จากกระแส Cryptocurrency ที่ร้อนแรง Vitalik Buterin เด็กหนุ่มชาวรัสเซียที่มีอายุแค่ 27 ปี
ก้าวขึ้นมาเป็นแท่น Billionaire หรือมหาเศรษฐีพันล้านดอลลาร์คือตีเป็นเงินไทยก็ประมาณ 30,000 กว่าล้านบาท โดยเขาถูกจัดอันดับให้เป็นเศรษฐีจาก Cryptocurrency ที่ก้าวสู่อันดับ Billionaire เป็นคนแรกของโลก
แต่สิ่งที่น่าสนใจกว่านั้นก็คือในตอนแรก เดิมทีที่เขาเคยได้ยินคำว่า Bitcoin เขาไม่ได้สนใจมันขนาดนั้นสุดท้ายเขาคือผู้ที่ก่อตั้งหนึ่งในสิ่งที่สำคัญที่สุดในโลก Cryptocurrency ปัจจุบัน Viktalik คือผู้ก่อตั้ง Ethereum หรือเหรียญ ETH ที่พวกเรารู้จักกัน เรื่องราวที่ไปที่มาของเขาเป็นยังไงทำไมเขาถึงสามารถกลายเป็นมหาเศรษฐีหมื่นล้านได้ตั้งแต่อายุ 27 ปีทั้งหมดวันนี้จะเล่าให้ฟัง
Vitalik Buterin เขาคนนี้คือเด็กหนุ่มชาวรัสเซีย ซึ่ง Vitalik Buterin ก็เคยเปิดเผยกับสาธารณะว่า address หรือว่ากระเป๋าเงินของเขาที่เก็บบรรจุเหรียญอีทีเรียมของเขาไว้เองคือกระเป๋าเงินใบไหนเป็น address อะไร แล้วก็จากการที่เขาเช็คกันล่าสุดในวันจันทร์ที่ผ่านมากระเป๋าสตางค์ขอVitalik Buterin มี อีทีเรียม อยู่ทั้งหมด 333,500 Ether ซึ่งราคาต่อ Ether ก็พุ่งไปประมาณ 3,000 ดอลลาร์สหรัฐ นั่นหมายความว่าในปัจจุบันมูลค่าของ Ether ก็พุ่งขึ้นไปเป็น 1029 ล้านดอลลาร์สหรัฐส่งผลให้เขาเป็นมหาเศรษฐีจาก cryptocurrency ที่อายุน้อยที่สุดที่ไปแตะระดับหนึ่งพันล้านดอลลาร์ได้ส่วนจุดเริ่มต้นของVitalik ก็ต้องย้อนกลับไปในวันที่เขาอายุแค่ 17 ปีเท่านั้นหรือว่าประมาณ 10 ปีที่แล้ว โดยประวัติของ Vitalik เขาเกิดในวันที่ 31 มีนาคมปี 1994 หรือประมาณ 27 ปีก่อนคุณพ่อของเขาทำงานเป็นนักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์หรือว่า computer scientist ที่เมืองหลวงของประเทศรัสเซียนั้นก็คือกรุงMoscow แต่ว่าตอนนั้นเขาอายุได้ 6 ขวบ เขาก็ต้องย้ายตามครอบครัวเพราะครอบครัวเขาได้ย้ายไปทำงานที่ประเทศแคนาดากัน ซึ่ง Vitalik ก็เป็นเด็กที่เก่งเรียนดีคนหนึ่ง เป็นคนที่ตั้งใจเรียนมากๆโดยเฉพาะวิชาคณิตศาสตร์ ซึ่ง Vitalik เองก็เคยสอบแข่งขัน ระดับคณิตศาสตร์โอลิมปิก จนได้เหรียญทองแดงมาอีกด้วยโดยประมาณปี 2012 หรือประมาณเกือบจะ 10 ปีที่แล้ว ตอนนั้นเขาก็เก่งพอ ที่จะถูกคัดเลือก เพื่อที่จะเข้าไปทำงาน เป็นหนึ่งในทีมพัฒนา Bitcoin ซึ่งในเวลานั้นเองให้เขาอายุแค่ประมาณ 17-18 ปีเท่านั้นเอง แต่ในขณะที่เขาทำงานอยู่ในนั้น เขามีความรู้สึกว่าเขาไม่ได้รู้สึกว่าสนใจเจ้าตัว Bitcoin เท่าไหร่นัก เพราะตัวเขาเองไงเขาก็มองว่ามันไม่สามารถที่จะเติบโตได้อย่างยั่งยืน คือตัวConcept มันดี ที่ทำเป็น Decentralized แต่เขาก็ยังรู้สึกว่ามูลค่าของมันไม่ได้สะท้อนออกมาจากอะไรเลยแล้วราคาของมัน ก็ยังแกว่งขึ้นลงคาดเดาไม่ได้สะท้อนไปถึงคุณประโยชน์อะไรของมัน ซึ่งเขาเองก็มองว่ามันไม่เหมือนมันไม่ดีเท่ากับการลงทุนในหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ ที่เราได้เข้าใจธุรกิจจริงๆว่าธุรกิจนี้ทำอะไรถ้าธุรกิจนี้มันดีกำไรมันดีก็ควรที่จะมีมูลค่าของหุ้นที่มันเพิ่มขึ้นแต่เขายังไม่ได้เข้าใจตรงนั้น ว่า Bitcoin มันมีมูลค่าเพิ่มขึ้นมาได้ยังไงแต่ถึงแม้ว่าเขาจะแอนตี้มัน แต่ว่าตอนนั้นเอง หลายๆคนที่อยู่รอบๆตัวเขาก็ได้พูดถึงการทำกำไรจากการขาย Bitcoin ทำให้เขาแล้วก็เริ่มเปิดใจอีกครั้งหนึ่ง แล้วก็เริ่มมานั่งวิเคราะห์ดูดีๆ เขายังคงเดินหน้าเป็นหนึ่งในทีมที่พัฒนา Bitcoin ขึ้นมา และเขาเองก็ยังเป็นคนก่อตั้งนิตยสารเกี่ยวกับ Bitcoin เพื่อให้ความรู้คน ที่มีชื่อว่า Bitcoin Magazine อีกด้วยซึ่งตลอดระยะเวลาที่เขาทำงานเป็นหนึ่งในทีมพัฒนา Bitcoin นี่เอง เขานี้ก็มีชื่อเสียงแล้วก็ผลงานมากขึ้นเรื่อยๆ จนในที่สุดในเขารางวัล Thiel Fellowship ซึ่งเป็นรางวัลที่เขาจัดให้กับเยาวชน ที่สนใจศึกษาเรื่องราวต่างๆนอกสถาบันการศึกษา ซึ่งเขาก็ได้รับเงินทุนก้อนแรก เป็นจำนวน 100,000 ดอลลาร์ เพื่อที่จะเอาไปพัฒนาอะไรเป็นของตัวเองซึ่งในเวลานั้นเอง เขาก็ตัดสินใจที่อยากจะพัฒนาระบบBlockchain ขึ้นมาเป็นของตัวเองซึ่ง Thiel Fellowship นี่เอง ก็มาจากผู้ชายที่มีชื่อว่า Peter Thiel หนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้ง PayPal แล้วก็เป็นคนแรกๆที่ลงทุนในธุรกิจของ Facebook ของMark Zuckerberg อีกด้วยซึ่งจากโอกาสทั้งหมดนี้เองทำให้ 30 กรกฎาคมปี 2015 Vitalik ก็ได้ก่อตั้งบริษัทขึ้นมา แล้วก็รวมทีม เพื่อที่จะเข้ามาพัฒนาตัวอีทีเรียม ให้มันเป็นจริงให้ได้ด้วยจากที่เขามองว่า Bitcoin มันเป็นสิ่งที่มันดี ที่ใช้ Blockchain แต่ว่ามันไม่ได้เอาไปทำประโยชน์อย่างอื่น เขาก็เลยคิดว่าเขาน่าจะสร้าง Blockchain ที่ชื่อว่าอีทีเรียมขึ้นมา เพื่อให้คนต่างๆ สามารถเพิ่ม Code programming เข้ามา ที่เป็น smart contract แล้วก็เอามารันอยู่ในระบบBlockchain Smart contract ที่ว่านี้เอง ก็คือการที่โปรแกรมเมอร์หรือบุคคลต่างๆที่อยากจะสร้างแอพพลิเคชั่น สร้างระบบอะไรสักอย่างขึ้นมาก็พัฒนาโค้ดชุดนึง แล้วก็เอามัน Deploy เอาเข้ามาในระบบBlockchain ของอีทีเรียมนี้แล้วโค้ดชุดนั้น โปรแกรมนั้นก็จะทำงาน ก็จะรันไป ตราบใดที่ Network อีทีเรียมยังทำงานได้อยู่ ซึ่ง Concept ของแพลตฟอร์มนี้ ก็คือการที่เป็น Decentralized นั่นแหละเพราะอีทีเรียม ไม่ได้ตั้ง Server มาเป็น Server กลางเป็นของตัวเอง แต่อีทีเรียมเปิดโอกาสให้คนทั่วโลก ได้เอาคอมพิวเตอร์ของตัวเองมาส่งกำลังกลับเสมือนเป็น Server เครื่องย่อยๆ เครื่องต่างๆทั่วโลกมาช่วยการประมวลผล เปรียบเสมือนเป็น Server เครื่องเล็กๆ หรือถ้าเราจะพูดให้ง่ายๆก็คือเหมือนกับว่ามี Server ตั้งอยู่ทั่วโลกซึ่งก็เป็นที่มา ที่เราเคยได้ยินว่าคนซื้อคอมพิวเตอร์มาขุด Bitcoin ขุดอีทีเรียมก็คือการที่เขาเอาคอมพิวเตอร์เข้ามาร่วมในระบบBlockchain ของอีทีเรียมนี่แหละ จนในวันที่เขาอายุได้ 23 ปี ตอนนั้นอีทีเรี่ยมก็มีมูลค่าทั้งระบบเลย รวมกันกว่า 30,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐและก็ยังเป็นรากฐาน ของ Decentralized Application ที่ถูกพัฒนาต่อยอดมาจนทุกวันนี้ ทั้งหมดนี้คือเรื่องราว ที่มาที่ไปของผู้ชายที่มีชื่อว่า Vitalik ผู้ก่อตั้ง อีทีเรียมที่ปัจจุบัน ก้าวขึ้นมาเป็นมหาเศรษฐีพันล้านดอลลาร์สหรัฐหรือว่า billionaire ที่มีอายุน้อยที่สุดในวงการ Cryptocurrency เป็นที่เรียบร้อยแล้ว สำหรับคุณคุณได้เรียนรู้อะไรไปบ้าง
ตัวผมเอง มีอยู่ 3 ข้อคิดด้วยกันที่ผมได้เรียนรู้จากเรื่องนี้เรื่องแรก บางครั้งสิ่งที่เรามองเห็นว่ามันไม่ได้สำคัญมันไม่ได้มีประโยชน์อะไรแต่ถ้ามองให้ลึกขึ้นไป เราอาจจะเจอบางสิ่งบางอย่างที่เราสามารถพัฒนาต่อยอดจนกลายเป็นไอเดียธุรกิจจนกลายเป็นสิ่งที่สามารถสร้างเงินมหาศาลให้กับเราก็ได้เหมืองอย่างเช่นที่ Vitalik เคยดูถูก Bitcoin ว่ามันไม่มีประโยชน์เลยแต่พอเขาได้เปิดใจเพราะเขาเห็นคนรอบข้างพูดถึงมันมากขึ้นเขาได้สนใจจนกลายเป็นหนึ่งในทีมผู้พัฒนา แล้วก็ได้เรียนรู้เอามาต่อยอดจนกลายเป็นอีทีเรียมอย่างทุกวันนี้แล้วก็ข้อคิดข้อที่ 2 เวลาเราเห็นธุรกิจอะไรสักอย่างนึงที่มีอยู่แล้วบนโลกของเราแทนที่เราจะมัวแต่ไปคิดว่าสิ่งๆนั้นมีคนทำไปแล้วเราไม่ต้องมาทำหรอกกับควรที่จะคิดว่าเอ๊ะถ้ามันมีอย่างนั้นอยู่แล้วเราสามารถที่จะต่อยอดอะไรให้มันดีกว่านั้นหรือเราเห็นจุดอ่อนเราเห็นช่องโหว่อะไรในธุรกิจตัวนั้นเพื่อที่เราจะได้เอามาปั้นเป็นธุรกิจใหม่ๆสร้างเป็นโมเดลธุรกิจใหม่ที่ดีกว่าแล้วก็เหนือกว่าเหมือนอย่างเช่นที่ Vitalik มองเห็นว่าตัว Bitcoin เองไม่ได้สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มอะไรทางเศรษฐกิจได้เขาก็เลยตัดสินใจที่จะสร้างอีทีเรียมขึ้นมาเป็น Network เป็นแพลตฟอร์มตรงกลาง ให้ใครก็ตามที่มีความคิดอยากจะสร้าง Decentralized Application เอาขึ้นมาดีพลอยเอาขึ้นมาพัฒนาบนแพลตฟอร์มของเขาซึ่งนั่นคือที่มาของข้อคิดข้อสุดท้าย นั่นก็คือเวลาที่เราทำธุรกิจแล้วบางทีการเดินคนเดียวอาจจะไปได้ไกล แต่ถ้าเราเปิดโอกาสให้หลายคนมาร่วมเดินพร้อมกับเราอาจจะไปได้ไกลกว่าเพราะในวันนี้ที่อีทีเรียมมีมูลค่าเพิ่มขึ้นถึง 1 แสนบาทต่อ 1 Ether มันก็เป็นเพราะว่าอีทีเรียมที่เขาสร้างขึ้นมามันไม่ได้เป็น Application แอพพลิเคชั่นเดียวไงมันเป็นระบบ มันเป็นแพลตฟอร์ม Network ที่มีขนาดใหญ่มากๆใครก็ตามที่อยากจะสร้างแอพพลิเคชั่นที่เป็น Decentralized Application ก็แค่พัฒนาแอพพลิเคชั่นมาอยู่บน Network ตัวนี้แน่นอนว่ายิ่งมีคนมาพัฒนามากขึ้นเท่าไหร่คนก็ยิ่งมาอยู่บน Network นี้มากขึ้นยิ่งคนมาอยู่มากขึ้นโอกาสที่เขาจะเปลี่ยนใจไปใช้อย่างอื่นหรือว่าเลิกใช้ก็มีน้อยลงเท่านั้น นั่นก็เลยเป็นเหตุผล ที่ทำให้อีทีเรียมมีมูลค่าพุ่งขึ้นสูงมาอย่างทุกวันนี้ ทั้งหมดนี้คือเรื่องราวประวัติที่ไปที่มาของผู้ชายที่มีชื่อว่า Vitalik
Reference
คุณเชื่อมั้ยว่านานมาแล้วเคยมีอดีตพนักงาน MSN อยากจะทำ Startup เป็นของตัวเอง
แล้วก็ตั้งบริษัทขึ้นมา แต่ว่าทำไปได้ไม่นานก็ประสบปัญหาทางการเงินอย่างหนัก
ถึงแม้จะประสบปัญหาการเงินที่แทบจะไม่เหลือ สิ่งที่เขาสร้างขึ้นมานั้น ไปเข้าตา Larry Page กับ Sergey Brin เจ้าของ Google แล้ว Google ก็ตัดสินใจว่าขอซื้อกิจการนี้ในมูลค่า 50 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จากวันนั้นที่หลายคนมองว่า Google จะตัดสินใจไปซื้อบริษัทนี้ทำไม แต่สุดท้ายแล้วบริษัทนี้
ทำให้ Google เนี่ยมีฐานลูกค้าใหญ่ขึ้นถึง 2,500 ล้านคนทั่วโลก บริษัทที่ว่ามานี้คือบริษัทที่มีชื่อว่า Android ซึ่งเป็นระบบปฏิบัติการที่อยู่ในโทรศัพท์มือถือที่มีทั่วโลกในทุกวันนี้ ประวัติที่ไปที่มาของ Android เป็นยังไง เขาต้องผ่านอะไรมาบ้าง กว่าจะประสบความสำเร็จอย่างทุกวันนี้ วันนี้จะเล่าให้ฟัง
นั่นก็คือประวัติที่ไปที่มาของบริษัทที่มีชื่อว่า Android Ink จุดเริ่มต้นของ Android
ก็ต้องย้อนกลับไปในปี 2003 ซึ่งเป็นปีก่อนที่ Steve Jobs จะเปิดตัว iPhone
ซึ่งเป็นการเปลี่ยนพลิกโฉมวงการสมาร์ทโฟนของทั่วโลกไปอย่างสิ้นเชิง
ตอนนั้นเองมีบริษัทเล็กๆบริษัทนึงที่ก่อตั้งขึ้นมาชื่อว่า Android Ink โดยผู้ร่วมก่อตั้ง 4 คน
ได้แก่ Rich Miner, Nick Sears, Chris White, และ Andy Rubin ซึ่งพวกเขาเคยทำงานในบริษัทใหญ่ๆบริษัทชั้นนำไม่ว่าจะเป็น MSN หรือว่า Apple ส่วนสาเหตุที่ชื่อบริษัทว่า Android ก็เป็นเพราะว่าพวกเขาทำงานหนักกัน ทำงานไม่หลับไม่นอน ไม่กินไม่ยอมไปพักผ่อน จนเพื่อนๆของเขาเรียกพวกเขาเป็นเหมือนหุ่นยนต์เลย เป็น Android นั้นเอง พวกเขาก็เลยได้ไอเดียว่าจะเอาชื่อนี้ มาตั้งเป็นชื่อบริษัท
ซึ่งจริงๆ แล้วในตอนที่เขาได้ก่อตั้งบริษัทขึ้นมา Android ไม่ได้เป็นบริษัทที่จะผลิตระบบปฏิบัติการให้โทรศัพท์แต่อย่างใด แต่เหตุผลที่พวกเขาจะเปิดบริษัทนี้ขึ้นมา เพราะพวกเขาอยากจะพัฒนาระบบ ซึ่งเป็นระบบปฏิบัติการ หรือ Operating System ที่เอาไปใช้ในกล้องดิจิตอล เพราะพวกเขาเห็นว่ากล้องดิจิตอลในสมัยเนี่ยมันมีฟังก์ชันที่มันใช้งานยาก กล้องแต่ละตัวแต่ละยี่ห้อก็ต้องใช้แตกต่างกันไป
ปรับสี ปรับแสงปรับค่าต่างๆ ในกล้องแต่ละตัวมันดูใช้ยากจังเลย พวกเขาก็เลยมีความคิดว่าจะสร้างบริษัท Android ขึ้นมาเพื่อทำระบบปฏิบัติการในกล้องให้มันใช้ง่ายที่สุด นั่นคือไอเดียตั้งต้นของบริษัท Android Ink
แล้วบริษัท Android ก็ได้ Present ไป Pitch ไอเดียนี้ให้กับนักลงทุนหลายๆคน ซึ่งนักลงทุนบางคน
ก็ได้เชื่อในไอเดียนี้ แล้วก็ให้เงินลงทุนกับ Android มาในช่วงแรก แต่ปรากฏว่าหลังจากที่ได้รับเงินทุนมา พวกเขาทำระบบไปสักพักนึง ตอนนั้นก็ไปเห็นเทรนในการใช้กล้องดิจิตอลเนี่ยมันลดลงเรื่อยๆ
ในขณะที่คนซื้อโทรศัพท์มือถือกันมากขึ้น โทรศัพท์มือถือก็มีกล้องดิจิตอลที่ชัดขึ้น ทำให้คนก็นิยม
น้อยลงมาเรื่อยๆ ตอนนั้นเองเขาก็เลยมาคุยกันว่าจะเอายังไงกับไอเดียโปรเจคนี้ต่อดี จะล้ม Project นี้ไปเลย หรือว่าจะเปลี่ยนมาทำอย่างอื่น ซึ่งตรงนี้เองในภาษา Startup หรือภาษาธุรกิจ เราจะเรียกกันว่า Pivot ซึ่งก็มาจากการเปลี่ยน คือการเปลี่ยนไอเดียจากไอเดียเดิมที่จะทำอีกอย่างนึง เปลี่ยนเป็นทำอีกอย่างนึงเลย
ส่วนการ Pivot Market ก็คือจากแต่ก่อนที่สินค้านี้อยากจะเอาไปขายในตลาดนี้ แต่พอไปลองแล้วตลาดนี้ไม่มีคนอยากได้เลย ลองเอาไปขายตลาดอื่นดู นี่คือการเปลี่ยนตลาด แม้กระทั่ง Pivot Team ก็คือเปลี่ยนทั้งทีมเลย เช่นผู้ร่วมก่อตั้งคุยกันไปคุยกันมาทำงานด้วยกันเนี่ยไม่สนุกแล้ว หรือว่าไม่ได้มีแรงบันดาลใจไม่ได้มีไฟที่จะทำอะไรด้วยกันแล้ว ก็อาจจะเปลี่ยนทีม นี่ก็คือการ Pivot team ซึ่ง Startup ที่ดีคือ Sartup ที่จะไม่จมปลักอยู่กับไอเดียเดิมๆ ตลาดเดิมๆ ถึงแม้ว่ามันจะต้องฝืนธรรมชาตินิดนึง นั่นก็คือเราเนี่ยการเปลี่ยนไปทำอะไรใหม่ๆ มันอาจจะต้องเหนื่อยกว่า ทุ่มเทมากกว่า แล้วก็มีโอกาสล้มเหลวมากกว่า แต่ถ้าสมมุติว่าคุณมองว่า อันใหม่ที่คุณจะไปทำนั้นมีโอกาสมากกว่า คุณก็ควรจะไปลอง นี่คือ ไอเดีย ของการทำ Startup ใน Silicon Valley ก็เลยเป็นที่มาที่พวกเขา 4 คนตัดสินใจที่จะ Pivot ไอเดีย จากไอเดียที่จะทำระบบ Operating System หรือ ระบบปฏิบัติการในกล้องดิจิตอล ก็เปลี่ยนมาทำระบบปฏิบัติการให้กับโทรศัพท์มือถือแทน
โดย Android ก็ถูกพัฒนามาจาก Open source base ซึ่งเป็น Version ที่ Modify มาจาก Linux kernel โปรแกรมที่เป็นศูนย์กลางในระบบ computer ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานตั้งแต่เริ่ม boot server รวมถึงการ start/stop program และ input/output จาก software ทั้งหมด อธิบายคำว่า Open source นิดนึง ปกติแล้วเวลาที่เราเขียนโปรแกรมพัฒนาโปรแกรมขึ้นมาเนี่ย มันก็จะมี open source คือซอฟต์แวร์แบบเปิด นั่นก็คือพัฒนาซอฟต์แวร์ขึ้นมาแล้ว ใครอยากจะทำอะไรมาต่อ อยากจะพัฒนาไปทางไหน ก็สามารถที่จะเข้ามาเขียน เข้ามาร่วมพัฒนากันได้ มันก็จะทำให้ Platform มันเติบโตไปได้ มันสามารถขยายแล้วก็เก่งขึ้นได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งจะตรงกันข้ามกับซอฟต์แวร์แบบปิดอย่างเช่น iOS ของ Apple ซึ่งก็จะถูกจำกัดว่าการพัฒนา ก็จะต้องมาจากส่วนกลาง มาจากทีมวิจัยและทีมผลิตภัณฑ์ของ Apple เอง ซึ่งมันก็มีข้อดีข้อเสียต่างกัน
การเป็น Open source ก็ทำให้ควบคุมหลายๆอย่างไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นคุณภาพ มาตรฐาน อะไรหลายๆอย่าง แต่ว่าถ้าเป็นซอฟต์แวร์แบบปิด เนี่ยข้อเสียก็มีเช่นกัน นั่นก็คือโอกาสที่จะพัฒนาได้เร็วหรือไปได้ไกลเนี่ย ก็อาจจะช้ากว่าซอฟต์แวร์แบบ Open source แต่ว่าอย่างไรก็ตาม จากการที่พวกเขาพยายามทำ Software ขึ้นมาตอนแรก ได้เงินมามีเงินทุนเนี่ย อยากจะทำกล้องดิจิตอล แต่ปรากฏว่าเปลี่ยนไอเดียกลางคัน แบบนี้ก็เลยทำให้ทุนที่เขามีเนี่ยมันไม่เพียงพอที่จะเลี้ยงบริษัทต่อไปได้ ตอนนั้นเองถึงจุดที่บริษัทใกล้จะถึงจุดต่ำสุด คือแทบจะไม่มีเงินสดเหลือในบริษัทเลย ไม่มีพอที่จะมาจ่ายเงินเดือน จ่ายค่าเช่า จ่ายค่าจ้างพนักงาน ซึ่งทำให้หนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้งที่มี ชื่อว่ารูบิ้นก็เลยไปถามเพื่อนๆ ว่ามีใครที่เชื่อมั้ยว่า ถ้าผมทำระบบปฏิบัติการ Operating system ที่ชื่อ Android สำเร็จแล้วมันจะกลายเป็นระบบที่สามารถไปอยู่ในโทรศัพท์ ในกระเป๋าทุกคนบนโลกได้ ก็มีเพื่อนหลายคนที่ไม่เชื่อ แต่ก็มีเพื่อนคนนึงที่มีวิสัยทัศน์ แล้วก็มองว่าถ้าไอ้พวกนี้มันทำสำเร็จจริงๆ ก็อาจจะเป็นอย่างที่มันว่าจริงๆก็ได้ก็เลยให้เงินมาเป็นการลงทุนด้วยเงินส่วนตัวจำนวน 10,000 ดอลลาร์สหรัฐหรือตีเป็นเงินไทยก็ประมาณ 300,000 บาท เพื่อที่จะ ต่อลมหายใจของบริษัทไปได้อีกเฮือกหนึ่ง ซึ่งนักลงทุนคนนี้ ก็คือเพื่อนของรูบิ้นนี่แหละ ที่ชื่อว่า สตีฟเพอแมน ซึ่งเพอแมน ก็ไม่ใช่เศรษฐีที่มีเงินถุงเงินถังมาจากไหน แต่พอฟังไอเดียของรูบิ้นเสร็จเขาก็เดินไปที่ธนาคารแล้วก็ถอนเงินออกมาได้ทันที
Reference
เมื่อคนรุ่นใหม่ไม่ได้มีรายได้ทางเดียว
ยุคสมัยที่เปลี่ยนไป ทำให้การมีรายได้ช่องทางเดียวจากงานประจำเริ่มไม่มั่นคงและไม่เพียงพอสำหรับใครหลายคน อย่างสถานการณ์ Covid-19 ที่เกิดขึ้นทั่วโลกที่ทำให้หลายกิจการต้องปิดตัวลงบ้าง หยุดชั่วคราวบาง หลายคนขาดรายได้อย่างไม่ทันตั้งตัว ทำให้หลายคนเกิดความคิดที่ว่า งานประจำเพียงอย่างเดียวมีความเสี่ยง ควรมีงานสำรอง หรือ second job ด้วย เพื่อสร้างความมั่นคงกว่าเดิมให้ตัวเอง
อย่างไรก็ตาม การมีงานที่สองเป็นงานเสริมนั้น ก็ได้เป็นที่นิยมมากขึ้นเรื่อยๆ อย่างในกลุ่มเด็กรุ่นใหม่ที่มีงานเสริมนั้น ไม่ได้เกิดจากปัญหาทางเศรษฐกิจ แต่เป็นเรื่องของการทำงานเพื่อความรู้สึกของตัวเอง คือ มีงานประจำไว้เพื่อสร้างฐานะให้มั่นคง แต่ในขณะเดียวกันก็เลือกทำอีกงานควบคู่กันไป เพื่อจะได้ทำในสิ่งที่รักหล่อเลี้ยงจิตใจและมีผลพลอยได้เป็นรายได้ที่เพิ่มมากขึ้นจนสูสีหรือมากกว่างานประจำด้วยซ้ำ
อย่างไรก็ตามมีงานอีกประเภท ที่เรียกว่า งานฟรีแลนซ์ เป็นงานที่มีอิสระ ไม่มีกำหนดตายตัวว่าต้องเข้างานเลิกงานกี่โมง อาจจะไม่มีออฟฟิศประจำ หรือมีก็ได้ สามารถทำงานได้จากทุกที่ สามารถรับงานจากนายจ้างได้หลายๆคน งานฟรีแลนซ์นี้มีความคาบเกี่ยวกับงานที่สองพอสมควร เพราะบางคนที่ทำงานฟรีแลนซ์อาจจะไม่มีงานประจำเลยก็ได้ รับงานหลายๆจ็อบอย่างอิสระ แต่บางคนก็รับทำงานฟรีแลนซ์ในลักษณะที่เป็นสัญญาประจำ เช่น งาน Admin ตอบไลน์ หรือ ทำ Content ลงเพจให้ทุกสัปดาห์ หรือทุกเดือน โดยตกลงกันทำงานร่วมกันในระยะยาว
ดังนั้นงานเสริม หรืองานฟรีแลนซ์ ที่เลือกทำกันนั้น จึงมีความคล้ายตรงที่เป็นเหมือนโรงเรียนเล็กๆ ที่ทำให้เราได้ฝึกลองมือซึ่งบางครั้งงานประจำในออฟฟิศก็ไม่สามารถให้สิ่งนี้กับเราได้ บางคนค้นพบตัวเองมากขึ้นจากการทำงานเสริม หรืองานฟรีแลนซ์ โดยอาศัยสิ่งที่ตัวเองสนใจหรือมีความถนัดเป็นพื้นฐาน การได้ลองเอาสิ่งที่รักที่ชอบมาเป็นงานจริงๆ อาจทำให้เราได้รู้จักตัวเองมากขึ้นว่าเรารักในสิ่งนั้นจริงๆ ซึ่งเป้าหมายของการทำงานเสริม ส่วนมากจะแบ่งได้เป็น 2 ระยะ
1. เป้าหมายระยะสั้น ทำเป็นจ็อบๆ เป็นสัญญาระยะสั้น 1 เดือน 3 เดือน เช่น การทำงานกราฟฟิค ทำโลโก้ ทำแบบแพคเกจสินค้า หรือรับเป็นงานๆไป เช่น แปลงาน รับหิ้วของจากการไปต่างประเทศ การขับ Grab ซึ่งข้อดีของการหารายได้เสริมลักษณะนี้คือ ไม่มีข้อผูกมัด สามารถเปลี่ยนงานเสริมได้เรื่อยๆ อาจจะไม่ได้อินกับงานที่ทำเท่าไหร่นัก แต่ว่าเป็นงานที่เรามีความถนัด เลยคุ้มค่าที่จะทำเพิ่ม
2. เป้าหมายระยะยาว คือ มีอีกอาชีพหนึ่งขนานกันไปกับงานประจำ เช่น ในขณะที่เป็นพนักงานออฟฟิศ ก็เปิดร้านอาหารด้วย หลังเลิกงานก็ต้องเข้าร้านเพื่อไปควบคุมดูแลกิจการให้ดำเนินไปได้ งานเสริมที่มีเป้าหมายระยะยาวอย่างนี้อาจสร้างรายได้ให้มากจนบางครั้งอาจมากกว่าอาชีพหลัก หรือบางครั้งก็สามารถทำเพื่อเติมเต็มความฝันและยังได้คอนเน็กชั่น ประสบการณ์ที่มากกว่าการทำงานประจำเพียงอย่างเดียว
ส่วนมือใหม่ที่อยากหางานเสริม หรืองานฟรีแลนซ์ทำเพิ่ม ควรเริ่มจาก
อย่างไรก็ตามงานเสริมยังมีอีกมากมาย เช่น แปลภาษา ติวเตอร์ ขับ Grab การตัดสินใจเลือกทำงานเสริมอะไรแล้วก็ควรให้ความสำคัญไม่แพ้ไปกับการทำงานประจำ เพื่อให้เกิดวินัยในตัวเอง และเกิดความภาคภูมิใจในงานที่ทำออกมา นำสู่การต่อยอดการมีรายได้ที่มากขึ้นนั่นเอง
ที่มา https://thestandard.co/podcast/ihatemyjob14/