หน้าหลัก
>

บทความทั้งหมด

March 26, 2024

สภาพคล่องทางการเงินของบริษัทคุณ ยังสุขภาพดีอยู่ไหม?

หากจะพูดถึงสภาพคล่องทางการเงิน สำหรับ Finance for Entrepreneur แล้ว เป็นเรื่องที่สำคัญและจำเป็นมากๆ  โดยเฉพาะเจ้าของธุรกิจ ที่ต้องมีความรู้ ความเข้าใจด้านสภาพคล่องทางการเงินของตัวเอง โดยสภาพคล่องทางการเงิน หมายถึง ความสามารถของบริษัทในการชำระหนี้ระยะสั้น หรือแปลงสินทรัพย์เป็นเงินสด เพื่อชำระหนี้สินที่ครบกำหนดชำระภายใน 1 ปี ได้ นั่นหมายความว่า จะทำให้สามารถประเมิน หรือวิเคราะห์งบการเงินของธุรกิจได้ ว่าธุรกิจของคุณ ยังมีสุขภาพดีอยู่หรือไม่ ในบทความนี้ เราจะพามารู้จักกับประเภทของสภาพคล่องทางการเงิน และวิธีการคำนวณแบบพื้นฐาน รวมถึงแนะนำ คอร์สเรียน finance หรือ หลักสูตรการเงินพื้นฐาน ที่บอกเลยว่า ถ้าได้เข้าคอร์สเรียน finance นี้ จะต้องร้อง อ๋ออออ!! เรื่องการเงินเลยทันที

การวิเคราะห์สภาพคล่องทางการเงินได้ ช่วยอะไรในธุรกิจของคุณได้บ้าง

หากคุณสามารถวิเคราะห์งบการเงิน และสภาพคล่องทางการเงินต่างๆ ของธุรกิจตัวเองเป็น จะมีข้อดี ในการช่วยให้ 

  • ประเมินความเสี่ยงทางการเงินได้ ซึ่งแน่นอน การลงทุนกับธุรกิจ มักมีความเสี่ยงอยู่เสมอ บางคนลงทุนมากผลตอบแทนน้อย บางคนลงทุนน้อย แต่รู้จักวิเคราะห์งบการเงินเป็น ใช้จ่ายเงินอย่างคุ้มค่า ก็ได้ผลกำไรตอบแทนกลับมามาก การประเมินความเสี่ยงทางการเงินตั้งแต่เริ่มธุรกิจ จึงช่วยให้วิเคราะห์สภาพทางการเงินได้ง่ายขึ้น
  • วิเคราะห์ความสามารถในการชำระหนี้ ซึ่งการลงทุนกับธุรกิจ จะเดินต่อไปได้มากน้อยแค่ไหน ถ้าคุณรู้จักการวางแผน และมองเห็นความสามารถในการชำระหนี้ในธุรกิจได้ ก็สามารถดำเนินธุรกิจอย่างเห็นผลลัพธ์ และไม่รู้สึกว่าขาดทุนมากเกินไป
  • คาดการณ์ปัญหาทางการเงิน ทุกธุรกิจย่อมเกิดปัญหาการเงินตามมาได้ ถ้าวิเคราะห์สภาพทางการเงินไม่เป็น ซึ่งหากคาดการณ์ปัญหาทางการเงินได้ก่อน เราก็จะมีรากฐานในการวางแผนกลยุทธ์เบื้องต้น เพื่อให้เกิดสภาพคล่องทางการเงินได้

ประเภทของสภาพคล่องทางการเงิน มีอะไรบ้าง

รู้ข้อดีของการวิเคราะห์สภาพคล่องทางการเงินไปแล้ว เรามาดูกันต่อว่า ประเภทของสภาพคล่องทางการเงิน มีอะไรบ้าง โดยแต่ละประเภท จะมีอัตราส่วนในการคำนวณสภาพคล่องได้ ดังนี้

  1. Current Ratio 

เป็นการวัดความสามารถในการชำระหนี้ระยะสั้น โดยใช้สินทรัพย์หมุนเวียน ซึ่งสินทรัพย์หมุนเวียน หมายถึง สินทรัพย์ที่สามารถแปลงเป็นเงินสดได้ภายใน 1 ปี เช่น เงินสด สินค้าคงคลัง ลูกหนี้ ส่วนหนี้สินหมุนเวียน หมายถึง หนี้สินที่ต้องชำระภายใน 1 ปี เช่น เงินบัญชีเจ้าหนี้ เงินกู้ยืมระยะสั้น

การคำนวณเบื้องต้น:  สินทรัพย์หมุนเวียน / หนี้สินหมุนเวียน 

ค่ามาตรฐาน: > 1.5

ตัวอย่าง:

บริษัทมีสินทรัพย์หมุนเวียน 100 ล้านบาท และหนี้สินหมุนเวียน 80 ล้านบาท

Current Ratio = 100 / 80 = 1.25

ผลวิเคราะห์:

ค่า Current Ratio 1.25 > 1.5 แสดงว่าบริษัทมีสภาพคล่องเพียงพอ 

*อย่างไรก็ตาม ค่าที่สูงเกินไป อาจหมายความว่า บริษัทมีสินทรัพย์หมุนเวียนที่ไม่ได้ใช้งาน

  1. Quick Ratio 

เป็นการวัดความสามารถในการชำระหนี้ระยะสั้นโดยไม่รวมสินค้าคงคลัง ซึ่งสินค้าคงคลังอาจแปลงเป็นเงินสดได้ยากกว่าสินทรัพย์หมุนเวียนประเภทอื่น

การคำนวณเบื้องต้น: (สินทรัพย์หมุนเวียน - สินค้าคงคลัง) / หนี้สินหมุนเวียน

ค่ามาตรฐาน: > 1

ตัวอย่าง:

บริษัทมีสินทรัพย์หมุนเวียน 100 ล้านบาท สินค้าคงคลัง 30 ล้านบาท และหนี้สินหมุนเวียน 80 ล้านบาท

Quick Ratio = (100 - 30) / 80 = 0.88

ผลวิเคราะห์:

ค่า Quick Ratio 0.88 < 1 แสดงว่าบริษัทมีสภาพคล่องไม่ดี

*บริษัทอาจมีปัญหาในการชำระหนี้ระยะสั้นหากไม่สามารถขายสินค้าคงคลังได้

  1. Cash Ratio

เป็นการวัดความสามารถในการชำระหนี้ระยะสั้นโดยใช้เงินสด โดยเงินสดเป็นสินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องสูงสุด

การคำนวณเบื้องต้น: เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด / หนี้สินหมุนเวียน

ค่ามาตรฐาน: > 0.5

ตัวอย่าง:

บริษัทมีเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด 20 ล้านบาท และหนี้สินหมุนเวียน 80 ล้านบาท

Cash Ratio = 20 / 80 = 0.25

ผลวิเคราะห์:

ค่า Cash Ratio 0.25 < 0.5 แสดงว่าบริษัทมีสภาพคล่องต่ำ

*บริษัทอาจมีปัญหาในการชำระหนี้ระยะสั้น

  1. Operating Cash Flow Ratio

เป็นการวัดความสามารถในการชำระหนี้ระยะสั้นจากกระแสเงินสด โดยกระแสเงินสดจากการดำเนินงาน หมายถึง เงินสดที่บริษัทได้รับจากการดำเนินธุรกิจ

การคำนวณเบื้องต้น: กระแสเงินสดจากการดำเนินงาน / หนี้สินหมุนเวียน 

ค่ามาตรฐาน: > 1

ตัวอย่าง:

บริษัทมีกระแสเงินสดจากการดำเนินงาน 40 ล้านบาท และหนี้สินหมุนเวียน 80 ล้านบาท

Operating Cash Flow Ratio = 40 / 80 = 0.5

ผลวิเคราะห์:

    ค่า Operating Cash Flow Ratio 0.5 < 1 แสดงว่ากระแสเงินสดจากการดำเนินงานไม่เพียงพอ

*บริษัทอาจต้องหาเงินทุนเพิ่มเติมเพื่อชำระหนี้ระยะสั้น

และนี่ก็คือทั้ง 4 ประเภทของการวิเคราะห์สภาพคล่องทางการเงิน สำหรับ Finance for Entrepreneur อย่างง่าย ในธุรกิจของคุณ โดยแบ่งสภาพคล่องออกเป็นอัตราส่วน และวิธีการคำนวณเบื้องต้น ซึ่งจริงๆ แล้ว คิดว่าหลายคนที่เพิ่งเริ่มต้นธุรกิจได้ไม่นาน อาจจะยังไม่เข้าใจเกี่ยวกับการวิเคราะห์งบการเงิน และการเช็คสุขภาพของธุรกิจมากเท่าไหร่ หากใครมีปัญหาด้านการวิเคราะห์งบการเงิน อยากรู้วิธีการคำนวณภาพรวมสุขภาพการเงิน ของ Finance for Entrepreneur ในแง่ของสภาพคล่องบริษัท eddu มีคอร์ส Finance for Entrepreneur ที่จะพาทุกคนดูบัญชีและยกตัวอย่างแบบครบองค์รวม เรียนจบ การวิเคราะห์งบการเงินของบริษัทคุณจะถูกดำเนินและกำกับดูแลได้อย่างถูกจุดมากขึ้น 

โดย คอร์ส Finance for Entrepreneur จะมีเนื้อหาที่สรุปออกมาให้เข้าใจเรื่องการเงินได้ง่าย เป็นคอร์สเรียน finance ที่จะได้เรียนรู้เรื่องการเงิน สำหรับเจ้าของธุรกิจ รู้ตัวไว จัดการธุรกิจเป็น ก่อนจะล้ม เพราะเรื่องของเงินกับเจ้าของธุรกิจ (Finance for Entrepreneur) เป็นเรื่องสำคัญ ในเนื้อหาประกอบด้วย

  • แนะนำคอร์สเรียน Finance for Entrepreneur
  • Finance ศาสตร์แห่งการบริหารการเงิน พาไปเจาะลึกเรื่อง การบริหารเงินสด การหาแหล่งเงินทุน
  • การอ่านงบการเงิน ใครทำธุรกิจแล้วอ่านงบการเงินไม่เป็น คอร์สนี้สอนครบ เข้าใจง่าย ตั้งแต่ เรื่องงบการเงิน งบแสดงฐานะการเงิน (งบดุล) งบกำไรขาดทุน งบกระแสเงินสด Financial Ratio อัตราส่วนทางการเงิน การวิเคราะห์คู่แข่ง บริษัทที่ทำธุรกิจคู่ค้า  โดยใช้เว็บไซต์ของกรมพัฒนธุรกิจการค้า 
  • การบริหารกระแสเงินสด พาไปทำความเข้าใจเกี่ยวกับการบริหารกระแสเงินสด ที่รวดเร็วและถูกวิธี เข้าใจวิธีบริหารกระแสเงินสดในแบบต่างๆ และกรณีศึกษาของ Netflix เพื่อให้เห็นภาพตัวอย่างการบริหารกระแสเงินสดของบริษัทที่ประสบความสำเร็จในการทำกำไรมากขึ้น
  • การเปลี่ยนผ่านสู่นิติบุคคล ในส่วนนี้ จะได้เรียนรู้ตั้งแต่ ประโยชน์ทางภาษีของการจดเป็นนิติบุคคล ความแตกต่างระหว่าง บุคคลธรรมดา และ นิติบุคคล การจำกัดความรับผิด ประเภทนิติบุคคล ขั้นตอนการจดทะเบียนนิติบุคคล ค่าตอบแทนกรรมการ 
  • Taxation เรื่องภาษีที่เจ้าของกิจการต้องรู้ เรียนรู้ตั้งแต่ ภาษีนิติบุคคล ภาษีเงินได้นิติบุคคล ค่าใช้จ่ายต้องห้าม รายได้ที่ได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้หรือรายจ่ายที่มีสิทธิหักได้เพิ่มขึ้น เอกสารประกอบการลงบัญชีที่สามารถเป็นรายจ่ายทางภาษีได้ เอกสารภาษีที่เกี่ยวข้อง ภาษีหัก ณ ที่จ่าย
  • ภาษีมูลค่าเพิ่ม ขาดไม่ได้กับการเรียนรู้ ความแตกต่างของบริษัทที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม สิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม สิ่งที่ต้องทำหลังจากจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม การยื่นเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.30) การยื่นภาษีภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีซื้อขายกับบริษัทต่างชาติ (ภ.พ.36)
  • สรุปภาพรวม เนื้อหาจากคอร์ส Finance for Entrepreneur 
  • มีบททดสอบท้ายคอร์สเรียน finance และโปรเจคเล็กให้ทำ เพื่อรับใบ Certificate หลังเรียนจบด้วย

ในแต่ละบทเรียน โดยเฉพาะเรื่อง การอ่านงบการเงิน และเรื่องการบริหารกระแสเงินสด จะพาคุณไปทำความเข้าใจเรื่องของการวิเคราะห์งบการเงินแต่ละประเภท ดูสภาพคล่องทางการเงินในธุรกิจของคุณ จะต้องทำอย่างไร สุขภาพทางการเงินดีหรือไม่ พร้อมสอนวิธีการคำนวณอย่างละเอียด ผ่านตัวอย่างและเคสต่างๆ จบคอร์ส Finance for Entrepreneur แล้ว พร้อมบริหารการเงินในธุรกิจของคุณได้อย่างเข้าใจ และมีศักยภาพทางการเงินที่ดีขึ้นแน่นอน สนใจคอร์สเรียน finance หลักสูตรการเงินพื้นฐาน สมัครได้เลยนะ!

Copyright ©2024Eddu Group International Co.,Ltd.

คอร์สยอดนิยมด้าน Business

อัปสกิลไปพร้อมกับ Eddu

ทีมงานพร้อมให้คำแนะนำและคำปรึกษาในการเรียน
ตลอดจนแนะนำหลักสูตรที่เหมาะสมกับผู้เรียน ทั้งบุคคลและองค์กร

ร่วมเป็น Trainer กับเรา

สร้างสรรค์ผลงานออนไลน แบ่งปันความรู้พร้อมกับหารายได้

We use cookies, please see our policy and setting

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save
linkedin facebook pinterest youtube rss twitter instagram facebook-blank rss-blank linkedin-blank pinterest youtube twitter instagram