้ว่า Apple ได้คิด Business Model ที่ครอบคลุมทั้งหน้าบ้าน หลังบ้านได้ครบ และชัดเจน แม้จะออกมากี่รุ่น ก็ยังติดตลาดโลก มีคนนิยมซื้อใช้ ไม่ว่าจะแพงแค่ไหน 

สรุปแล้ว ธุรกิจเดิม อยากประสบความสำเร็จมากขึ้น แต่ยังไม่เคยทำ Business Model Canvas ควรได้ลองทำดู ไม่ยากเลย ทำทุกแผนธุรกิจให้อยู่ใน Business Model Canvas แผ่นเดียว ประยุกต์ใช้ให้เป็น ธุรกิจเติบโตขึ้นอย่างเห็นได้ชัดแน่นอน

หากใครไม่รู้ว่าจะใช้ Business Model Canvas มาลงคอร์ส นี้ BUSINESS MODEL CANVAS ออกแบบแผนธุรกิจ ด้วยการเขียน Business Model “ถ้าธุรกิจจะเจ๊ง ก็ให้เจ๊งแค่ในกระดาษ” สอนการใช้ BUSINESS MODEL CANVAS เปิดมุมมองการวิเคราะห์ธุรกิจ และตัวอย่างจาก Case Study ทั่วโลก พบกันที่ eddu เลย

การทำธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจเล็ก หรือใหญ่ ต้องเริ่มต้นด้วยการมีเงินทุน หากมีเงินทุนไม่มาก ก็ต้องคำนวณให้เป็นธุรกิจเล็ก และได้กำไรสมเหตุสมผลกับเงินทุน แต่หากธุรกิจใหญ่มาก ก็ต้องมีเงินทุนมหาศาล รวมไปถึงบางธุรกิจ อาจจะต้องมองหาแหล่งเงินทุน จากนายทุน หรือ ผู้ร่วมลงทุน ซึ่งในบทความนี้ เราจะมีทำความเข้าใจ เกี่ยวกับการหาแหล่งเงินทุน ว่าหาได้จากที่ไหน และจะช่วยอะไรกับบริษัทคุณได้บ้าง การมีเงินทุนจะทำให้มีกำไรเพิ่มขึ้นจริงหรือไม่ เรามาดูกัน

การทำธุรกิจ ทำไมต้องหาแหล่งเงินทุน

เงินทุน เปรียบเสมือน "เลือด" ที่หล่อเลี้ยงให้ธุรกิจดำเนินต่อไป และยังเหมือน "เชื้อเพลิง" ที่คอยขับเคลื่อนให้ธุรกิจเติบโตไปข้างหน้าได้ โดยเหตุผล ที่ธุรกิจจะต้องหาแหล่งเงินทุน มีดังนี้

1. แหล่งเงินทุน เพื่อเริ่มต้นธุรกิจ

แน่นอนว่า ผู้เริ่มต้นธุรกิจใหม่ จำเป็นต้องมีเงินทุน 2 ส่วน นั่นก็คือ เงินทุนสำหรับลงทุนในสินทรัพย์ถาวร เช่น อุปกรณ์ เครื่องจักร พื้นที่  และ เงินทุนสำหรับค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน เช่น เงินเดือน วัตถุดิบ ค่าเช่า หากต้องเป็นการลงทุนในธุรกิจขนาดใหญ่ ยิ่งจำเป็นหาแหล่งเงินทุนสนับสนุน ให้สามารถใช้จ่ายหมุนเวียนสำหรับทรัพย์สินเบื้องต้นได้

2. แหล่งเงินทุน เพื่อขยายธุรกิจ

สำหรับผู้ที่ทำธุรกิจมาหลายปีแล้ว รู้สึกว่า ธุรกิจกำลังเติบโตไปได้ดีมากๆ ก็ต้องเริ่มมองหาแหล่งเงินทุน ที่จะช่วยสนับสนุน เพื่อขยายธุรกิจไปยังสาขาอื่นๆ มีเงินทุนสำหรับลงทุนในสินทรัพย์ถาวรเพิ่มเติม เช่น ขยายโรงงาน ซื้ออุปกรณ์ใหม่ และเงินทุนสำหรับเพิ่มทุนหมุนเวียน รองรับการขยายตัวของธุรกิจในอนาคต

3. แหล่งเงินทุน เพื่อรักษาสภาพคล่องทางการเงิน

ทุกธุรกิจ จำเป็นต้องมีเงินทุนส่วนนี้ไว้ เป็นเงินทุนสำรองสำหรับรองรับเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด เช่น ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ และมีเงินทุนสำหรับชำระหนี้สิน ให้ตรงตามกำหนด ป้องกันหนี้เสีย

แหล่งเงินทุน หาได้จากที่ไหน

แหล่งเงินทุน มีหลายประเภท ขึ้นอยู่กับความต้องการของธุรกิจ สามารถหาได้ ผ่านช่องทางต่างๆ ดังนี้

  1. เงินทุนส่วนตัว  เหมาะกับนักธุรกิจ ที่มีเงินทุนมหาศาลอยู่ในมือ พร้อมลงทุน โดยไม่ต้องพึ่งพาแหล่งเงินอื่น เช่น เงินออม เงินทุนสำรอง เงินจากญาติ เพื่อน แต่ก็ต้องทำกำไร รายได้มหาศาลเช่นกัน เพื่อนำมาคืนในส่วนนี้
  2.  เงินทุนจากสถาบันการเงิน เหมาะกับนักธุรกิจ ที่ต้องใช้เปิดธุรกิจใหม่ และไม่มีแหล่งเงินทุนส่วนตัวเพียงพอ อาจจะต้องทำการกู้ผ่านสินเชื่อ เงินกู้ยืม หรือ บัตรเครดิต
  3. เงินทุนจากนักลงทุน เหมาะกับธุรกิจขนาดใหญ่ และต้องการขยายธุรกิจให้เติบโตมากขึ้น ด้วยการ การระดมทุนผ่านตลาดหลักทรัพย์ การหา Angel Investor หรือ Venture Capitalist
  4. เงินทุนสนับสนุนจากภาครัฐ เหมาะกับธุรกิจ ที่ต้องอาศัยการเอื้ออำนวยจากภาครัฐ หรือส่วนที่เกี่ยวข้องกับรัฐ เช่น ธุรกิจท้องถิ่นที่ลงทุนเพื่อนำเสนอ Soft Power ต้องการ เงินช่วยเหลือ สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ หรือ เงินทุนสนับสนุนการวิจัยและพัฒนา

การหาแหล่งเงินทุนที่เหมาะสม มีความสำคัญต่อธุรกิจ อย่างมาก เพราะจะช่วยให้ธุรกิจมี "เงินทุน" เพียงพอสำหรับการดำเนินงาน ช่วยให้ธุรกิจ "เติบโต" ได้อย่างรวดเร็ว และ ช่วยให้ธุรกิจ "ยั่งยืน" ในระยะยาว ดังนั้น ธุรกิจควรศึกษา หาข้อมูล เปรียบเทียบ เลือกแหล่งเงินทุนที่เหมาะสมกับธุรกิจมากที่สุด การจัดการเงินทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ยังช่วยให้ธุรกิจบรรลุเป้าหมาย ประสบความสำเร็จได้อย่างรวดเร็วด้วย

ความแตกต่างของนายทุนระหว่าง นักลงทุน (Angel Investor) นักธุรกิจร่วมลงทุน (Venture Capital) และธนาคารเพื่อธุรกิจ 

ก่อนจะหาแหล่งเงินทุน จากนายทุนแหล่งต่างๆ เราจะต้องเข้าใจความแตกต่าง ง่ายๆ กันก่อน ว่านายทุนแต่ละแบบ มีความแตกต่างกันอย่างไร โดยความหมายของการเป็นนายทุน คือ เป็นบุคคลที่มีเงินทุน มักลงทุนในธุรกิจที่ตัวเองรู้จัก เข้าใจ ลงทุนเพื่อผลตอบแทนระยะยาว เน้นความมั่นคง และมักไม่เข้ามายุ่งเกี่ยวกับการบริหาร แต่จะเน้นมองผลลัพธ์ที่จะมีกำไรมหาศาล และคืนกลับมายังนายทุนได้

  1. นักลงทุน (Angel Investor)

เหมาะกับธุรกิจ Startup ระยะเริ่มต้น ธุรกิจที่มีศักยภาพการเติบโตสูง ธุรกิจที่ต้องการคำปรึกษา การสนับสนุน เช่น ธุรกิจเทคโนโลยี ธุรกิจนวัตกรรม ธุรกิจอีคอมเมิร์ซ เป็นต้น

ข้อดี

ข้อเสีย

ตัวอย่าง: นักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ บุคคลที่มีชื่อเสียง

  1. นักธุรกิจร่วมลงทุน (Venture Capital)

เหมาะกับธุรกิจ Startup ระยะเริ่มต้นถึงเติบโต ธุรกิจที่มีศักยภาพการเติบโตสูง และธุรกิจที่ต้องการเงินทุนจำนวนมาก เช่น ธุรกิจ FinTech ธุรกิจ Health tech ธุรกิจ EdTech เป็นต้น

ข้อดี

ข้อเสีย

ตัวอย่าง: บริษัทลงทุน Startup กองทุนร่วมลงทุน

  1. ธนาคารเพื่อธุรกิจ

เหมาะกับธุรกิจทุกขนาด ธุรกิจที่ต้องการเงินทุนจำนวนมาก และ ธุรกิจที่มีความมั่นคง เช่น ธุรกิจผลิต ธุรกิจค้าส่ง ธุรกิจบริการ เป็นต้น

ข้อดี

ข้อเสีย

ตัวอย่าง: ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารเฉพาะกิจ

ถือได้ว่า แหล่งเงินทุนเหล่านี้ ถ้าธุรกิจไหน เข้าถึงแล้วได้รับมา ก็จะช่วยส่งเสริมธุรกิจให้เติบโตขึ้นได้อย่างรวดเร็ว แต่ถึงอย่างไร การหาแหล่งเงินทุนให้เหมาะสมก็ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น ประเภทธุรกิจ ระยะการเติบโต เงินทุนที่ต้องการ เงื่อนไขการลงทุน และบทบาทของผู้ลงทุนด้วยเช่นกัน

เมื่อตัดสินใจที่จะเริ่มธุรกิจแล้ว อย่าลืมว่าบริษัทต้องมีการเติบโต อย่าลืมวางแผนการเติบโตผ่านการลงทุน และนายทุนเหล่านี้ก็อาจจะเป็น 1 ในปัจจัย ที่จะทำให้ธุรกิจคุณเติบโตขึ้นมากกว่า 1 เท่า สร้างกำไรให้ธุรกิจเพิ่มขึ้นได้อย่างสบายใจ

สำหรับใครที่อยากลงทุนให้เติบโตด้วยความเข้าใจเรื่องแหล่งเงินทุนโดยละเอียด และมีความรู้ในการบริหารการเงิน วิเคราะห์งบการเงินของธุรกิจได้ ลองเข้ามาเรียนกันที่คอร์ส Finance for Entrepreneur by eddu ที่จะพาทุกคนดูบัญชีและยกตัวอย่างแบบครบองค์รวม เรียนจบ การวิเคราะห์งบการเงินของบริษัทคุณจะถูกดำเนินและกำกับดูแลได้อย่างถูกจุดมากขึ้น เปลี่ยนคุณให้ทำธุรกิจด้วยการใช้เงินอย่างคุ้มค่าและมืออาชีพ สมัครเลย!

หากจะพูดถึงสภาพคล่องทางการเงิน สำหรับ Finance for Entrepreneur แล้ว เป็นเรื่องที่สำคัญและจำเป็นมากๆ  โดยเฉพาะเจ้าของธุรกิจ ที่ต้องมีความรู้ ความเข้าใจด้านสภาพคล่องทางการเงินของตัวเอง โดยสภาพคล่องทางการเงิน หมายถึง ความสามารถของบริษัทในการชำระหนี้ระยะสั้น หรือแปลงสินทรัพย์เป็นเงินสด เพื่อชำระหนี้สินที่ครบกำหนดชำระภายใน 1 ปี ได้ นั่นหมายความว่า จะทำให้สามารถประเมิน หรือวิเคราะห์งบการเงินของธุรกิจได้ ว่าธุรกิจของคุณ ยังมีสุขภาพดีอยู่หรือไม่ ในบทความนี้ เราจะพามารู้จักกับประเภทของสภาพคล่องทางการเงิน และวิธีการคำนวณแบบพื้นฐาน รวมถึงแนะนำ คอร์สเรียน finance หรือ หลักสูตรการเงินพื้นฐาน ที่บอกเลยว่า ถ้าได้เข้าคอร์สเรียน finance นี้ จะต้องร้อง อ๋ออออ!! เรื่องการเงินเลยทันที

การวิเคราะห์สภาพคล่องทางการเงินได้ ช่วยอะไรในธุรกิจของคุณได้บ้าง

หากคุณสามารถวิเคราะห์งบการเงิน และสภาพคล่องทางการเงินต่างๆ ของธุรกิจตัวเองเป็น จะมีข้อดี ในการช่วยให้ 

ประเภทของสภาพคล่องทางการเงิน มีอะไรบ้าง

รู้ข้อดีของการวิเคราะห์สภาพคล่องทางการเงินไปแล้ว เรามาดูกันต่อว่า ประเภทของสภาพคล่องทางการเงิน มีอะไรบ้าง โดยแต่ละประเภท จะมีอัตราส่วนในการคำนวณสภาพคล่องได้ ดังนี้

1. Current Ratio

เป็นการวัดความสามารถในการชำระหนี้ระยะสั้น โดยใช้สินทรัพย์หมุนเวียน ซึ่งสินทรัพย์หมุนเวียน หมายถึง สินทรัพย์ที่สามารถแปลงเป็นเงินสดได้ภายใน 1 ปี เช่น เงินสด สินค้าคงคลัง ลูกหนี้ ส่วนหนี้สินหมุนเวียน หมายถึง หนี้สินที่ต้องชำระภายใน 1 ปี เช่น เงินบัญชีเจ้าหนี้ เงินกู้ยืมระยะสั้น

การคำนวณเบื้องต้น:  สินทรัพย์หมุนเวียน / หนี้สินหมุนเวียน 

ค่ามาตรฐาน: > 1.5

ตัวอย่าง:

บริษัทมีสินทรัพย์หมุนเวียน 100 ล้านบาท และหนี้สินหมุนเวียน 80 ล้านบาท

Current Ratio = 100 / 80 = 1.25

ผลวิเคราะห์:

ค่า Current Ratio 1.25 > 1.5 แสดงว่าบริษัทมีสภาพคล่องเพียงพอ 

*อย่างไรก็ตาม ค่าที่สูงเกินไป อาจหมายความว่า บริษัทมีสินทรัพย์หมุนเวียนที่ไม่ได้ใช้งาน

2. Quick Ratio 

เป็นการวัดความสามารถในการชำระหนี้ระยะสั้นโดยไม่รวมสินค้าคงคลัง ซึ่งสินค้าคงคลังอาจแปลงเป็นเงินสดได้ยากกว่าสินทรัพย์หมุนเวียนประเภทอื่น

การคำนวณเบื้องต้น: (สินทรัพย์หมุนเวียน - สินค้าคงคลัง) / หนี้สินหมุนเวียน

ค่ามาตรฐาน: > 1

ตัวอย่าง:

บริษัทมีสินทรัพย์หมุนเวียน 100 ล้านบาท สินค้าคงคลัง 30 ล้านบาท และหนี้สินหมุนเวียน 80 ล้านบาท

Quick Ratio = (100 - 30) / 80 = 0.88

ผลวิเคราะห์:

ค่า Quick Ratio 0.88 < 1 แสดงว่าบริษัทมีสภาพคล่องไม่ดี

*บริษัทอาจมีปัญหาในการชำระหนี้ระยะสั้นหากไม่สามารถขายสินค้าคงคลังได้

3. Cash Ratio

เป็นการวัดความสามารถในการชำระหนี้ระยะสั้นโดยใช้เงินสด โดยเงินสดเป็นสินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องสูงสุด

การคำนวณเบื้องต้น: เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด / หนี้สินหมุนเวียน

ค่ามาตรฐาน: > 0.5

ตัวอย่าง:

บริษัทมีเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด 20 ล้านบาท และหนี้สินหมุนเวียน 80 ล้านบาท

Cash Ratio = 20 / 80 = 0.25

ผลวิเคราะห์:

ค่า Cash Ratio 0.25 < 0.5 แสดงว่าบริษัทมีสภาพคล่องต่ำ

*บริษัทอาจมีปัญหาในการชำระหนี้ระยะสั้น

4. Operating Cash Flow Ratio

เป็นการวัดความสามารถในการชำระหนี้ระยะสั้นจากกระแสเงินสด โดยกระแสเงินสดจากการดำเนินงาน หมายถึง เงินสดที่บริษัทได้รับจากการดำเนินธุรกิจ

การคำนวณเบื้องต้น: กระแสเงินสดจากการดำเนินงาน / หนี้สินหมุนเวียน 

ค่ามาตรฐาน: > 1

ตัวอย่าง:

บริษัทมีกระแสเงินสดจากการดำเนินงาน 40 ล้านบาท และหนี้สินหมุนเวียน 80 ล้านบาท

Operating Cash Flow Ratio = 40 / 80 = 0.5

ผลวิเคราะห์:

    ค่า Operating Cash Flow Ratio 0.5 < 1 แสดงว่ากระแสเงินสดจากการดำเนินงานไม่เพียงพอ

*บริษัทอาจต้องหาเงินทุนเพิ่มเติมเพื่อชำระหนี้ระยะสั้น

และนี่ก็คือทั้ง 4 ประเภทของการวิเคราะห์สภาพคล่องทางการเงิน สำหรับ Finance for Entrepreneur อย่างง่าย ในธุรกิจของคุณ โดยแบ่งสภาพคล่องออกเป็นอัตราส่วน และวิธีการคำนวณเบื้องต้น ซึ่งจริงๆ แล้ว คิดว่าหลายคนที่เพิ่งเริ่มต้นธุรกิจได้ไม่นาน อาจจะยังไม่เข้าใจเกี่ยวกับการวิเคราะห์งบการเงิน และการเช็คสุขภาพของธุรกิจมากเท่าไหร่ หากใครมีปัญหาด้านการวิเคราะห์งบการเงิน อยากรู้วิธีการคำนวณภาพรวมสุขภาพการเงิน ของ Finance for Entrepreneur ในแง่ของสภาพคล่องบริษัท eddu มีคอร์ส Finance for Entrepreneur ที่จะพาทุกคนดูบัญชีและยกตัวอย่างแบบครบองค์รวม เรียนจบ การวิเคราะห์งบการเงินของบริษัทคุณจะถูกดำเนินและกำกับดูแลได้อย่างถูกจุดมากขึ้น 

โดย คอร์ส Finance for Entrepreneur จะมีเนื้อหาที่สรุปออกมาให้เข้าใจเรื่องการเงินได้ง่าย เป็นคอร์สเรียน finance ที่จะได้เรียนรู้เรื่องการเงิน สำหรับเจ้าของธุรกิจ รู้ตัวไว จัดการธุรกิจเป็น ก่อนจะล้ม เพราะเรื่องของเงินกับเจ้าของธุรกิจ (Finance for Entrepreneur) เป็นเรื่องสำคัญ ในเนื้อหาประกอบด้วย

ในแต่ละบทเรียน โดยเฉพาะเรื่อง การอ่านงบการเงิน และเรื่องการบริหารกระแสเงินสด จะพาคุณไปทำความเข้าใจเรื่องของการวิเคราะห์งบการเงินแต่ละประเภท ดูสภาพคล่องทางการเงินในธุรกิจของคุณ จะต้องทำอย่างไร สุขภาพทางการเงินดีหรือไม่ พร้อมสอนวิธีการคำนวณอย่างละเอียด ผ่านตัวอย่างและเคสต่างๆ จบคอร์ส Finance for Entrepreneur แล้ว พร้อมบริหารการเงินในธุรกิจของคุณได้อย่างเข้าใจ และมีศักยภาพทางการเงินที่ดีขึ้นแน่นอน สนใจคอร์สเรียน finance หลักสูตรการเงินพื้นฐาน สมัครได้เลยนะ!

แน่นอนว่า หลักการพื้นฐานของการทำเริ่มต้นทำธุรกิจ หรือคนที่มีธุรกิจอยู่แล้ว ขาดไม่ได้เลย กับการวางกลยุทธ์ในการบริหารการเงิน หรือ finance for entrepreneurs  เพื่อจะที่จะสู้กับคู่แข่งในตลาดให้ได้ สิ่งหนึ่งก็คือการวิเคราะห์ข้อมูลของคู่แข่ง และต้องดูงบแสดงฐานะการเงินของธุรกิจคู่แข่งเป็น เพื่อสร้างกลยุทธ์ผ่านการเงินภาพรวมของคู่ค้า แต่หลายคนอาจจะสงสัยว่า แล้วจะไปดูภาพรวมการวิเคราะห์งบการเงินของธุรกิจคู่แข่งได้อย่างไร หากใครยังไม่มีความรู้ด้านนี้เลย ง่ายมาก เพียงแค่เข้าไปในเว็บไซต์ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า https://www.dbd.go.th/  เราอยากดูธุรกิจคู่แข่งเจ้าไหน ก็ลองมาวิเคราะห์งบการเงินกันได้เลย เพื่อจะได้วางแผนธุรกิจที่เหนือกว่าคู่แข่งได้ ถ้ายังไม่เข้าใจมากคงต้องลองลง คอร์สเรียน finance ในภายหลัง เพื่อให้เข้าใจการวิเคราะห์งบการเงินคู่แข่งมากขึ้น

ข้อดีของการเข้าไปส่องภาพรวมการเงินของคู่แข่ง จากเว็บไซต์กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ดีต่อธุรกิจของคุณอย่างไร และจะให้ข้อมูลอะไรกับเราได้บ้าง มาดูกัน

  1. ข้อมูลนิติบุคคล เพราะการมองธุรกิจของคู่แข่ง เราจำเป็นต้องรู้ถึงที่มาที่ไปของธุรกิจ การเข้าไปดูภาพรวมจากเว็บไซต์ของ DBD จะช่วยให้ทราบถึง สถานะของนิติบุคคล ทุนจดทะเบียน ทุนที่ชำระแล้ว ปีที่ส่งงบการเงิน ข้อมูลที่ตั้ง ได้แก่ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ เว็บไซต์ อีเมล  รวมถึงข้อมูลอื่นๆ เช่น รายชื่อคณะกรรมการ กรรมการที่ลงชื่อผูกพัน ประเภทธุรกิจ วัตถุประสงค์บริษัท ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ จะเป็นประโยชน์ ที่ทำให้คนทำธุรกิจ วางแผนการเงินไปในทิศทางที่เป็นไปได้ และลงทุนเพื่อเหนือกว่าคู่แข็งได้อย่างสมเหตุสมผล
  2. ข้อมูลงบการเงิน การดูข้อมูลงบการเงินของคู่แข่งทางธุรกิจ จะทำให้ของธุรกิจของเรา มีแนวทางในการวางงบการเงินที่ดี ว่าไปในทิศทางไหน ถึงจะใช้เงินได้อย่างมีประสิทธิภาพ สร้างผลกำไร และรู้งบขาดทุนได้ โดยการเข้าไปดูข้อมูลงบการเงินจากเว็บไซต์ของ DBD จะทำให้ได้ทราบถึง งบแสดงฐานะการเงิน งบกำไรขาดทุน อัตราส่วนทางการเงิน ซึ่งสามารถแสดงการเปรียบเทียบประเภทธุรกิจเดียวกันได้ สำหรับงบกำไรขาดทุน จะแสดงให้เห็นตั้งแต่ รายได้ ต้นทุนขาย ค่าใช้จ่ายในการขาย ดอกเบี้ยที่ต้องจ่าย ภาษีเงินได้ ซึ่งทั้งหมดนี้ จะสามารถนำข้อมูลไปวิเคราะห์งบการเงินและกำหนดกลยุทธ์ในการแข่งขันได้

ทำไมต้องวิเคราะห์งบการเงินของคู่แข่ง

เราได้เห็นข้อดีกันไปแล้ว ว่าการส่องภาพรวมธุรกิจของคู่แข่ง จากเว็บไซต์ กรมพัฒนาธุรกิจการค้านั้น ดีอย่างไร เราจำเป็นต้องวิเคราะห์งบการเงินของคู่แข่ง เพราะว่า ในโลกของธุรกิจ การแข่งขัน เพื่อเป็นเจ้าตลาด เป็นสิ่งที่ดุเดือดมาก และไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ แต่ละธุรกิจ จะต้องรู้เท่าทันกลยุทธ์ จุดแข็ง จุดอ่อนของคู่แข่ง เพื่อช่วยให้ธุรกิจของเราได้ปรับตัว วางแผน และสร้างกลยุทธ์ที่เหนือกว่าคู่แข่งให้ได้ และก้าวไปสู่ความสำเร็จในที่สุด

การเข้าเว็บไซต์กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ซึ่งเป็นแหล่งข้อมูลสำคัญสำหรับการวิเคราะห์งบการเงินคู่แข่งโดยเฉพาะข้อมูลด้านการเงิน เราสามารถเข้าไปดูข้อมูลคู่แข่งได้ ด้วยวิธีการง่ายๆ ดังนี้

1. ค้นหาข้อมูลบริษัทคู่แข่ง

2. วิเคราะห์งบการเงิน

3. เปรียบเทียบข้อมูลกับธุรกิจของคุณ

4. ประโยชน์ของการวิเคราะห์ข้อมูลคู่แข่

ลองนำวิธีการนี้ไปใช้ เพื่อเพิ่มศักยภาพและขับเคลื่อนธุรกิจของเราให้ประสบความสำเร็จ

นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งในความรู้ของการวิเคราะห์ข้อมูลคู่แข่งเท่านั้น หากอยากรู้วิธีการดูภาพรวม ไม่ว่าจะเป็นงบกำไร ขาดทุนของคู่แข็ง อย่างตรงจุด ดูได้ละเอียดอย่างเป็นขั้นตอน รู้ว่าจะต้องดูยังไงถึงจะเข้าใจจริงๆ เรามีหลักสูตรการเงินพื้นฐานกับ คอร์ส Finance for Entrepreneur by eddu คอร์สที่จะได้เรียนรู้เรื่องการเงินแบบง่าย สำหรับเจ้าของธุรกิจ รู้ตัวไว จัดการธุรกิจเป็น ก่อนจะล้ม เพราะเรื่องของเงินกับเจ้าของธุรกิจ เป็นเรื่องสำคัญ ซึ่งการศึกษาเอาเอง อาจไม่เข้าใจทั้งหมด เท่ากับฟังจากผู้เชี่ยวชาญด้านการเงิน ในคอร์สเรียน finance จะพาไปเจาะลึกรายละเอียดเกี่ยวกับการเงินในการทำธุรกิจทั้งหมด โดยหลักสูตรการเงินพื้นฐาน Finance for Entrepreneur by eddu จะได้เรียนเนื้อหาที่สำคัญ และนำไปใช้ได้จริง ได้แก่

เรียนหลักสูตรการเงินพื้นฐาน กับ คอร์ส Finance for Entrepreneur จาก eddu เพียงคอร์สเดียว ก็สามารถเปลี่ยนให้คุณสามารถทำธุรกิจ โดยใช้งบการเงินได้อย่างเข้าใจ และบริหารการเงินอย่างมีประสิทธิภาพ เรียนก่อน รู้ก่อน กับ คอร์สเรียน finance ดีๆ เรียนง่าย เข้าใจเร็ว นำไปใช้ได้จริงแบบนี้ ต้องรีบสมัครกันด่วนๆ เลยนะ!

   เชื่อว่า หลายๆ คน พอเก็บเกี่ยวประสบการณ์จากการทำงานเป็นเวลานาน ก็อยากจะมีความรู้ ความสามารถเพิ่มเติมมากขึ้น เพื่อที่จะนำความรู้มาต่อยอดและเติบโตในสายงานได้ สำหรับคนจบปริญญาตรีแทบจะทุกสาขา มักมีความฝันอยากเป็นเจ้าของธุรกิจ อยากรู้หลักการตลาด อยากบริหารเป็น จึงมองหาที่เรียนในระดับปริญญาโท ด้าน MBA จากมหาวิทยาลัยต่างๆ ซึ่งแน่นอนว่า ส่วนใหญ่จะต้องเรียนถึง 2 ปี ถึงจะจบการศึกษา บางที่มีระบบ Fasttrack ก็สามารถเรียนเร็วได้ภายใน 1 ปี แต่กว่าจะจบนั้น ก็กินเวลาไปเยอะมาก เรามาดูกันว่า ทางเลือกของคนรุ่นใหม่ตอนนี้ หันมาสนใจเลือกเรียน Shortcut Mini MBA กันเยอะมาก ด้วยระยะเวลาที่สั้นกว่า ทำให้ถึงเป้าหมายได้ไวกว่า เรามาดูกันว่าคอร์สเรียนนี้ เรียนอะไรบ้าง

ทำไมถึงควรเลือกเรียน Shortcut Mini MBA

เราไม่ได้บอกว่า การเรียน MBA ในมหาวิทยาลัยนั้นไม่ดี เพราะการเรียนที่มหาวิทยาลัย ก็เหมาะสำหรับคนที่มีเวลา อยากเรียนรู้เป็นขั้นตอน ตามกำหนดการศึกษา และสร้าง Connection กับเพื่อนในคลาส ต่อยอดธุรกิจร่วมกันได้ยาวๆ แถมความรู้แน่น ดูเป็นมืออาชีพ จากอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญหลายแขนง แต่สำหรับคนที่มีเวลาน้อย และอยากนำไปปรับใช้กับการทำธุรกิจได้เลย การเลือกเรียน Shortcut Mini MBA ในระยะสั้น จะเป็นทางเลือกที่ตอบโจทย์กับกลุ่มเป้าหมายนี้มากกว่า อีกทั้งไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายสูงหลายแสนบาท เรียนในราคาสบายกระเป๋า แต่ความรู้ก็แน่นมากพอเช่นกัน ถ้าได้ลองมาเรียนกับ SHORTCUT MBA & MARKETING คอร์ส เรียน Shortcut MBA สรุป Mini MBA ใน 10 วัน จาก eddu เรียนเพียง 15 ชั่วโมง ก็เข้าใจการทำธุรกิจแล้ว อยากรู้แล้วใช่ไหม ว่าคอร์สนี้ดียังไง เรามาเจาะลึกหลักสูตร MBA ที่เรียนฉบับเร่งรัดนี้ไปด้วยกัน

เจาะลึก Shortcut Mini MBA by eddu

คอร์สนี้ เป็นคอร์สที่ย่อทุกอย่างของการเรียน MBA ตลอด 2 ปี พร้อมนำไปประยุกต์กับธุรกิจ ในรูปแบบการเรียนออนไลน์ ที่ใช้ระยะเวลาน้อยกว่า หากเรียนแล้วเข้าใจ ก็เริ่มต้นทำธุรกิจได้เลย หรือใครที่ทำธุรกิจอยู่แล้ว อยากบริหารธุรกิจได้อย่างถูกต้อง คอร์สนี้จะช่วยทำให้ผู้เรียนมีความเข้าใจในแนวทางดำเนินธุรกิจ ไปด้วยกันทีละขั้นตอน ก่อนที่ทุกคนจะตัดสินใจลงเรียนคอร์ส Shortcut Mini MBA เดี๋ยวเราจะพาไปดูแต่ละบทเรียนกัน ว่าจะได้เรียนอะไรบ้าง รับรองว่า รู้แล้วจะอยากเรียนเลยทันที เพราะคอร์สได้ถูกออกแบบมาให้เรียนครบทุกองค์รวมเพื่อธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็น การสอนทำธุรกิจ การสอนทำการตลาด การสร้างแบรนด์ การวางแผนการเงิน ทุกธุรกิจสามารถเริ่มต้นได้ด้วย Model ธุรกิจแผ่นเดียวเท่านั้น!!

คอร์สนี้สอนโดย อาจารย์นพ พงศธร ธนบดีภัทร CEO & President ของ eddu และยังเป็นทั้งที่ปรึกษา อาจารย์พิเศษ วิทยากร ให้กับองค์กรชั้นนำมานับไม่ถ้วน โดยการสอนธุรกิจในคอร์สนี้ จะมีทั้งเนื้อหามาตรฐานสากลเกี่ยวกับ Business ที่อาจารย์นพได้เรียนมาจาก Harvard Business School (HBX), Harvard University และเนื้อหาใหม่ๆ ที่ทันสมัย เข้ากับการบริหารธุรกิจยุคปัจจุบัน เริ่มกันตั้งแต่ 

Chapter 1: Business Mindset 

EP:1 เริ่มต้นกับ MBA Introduction เข้าใจภาพรวมทั้งหมดที่จะได้เรียนในคอร์ส Shortcut MBA & Marketing สรุป Mini MBA ทุกอย่าง สำหรับการทำธุรกิจที่ทุกคนต้องรู้

EP: 2 Business Mindset แนะนำแนวคิดการทำธุรกิจ ผ่านการยกตัวอย่างต่างๆ ของบริษัท องค์กรที่ทำธุรกิจแล้วประสบความสำเร็จมาก่อน

EP.3 การหาไอเดียธุรกิจ และหลักการวิเคราะห์ปัญหาเพื่อเห็นโอกาสต่อยอดทางธุรกิจ  ไม่ว่าจะเป็นการมองหาไอเดียทั้งหมดออกมาก่อนใน 20 นาที แล้วมาเลือกไอเดียที่ดีที่สุด การเริ่มต้นทำธุรกิจสตาร์ทอัพ ทำยังไงให้เป็นบริษัทที่ติดอันดับได้ รวมไปถึงดูไอเดียธุรกิจที่ประสบความสำเร็จในต่างประเทศ เช่น BOREERS, BLOCKBUSTER, Kodak, Fujifilm

EP.4 Age of Disruption การทำธุรกิจที่ต้องรับมือกับการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา การมาของ AI ที่ไม่ใช่แค่เรื่องของอนาคต ยกเคสบริษัท IBM ที่ใช้เทคโนโนโลยี AI เข้ามาเกี่ยวข้อง

EP.5  Startup ฝึกคิดโปรเจคสตาร์ทอัพ ว่ามีแนวคิดไอเดียอยากทำธุรกิจอะไร เข้าใจการทำธุรกิจ Startup คืออะไร แนวโน้มการเติบโตอย่างรวดเร็วของธุรกิจนี้ พร้อมยกเคสตัวอย่างธุรกิจสตาร์ทอัพ เช่น  Grab, Garena

EP.6 การกำหนดจุดยืนทางการตลาด สร้างการตลาดขึ้นมาใหม่ และมองคู่แข่งให้เป็น ว่าคู่แข่งทำอะไร และเราควรแตกต่างอย่างไร สร้างพื้นที่และกลยุทธ์ที่ทำให้ธุรกิจของเรากลายมีจุดยืนในตลาด

EP.7 Value ของการทำธุรกิจ ยกเคสตัวอย่างจากบริษัท Google สร้างธุรกิจอย่างไรให้มีคุณค่า น่าสนใจ สร้างแบรนด์ธุรกิจของเราให้โดดเด่น ด้วยวิธีการที่ไม่ได้มีแค่เงินลงทุน มีเคสตัวอย่างจาก Airbnb, Apple

EP.8 Ideation การหาไอเดียด้วยมุมมองต่างๆ ที่คนทำธุรกิจต้องรู้ สอนวิธีคิดอย่างไรธุรกิจปัง และเป็นไปได้ในธุรกิจมากที่สุด

Chapter:2 การหาไอเดียและการออกแบบธุรกิจ

EP.9 Business Model Canvas เปลี่ยนการเขียนโมเดลธุรกิจ 1 ปี ให้เหลือแค่ 1 วัน ด้วยแผนธุรกิจแบบกระชับ เข้าใจเร็ว สร้างไอเดียได้ง่ายขึ้น พร้อมทดลองเขียน Business Model ไปพร้อมกัน

EP.10 ตัวอย่างการเขียน Business Model Canvas จากบริษัทชั้นนำของโลก บริษัทดังๆ เค้าคิดและเขียนโมเดลธุรกิจกันอย่างไร

EP.11 Lean Canvas อีกหนึ่งโมเดลธุรกิจ ที่เอามาเสริมกับ Business Model Canvas โดยเพิ่มปัญหาที่ลูกค้าเจอ วิธีแก้ไข คุณค่าที่ลูกค้าจะได้รับ ข้อได้เปรียบที่คนอื่นไม่มี และอื่นๆ เพื่อให้ธุรกิจดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

EP.12 Value Proposition Canvas ถ้าโมเดลอื่นๆ ยากไป โมเดลนี้จะช่วยให้จัดการง่ายขึ้น โดยการมองหาความต้องการของลูกค้าเป็นหลัก เพื่อสร้างคุณค่าให้กับแบรนด์ได้ตรงจุด

EP.13 สิ่งที่ต้องเรียนรู้เกี่ยวกับ Venture Capita เป็นเรื่องที่ผู้ถือหุ้นทุกคนต้องรู้ เกี่ยวกับข้อสัญญาของผู้ถือหุ้นต่างๆ 

Chapter:3 การวิเคราะห์ธุรกิจตัวแปรสำคัญในการบริหารธุรกิจ

EP.14 วิธีรับมือข้อผิดพลาดที่มักเจอในการทำธุรกิจ ทำอย่างไรให้ธุรกิจผิดพลาดน้อยที่สุด แนวทางพิสูจน์ว่าธุรกิจจะไปได้ดีจริงไหม และยก Case จากหลายๆ แบรนด์ดัง

EP.15 และ Ep.16 วิธีตรวจสอบไอเดียธุรกิจ หรือ Validate Business Idea เพื่อมองหาไอเดียที่ใช่ที่สุดในการทำธุรกิจ

EP.17 เครื่องมือและตัวแปรสำคัญต่างๆ ที่ผู้ประกอบการต้องรู้จัก เพื่อนำไปบริหารบริหารงานอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะมีการแนะนำให้เข้าใจเครื่องมือที่ใช้วัดผลด้วย

EP.18 การเพิ่มทุนและเรื่องของการเป็นผู้ถือหุ้น ซึ่งจำเป็นต้องรู้ในการทำธุรกิจ เพื่อจัดการงบลงทุนต่างๆ ได้

EP.19 Type of funded project การระดมทุน เพื่อเห็นผลประโยชน์ที่ถูกต้อง และหานักลงทุนได้อย่างมืออาชีพ

EP.20 Learn Concept การลีนธุรกิจให้ลงตัว เพื่อหวังผลกำไรในอนาคต

EP.21 SWOT Analysis และตัวอย่างจากแบรนด์ชั้นนำต่างๆ วิเคราะห์หากลยุทธ์ จุดแข็งและจุดอ่อนของธุรกิจ โอกาสในการเติบโต และอุปสรรคที่เจอ

EP.22 5 Forces Model และตัวอย่างการวิเคราะห์ วางกลยุทธ์ของตัวเอง ผลกระทบมีอะไรบ้าง บริษัทสามารถเติบโตได้มากแค่ไหน 

EP.23 การวาง Positioning ของธุรกิจ ตรวจสอบคุณภาพของ Product ว่ามีจุดเด่นตรงไหน ราคาเท่าไหร่ และสามารถเอาแบรนด์ของตัวเองไปวางตลาดไหนได้บ้าง

Chapter:4 Marketing Part

EP.24 เจาะลึกวิวัฒนาการของการตลาด อะไรคือ Marketing เริ่มตั้งแต่เมื่อไหร่ ผ่านยุคไหนมาบ้าง จนถึงปัจจุบัน

EP.25 Branding การสร้างแบรนด์ สร้างตัวตนให้กับธุรกิจ ทำอย่างไรให้แบรนด์เติบโต เป็นที่น่าจดจำ 

EP.26 Digital Marketing มาดูว่าการตลาดดิจิทัลคืออะไร มีตำแหน่งไหนที่เกี่ยวข้องกับงาน Digital Marketing บ้าง และมีเครื่องมือและสื่อโซเชียลมีเดียอะไร ที่ต้องใช้สำหรับโปรโมทธุรกิจ

Chapter:5 Finance

EP.27 Personal Finance การวางแผนการเงิน ทำอย่างไรให้บริหารการเงินได้บรรลุเป้าหมาย ประเมินความเสี่ยงในการลงทุน และเข้าใจเรื่องภาษี

EP.28 Business Finance ดูแบบจำลอง CAPA ในการคำนวณหาอัตราผลตอบแทนที่ต้องการ ความรู้เกี่ยวกับภาษีธุรกิจ ประเภทของรายได้ การจ่ายค่าโฆษณา งบกระแสเงินสด 

EP.29 Finance Model การตั้งสมมุติฐานของโมเดลธุรกิจ การจัดงบประมาณต่างๆ ในธุรกิจ พาไปคำนวณต้นทุน กำไร และจำนวนที่ควรขายได้

ทั้งหมดนี้ รวมอยู่ในหลักสูตร Shortcut Mini MBA by eddu แล้ว เนื้อหาการเรียนเรียกได้ว่า อัดแน่น เรียนครบ เจาะลึกทุกการเรียนรู้ในหลักสูตร MBA ย่อมาให้หมด ตรงประเด็น ไม่ต้องเสียเวลาเรียนนาน ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายถึง 2 ปี หลักสูตรเดียวที่จะปั้นให้คุณกลายเป็นมืออาชีพทางธุรกิจได้ ครบทุกทักษะการทำธุรกิจ โดยผู้เชี่ยวชาญโดยตรง มีเอกสารประกอบการเรียน และ Workshop ให้ฝึกทำ เรียนอย่างคุ้มค่า ในราคาไม่แพง จับต้องได้ พร้อมสู่การเป็นนักธุรกิจรุ่นใหม่ได้แน่นอน

สัมผัสประสบการณ์ในการเรียนด้าน MBA แบบ Shortcut มาเรียนกับเราที่ eddu ได้เลย

ความฝันของใครหลายๆ คน คงไม่อยากเป็นมนุษย์เงินเดือนกันไปตลอดจริงมั๊ย ส่วนใหญ่แล้ว ทำงานเก็บเงินได้สักระยะหนึ่ง ถ้ามีเงินทุนมากพอ ก็อยากจะคิดทำธุรกิจของตัวเอง ออกแบบวิธีการทำงานได้เองอย่างอิสระ เป็นนายตัวเอง ไม่ต้องรอคำสั่งใคร แต่การทำธุรกิจให้เติบโตตั้งแต่ก้าวแรก ก็ไม่ใช่แค่คิดอยากทำ แล้วทำเลย โดยไม่ได้วางแผนธุรกิจที่ถูกต้อง บางคนอาจจะเริ่มต้นไม่ถูกด้วยซ้ำ ไม่รู้จะทำธุรกิจอะไร และทำอย่างไร เลยเลือกที่จะรอไปก่อน และไปเรียนต่อปริญญาโทด้าน MBA ให้ได้ความรู้การบริหารธุรกิจ แล้วถึงคิดทำธุรกิจหลังเรียนจบ

แต่ปัจจุบัน โลกธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา มันทำให้ไม่สามารถมานั่งรอเวลา 2 ปีได้ กว่าจะเรียนจบ โอกาสทางธุรกิจเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ ดังนั้น ทางเลือกของคนรุ่นใหม่ เลยอยากเรียนการทำธุรกิจ ที่นำไปใช้ได้จริงและเรียนอย่างรวดเร็ว เพื่อนำมาปรับใช้กับธุรกิจที่สนใจได้ ซึ่งคอร์สที่อยากแนะนำ และเป็นหลักสูตรเดียวในไทย สอนทุกอย่างเหมือนเรียน MBA โดยอาจารย์ผู้สอนที่เรียน MBA จากต่างประเทศมาจริงๆ พัฒนาหลักสูตร จนกลายมาเป็น SHORTCUT MBA & MARKETING คอร์ส เรียน Shortcut MBA สรุป Mini MBA ใน 10 วัน จาก eddu เรียนเพียง 15 ชั่วโมง ก็เข้าใจการทำธุรกิจแล้ว 

ดังนั้น เรามาดูกันว่า เรียนปริญญาโท MBA หรือ เรียนคอร์ส MBA เพื่อธุรกิจ ควรเลือกแบบไหนดี สำหรับคนที่กำลังลังเลอยู่

เลือกเรียนปริญญาโท MBA ดีอย่างไร

ต้องบอกก่อนว่า ไม่ใช่เรื่องผิด หากบางคนจะมีความตั้งใจที่จะเรียนต่อปริญญาโททางด้าน MBA เพราะการเรียนแบบเต็มรูปแบบในมหาวิทยาลัย ทำให้ได้เจอสังคม MBA ด้วยกันตลอดระยะเวลาเรียน 2 ปี และหลายคนก็ตั้งใจ อยากจะได้ดีกรี จบปริญญาโทจากมหาวิทยาลัยที่ใฝ่ฝัน เป็นเกียรติและความภาคภูมิใจ เมื่อเรียนจบ แถมยังเอาไปใส่พอร์ตยื่นสมัครงานอัพเงินเดือนต่อไปได้ รวมถึงการทำธุรกิจเอง ซึ่งข้อดีของการเรียนปริญญาโท MBA ก็มีไม่น้อย ได้แก่

สำหรับการเรียนปริญญาโท MBA เหมาะกับคนที่มีเวลาเรียนจริงๆ หรือแบ่งเวลาจากการทำงาน มาเรียนได้ โดยไม่กระทบกับการทำงาน  แต่บางคนที่พยายามมาเรียนและทำงานอย่างหนักด้วย อันนี้อาจจะเกิดปัญหาตามมาได้ สมาธิในการเรียนอาจจะน้อยลง และมีเวลาการใช้ชีวิตน้อย จึงไม่เหมาะกับคนที่อยากทำธุรกิจเร็ว เพราะการเรียน MBA จะต้องเสียเวลาในการทำวิจัย ทำวิทยานิพนธ์ เพื่อส่งเล่มจบ ซึ่งจะใช้เวลานาน บางคนอาจเสียทั้งเวลา และเสียโอกาสทางธุรกิจไป หากต้องมาเรียนปริญญาโท MBA ถึง 2 ปี (ขึ้นอยู่กับตัวบุคคล ว่าสะดวกเรียน MBA หรือไม่)*

เลือกเรียน คอร์ส MBA เพื่อธุรกิจ ดีอย่างไร

สำหรับคนที่มีเวลาน้อย และอยากเริ่มต้นธุรกิจรวดเร็ว เข้าใจในวิธีการทำธุรกิจ อาจจะต้องมาเลือกเรียนในแบบที่สอง นั่นก็คือ คอร์ส MBA เพื่อธุรกิจ ซึ่งหลักสูตร ก็จะย่อมาเป็น Mini MBA ส่วนใหญ่หลายมหาวิทยาลัย ก็เริ่มมีคอร์ส Mini MBA เช่นกัน แต่อาจจะได้เรียนเฉพาะด้านใดด้านหนึ่ง แต่หากใครอยากเรียนเกี่ยวกับธุรกิจแบบจัดเต็ม SHORTCUT MBA & MARKETING คอร์ส เรียน Shortcut MBA จาก eddu ก็เตรียมมาให้ครบทุกองค์ประกอบ เหมือนได้เรียนปริญญาโท MBA มาจริงๆ เรียนรู้การทำธุรกิจได้เลย ไม่ต้องเสียเวลามานั่งทำวิทยานิพนธ์ เมื่อเรียนจบทั้งหมด 15 ชั่วโมง ก็สามารถนำความรู้ไปทำธุรกิจอย่างถูกต้องได้ ข้อดีของการเรียนคอร์ส Shortcut Mini MBA เพื่อธุรกิจ คือ

จะเห็นได้ว่า คอร์ส MBA แบบ Shortcut ก็มีจุดเด่นไม่น้อย เหมาะกับคนอยากเรียนรู้ไวจริงๆ คนที่เริ่มต้นธุรกิจ หรือมีธุรกิจอยู่แล้ว อยากนำไปพัฒนา ก็ใช้เวลาเรียนไม่นาน พร้อมรับใบ Certificate รับรองหลังเรียนจบจากสถาบัน eddu อีกด้วย 

ทำไมต้องเลือกเรียน คอร์ส Shortcut Mini MBA by eddu

เนื่องจากคอร์สนี้ ออกแบบมาเพื่อคนอยากทำธุรกิจ แต่จับต้นชนปลายไม่ถูก กลัวลงทุนแล้วจะเสียเปล่า คอร์ส Shortcut Mini MBA เลยนำเนื้อหาจากการเรียน MBA มาย่อยเป็นหัวข้อที่จำเป็นต้องใช้จริงๆ ผู้เรียน จะได้เรียนรู้อย่างมืออาชีพ กับ อ.นภ พงศธร ธนบดีภัทร CEO & President ของ eddu และยังเป็นทั้งที่ปรึกษา อาจารย์พิเศษ วิทยากร ให้กับองค์กรชั้นนำมานับไม่ถ้วน โดยการสอนธุรกิจในคอร์สนี้ จะมีทั้งเนื้อหามาตรฐานสากลเกี่ยวกับ Business ที่อาจารย์นพได้เรียนมาจาก Harvard Business School (HBX), Harvard University และเนื้อหาใหม่ๆ ที่ทันสมัย เข้ากับการบริหารธุรกิจยุคปัจจุบัน 

เนื้อหามีตั้งแต่ ทำความรู้จักกับ MBA เข้าใจภาพรวมทั้งหมด แนวคิดการทำธุรกิจ การหาไอเดียธุรกิจ การวิเคราะห์ปัญหา การฝึกคิด Project ธุรกิจ การสร้างจุดยืนของแบรนด์ในตลาด การสร้างคุณค่าให้กับธุรกิจ พร้อมการฝึกทำ Business Model Canvas, Lean Canvas กลยุทธ์ในการทำธุรกิจในรูปแบบต่างๆ วิธีการตรวจสอบ การวัดผล ความรู้ในการทำธุรกิจที่ต้องรู้ทุกด้าน การตลาดดิจิทัล การสร้างแบรนด์ การวางแผนการเงิน Finance เพื่อการทำธุรกิจ มีเอกสารประกอบการเรียน และ Workshop ในคอร์ส เรียนแบบออนไลน์ แต่เหมือนนั่งเรียนจากในห้องเรียน แต่ละบทใช้เวลาไม่นาน ฟังแล้วได้ความรู้ในการทำธุรกิจไปเต็มๆ เลยทีเดียว 

หากหลักสูตร Shortcut MBA เป็นคอร์สที่ตอบโจทย์การทำธุรกิจของคุณ อย่าลังเล เลือกเรียนคอร์สนี้ เพื่อสร้างความเข้าใจพื้นฐาน และต่อยอดการทำธุรกิจครบทุกด้าน จนเป็นมืออาชีพในการออกแบบธุรกิจได้ แล้วมาพบกันกับ SHORTCUT MBA & MARKETING คอร์ส เรียน Shortcut MBA จาก eddu สมัครเลย!

เข้าสู่ปี 2024 กันแล้ว หลายคนที่สนใจด้านธุรกิจ และมีความฝันอยากเรียน MBA  ในมหาวิทยาลัยระดับโลก ก็คงมองหาที่เรียน MBA ของต่างประเทศ แต่ไม่รู้ว่าจะเลือกเรียนที่ไหนดี หลักสูตรของสถาบันไหนที่ตอบโจทย์ ประเทศไหนที่ไปเรียนแล้วใช่ที่สุด ในบทความนี้ เราจะมาแจก 30 สถาบันเรียน MBA ระดับโลก อัพเดตปี 2024 กัน

1. Stanford Graduate School of Business สหรัฐอเมริกา

คงไม่ใครไม่รู้จักมหาวิทยาลัยอันดับ 1 ของโลกอย่าง Stanford Graduate School of Business ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยที่เด่นมากด้านการบริหารธุรกิจ รู้จักกันดีในด้านนวัตกรรมและการเป็นผู้ประกอบการ ตั้งอยู่เมืองสแตนฟอร์ด แคลิฟอร์เนีย ถ้าอยากเรียน MBA ต้องเตรียมตัวสุดๆ เข้ายาก แต่จบมาคุณภาพระดับโลกเลยทีเดียว

2. The Wharton School of the University of Pennsylvania สหรัฐอเมริกา

เป็นมหาวิทยาลัยที่ตั้งอยู่ในฟิลาเดลเฟีย รัฐเพนซิลเวเนีย ซึ่งที่นี่เรียกได้ว่า เป็นโรงเรียนธุรกิจที่เก่าแก่ และมีชื่อเสียงที่สุดในสหรัฐอเมริกา มีหลากหลายหลักสูตรให้เลือกเรียน โดยเฉพาะ MBA ที่โดดเด่น รวมไปถึง Executive MBA ด้วย

3. Harvard Business School สหรัฐอเมริกา

จัดว่าเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำอันดับต้นๆ ของโลก นักธุรกิจที่มีชื่อเสียงไปเรียนกันเยอะมาก ตั้งอยู่ในเมืองบอสตัน รัฐแมสซาชูเซตส์ Harvard Business School ได้รับการจัดอันดับให้โรงเรียนธุรกิจที่มีคุณภาพของโลกทุกปี เปิดสอนหลักสูตร MBA ที่โดดเด่น ขึ้นชื่อว่า Havard จบแล้วการันตีทำงานที่ไหนก็ได้ในโลกนี้

4. London Business School อังกฤ

เป็นสถาบันสอนธุรกิจในเครือข่ายของ University of London ตั้งอยู่ที่รีเจนท์ พาร์ค กรุงลอนดอน มีนักศึกษาจบหลักสูตรบริหารธุรกิจ MBA เป็นจำนวนมาก ใช้เวลาเรียนแค่ 15-21 เดือน มี MBA คุณภาพหลากหลายแขนงให้เลือกเรียนตามความสนใจ จบดีกรีถึงประเทศอังกฤษเชียวนะ

5. HEC Paris ฝรั่งเศส

เป็นสถาบันด้านธุรกิจที่มีชื่อเสียงที่สุดของฝรั่งเศส และติดอันดับต้นๆ ของโลก นักศึกษาต่างชาติที่ชอบวัฒนธรรมของฝรั่งเศส และได้เรียนหลักสูตร MBA ใจกลางกรุงปารีส ก็นิยมเข้ามาเรียนที่นี่กัน มีระบบการศึกษาที่ดีมาก และยังมีทุนการศึกษาแจกให้คนเรียนดีทุกปี

6. MIT Sloan สหรัฐอเมริกา

เป็นมหาวิทยาลัยที่รู้จักกันดีในด้านของเทคโนโลยีและนวัตกรรม ตั้งอยู่ที่เมืองเคมบริดจ์ รัฐแมสซาชูเซตส์ แต่ MIT ก็ไม่แพ้ใครในด้านบริหารธุรกิจและการจัดการ มาเรียน MBA ที่นี่ ได้ความรู้ด้านธุรกิจแน่นๆ กลับไปแน่นอน

7. Columbia Business School สหรัฐอเมริกา

เป็นโรงเรียนสอนธุรกิจ ที่มุ่งเน้นด้านการเงินและธุรกิจระดับโลก ตั้งอยู่ในนิวยอร์กซิตี้ รัฐนิวยอร์ก Columbia Business School เปิดสอนหลักสูตรอันหลากหลาย ทั้ง MBA, Executive MBA และหลักสูตรปริญญาเอก เป็นสถาบันหนึ่งที่น่าสนใจ และมีคุณภาพเป็นที่รู้จักทั่วโลก

8. IE Business School สเปน

ถ้าชอบวัฒนธรรมแบบยุโรป ต้องมาเรียน MBA ในมหาวิทยาลัยนานาชาติชั้นนำของสเปน กับ IE Business School ที่มีสภาพแวดล้อมในการเรียนทั้งธุรกิจ ผสมผสานไปกับเทคโนโลยี ส่งเสริมแนวคิดการเป็นผู้ประกอบการ ที่ใช้นวัตกรรมขับเคลื่อนองค์กร

9. Cambridge Judge Business School อังกฤษ

เป็นโรงเรียนสอนด้านธุรกิจ ที่เก่าแก่และมีชื่อเสียงด้านวิชาการมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก มีหลักสูตร MBA ที่ได้รับการจัดอันดับ และเป็นที่ยอมรับทั่วโลก หลักสูตรมีชื่อเสียง เหมาะกับคนอยากทำธุรกิจ และผู้บริหารระดับสูง

10. IESE Business School สเปน

โรงเรียนด้านธุรกิจที่มีชื่อเสียงของประเทศสเปน ตั้งอยู่ที่กรุงมาดริด บาร์เซโลนา มีให้เลือกเรียนทั้ง MBA สำหรับผู้บริหาร และ หลักสูตร MBA สำหรับผู้ประกอบการ  สถาบันแห่งนี้มีคุณภาพติด 1 ใน 10 ของโลกเลยทีเดีย

11. INSEAD ฝรั่งเศส

เป็นมหาวิทยาลัยเอกชนเก่าแก่ของฝรั่งเศส เปิดสอน ในหลักสูตร MBA, Executive MBA (EMBA), รวมไปถึงคอร์สเรียนธุรกิจขั้นพื้นฐานสำหรับนักศึกษาปริญญาโทและหลักสูตรสำหรับผู้บริหารหรือผู้ที่สนใจทางด้านธุรกิจอื่นๆ  โดยหลักสูตรที่โดดเด่น ก็คือโปรแกรม MBA ซึ่งเป็นหลักสูตรที่ผลิต CEO ของบริษัทใหญ่ๆ กว่า 500 บริษัททั่วโลก 

    12. Northwestern (Kellogg) สหรัฐอเมริกา

    เป็นมหาวิทยาลัยที่ตั้งอยู่ในเมืองเอแวนสตัน และเมืองชิคาโก ของรัฐอิลลินอยส์ มีชื่อเสียงหลากหลายด้าน โดยเฉพาะด้านบริหารธุรกิจ มีหลักสูตร MBA ที่นักศึกษาสามารถจบได้ภายใน 1 ปี เป็นอีกทางเลือกของ MBA หลักสูตรคุณภาพ

    13. UC Berkeley (Haas) สหรัฐอเมริกา

    เป็นมหาวิทยาลัยที่ตั้งอยู่ในเมือง Berkeley รัฐแคลิฟอร์เนีย ก่อตั้งในปี 1868 และเปิดสอนหลักสูตร MBA มายาวนาน ใช้ระยะเวลาเรียน 2 ปี การเรียนการสอนคุณภาพ ได้รับการยอมรับว่า สร้างผู้นำด้านธุรกิจมาแล้วมากมาย

    14. University of Chicago Booth School of Business สหรัฐอเมริกา

    เป็นมหาวิทยาลัยเอกชนที่ตั้งอยู่ในเมืองชิคาโก รัฐอิลลินอยส์ โรงเรียนก่อตั้งในปี 1898 เก่าแก่ที่สุดเป็นอันดับสองในสหรัฐอเมริกา มีหลักสูตร MBA สำหรับผู้บริหาร ผู้ประกอบการ และผู้สนใจศึกษาต่อ ทั้งหลักสูตรเต็มเวลา และนอกเวลา

    15. UCLA Anderson School of Management สหรัฐอเมริกา

    เป็นมหาวิทยาลัยในสาขาธุรกิจ ของมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ในเมืองลอสแอนเจลิส ได้รับการยอมรับและยกย่องทั่วโลก ในหลักสูตรด้านบริหาร มีหลักสูตร MBA แบบเต็มเวลา MBA สำหรับผู้บริหาร และ EMBA สำหรับทั่วโลก

    16. Yale School of Management สหรัฐอเมริกา

    เป็นโรงเรียนสอนธุรกิจ ในเครือ Yale University เก่าแก่เป็นอันดับ 3 ของสหรัฐอเมริกา ตั้งอยู่ในเมืองนิวฮาเวน รัฐคอนเนตทิคัต มีชื่อเสียงหลากหลายสาขา โดยเฉพาะ MBA ที่ส่งเสริมความรู้ให้เป็นนักบริหารมืออาชีพได้

    17. NYU Stern School of Business สหรัฐอเมริกา

    เป็นโรงเรียนสอนธุรกิจ ที่ตั้งอยู่ในเมืองนิวยอร์ก มีหลักสูตร MBA ที่โดดเด่น และค่อนข้างเปิดกว้าง สอนให้รู้จักเห็นความแตกต่าง และยอมรับซึ่งกันและกัน แม้จะต่างที่มาและวัฒนธรรม ทำให้เป็นสถาบันที่ชาวต่างชาติสนใจมาเรียน MBA กันเยอะ

    18. Saïd Business School, Oxford อังกฤษ

    เป็นโรงเรียนเก่าแก่ที่เปิดสอนด้านธุรกิจ มีหลักสูตร MBA ซึ่งมุ่งเน้นไปที่งานวิจัยและการศึกษาแบบสหวิทยาการ ผสมผสานระหว่างความรู้ด้านธุรกิจ และสาขาวิชาอื่นๆ ที่สนใจ เรียนควบคู่กันได้ ที่นี่มีชื่อเสียงระดับโลก และสร้างผู้ประกอบการมาแล้วนับไม่ถ้วน

    19. ESADE Business School สเปน

    เป็นมหาวิทยาลัยที่ตั้งอยู่เมืองบาเซโลน่า ประเทศสเปน มีหลักสูตร MBA ที่เปิดมายาวนาน มีหลักสูตรสำหรับผู้บริหาร และยังสร้างผู้นำรุ่นใหม่ ที่มีความคิดสร้างสรรค์ ไม่ยึดติดกับกรอบเดิม สำหรับคนที่มาเรียนไม่ต้องรู้ภาษาสเปนก็ได้ เพราะที่นี่ใช้หลักสูตรภาษาอังกฤษ

    20. Imperial College Business School อังกฤษ

    เป็นโรงเรียนสอนธุรกิจที่ติดอันดับชั้นนำของโลก มีหลักสูตร MBA ที่ติด 1 ใน 10 ของยุโรป และเด่นในด้าน MBA Finance ซึ่งติด 1 ใน 10 ของโลกเช่นกัน ใครที่อยากเรียน MBA ด้านการเงิน ลองมาเรียนที่นี่ได้เลย สถิติที่จบไป ส่วนใหญ่ได้เป็นประธานบริษัท ผู้บริหาร ผู้จัดการกันเยอะ

    21. National University of Singapore (NUS) สิงคโปร์

    มาฝั่งเอเชียกันบ้าง ถ้าไม่อยากบินไปเรียนไกล  MBA ของสิงคโปร์ ก็เป็นสถาบันชั้นนำระดับโลกเช่นกัน และดีที่สุดในทวีปเอเชียด้วย ซึ่งหลักสูตรธุรกิจของที่นี่ เรียบแบบเข้มข้น มุ่งเน้นการวิจัย และชื่อเสียงด้านการสอนที่เชื่อถือได้ เน้นผลสำเร็จของผู้เรียนเป็นหลัก

    22. Tsinghua University จีน

    เป็นมหาวิทยาลัยเก่าแก่ของประเทศจีน ก่อตั้งในปี 1911 และ MBA ของที่นี่ ก็มีชื่อเสียงในระดับโลก ออกแบบมาเพื่อผลิตผู้นำทางด้านธุรกิจ ที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญด้านการบริหาร สอนแนวคิดแบบสากล ผสมผสานกับรากเหง้าของจีน และกลยุทธ์ทางธุรกิจที่รองรับหลากหลายวัฒนธรรม

    23. Nanyang Technological University สิงคโปร์

    มหาวิทยาลัยชื่อเสียงติดอับดับโลก สถาบันนี้ เน้นงานวิจัยและนวัตกรรม ร่วมกับอุตสาหกรรมรายใหญ่ๆ และส่งออกนักศึกษาไปทำงานได้ทั่วโลก หลักสูตร MBA ของที่นี่ มีคุณภาพสูงไม่แพ้ที่ไหน ได้รับการจัดอับดับและเป็นที่ยอมรับจากแบรนด์ชั้นนำ

    24. University of Hong Kong ฮ่องกง

    เป็นมหาวิทยาลัยที่เก่าแก่ที่สุดของฮ่องกง มีชื่อเสียงในด้านวิชาการ และอาจารย์หลากหลายชาติทั่วโลก ทำให้นักศึกษาได้เรียนรู้ต่างวัฒนธรรม โดยเฉพาะหลักสูตร MBA ที่มีนักศึกษาจากทั่วโลกมาเรียน สร้างผู้บริหารและผู้ประกอบการที่มีคุณภาพ

    25. China Europe International Business School จีน

    เป็นมหาวิทยาลัย ที่ก่อตั้งโดยรัฐบาลจีนและสหภาพยุโรป (EU) ในปี 1994 เปิดสอนหลักสูตรทั้ง MBA, Finance MBA, EMBA, Global EMBA, Hospitality EMBA, Executive Education และ Ph.D. เป็นโรงเรียนธุรกิจแห่งแรกในจีนที่ขึ้นชื่อในด้านวิชาการ ได้รับการรับรองจากทั้ง EQUIS และ AACSB มีชื่อเสียงทั้งในเอเชียและระดับโลก

    26. Indian Institute of Management–Bangalore อินเดีย

    มาทางฝั่งอินเดีย เป็นมหาวิทยาลัยที่ตั้งอยู่ที่บังกอร์ ขนาดของมหาวิทยาลัยไม่ใหญ่มาก แต่นักเรียนต่างชาติเยอะ เน้นการสอนด้านบริหารธุรกิจและ MBA โดยใช้หลักสูตรการบริหารจากประเทศอังกฤษ และยังได้รับปริญญาจากทางอังกฤษ ของ University of the West of Scotland ด้วย 

    27. Rotman School of Management แคนาดา

    มหาวิทยาลัยแห่งนี้ตั้งอยู่ที่โตรอนโต แคนาดา ถูกจัดอันดับให้เป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำด้าน MBA ของแคนาดา และยังใกล้กับย่านการเงินของโตรอรโต ตารางเรียนที่นี่ยืดหยุ่น แต่มีคุณภาพ สามารถบรรลุเป้าหมายการเรียนรู้จนสามารถบริหารธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ

    28. Melbourne Business School ออสเตรเลีย

    เป็นโรงเรียนสอนด้านธุรกิจ ตั้งอยู่ที่เมืองเมลเบิร์น ในออสเตรเลีย และเป็นแห่งแรกในออสเตรเลีย ที่เปิดสอนหลักสูตรทางด้าน MBA และใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก สถาบันมีความโดนเด่นในโลกธุรกิจ และมีคุณภาพสูง มีการพัฒนาหลักสูตรให้ทันสมัยเสมอ

    29. EGADE Business School เม็กซิโก

    สถาบันฝั่งละตินอเมริกา ก็ไม่แพ้กัน สถาบันนี้อยู่ที่ประเทศเม็กซิโก มีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับทั่วโลกด้านธุรกิจ มีหลักสูตร MBA แบบเต็มรูปแบบ และหลักสูตรออนไลน์ เป็นโรงเรียนธุรกิจอันดับต้นๆ ของโลกที่มีขีดความสามารถในการพัฒนาคนให้เป็นผู้บริหารระดับสูงได้

    30. Macquarie University ออสเตรเลีย

    มหาวิทยาลัยแห่งนี้ตั้งอยู่ที่เมืองซิดนีย์ มีชื่อเสียงทางด้านการสอนธุรกิจ และหลักสูตร MBA ถูกจัดเป็นอันดับ 1 ของออสเตรเลีย มีคณาจารย์ผู้เชี่ยวชาญสอนธุรกิจโดยตรง และเป็นยอมรับกันทั่วโลก ว่าเป็นหลักสูตรที่มีคุณภาพ พัฒนาคนสู่นักบริหารได้

    เป็นยังไงกันบ้างกับทั้ง 30 มหาวิทยาลัยด้าน MBA ระดับโลกที่เอามาฝากกัน สนใจเรียนที่ประเทศไหน ลองเข้าไปศึกษาดูรายละเอียดและเตรียมตัวให้พร้อม แต่สำหรับใคร ที่อยากเรียน MBA แบบ Shortcut ระยะสั้น เรียนกระชับ เข้าใจเร็ว และนำไปประยุกต์กับธุรกิจได้จริง ที่ eddu เรามีคอร์ส SHORTCUT MBA & MARKETING สรุป Mini MBA ใน 10 วัน เรียนเพียง 15 ชั่วโมง ก็เข้าใจการทำธุรกิจแล้ว สอนโดยอาจารย์ที่จบจาก Harvard Business School (HBX), Harvard University โดยตรง ได้เรียนรู้ไม่ต่างจากการไปเรียน MBA ที่ต่างประเทศแน่นอน 

    We use cookies, please see our policy and setting

    Privacy Preferences

    คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

    Allow All
    Manage Consent Preferences
    • Always Active

    Save
    linkedin facebook pinterest youtube rss twitter instagram facebook-blank rss-blank linkedin-blank pinterest youtube twitter instagram