รอบตัวเราทุกวินาที มี Data จำนวนหลายพันล้านไบท์ถูกสร้างขึ้นมา และถูกจัดเก็บไว้เป็นข้อมูลสำคัญ เพื่อนำไปสู่การตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ทางธุรกิจ (Strategic Business Decision)
ในทุกๆ องค์กรขนาดใหญ่ หรือแม้แต่หน่วยงานของรัฐบาลเอง ก็ให้ความสำคัญกับ Big Data เหล่านี้
แล้วใครกันที่เป็นคนจัดการกับข้อมูลมากมายเหล่านี้?
ก็ไม่พ้นผู้มีอาชีพสาย DATA อยู่แล้ว
นี่จึงเป็นเหตุผลว่า ทำไมสายอาชีพ Data ถึงกำลังเป็นที่ต้องการในตลาดโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Data Analyst หรือ “นักวิเคราะห์ข้อมูล” ที่เปรียบเสมือนกระดูกสันหลังขององค์กรเลยก็ว่าได้ และเหล่านักวิเคราะห์ข้อมูล จะทำงานโดยขนาดอาวุธสำคัญ ซึ่งก็คือ เครื่องมือ (Tools) ที่จะช่วยทำให้พวกเขาจัดการข้อมูลมหาศาลเหล่านี้ได้ง่ายขึ้นไม่ได้!
วันนี้ EDDU เลยจะมาแนะนำเครื่องมือในการวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analytics Tools) ที่ทุกคนในสายงาน Data จำเป็นจะต้องรู้จัก และใช้งานได้อย่างคล่องแคล่ว เพื่อที่จะช่วยทุ่นแรง และลดระยะเวลาในการจัดการข้อมูลลงอย่างไม่ต้องเหนื่อยเกินไป
ในบทความนี้ EDDU ขอแบ่งเครื่องมือฯ ออกเป็น 2 กลุ่มหลักๆ คือ
4 เครื่องมือสำหรับ
การจัดการข้อมูล (Data Management Tools)
1) Excel – ถือได้ว่าเป็นหนึ่งในโปรแกรมที่นิยมใช้กันมากที่สุดในการจัดการข้อมูลก็ว่าได้ เพราะโปรแกรม Excel เองนั้นสารพัดประโยชน์นอกจากการจัดเก็บ (Storge) และแก้ไข (Edit) แล้ว ตัวโปรแกรมเองยังสามารถวิเคราะห์ Data ได้อีกด้วย ผ่านฟังก์ชั่น Pivot Table, VBA, Solver และ Form เป็นต้น หรือถ้าต้องการจัดการ Big Data ในเชิงลึกก็สามารถดาวน์โหลด Plugins ต่างๆ ที่ช่วยเสริมประสิทธิภาพมาเพิ่มได้ แถมยังสามารถสร้างกราฟนำเสนอข้อมูลได้หลายรูปแบบอีกด้วย เรียกได้ว่า Excel นั้นเป็นเครื่องมือที่ครบเครื่องมากๆ และสามารถเรียกใช้งานได้ง่าย เพราะแทบจะทุกคนที่ใช้คอมพิวเตอร์ หรือแท็ปเลตนั้น ต้องมีโปรแกรมนี้ติดตั้งในอุปกรณ์อยู่แล้ว
2) Zoho Analytics – เป็นอีกหนึ่งในเครื่องมือที่น่าสนใจมากที่สุด ด้วยการที่ Zoho Analytics นั้นเป็นซอฟท์แวร์อัจฉริยะที่สามารถวิเคราะห์ Big Data ได้ด้วยตนเอง หรือที่เรียกว่า “Business Intelligence” แถมยังมีผู้ช่วยจักรกลอัจฉริยะ (Artificial Intelligence) ที่ผู้ใช้สามารถถามคำถาม จากนั้น AI จะตอบกลับมาเป็นรีพอร์ตข้อมูลที่ผ่านการวิเคราะห์มาแล้ว ด้วยกระบวนการอย่าง Machine Learning หรือ NLP
และที่สำคัญ คือ อินเตอร์เฟสของ Zoho Analytics นั้น ออกแบบมาในรูปแบบของ Dashboard ที่ใช้งานได้ง่าย และยังมีเทมเพลตมากมายให้เลือกใช้ เครื่องมือนี้จึงเหมาะกับผู้ใช้งานมือสมัครเล่น หรือคนที่ไม่มีความรู้เรื่องไอทีให้สามารถใช้วิเคราะห์ข้อมูลได้สะดวกขึ้น
3) Google Analytics – เป็นอีกหนึ่งแพลตฟอร์มคู่ใจของใครหลายคนที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย Google Analytics นั้นสามารถแสดงผลเมตริก (Metrics) และข้อมูลเชิงลึก (Insights) ที่สำคัญจากเวปไซต์หรือโฆษณา (Google Ads) โดยสามารถปรับแต่งได้ในโหมด Custom และ Automated ซึ่งเลือกที่จะเก็บข้อมูลได้ด้วยตัวเอง หรือการใช้ AI วิเคราะห์แบบอัตโนมัติก็ได้ โดยสามารถลิงก์กับแพลตฟอร์มอื่นๆ ของ Google อย่าง Google Data Studio และ Google BigQuery ได้อีกด้วย ด้วยผลวิเคราะห์ที่ออกมาค่อนข้างเข้าใจง่ายและแม่นยำ จึงทำให้เครื่องมือนี้เป็นที่ถูกใจใครหลายๆ คน
4) Python – เป็นโปรแกรมที่ต้องการความชำนาญในการเขียนโปรแกรม และโค้ดดิ้งพอสมควร แต่ถ้าหากคุณไม่มีปัญหาเรื่องโค้ดแล้วละก็ Python เป็นอะไรที่เหมาะมากในการจัดการ Data ของคุณ จุดเด่นที่สำคัญอีกอย่างก็ คือ Python มีผู้ใช้เป็นจำนวนมาก จึงมีคอมมูนิตี้ที่แบ่งปันโค้ด และซัพพอร์ตกัน จุดนี้จะทำให้คุณประหยัดเวลาในการเขียนโค้ดไปได้มากทีเดียว
3 เครื่องมือสำหรับ
การแสดงผลข้อมูล (Data Visualization Tools)
1) Tableau – หลายๆ คนยกให้ Tableau เป็นเครื่องมือที่ดีที่สุดในการแสดงผลวิเคราะห์ข้อมูลในรูปแบบกราฟ หรือแผนภูมิแบบ Interactive และ Dashboard เพราะไม่จำเป็นต้องเขียนโค้ดใดๆ ใช้ง่ายเพียงแค่ลากและวาง (Drag & Drop Interface) และให้ผลลัพธ์ที่ต้องการด้วยเวลาเพียงไม่กี่นาที
โดย Tableau นั้นสามารถทำงานได้อย่างลื่นไหลบนระบบปฏิบัติการอย่าง Mac OS และ Windows อีกทั้งยังจัดเก็บผลงานที่สร้างไว้ลงบน cloud หรือทำงานข้ามแพลตฟอร์มอื่นๆ ของ Tableau ได้อีกด้วย จึง สะดวกที่สุด! เพราะผู้ใช้งานสามารถใช้ Tableau จากที่ไหนก็ได้
2) Microsoft Power BI – หนึ่งในเครื่องมือยอดนิยมตลอดกาลในสายงาน Data เพราะเพียงแค่คุณมี Windows ก็สามารถเข้าใช้งาน MS Power BI ได้ อีกทั้งโปรแกรมนี้ยังใช้งานง่าย และเต็มไปด้วยฟังก์ชั่นเด็ดๆ โดย Power Bi นั้น สามารถทำงานแบบ Cross-Platform ได้กับแทบทุกโปรแกรมของ Microsoft อีกทั้งยังดึง Data จากฐานข้อมูลต่างๆ อย่าง Excel, Text File และแพลตฟอร์มอื่นๆ อย่าง Google Analytics, Facebook Insights, SAP HANA และ Hadoop
ผู้ใช้งาน MS Power BI สามารถสร้างข้อมูลในรูปแบบกราฟ แผนภูมิ แดชบอร์ด หรือทำรีพอร์ทเองได้โดยไม่จำเป็นต้องมีความรู้เรื่องโค้ดดิ้ง และโปรแกรมนี้ยังรองรับการ Export ไฟล์ที่แสดงผลได้บน Desktop, Web, Apps แถมยังสามารถจัดการข้อมูล Big Data แบบเชิงลึกได้อย่างทรงประสิทธิภาพมากอีกด้วย
3) Google Data Studio – เป็นตัวเลือกที่ดีที่สุดสำหรับมือใหม่ เพราะ Google ได้จัดทำคลิปวิดีโอสอนการใช้งานแพลตฟอร์มนี้ ตั้งแต่ขั้นพื้นฐานจนถึงระดับสูงไว้แล้ว ผู้ใช้งานจึงสามารถฝึกทำ Data Visualization อย่าง Google Data Studio ได้สบายๆ และโปรแกรมนี้ยังสามารถใช้งานร่วมกับ Google Analytics, Google Ads, Google Search Console และ YouTube ได้อีกด้วย
.
ครบแล้วครับ สำหรับ 7 เครื่องมือฟรี! ที่ช่วยให้งานสาย Data ง่ายขึ้น หวังว่าบทความนี้ ผู้อ่านจะได้ไอเดียที่จะช่วยให้เลือกใช้เครื่องมือได้ตรงใจ ( หรือจะลองดาวน์โหลดมาใช้ทั้ง 7 ตัว เพื่อเพิ่มทักษะด้านวิเคราะห์และนำเสนอก็ยิ่งเจ๋ง ) ส่วนถ้าใครอยากรู้วิธีการเลือกใช้เครื่องมือวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ ให้ละเอียดยิ่งขึ้นกว่านี้ Eddu ก็มีคอร์สสอนเกี่ยวกับ Data Analytics โดยเน้นไปที่
✅ ทำ Dashboard สรุปข้อมูลให้เข้าใจง่าย นำเสนอได้อย่างมีประสิทธิภาพ
✅ การวิเคราะห์ตลาด มองหาความน่าจะเป็น ตั้งสมมติฐาน และประเมินความได้เปรียบของธุรกิจ ด้วย Data
รับรองว่า คอร์สนี้อัดแน่นไปด้วยคุณภาพ และพร้อมจะเปลี่ยนให้คุณเป็นมือโปรด้านนี้เลย!
สมัครเลย!
หลักสูตร
Data Analytics & Visualization
ใช้ Data มาช่วยทำธุรกิจ / การตลาด ในยุค 4.0
แถมให้พิเศษ! สอน Google Data Studio ทำ Data Visualization
หลักสูตร Data Analytics & Visualization 12 ชั่วโมง
ลดพิเศษ เพียง 4,999.- จาก 12,900.-
อ้างอิง
https://towardsdatascience.com/10-data-analysis-tools-for-beginners-and-experts-2d083203b06e
https://stepstraining.co/analytics/6-data-analytics-tools-for-marketing
https://hevodata.com/learn/data-management-tools/
https://statanalytica.com/blog/data-analytics-tools/
https://www.softwaretestinghelp.com/data-analysis-tools/#18_Google_Fusion_Tables
https://www.edureka.co/blog/top-10-data-analytics-tools/#randpython
https://digitalbusinessconsult.asia/view/3170/
https://www.techstarthailand.com/blog/detail/Top-6-Data-Analytics-Tools-in-2019/1072
https://www.mandalasystem.com/blog/th/53/big-data-26082020#
https://blog.skooldio.com/4tools-for-data-visualization/
6 ข้อดีของ Data Driven Marketing
ที่จะพาธุรกิจคุณเติบโตแบบก้าวกระโดด
ในยุคดิจิทัลที่อะไรๆ ก็เป็นข้อมูล (Data) ไปซะหมด ไม่ว่าคุณจะขยับตัวไปไหนหรือทำอะไรในโลกออนไลน์ ล้วนเก็บเป็นข้อมูลเพื่อนำไปพัฒนาสินค้าและบริการได้ทั้งนั้น
.
ผมเชื่อว่า คุณต้องเคยเจอเหตุการณ์ที่แค่พูดหรือพิมพ์ชื่อสิ่งที่อยากได้กับเพื่อน ทันใดนั้น.. ของสิ่งนั้นก็โผล่ขึ้นมาในฟีด (Feed) ของคุณ!
.
นี่แหละ คือโลกแห่ง Marketing ที่ทรงประสิทธิภาพมากกว่าที่คุณคิด และนี่จึงเป็นเหตุผลว่า ทำไมนักการตลาดและธุรกิจ ควรหันมาใช้ Data Driven Marketing ซึ่งในบทความนี้ Eddu จะพาคุณไปรู้จักกับ “กลยุทธ์การตลาดที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล” ที่คุณเองก็สามารถเรียนรู้ และนำไปปรับใช้กับธุรกิจของคุณ เพื่อสร้างรายได้และกำไรได้อย่างมหาศาลเลยทีเดียว
Data Driven Marketing คืออะไร?
Data Driven Marketing หรือ การตลาดที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล เกิดจากการรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่างๆ เช่น ข้อมูลจากแคมเปญโฆษณา (Marketing Campaign) การปฏิสัมพันธ์กับลูกค้าโดยตรง (Direct Interaction) การวิจัยด้วยตนเอง หรือผลสำรวจต่างๆ (Research) หรือการใช้เทคโนโลยีในการช่วยค้นหาอย่างแพลตฟอร์มอัจฉริยะอย่าง Trello, Medium หรือ Cognism โดยนักการตลาดจะนำข้อมูลที่ได้นี้ มาวิเคราะห์เพื่อที่จะ ทำความรู้จัก และเข้าใจความคิดจากมุมมองของลูกค้าให้มากขึ้น และต่อยอดนำไปพัฒนาธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ ยกตัวอย่างการใช้ Data Driven Marketing ง่ายๆ เลยก็คือ
หากคุณกำลังจะเริ่มขายสินค้าอะไรสักอย่าง คำถามเริ่มต้นก็มี..
คุณจะเริ่มโปรโมทสินค้า และวางแผนเสนอโปรโมชั่นอย่างไร? และทำอย่างไรจะแน่ใจได้ว่า กลุ่มลูกค้าของคุณเห็นโฆษณาของคุณแล้ว? และมั่นใจได้อย่างไรว่า โฆษณาสินค้าของคุณจะได้รับความสนใจ? หรือยอดขายจะได้ตามเป้าหมายที่ตั้งเอาไว้?
.
คำตอบของคำถามของเริ่มแคมเปญเหล่านี้จะชัดเจนขึ้น หากคุณมี Data ของลูกค้ามากพอที่จะคาดการณ์แนวโน้มในอนาคต และมันจะช่วยให้คุณตัดสินใจเลือกใช้กลยุทธ์ทางธุรกิจที่ชาญฉลาด (Smart Business Decision) และลดรายจ่ายค่าโฆษณาที่ไม่เกิดประโยชน์ได้มากโขเลยล่ะครับ
.
และนอกจากกำหนดทิศทางของสินค้าและบริการ รวมทั้งวางกลยุทธ์การขายแล้ว แล้ว Data Driven Marketing ยังสามารถเพิ่มประสิทธิภาพขององค์กรและพนักงานได้อีกด้วยนะครับ
.
และบทความนี้ Eddu จะพาคุณไปพบกับ 6 วิธี ที่จะใช้ Data Driven Marketing ให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับธุรกิจของคุณ
1) เพิ่มผลกำไร ด้วยการสร้างความน่าประทับใจให้ User Experience
การศึกษาและเก็บข้อมูลเกี่ยวกับ Customer Journey หรือ เส้นทางของผู้บริโภคตั้งแต่ก่อนจะเป็นลูกค้า จนตัดสินใจซื้อ รวมถึงการกลับมาซื้อสินค้าหรือใช้บริการซ้ำ โดยอาจจะเก็บข้อมูลผ่านการมีปฏิสัมพันธ์โดยตรงของพนักงานขายกับลูกค้า หรือการรับฟี้ดแบคทางออนไลน์ก็ดี ล้วนช่วยทำให้เราทราบถึงพฤติกรรมของผู้บริโภค และความพึงพอใจของผู้บริโภคได้มากขึ้น
ซึ่งหากแบรนด์หมั่นสอบถามลูกค้าเป็นประจำ และรวบรวมข้อมูลไว้ ก็จะสามารถนำข้อมูลเหล่านี้ มาช่วยเสริมประสบการณ์ของผู้บริโภค (User Experience) ให้ดียิ่งขึ้น เพื่อที่จะสร้างความจงรักภักดีต่อแบรนด์ (Brand Loyalty) ให้ลูกค้ากลับมาใช้บริการซ้ำ หรือสร้างกระแสบอกต่อแบบปากต่อปาก (Word of Mouth) เพื่อขยายฐานลูกค้าพร้อมทั้งปิดการขายได้ไวขึ้น ซึ่งจะทำให้ยอดขายและผลกำไรเพิ่มขึ้นแบบเห็นได้ชัด
2) พัฒนาผลิตภัณฑ์หรือบริการ ด้วย Insight Driven Product/Service
Data Driven Marketing นั้นเป็นตัวช่วยของนักการตลาดให้สามารถเข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้แบบทุกที่ทุกเวลา เช่น โฆษณาที่ปรากฎบนหน้าฟีด Social Media ระหว่างเล่นมือถือ หรือแบนเนอร์ที่ตามติดบนหน้าเวปไซต์ที่คุณกำลังอ่านอยู่ก็ตาม สิ่งเหล่านี้ทำให้ลูกค้าของคุณแทบจะเห็นแบรนด์ของคุณอยู่ตลอดเวลา และแอคชั่นที่ลูกค้าตอบรับกับโฆษณาเหล่านั้น ไม่ว่าจะ click หรือ reject ก็สามารถนำมาพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือบริการของคุณให้โดนใจกลุ่มลูกค้าได้มากกว่าเดิม เรียกได้ว่าเป็นการสร้างมาตรฐานที่ดีให้กับแบรนด์ เพิ่มความสัมพันธ์กับลูกค้าให้แน่นแฟ้น (Customer Relationship Management หรือ CRM) และทั้งหมดนี้ยังสามารถนำไปต่อยอดในการวางกลยุทธ์ทางธุรกิจในอนาคต
3) เพิ่มประสิทธิภาพในการตัดสินใจเชิงธุรกิจ และการวางแผนกลยุทธ์ (Effective Strategy Planning and Data Driven Decision)
ยิ่งองค์กรของคุณมีฐานของข้อมูลมากเท่าไหร่ การตัดสินใจแก้ไขปัญหาต่างๆ จะยิ่งรวดเร็ว และแม่นยำมากขึ้นเท่านั้น จากสถิติของบริษัทวิจัยชั้นนำอย่าง Gartner พบว่า 76% ของนักการตลาดนั้นสามารถตัดสินใจเชิงธุรกิจ (Effective Strategy Decision) ได้ดีขึ้นตามความละเอียดของฐานข้อมูลเชิงลึก (Customer Insight)
ซึ่งนั่นหมายความว่า องค์กรสามารถวางแผนกลยุทธ์การตลาดแบบเฉพาะเจาะจง (Personalized Ads) หรือเลือกใช้ช่องทางการโปรโมทแบรนด์แบบเข้าถึงกลุ่มลูกค้าทั้งหน้าเก่าและหน้าใหม่ได้อย่างตรงจุด
5) ประเมินผลงาน และพัฒนาบุคลากรผ่าน Data Driven Strategy
การนำเอา Data มาผนวกกับ Online Marketing นั้น ทำให้การวัดผลของแคมเปญง่ายขึ้น และชัดเจนมากขึ้น โดยวัดผลได้จาก Conversion ที่ได้กลับมา ( อาจจะเป็นการซื้อ การคลิกอ่าน การแชร์ต่อ ฯลฯ ขึ้นอยู่กับจุดประสงค์ของแคมเปญนั้นๆ ) เทียบกับงบประมาณที่ใช้จ่ายไป
โดยองค์กรที่นำ Data Driven Strategy มาใช้นั้น จะสามารถเพิ่มประสิทธิภาพ และประสิทธิผลของกลยุทธ์ต่างๆ ได้อย่างคุ้มค่ามากขึ้น ซึ่งในขณะเดียวกันผลลัพธ์ของแคมเปญเหล่านี้ ยังสามารถใช้เพื่อประเมินผลงานของนักการตลาดในองค์กรผ่านดัชนีชี้วัดผลงาน (KPI) เพื่อพัฒนาศักยภาพของบุคลากรได้อีกด้วย
6) สร้างประสบการณ์แบบไร้รอยต่อผ่านช่องทาง Omni-Channel ให้ดียิ่งขึ้น
Omni Channel คือ การสร้างประสบการณ์ที่ดีให้ลูกค้าแบบไร้ร้อยต่อ (Seamless User Experience) โดยการรวมทุกช่องทางที่ลูกค้าติดต่อ Brand เข้ามาไว้ในที่เดียว ทั้งหน้าร้าน , Social Media ,Website, Application ต่างๆ ทำให้ไม่ว่าลูกค้าจะติดต่อมาจากช่องทางไหน ก็จะได้รับประสบการณ์เดียวกันแบบไร้รอยต่อนั่นเอง
และ Data Driven Marketing จะช่วยให้แบรนด์รู้ได้ว่า ช่องทางไหนคือช่องทางที่ดีที่สุดกับกลุ่มลูกค้าของคุณ และเพราะอะไร? ซึ่งคำตอบนี้จะทำให้แบรนด์สามารถเพิ่มความสะดวกสบาย และความรู้สึกพึงพอใจแบบเดียวกันให้ในช่องทางอื่นๆ สิ่งนี้ช่วยให้ลูกค้าเก่าติดหนึบ และขยายกลุ่มลูกค้าใหม่ๆ ได้มากขึ้นอีกด้วย
.
เรื่องราวของ Data และ Big Data นั้นยังมีอีกมากมายที่เราสามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์กับแบรนด์ได้ โดยเฉพาะในบทความนี้ >> Data Driven Marketing << ที่หากคุณสามารถจับจุดได้อย่างถูกต้อง และนำไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ แบรนด์ของคุณจะสามารถเข้าใจลูกค้าได้อย่างถ่องแท้ ไม่ว่าจะเป็นวิธีในการเข้าถึงสินค้า พฤติกรรมในการเลือกบริโภค รวมไปถึงสิ่งที่ชอบและไม่ชอบในแบรนด์ของคุณ ตลอดไปจนปัญหาอะไรที่ลูกค้ายังคงรอคอยการปรับปรุง (Pain Point) ในช่องทางการติดต่อต่างๆ (Touchpoints)
และถ้าหากคุณพร้อมแล้วที่จะเรียนรู้ Data Driven Marketing เพื่อนำเทคนิคนี้มาใช้พัฒนาธุรกิจแล้วล่ะก็ EDDU ก็มี หลักสูตร Data Analytics & Visualization ที่ได้รวบรวมทุกกลเม็ดเคล็ดลับที่จะทำให้คุณกลายเป็นเซียน Data และประสบความสำเร็จในยุค 4.0 อย่างรวดเร็วแบบที่คุณไม่ต้องมีพื้นฐานมาก่อนเลย
สมัครเลย!
หลักสูตร
Data Analytics & Visualization
ใช้ Data มาช่วยทำธุรกิจ / การตลาด ในยุค 4.0
แถมให้พิเศษ! สอน Google Data Studio ทำ Data Visualization
หลักสูตร Data Analytics & Visualization 12 ชั่วโมง
ลดพิเศษ เพียง 4,999.- จาก 12,900.-
อ้างอิง
https://www.cognism.com/what-is-data-driven-marketing
https://www.demandjump.com/blog/what-is-data-driven-marketing
https://www.makethunder.com/data-driven-marketing-definition-examples/
https://www.marketingevolution.com/marketing-essentials/data-driven-marketing
https://www.adverity.com/data-driven-marketing
https://www.gartner.com/en/documents/3883171
ในยุคที่ต้องยอมรับว่า สิ่งแรกที่เรามักจะทำหลังจากกด snooze นาฬิกาปลุกบนสมาร์ทโฟน ก็คือ การเปิด IG หรือ Facebook เผื่อไถฟีด “อัพเดทเรื่องราวใหม่ๆ” ที่อาจเกิดขึ้นระหว่างที่หลับ ซึ่งบางครั้งการต้อง “เห็นรูปหรือไฟล์ที่ไม่คมชัด” ก็พาลทำให้รู้สึกหงุดหงิดใจอยู่ไม่น้อย
.
ในขณะเดียวกัน หากคุณเป็นแบรนด์ หรือแอดมินเพจที่มีหน้าที่ดูแลช่องทางการติดต่อที่สำคัญที่สุดในยุคนี้ อย่าง Social Media แล้วล่ะก็ การอัพโหลดรูปที่ผิดสัดส่วนนั้น คงมีผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของแบรนด์อย่างแน่นอน แต่เมื่อคุณได้อ่านบทความนี้ รับรองว่า ปัญหาเหล่านั้นจะหมดไปเพราะ Eddu จัดมาให้แล้ว! สำหรับขนาดและความละเอียดภาพ เวอร์ชั่นอัปเดตล่าสุดปี 2022 ที่จะช่วยให้แอดโฆษณาบน Facebook และ Instagram ของแบรนด์คุณสวยสะดุด ปั๊วปัง ไม่มีพัง ไม่มีพลาดแน่นอนครับ!
INSTAGRAM
จำเอาไว้ว่า ขนาดที่ดีที่สุด สำหรับโพสต์รูปลง IG นั้น คือ
สี่เหลี่ยมจตุรัส หรือ ขนาด 1080 x 1080 pixels นั่นเอง
แต่หากจำเป็น คุณก็สามารถโพสต์รูปเดี่ยวเป็นทรงแนวตั้ง และแนวนอนในแสดงผลในฟี้ดได้ โดยขนาดและสัดส่วนที่เหมาะสมก็ คือ
นอกจากรูปเดี่ยวๆ แล้ว Instagram ยังสามารถโพสต์หลายรูปพร้อมกันได้ด้วย (หรือเรียกว่า Carousel) ซึ่งในฟังก์ชันนี้ ต้องเช็คขนาดรูปให้เท่ากันก่อนโพสต์ เพราะหากโพสต์รูปต่างขนาดกัน ทุกรูปจะถูกครอปตัดให้เท่ากับรูปแรก ซึ่งอาจส่งผลให้ข้อความที่แบรนด์ต้องการจะสื่อสารในรูปบางส่วนขาดหายไป จุดนี้ต้องระวังให้ดีทีเดียว!
.
IG STORY
อีกฟีเจอร์หนึ่งที่เป็นที่นิยมมากจน เรียกได้ว่า ฮอตฮิตแซงการโพสต์รูปแบบปกติไปแล้ว นั่นก็คือ Instagram Stories และ Highlights ที่ช่วยให้แบรนด์นำรูปหรือวิดีโอที่เคยอัพโหลดเอาไว้ก่อนหน้านี้ มาปักหมุดบนสุดของหน้าแอปฯ ให้ผู้สนใจเข้าถึงได้ง่ายขึ้น เรียกว่า ลูกค้าไม่มีพลาดทั้งโพสต์โปรโมชั่น และอีเว้นท์ต่างๆ แน่นอน ซึ่งอัตราส่วน และขนาดที่แนะนำสำหรับ IG Story คือ 9 : 16 หรือ 1080 x 1920 px และแสดงผลเป็นแนวตั้งเท่านั้น ( หากรูปหรือคลิปสั้นกว่าขนาดดังกล่าว จะถูกต่อขอบบนล่างจนเต็มขนาด 9 : 16 ) และความยาวที่เหมาะสมที่สุด สำหรับ IG Story คือ 15 วินาที หากยาวกว่านั้นจะถูกตัดแบ่ง และต่อคิวโชว์เป็น Story ถัดไป
.
Instagram Video หรือ IGTV
หลังจาก Instagram ได้รวม IGTV และหน้าฟีดหลักเข้าด้วยกันโดยไม่มีการแยกตัวฟีเจอร์นี้ออกไป ฟอร์แมตของแพลตฟอร์มก็ได้เปลี่ยนเป็น ‘Instagram Video’ เป็นที่เรียบร้อย โดยสามารถโพสต์คลิปที่มีความยาวได้สูงที่สุดถึง 10 นาทีเลยทีเดียว แต่คลิปบน Instagram Video จะแสดงผลที่หน้าฟีดหลักเพียง 1 นาทีเท่านั้น หากต้องการชมต่อ ผู้ชมจะต้องคลิกถึงจะเข้าไปชมคลิปเต็มได้
Instagram Video นั้น สามารถอัปโหลดคลิปที่มีขนาดเท่ากับการโพสต์รูปเดี่ยวเลย คือ
โดยที่ความละเอียด (Resolution) ขั้นต่ำของวิดีโอคือ 600 pixels
และเรื่องสำคัญที่ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ คือ รูปหน้าปกของ IGTV จะมีความแตกต่างจากขนาดรูปอื่น ๆ เล็กน้อย โดย อัตราส่วน คือ 1 : 1.55 และขนาดที่แนะนำ คือ 420 x 654 px
.
REEL
เรียกได้ว่าเป็นหมัดเด็ดของ Instagram ในการต่อสู้กับคู่แข่งสำคัญอย่าง TikTok เลยก็ว่าได้ เพราะ Reel เป็นฟังก์ชันอัปโหลดคอนเทนต์วิดีโอสั้นที่กำลังมาแรงแซงทุกแพลตฟอร์ม โดยขณะนี้ reel สามารถเลือกกำหนดเวลาโพสต์คลิปได้ที่ 15 / 30 / 45 และยาวที่สุด คือ 60 วินาที
สำหรับขนาดและสัดส่วนที่เหมาะสมที่สุดสำหรับ Reel คือ 9 : 16 หรือ 1080 x 1920 px และเป็นแนวตั้ง
.
FACEBOOK
ด้วยความที่คนไทยส่วนใหญ่นั้นใช้ Facebook กันเยอะเป็นอันดับต้นๆ ของโลก การแชร์รูปที่ขนาดถูกต้องและโดดเด่น จะสามารถดึงดูดผู้สนใจให้เข้ามาดูโพสต์ของคุณได้มากขึ้น (Reach) ซึ่งนั่นก็หมายถึง โอกาสในการขายที่มากขึ้นเช่นกัน
.
Profile and Facebook Cover
เป็นรูปแรกที่จะเห็นเมื่อเข้ามาในเพจ Facebook เลยล่ะ ซึ่งขนาดมาตรฐานของ Profile จะอยู่ที่ 180 pixels x 180 pixels และขนาดของ Cover จะอยู่ที่ 820 pixels x 312 pixels โดยแสดงผลเต็มภาพบน Destop แต่แสดงผลแค่ตรงกลางบนโมบาย คือ 560 x 312 pixels
.
Facebook Stories
ปัจจุบัน Stories บน Facebook รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ จึงเป็นอีกหนึ่ง Placement ที่ไม่ควรพลาด โดย Facebook Stories มีการแสดงผลเป็นรูปแบบแนวตั้ง
ซึ่งสามารถอัปโหลดคลิปได้ทั้งแนวตั้งและแนวนอน แต่ขนาดที่เหมาะสม ที่สุด คือ แนวตั้ง 1080 x 1920 px
.
Facebook Posts
หากแบรนด์คุณมีเว็บไซต์ขายของออนไลน์ การแชร์ลิงก์ไว้บน Social Media เป็นการสร้าง Traffic เข้าเว็บไซต์ที่ช่วยเพิ่มคะแนน SEO ได้ดีมาก ซึ่งการใช้รูปภาพที่เหมาะสมจะทำให้การแชร์ลิงก์ดูน่าสนใจมากยิ่งขึ้น
รูปภาพที่อยู่บนลิงก์ที่ถูกแชร์มายัง Facebook จะเป็นภาพเดียวกันกับภาพประกอบบทความที่อยู่เว็บไซต์ หรือไม่ก็ได้ ซึ่งสัดส่วนรูปที่เหมาะสมคือ สัดส่วน 1.91:1 หรือ 1200 x 628 px
การโพสต์รูปเป็นแบบอัลบั้ม จะช่วยให้สินค้าดูมีความน่าสนใจได้มากกว่าการโพสต์รูปเดี่ยว โดยเฉพาะโพสต์ที่แจ้งรายละเอียดเพิ่มเติม การแสดงข้อมูลด้วยภาพหลายๆ ภาพ จะสามารถเล่าเรื่องราวได้มากกว่า
ซึ่งขนาดและความละเอียดที่เหมาะสมสำหรับโพสต์แบบอัลบั้ม คือ
ขนาดที่เหมาะสม คือ 1200 × 600 px (สำหรับหน้าปก) 1200 × 1200 px (สำหรับภาพด้านใน)
ขนาดที่เหมาะสม คือ 1200 × 800 px (สำหรับหน้าปก) 1200 × 1200 px (สำหรับภาพด้านใน)
ขนาดที่เหมาะสม คือ 600 × 1200 px (สำหรับหน้าปก) 1200 × 1200 px (สำหรับภาพด้านใน)
ขนาดที่เหมาะสม คือ 800 × 1200 px (สำหรับหน้าปก) 1200 × 1200 px (สำหรับภาพด้านใน)
.
หวังว่าบทความนี้จะช่วยให้เจ้าของธุรกิจ หรือ Content Creator ทั้งหลายได้ข้อมูลแบบครบถ้วนเพื่อนำไปใช้ปรับแต่งหน้าโซเชียลมีเดียของคุณให้สวยงามและโดดเด่นขึ้นมาได้นะครับ และถ้าเพื่อนๆ คนไหนอยากเจาะลึกรายละเอียดที่จำเป็นหรือเคล็ดลับที่ไม่มีใครเคยบอกมาก่อนเกี่ยวกับการทำแบรนด์ผ่าน Social Media ให้ปัง! ทาง Eddu ก็มีคอร์สที่สอนเรื่องนี้โดยเฉพาะอย่างหลักสูตร Graphic Design 2 in 1 Adobe Photoshop & Illustrator ก็เปลี่ยนคุณเป็นนักออกแบบมืออาชีพได้! สามารถกดดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่นี่ได้เลย
สมัครเลย!
หลักสูตร Graphic Design 2 in 1
Adobe Photoshop & Illustrator
หลักสูตรที่ครบเครื่องที่สุด ในการออกแบบ Graphic สอนตั้งแต่หลักการพื้นฐานในการจัดวาง จนถึงจับมือพาทำโปรแกรม Adobe Photoshop & Illustrator โดยนักออกแบบมืออาชีพ
อ้างอิง
https://visme.co/blog/social-media-image-sizes/www.missyano.comwww.veed.io
เทคนิคลับสำหรับ Excel ให้คุณทำงานได้เร็วขึ้น
ถ้าพูดถึงโปรแกรม Microsoft Excel โปรแกรมที่มักนิยมใช้ในการสร้างตารางทำงาน จัดตารางสวยงาม ในรูปแบบต่าง ๆ รวมถึงเป็นโปรแกรมสำหรับการคำนวณ สร้างกราฟ สร้างรายงานสรุปยอดต่างๆ ซึ่งมือใหม่หัดใช้โปรแกรมนี้อาจไม่รู้เทคนิคพิเศษที่จะทำให้ทำงานได้เร็วและถูกต้องแม่นยำ เพราะ Excel เป็นโปรแกรมที่มีความสามารถหลากหลาย และคนใช้งานต้องมีความเข้าใจที่ค่อนข้างลึกซึ้งจึงจะพลิกแพลงการทำงานได้ดียิ่งขึ้น ดังนั้นเราจึงมัดรวมเทคนิคง่ายๆสำหรับการใช้งาน Excel เพื่อให้ทำงานได้เร็วขึ้นกว่าเดิม ดังนี้
นอกจากเป็นการ Copy ข้อมูลแล้วยังสามารถลอกสูตรได้ด้วยและยังสามารถใช้ในการรันเลข, คำนวน เพียงพิมพ์ค่าตั้งต้นอย่างน้อย 2 ช่อง คลุมดำทั้ง 2 ช่อง และกดสี่เหลี่ยมเล็กๆมุมล่างขวาแล้วลากลงมาตามที่เราต้องการได้เลย สะดวกมากๆ
วิธีการ คือ เลือก Cell หนึ่งในข้อมูล จากนั้นไปที่ Data >> Filter จากนั้นก็เลือก Filter ว่าจะดูเฉพาะรายการไหน ซึ่งพอ Filter ข้อมูลจะแสดงเฉพาะ Filter ที่เราต้องการเห็น
Ctrl + Shift + ! สำหรับเปลี่ยนให้เป็นจุดทศนิยมสองตัว
Ctrl + Shift + $ สำหรับแปลงสกุลเงินเป็นดอลลาร์
Ctrl + Shift + % สำหรับเปลี่ยนเป็นเปอร์เซ็นต์
Ctrl + คลิกช่องที่ต้องการเลือกข้อมูล สำหรับเลือกข้อมูลที่ไม่ต่อกัน
การใช้ Excel ยังมีอีกหลากหลายวิธี และหลายสูตรที่คนทำงานสาย Data ทั้งหลายควรรู้เพื่อให้การทำงานที่ง่ายและรวดเร็วขึ้น สามารถลงลึกเจาะดีเทลได้อีกที่ https://eddu.org/course-microsoft-office/
ที่มา
www.thepexcel.com
เมื่อคนรุ่นใหม่ไม่ได้มีรายได้ทางเดียว
ยุคสมัยที่เปลี่ยนไป ทำให้การมีรายได้ช่องทางเดียวจากงานประจำเริ่มไม่มั่นคงและไม่เพียงพอสำหรับใครหลายคน อย่างสถานการณ์ Covid-19 ที่เกิดขึ้นทั่วโลกที่ทำให้หลายกิจการต้องปิดตัวลงบ้าง หยุดชั่วคราวบาง หลายคนขาดรายได้อย่างไม่ทันตั้งตัว ทำให้หลายคนเกิดความคิดที่ว่า งานประจำเพียงอย่างเดียวมีความเสี่ยง ควรมีงานสำรอง หรือ second job ด้วย เพื่อสร้างความมั่นคงกว่าเดิมให้ตัวเอง
อย่างไรก็ตาม การมีงานที่สองเป็นงานเสริมนั้น ก็ได้เป็นที่นิยมมากขึ้นเรื่อยๆ อย่างในกลุ่มเด็กรุ่นใหม่ที่มีงานเสริมนั้น ไม่ได้เกิดจากปัญหาทางเศรษฐกิจ แต่เป็นเรื่องของการทำงานเพื่อความรู้สึกของตัวเอง คือ มีงานประจำไว้เพื่อสร้างฐานะให้มั่นคง แต่ในขณะเดียวกันก็เลือกทำอีกงานควบคู่กันไป เพื่อจะได้ทำในสิ่งที่รักหล่อเลี้ยงจิตใจและมีผลพลอยได้เป็นรายได้ที่เพิ่มมากขึ้นจนสูสีหรือมากกว่างานประจำด้วยซ้ำ
อย่างไรก็ตามมีงานอีกประเภท ที่เรียกว่า งานฟรีแลนซ์ เป็นงานที่มีอิสระ ไม่มีกำหนดตายตัวว่าต้องเข้างานเลิกงานกี่โมง อาจจะไม่มีออฟฟิศประจำ หรือมีก็ได้ สามารถทำงานได้จากทุกที่ สามารถรับงานจากนายจ้างได้หลายๆคน งานฟรีแลนซ์นี้มีความคาบเกี่ยวกับงานที่สองพอสมควร เพราะบางคนที่ทำงานฟรีแลนซ์อาจจะไม่มีงานประจำเลยก็ได้ รับงานหลายๆจ็อบอย่างอิสระ แต่บางคนก็รับทำงานฟรีแลนซ์ในลักษณะที่เป็นสัญญาประจำ เช่น งาน Admin ตอบไลน์ หรือ ทำ Content ลงเพจให้ทุกสัปดาห์ หรือทุกเดือน โดยตกลงกันทำงานร่วมกันในระยะยาว
ดังนั้นงานเสริม หรืองานฟรีแลนซ์ ที่เลือกทำกันนั้น จึงมีความคล้ายตรงที่เป็นเหมือนโรงเรียนเล็กๆ ที่ทำให้เราได้ฝึกลองมือซึ่งบางครั้งงานประจำในออฟฟิศก็ไม่สามารถให้สิ่งนี้กับเราได้ บางคนค้นพบตัวเองมากขึ้นจากการทำงานเสริม หรืองานฟรีแลนซ์ โดยอาศัยสิ่งที่ตัวเองสนใจหรือมีความถนัดเป็นพื้นฐาน การได้ลองเอาสิ่งที่รักที่ชอบมาเป็นงานจริงๆ อาจทำให้เราได้รู้จักตัวเองมากขึ้นว่าเรารักในสิ่งนั้นจริงๆ ซึ่งเป้าหมายของการทำงานเสริม ส่วนมากจะแบ่งได้เป็น 2 ระยะ
1. เป้าหมายระยะสั้น ทำเป็นจ็อบๆ เป็นสัญญาระยะสั้น 1 เดือน 3 เดือน เช่น การทำงานกราฟฟิค ทำโลโก้ ทำแบบแพคเกจสินค้า หรือรับเป็นงานๆไป เช่น แปลงาน รับหิ้วของจากการไปต่างประเทศ การขับ Grab ซึ่งข้อดีของการหารายได้เสริมลักษณะนี้คือ ไม่มีข้อผูกมัด สามารถเปลี่ยนงานเสริมได้เรื่อยๆ อาจจะไม่ได้อินกับงานที่ทำเท่าไหร่นัก แต่ว่าเป็นงานที่เรามีความถนัด เลยคุ้มค่าที่จะทำเพิ่ม
2. เป้าหมายระยะยาว คือ มีอีกอาชีพหนึ่งขนานกันไปกับงานประจำ เช่น ในขณะที่เป็นพนักงานออฟฟิศ ก็เปิดร้านอาหารด้วย หลังเลิกงานก็ต้องเข้าร้านเพื่อไปควบคุมดูแลกิจการให้ดำเนินไปได้ งานเสริมที่มีเป้าหมายระยะยาวอย่างนี้อาจสร้างรายได้ให้มากจนบางครั้งอาจมากกว่าอาชีพหลัก หรือบางครั้งก็สามารถทำเพื่อเติมเต็มความฝันและยังได้คอนเน็กชั่น ประสบการณ์ที่มากกว่าการทำงานประจำเพียงอย่างเดียว
ส่วนมือใหม่ที่อยากหางานเสริม หรืองานฟรีแลนซ์ทำเพิ่ม ควรเริ่มจาก
อย่างไรก็ตามงานเสริมยังมีอีกมากมาย เช่น แปลภาษา ติวเตอร์ ขับ Grab การตัดสินใจเลือกทำงานเสริมอะไรแล้วก็ควรให้ความสำคัญไม่แพ้ไปกับการทำงานประจำ เพื่อให้เกิดวินัยในตัวเอง และเกิดความภาคภูมิใจในงานที่ทำออกมา นำสู่การต่อยอดการมีรายได้ที่มากขึ้นนั่นเอง
ที่มา https://thestandard.co/podcast/ihatemyjob14/
เปลี่ยน PRESENTATION ชวนหลับ!
ให้น่าสนใจกว่าเดิม ด้วยเทคนิค 10/20/30 จาก Apple
ผมเชื่อว่าใครหลายคนที่กำลังอ่านบทความนี้ จะต้องเคยผ่านการทำสไลด์ หรือ presentation มานับครั้งไม่ถ้วน เริ่มตั้งแต่มัธยม จนถึงวัยทำงาน (บางคนนับได้เป็นร้อยสไลด์แล้วกระมัง) และผมก็เชื่ออีกว่า น้อยคนที่จะรู้ว่า การทำ Presentation ผ่านโปรแกรม Power Point ที่ดีนั้น ต้องประกอบด้วยสิ่งจำเป็นอะไรบ้าง?
ไม่ใช่แค่ความสวยงาม รูปที่น่าสนใจ หรืออนิเมชั่นเคลื่อนไหวว้าวๆ เท่านั้นนะครับ presentation ที่ดี ยังประกอบด้วยสิ่งสำคัญเล็กๆ ที่หลายคนมองข้ามไป วันนี้ผมจะมาบอกเคล็ดวิธีทำ presentation แบบ 10/20/30 ให้คุณรู้ เชื่อสิ! เลขหลักสิบ 3 ตัวนี้ จะทำให้การพรีเซนต์งานของคุณเปลี่ยนไปแบบก้าวกระโดดเลยทีเดียว
.
ทฤษฎี “10/20/30”
ถูกคิดค้นขึ้นโดยคุณ Guy Kawasaki
ผู้เชี่ยวชาญด้านการทำ presentation
ผู้เป็นหนึ่งในพนักงานรุ่นบุกเบิกของบริษัท Apple ซึ่งทริคนี้ Kawasaki ได้นำมาใช้ตลอดระยะเวลาการทำงานของเขา และพบว่า presentation ของเขา ดึงดูดความสนใจของผู้ฟังได้จริง
หลักการของ “10/20/30” นั้น เป็นคอนเซปต์ที่ตรงไปตรงมาและเรียบง่าย เพียง 3 ข้อหลักๆ คือ
.
ง่ายๆ แค่นี้เองครับ
ซึ่งในแต่ละข้อนั้น ยังมี tips หรือรายละเอียดๆ ที่คุณ Kawasaki ใจดีขยายความให้พวกเราเข้าใจ และนำไปพัฒนา powerpoint ได้ดีขึ้นไปอีก ดังนี้
.
กฎข้อที่หนึ่ง 10 สไลด์
คุณ Kawasaki กล่าวว่า การที่จะทำให้ผู้ฟังเข้าใจคอนเซปต์ที่มากมายเกิน 10 อย่างนั้น เป็นเรื่องที่ท้าทายเกินไปในการนำเสนอในระยะเวลาที่จำกัด ดังนั้น การนำเสนอหัวข้อจึงควรโฟกัสที่ใจความสำคัญที่ต้องการสื่อให้ผู้ฟังได้รับทราบเป็นหลัก โดยใช้เนื้อหาที่กระชับและเข้าใจได้ง่ายที่สุด รูปแบบของสไลด์ที่ดี จึงควรมีหัวข้อสำคัญที่สามารถเห็นได้ชัด และตัวอักษรไม่เยอะเกินไป เพราะหัวใจหลักของการพรีเซนต์คือการพูด ไม่ใช่ตัวหนังสือ
.
กฎข้อที่สอง 20 นาที
หลังจากที่ได้โครงสร้างคอนเซปต์ทั้งหมดที่คุณต้องการนำเสนอใน 10 หน้าแล้ว คุณจะสามารถวางแผนการพรีเซนต์ได้อย่างง่ายดายด้วยเวลาที่จำกัดเพียงแค่ 20 นาที การแบ่งเวลาให้แก่สไลด์นั้นๆ เพื่อที่จะบอกเล่าใจความสำคัญ ก็สามารถทำได้อย่างมีแบบแผน
.
กฎข้อที่สาม 30 Point Font
การใช้ฟอนต์ที่มีขนาดไม่ต่ำกว่า 30 Point Size เป็นการดึงดูดสายตาของผู้ฟังไปที่สไลด์โดยใช้ขนาดของข้อมูลที่ใหญ่มากพอที่จะมองเห็นได้โดยไม่ต้องเพ่งสายตา และเมื่อไม่มีอะไรให้ต้องอ่าน ทุกคนก็จะสามารถโฟกัสกับการฟังสิ่งที่คุณกำลังพรีเซนต์ได้มากขึ้นอีกด้วย
.
เห็นมั้ยล่ะว่า กฎ “10/20/30” นั้นจะทำงานควบคู่กันไป หากคุณทำกฎข้อใดข้อหนึ่งมากเกินไป กฎอีกสองข้อก็จะทำหน้าที่ “ตีกรอบ” Presentation ของคุณให้เข้าที่ ไม่ว่าจะเป็นจำนวนสไลด์ ระยะเวลาที่จำกัด และขนาดของฟอนต์ จึงมั่นใจได้ว่า หากใช้กฎเหล่านี้ การพรีเซนต์ของคุณนั้นจะกระชับและเข้าใจได้ง่ายสำหรับผู้ฟังทุกคน
.
นอกเหนือจากสิ่งที่กล่าวไปข้างต้น ยังมีองค์ประกอบอื่นๆ ที่สามารถนำมาอัปเกรด PowerPoint ได้อีก เช่น
✔ การเลือกใช้ภาพที่เป็นการกระตุ้นอารมณ์ของผู้ฟัง ให้รับรู้ถึงประเด็นที่คุณกำลังนำเสนอ หรือแม้แต่การทำอินโฟกราฟิก (Infographic) ที่เป็นการแปลงสถิติมาเป็นไอค่อน หรือรูปภาพที่เข้าใจง่าย บอกเลยว่า แบบนี้สร้างความตื่นเต้นได้มากกว่ากราฟแบบวงกลม (Pie Chart) หรือกราฟแผนภูมิแท่ง (Bar Chart) อย่างแน่นอน
✔ การเลือกใช้สีให้เหมาะสมกับข้อมูลที่ต้องการนำเสนอก็เป็นสิ่งสำคัญ เช่น สีโทนร้อน ( Warm Tones) ใช้นำเสนอข้อความสำคัญที่ต้องการให้คนจดจำ หรือเลือกใช้สีโทนเย็น (Cool Tones) เพื่อเป็นภาพประกอบพื้นหลังที่ดูสบายตา ทริคเล็กๆ เหล่านี้ก็สามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงให้แก่ Presentation ของคุณได้อย่างมาก
.
หลังจากที่ได้ PowerPoint ที่น่าพอใจแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือ “การพูดนำเสนองานให้น่าสนใจ” ซึ่งหากเริ่มพูดแล้วผู้ฟังประทับใจก็การันตีได้เลยว่า คุณมีชัยไปกว่าครึ่ง โดยคุณอาจจะเลือกเปิดการพรีเซนต์ของคุณด้วย “การทำให้หัวข้อของคุณเป็นเรื่องใกล้ตัว” ที่ผู้ฟังจะสามารถเชื่อมโยงกับตัวเองได้ และเขาจะรู้สึกเป็นส่วนหนึงของการพรีเซนต์นี้ หรือแม้กระทั่งการเริ่มต้นด้วย “การตั้งคำถาม” หรือ “เริ่มด้วยคำคมของบุคคลที่มีชื่อเสียง” ก็สามารถทำให้ผู้ฟังรู้สึกประทับใจได้เช่นเดียวกัน
.
ส่วนสำคัญที่จะลืมไปไม่ได้อีกเรื่อง ก็คือ “น้ำเสียง” ของผู้พรีเซนต์ การเลือกใช้โทนเสียงที่แตกต่างกันไป การใช้เสียงสูง เสียงต่ำ หรือความดังของเสียงที่แตกต่าง เพื่อเน้นให้ผู้ฟังรับทราบถึงความสำคัญของเนื้อหาในขณะนั้นช่วยดึงดูดความสนใจได้มาก หากเป็นไปได้ ให้หลีกเลียง “การอ่าน” พรีเซนต์ของคุณ เพราะนอกจากจะทำให้ผู้ฟังของคุณเบื่อ ยังทำให้คุณดูไม่มีความเป็นมืออาชีพอีกด้วยนะครับ
.
หัวใจหลักของการพรีเซนต์ PowerPoint ให้ปังคือ “ความเป็นธรรมชาติ” การสร้างคอนเนคชั่นระว่างผู้พรีเซนต์กับผู้ฟังผ่านสายตา แพชชั่น และบุคลิกภาพของคุณ รวมไปถึงการสอดแทรกมุกตลกเล็กๆ น้อยๆ เพื่อสร้างความบันเทิงให้แก่ผู้ฟังนั้นจะทำให้การพรีเซนต์งานของคุณ เหมือนการนั่งคุยกับเพื่อนไปโดยปริยาย โดยเคล็ดลับอื่นๆ นอกจากนี้ จะถูกบรรจุไว้ใน “หลักสูตร Office” ของ Edduteam
ไม่ต้องห่วง ถ้าคุณไม่ค่อยมีประสบการณ์ เพราะเราสอนตั้งแต่เริ่มต้นแบบจับมือทำ
และยิ่งไม่ต้องห่วงสำหรับผู้มีประสบการณ์ เพราะเราจะช่วยให้คุณได้พัฒนาฝีมือตัวเองให้โดดเด่นกว่าใคร
ในหลักสูตรนี้นอกจาก powerpoint แล้ว เรายังแถมหลักสูตรมือโปรสูตร Excel ที่จะทำให้คุณคำณวนตัวเลขได้อย่างแม่นยำ และการเรียบเรียงรายงานผ่าน Word ที่จะช่วยให้คุณดูเป็นมืออาชีพอีกด้วย ครบถ้วนขนาดนี้ รีบสมัครเรียนด่วนเลยนะครับ
เรียน Microsoft Office จาก 0 เป็น มือโปร
13 ชั่วโมง เพียง 1,999.- สมัครเลย
แหล่งอ้างอิง
https://ethos3.com/6-reasons-the-6x6-rule-works/
https://blog.hubspot.com/marketing/7x7-rule-powerpoint
https://www.mangozero.com/how-to-start-a-presentation/
หารายได้เป็นกอบเป็นกำในยุค Metaverse ด้วยการสร้างเกมผ่าน Unity
Metaverse คือ ประสบการณ์ดิจิทัลบนสภาพแวดล้อมจำลองแบบสามมิติ และเป็นโลกเสมือนที่ไม่ได้เกิดขึ้นบนโลกจริง ๆ แต่เกิดขึ้นบนอินเตอร์เน็ต ซึ่ง Metaverse นั้น สร้างขึ้นโดยการใช้เทคโนโลยีโลกเสมือนผสานโลกแห่งความจริง (Augmented Reality: AR) และเทคโนโลยีโลกเสมือนจริง (Virtual Reality: VR) ผนวกเข้าด้วยกัน
จากงานวิจัยของ Gartner inc. บริษัทวิจัยและให้คำปรึกษาด้านเทคโนโลยีรายใหญ่ของโลก ได้คาดการณ์ไว้ว่า ภายในปี 2026 ที่จะถึงนี้
กว่า 25% ของประชากรทั้งโลก จะใช้เวลามากกว่า 1 ชม / วันใน Metaverse
เพื่อการทำงาน ช้อปปิ้ง หรือเพื่อความบันเทิงในรูปแบบของเกม และแน่นอนว่า เมื่อถึงเวลานั้นหลายๆ อาชีพที่เกี่ยวของกับการผลิต และพัฒนาเกม ย่อมเป็นที่ต้องการ และเป็นอาชีพที่สร้างรายได้มหาศาลในอนาคต
หลายบริษัทเดินหน้าเข้าสู่ Metaverse แล้ว โดยเฉพาะธุรกิจเกมที่เป็นผู้นำในเรื่องนี้ อย่าง MetaVRse และ Unity ที่กำลังสร้างเครื่องมือเพื่อขับเคลื่อนแบรนด์และสตูดิโอเกม รวมถึงพัฒนาการสร้างคอนเทนต์ของ AR และ VR เพื่อรองรับโลกเสมือนใหม่
.
หากคุณเป็นคนหนึ่งที่รอการมาของโลก Metaverse
และอยากหารายได้เป็นกอบเป็นกำด้วยอาชีพที่โลกใหม่ต้องการมากที่สุด
สิ่งที่คุณต้องเรียนรู้เป็นอย่างแรก คือ
“ Unity แพลตฟอร์มที่ถูกใช้สร้างวิดิโอเกมส์มากที่สุด”
✔ Unity เป็นเครื่องมือในการสร้างเกมส์แบบ 2D และ 3D ที่ใช้งานบนมือถือ แทปเล็ต คอมพิวเตอร์ เกมส์คอนโซล
✔ สามารถสร้างเกมบนแพลตฟอร์ม Unity ได้อย่างรวดเร็ว และยังสามารถแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงข้อมูลร่วมกันได้แบบเรียลไทม์
✔ สามารถผลิตเกมขึ้นมาครั้งเดียว แต่สามารถใช้งานได้มากกว่า 20 แพลตฟอร์ม ซึ่งรวม Wondows, Mac, Android, Playstation, Xbox, Nintendo Switch และ VR กับ AR ได้โดยไม่ต้องมีการเขียนโค้ดใหม่
✔ ผู้ผลิตเกมกว่าครึ่งหนึ่งของโลกใช้แพลตฟอร์ม Unity สร้างวิดิโอเกม
และเกมชื่อดังที่ประสบความสำเร็จมากมายอย่าง เกมชื่อดังมากมาย เช่น Pokémon GO, League of Legends, Genshin Impact, Among Us, Garena Free Fire หรือ Overcooked ล้วนสร้างขึ้นบน Unity
.
ที่สำคัญ คือ Unity เป็นแพลตฟอร์มที่ใช้งานง่าย แต่ประสิทธิภาพสูง
✔ คุณไม่จำเป็นต้องเขียนโคดเป็น
✔ คุณไม่ต้องเป็นนักพัฒนามืออาชีพ
✔ คุณไม่จำเป็นต้องมีเงินทุนก้อนใหญ่
ก็สามารถพัฒนาเกมได้ด้วยแพลตฟอร์ม Unity ได้
ซึ่งทักษะการใช้แพลตฟอร์ม Unity และ ผลงานบนแพลตฟอร์ม Unity สามารถสร้างโอกาสในสายงาน Game Creator ในโลก Metaverse ได้
โดยสายงานของ Game Creator ในโลก Metaverse สามารถแตกแขนงไปได้หลากหลายสาขา ไม่ว่าจะเป็นตำแหน่งหัวหน้าทีมดีไซน์เนอร์ (Lead Designer) นักออกแบบระบบเกม (Mechanics Designer) และ นักออกแบบภูมิทัศน์ (Environmental Designer) โดยทั้งหมดที่กล่าวมาข้างต้นสามารถทำได้ด้วยทักษะการใช้งาน Unity
Game Creator ในประเทศไทย
สามารถหารายได้ราว
25,000 – 100,000.-/เดือน
Game Creator ประเทศไทยสามารถหารายได้ราว 25,000 – 100,000 บาทต่อเดือน โดยไม่จำเป็นต้องทำเป็นงานประจำเพียงอย่างเดียว เนื่องจากความง่ายและสะดวกในการใช้ Unity ที่เหมาะสำหรับมือใหม่ที่ต้องการเพิ่มรายได้ให้กับตัวเองกับสร้างเกม ในขณะเดียวกันอาชีพ Game Creator ในสหรัฐอเมริกานั้น มีรายได้เฉลี่ยอยู่ที่ $90,300 ดอลลาร์สหรัฐ/ปี หรือราวๆ 253,800 บาท/เดือนเลยทีเดียว
.
น่าสนใจใช่มั้ยล่ะครับ ?
มาเรียนรู้ทักษะสำคัญ เพื่อเตรียมตัวก้าวเข้าสู่ยุค Metaverse ไปด้วยกัน
ผ่านหลักสูตร “สร้างเกมด้วย Unity” ที่จะเริ่มตั้งแต่การปูพื้นฐาน และสร้างความเข้าใจในการพัฒนาเกม และการเขียนโปรแกรม *สำหรับผู้ที่ไม่เคยมีประสบการณ์มาก่อน และ ยังแถมฟรี! องค์ประกอบกับเครื่องมือสำหรับการสร้างเกม 2D และ 3D ที่พร้อมใช้งานจริงกว่า 1,000 รายการ โดยที่คุณไม่ต้องเสียเวลาสร้างใหม่หรือเสียเงินซื้อเพิ่มทำให้การสร้างเกมของคุณนั้นสามารถเริ่มต้นได้แบบติดจรวด
สมัครเลย!
หลักสูตร
สร้างเกม ด้วย Unity
หลักสูตรสอนพัฒนาเกมด้วยโปรแกรม Unity ที่สอนละเอียดตั้งแต่ เริ่มออกแบบ จนถึงพื้นฐานการเขียนโปรแกรมในการสร้างเกม (ไม่เคยเขียนโปรแกรมมาก่อน ก็เรียนได้)
เรียนคอร์สสร้างเกมด้วย Unity เพียง 3,999
เพื่อวางพื้นฐานสู่อาชีพในฝันแห่งโลกอนาคต
แหล่งอ้างอิง
https://www.careerexplorer.com/careers/video-game-designer/compatibility/
https://murdoch.kaplan.com.sg/top-6-skills-needed-successful-video-game-developer/
https://www.garenaacademy.com/job/game-artist-dev/game-developer
https://www.longtunman.com/32756
https://www.springnews.co.th/spring-life/820966
https://www.springnews.co.th/news/820802
https://bigscienceband.com/unity-beginner-tutorial-how-to-make-a-game/
https://km.mof.go.th/th/view/attachment/article/32333536/7AR
https://il.mahidol.ac.th/th/i-Learning-Clinic/general-articles/vr-เทคโนโลยีโลกเสมือนจริ/
เนื้อหาในบทความนี้
หน้าที่ของ Data Analyst โดยชื่อถ้าแปลตรงตัว จะหมายถึงว่า นักวิเคราะห์ข้อมูล ซึ่งสโคปงานจะค่อนข้างกว้าง และขึ้นอยู่กับแต่ละบริษัท รวมไปถึงแต่ละแผนก ว่าต้องการใช้นักวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อจุดประสงค์อะไร
ตัวอย่างเช่น ทีมการตลาด ต้องการเพิ่มยอดขาย จึงต้องใช้นักวิเคราะห์ข้อมูลหาเหตุผลว่า ทำไมยอดขายสินค้าบางชนิดถึงขายได้ดี ทำไมสินค้าบางประเภทยอดขายถึงไม่ดีช่วงนี้ มีปัจจัยอะไรบ้างที่ส่งผลต่อยอดขายบ้าง เมื่อทีมการตลาดได้ข้อมูลที่ผ่านการ รวบรวม คัดกรอง หรือรวมไปถึงการ Visualize (การทำข้อมูลให้เห็นเป็นภาพในรูปแบบต่างๆ เพื่อให้สามารถเข้าใจตัวเลขได้สะดวกขึ้น) จึงนำไปปรับแผนการตลาด หรือการออก campaign ส่งเสริมการตลาด ที่สอดคล้องกับข้อมูลที่ได้ และสามารถนำไปใช้เพิ่มยอดขายได้จริงตามหลักของเหตุและผล
การทำงานจริง ได้ใช้วิชา Stats แบบอลังแค่ไหน?
หลายๆคนมีความเข้าใจว่า ถ้าเป็น Data Analyst วันๆจะได้รันโมเดลเชิงสถิติ เขียนโค้ดรัวๆแบบที่ได้เรียนในมหาลัยแน่ๆเลย แต่ในความเป็นจริงแล้ว...
ใน Corporate หลายๆที่ยังใช้ Excel ในการวิเคราะห์ข้อมูล และจัดกลุ่มเพื่อนำมาวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของตัวเลขเพียงเท่านั้น
บางบริษัทที่มีข้อมูลที่ใหญ่ขึ้น อาจจะมี Data warehouse สำหรับการดึงข้อมูล จะมีโอกาสได้ใช้สกิลเขียน SQL บ้าง และนำมาทำงานกันต่อบน excel หรือ visualize ใน Power BI, Tableau หรือ Data studio ตามแล้วแต่สะดวก เพื่อให้ทางทีมที่ทางเราส่งข้อมูลต่อ นำไปใช้งานได้จริง และตอบโจทย์ทางธุรกิจได้
ดังนั้นแล้ว Data Analyst ใช้ Business Sense หรือ ตรรกะการคิดวิเคราะห์เชิงธุรกิจ มากกว่าจะมานั่งรันโมเดลทางสถิติ เพื่อหาคำตอบที่เหมาะสมซะมากกว่า เราไม่จำเป็นต้องเอารถถังไปสู้กับไม้จิ้มฟัน
Data analyst ที่เก่ง = เร็ว แม่นยำ ถูกต้อง นำไปใช้ต่อได้
Create a service request > Collect & analyze requirements and usage cases > Timeline estimation > Work in process > Deliver results
ส่วนถ้าใครอยากรู้วิธีการใช้ Data มาช่วยบริหารธุรกิจ และทำการตลาดในยุคนี้ พร้อมทั้งใช้เครื่องมือวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ ให้ละเอียดยิ่งขึ้นกว่านี้ Eddu ก็มีคอร์สสอนเกี่ยวกับ Data Analytics โดยเน้นไปที่
✅ ทำ Dashboard สรุปข้อมูลให้เข้าใจง่าย นำเสนอได้อย่างมีประสิทธิภาพ
✅ การวิเคราะห์ตลาด มองหาความน่าจะเป็น ตั้งสมมติฐาน และประเมินความได้เปรียบของธุรกิจ ด้วย Data
รับรองว่า คอร์สนี้อัดแน่นไปด้วยคุณภาพ และพร้อมจะเปลี่ยนให้คุณเป็นมือโปรด้านนี้เลย!
สมัครเลย!
หลักสูตร Data Analytics for Business & Marketing
ใช้ Data มาช่วยทำธุรกิจ / การตลาด ในยุค 4.0
แถมให้พิเศษ! สอน Google Data Studio ทำ Data Visualization
หลักสูตร Data Analytics & Visualization 12 ชั่วโมง