หากจะพูดถึงสภาพคล่องทางการเงิน สำหรับ Finance for Entrepreneur แล้ว เป็นเรื่องที่สำคัญและจำเป็นมากๆ โดยเฉพาะเจ้าของธุรกิจ ที่ต้องมีความรู้ ความเข้าใจด้านสภาพคล่องทางการเงินของตัวเอง โดยสภาพคล่องทางการเงิน หมายถึง ความสามารถของบริษัทในการชำระหนี้ระยะสั้น หรือแปลงสินทรัพย์เป็นเงินสด เพื่อชำระหนี้สินที่ครบกำหนดชำระภายใน 1 ปี ได้ นั่นหมายความว่า จะทำให้สามารถประเมิน หรือวิเคราะห์งบการเงินของธุรกิจได้ ว่าธุรกิจของคุณ ยังมีสุขภาพดีอยู่หรือไม่ ในบทความนี้ เราจะพามารู้จักกับประเภทของสภาพคล่องทางการเงิน และวิธีการคำนวณแบบพื้นฐาน รวมถึงแนะนำ คอร์สเรียน finance หรือ หลักสูตรการเงินพื้นฐาน ที่บอกเลยว่า ถ้าได้เข้าคอร์สเรียน finance นี้ จะต้องร้อง อ๋ออออ!! เรื่องการเงินเลยทันที
หากคุณสามารถวิเคราะห์งบการเงิน และสภาพคล่องทางการเงินต่างๆ ของธุรกิจตัวเองเป็น จะมีข้อดี ในการช่วยให้
รู้ข้อดีของการวิเคราะห์สภาพคล่องทางการเงินไปแล้ว เรามาดูกันต่อว่า ประเภทของสภาพคล่องทางการเงิน มีอะไรบ้าง โดยแต่ละประเภท จะมีอัตราส่วนในการคำนวณสภาพคล่องได้ ดังนี้
เป็นการวัดความสามารถในการชำระหนี้ระยะสั้น โดยใช้สินทรัพย์หมุนเวียน ซึ่งสินทรัพย์หมุนเวียน หมายถึง สินทรัพย์ที่สามารถแปลงเป็นเงินสดได้ภายใน 1 ปี เช่น เงินสด สินค้าคงคลัง ลูกหนี้ ส่วนหนี้สินหมุนเวียน หมายถึง หนี้สินที่ต้องชำระภายใน 1 ปี เช่น เงินบัญชีเจ้าหนี้ เงินกู้ยืมระยะสั้น
การคำนวณเบื้องต้น: สินทรัพย์หมุนเวียน / หนี้สินหมุนเวียน
ค่ามาตรฐาน: > 1.5
ตัวอย่าง:
บริษัทมีสินทรัพย์หมุนเวียน 100 ล้านบาท และหนี้สินหมุนเวียน 80 ล้านบาท
Current Ratio = 100 / 80 = 1.25
ผลวิเคราะห์:
ค่า Current Ratio 1.25 > 1.5 แสดงว่าบริษัทมีสภาพคล่องเพียงพอ
*อย่างไรก็ตาม ค่าที่สูงเกินไป อาจหมายความว่า บริษัทมีสินทรัพย์หมุนเวียนที่ไม่ได้ใช้งาน
เป็นการวัดความสามารถในการชำระหนี้ระยะสั้นโดยไม่รวมสินค้าคงคลัง ซึ่งสินค้าคงคลังอาจแปลงเป็นเงินสดได้ยากกว่าสินทรัพย์หมุนเวียนประเภทอื่น
การคำนวณเบื้องต้น: (สินทรัพย์หมุนเวียน - สินค้าคงคลัง) / หนี้สินหมุนเวียน
ค่ามาตรฐาน: > 1
ตัวอย่าง:
บริษัทมีสินทรัพย์หมุนเวียน 100 ล้านบาท สินค้าคงคลัง 30 ล้านบาท และหนี้สินหมุนเวียน 80 ล้านบาท
Quick Ratio = (100 - 30) / 80 = 0.88
ผลวิเคราะห์:
ค่า Quick Ratio 0.88 < 1 แสดงว่าบริษัทมีสภาพคล่องไม่ดี
*บริษัทอาจมีปัญหาในการชำระหนี้ระยะสั้นหากไม่สามารถขายสินค้าคงคลังได้
เป็นการวัดความสามารถในการชำระหนี้ระยะสั้นโดยใช้เงินสด โดยเงินสดเป็นสินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องสูงสุด
การคำนวณเบื้องต้น: เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด / หนี้สินหมุนเวียน
ค่ามาตรฐาน: > 0.5
ตัวอย่าง:
บริษัทมีเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด 20 ล้านบาท และหนี้สินหมุนเวียน 80 ล้านบาท
Cash Ratio = 20 / 80 = 0.25
ผลวิเคราะห์:
ค่า Cash Ratio 0.25 < 0.5 แสดงว่าบริษัทมีสภาพคล่องต่ำ
*บริษัทอาจมีปัญหาในการชำระหนี้ระยะสั้น
เป็นการวัดความสามารถในการชำระหนี้ระยะสั้นจากกระแสเงินสด โดยกระแสเงินสดจากการดำเนินงาน หมายถึง เงินสดที่บริษัทได้รับจากการดำเนินธุรกิจ
การคำนวณเบื้องต้น: กระแสเงินสดจากการดำเนินงาน / หนี้สินหมุนเวียน
ค่ามาตรฐาน: > 1
ตัวอย่าง:
บริษัทมีกระแสเงินสดจากการดำเนินงาน 40 ล้านบาท และหนี้สินหมุนเวียน 80 ล้านบาท
Operating Cash Flow Ratio = 40 / 80 = 0.5
ผลวิเคราะห์:
ค่า Operating Cash Flow Ratio 0.5 < 1 แสดงว่ากระแสเงินสดจากการดำเนินงานไม่เพียงพอ
*บริษัทอาจต้องหาเงินทุนเพิ่มเติมเพื่อชำระหนี้ระยะสั้น
และนี่ก็คือทั้ง 4 ประเภทของการวิเคราะห์สภาพคล่องทางการเงิน สำหรับ Finance for Entrepreneur อย่างง่าย ในธุรกิจของคุณ โดยแบ่งสภาพคล่องออกเป็นอัตราส่วน และวิธีการคำนวณเบื้องต้น ซึ่งจริงๆ แล้ว คิดว่าหลายคนที่เพิ่งเริ่มต้นธุรกิจได้ไม่นาน อาจจะยังไม่เข้าใจเกี่ยวกับการวิเคราะห์งบการเงิน และการเช็คสุขภาพของธุรกิจมากเท่าไหร่ หากใครมีปัญหาด้านการวิเคราะห์งบการเงิน อยากรู้วิธีการคำนวณภาพรวมสุขภาพการเงิน ของ Finance for Entrepreneur ในแง่ของสภาพคล่องบริษัท eddu มีคอร์ส Finance for Entrepreneur ที่จะพาทุกคนดูบัญชีและยกตัวอย่างแบบครบองค์รวม เรียนจบ การวิเคราะห์งบการเงินของบริษัทคุณจะถูกดำเนินและกำกับดูแลได้อย่างถูกจุดมากขึ้น
โดย คอร์ส Finance for Entrepreneur จะมีเนื้อหาที่สรุปออกมาให้เข้าใจเรื่องการเงินได้ง่าย เป็นคอร์สเรียน finance ที่จะได้เรียนรู้เรื่องการเงิน สำหรับเจ้าของธุรกิจ รู้ตัวไว จัดการธุรกิจเป็น ก่อนจะล้ม เพราะเรื่องของเงินกับเจ้าของธุรกิจ (Finance for Entrepreneur) เป็นเรื่องสำคัญ ในเนื้อหาประกอบด้วย
ในแต่ละบทเรียน โดยเฉพาะเรื่อง การอ่านงบการเงิน และเรื่องการบริหารกระแสเงินสด จะพาคุณไปทำความเข้าใจเรื่องของการวิเคราะห์งบการเงินแต่ละประเภท ดูสภาพคล่องทางการเงินในธุรกิจของคุณ จะต้องทำอย่างไร สุขภาพทางการเงินดีหรือไม่ พร้อมสอนวิธีการคำนวณอย่างละเอียด ผ่านตัวอย่างและเคสต่างๆ จบคอร์ส Finance for Entrepreneur แล้ว พร้อมบริหารการเงินในธุรกิจของคุณได้อย่างเข้าใจ และมีศักยภาพทางการเงินที่ดีขึ้นแน่นอน สนใจคอร์สเรียน finance หลักสูตรการเงินพื้นฐาน สมัครได้เลยนะ!