หน้าหลัก
>

บทความทั้งหมด

March 28, 2023

วิกฤตต้มยำกุ้ง เอาตัวรอดยังไง คนไทยทำอะไรผิดพลาด เราได้เรียนรู้อะไรบ้าง?

สำหรับตอนนี้เป็นซีรีส์เรื่องวิกฤตเศรษฐกิจตอนที่ 3 แล้ว โดย 2 ตอนก่อนหน้านี้ เราเล่าให้ฟังว่าวิกฤตเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดของโลกครั้งหนึ่งก็คือแฮมเบอร์เกอร์ ก็คือวิกฤตซับไพรม์ (Subprime)  ที่เกิดขึ้นที่สหรัฐอเมริกา ตอนนั้นเกิดอะไรขึ้นบ้าง คนสมัยนั้นเขาลงทุนอะไรไป แล้วผิดพลาดอะไร ได้เล่าให้ฟังและถอดบทเรียนไว้แล้ว ในตอนต่อมาได้เล่าเกี่ยวกับวิกฤตปัจจุบัน คือวิกฤตไวรัสโคโรน่า หรือ COVID 19 ว่าอยากทำธุรกิจช่วงนี้ ควรระวังอะไรบ้าง ควรทำอะไรก่อน มีอะไรที่เราต้องรู้บ้าง 

วันนี้จะมาคุยถึงเรื่องวิกฤตเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยครั้งหนึ่งก็คือวิกฤตต้มยำกุ้ง ในปี 2540 

เรื่องราวของวิกฤตต้มยำกุ้งค่อนข้างจะซับซ้อน ก่อนอื่นขอแนะนำตัวละครที่จะเกิดขึ้นในเรื่องนี้ ก็คือคำว่า “ค่าเงินอ่อน” กับ “ค่าเงินแข็ง” 

คำว่าค่าเงินอ่อนและแข็งคืออะไร 

ลองจินตนาการตามง่าย ๆ สมมติว่าตอนนี้อัตราแลกเปลี่ยนเงินคือ 30 บาทซื้อได้ 1 ดอลลาร์ แล้วสมมุติต่อไปว่าตอนนั้นประเทศไทยเศรษฐกิจดี คนก็อยากจะมาลงทุนในประเทศไทย อยากจะแลกเงินมาเป็นเงินไทยเยอะ ๆ แสดงว่าตอนนี้เงินของไทยกำลังเนื้อหอม เงินบาทก็จะแข็งแกร่งขึ้น ทำให้หลายคนแทบจะยอมซื้อเงินบาทที่ราคาดีกว่านี้ก็ได้ ทำให้ตอนนั้นแทนที่ 1 ดอลลาร์จะเป็น 30 บาท ก็กลายเป็น 1 ดอลลาร์แลกเงินไทยได้ที่ 25 บาท เพราะว่าตอนนั้นเงินของไทยกำลังแข็งแกร่งขึ้นนั่นเอง ซึ่งนี่ก็เป็นที่มาของคำว่าค่าเงินแข็ง 

ส่วนคำว่า ค่าเงินอ่อน ก็ตรงกันข้าม สมมุติว่าตอนนี้ประเทศไทยเศรษฐกิจไม่ดี ไม่มีใครอยากจะแลกมาเป็นเงินไทยเลย สิ่งที่จะตามมาคือเงินไทยขาย 30 บาทก็ไม่มีคนซื้อ ขาย 35 บาทก็ไม่มีคนซื้อ หรือขาย 40 บาทยังไม่มีคนซื้อ แบบนี้แสดงว่าค่าเงินบาทกำลังอ่อนแอ ค่าเงินบาทอ่อนตัว 

ตอนนี้เราเข้าใจตรงกันแล้วว่า ค่าเงินแข็งคือค่าเงินแข็งแรง ค่าเงินอ่อนก็คือค่าเงินบาทอ่อนตัว 

ทีนี้นั่งไทม์แมชชีนย้อนกลับไปในช่วงก่อนปี 2540 ตอนนั้นในประเทศไทยมีนโยบายในการทำให้ประเทศไทยเป็น Hub เศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของเอเชีย จินตนาการตามว่า สมมุติว่าตอนนี้มีชาวต่างชาติคนหนึ่งบอกว่าอยากจะลงทุนทำโรงงานสักอย่างนึงในประเทศไหนก็ได้ ความเสี่ยงที่สุดของเขาเนี่ยไม่ใช่เรื่องของแรงงาน ไม่ใช่เรื่องของเงินเดือนพนักงาน ไม่ใช่เรื่องของตลาด แต่เป็นเรื่องความเสี่ยงของค่าเงิน 

ความเสี่ยงของค่าเงิน เป็นอย่างไร 

สมมุติชาวต่างชาติคนนั้นเอาเงิน 1 ล้านดอลลาร์ลงทุนทำโรงงานในประเทศไทย ซึ่งตอนนั้นแลกเงินไทยได้ 30 ล้านบาท และตั้งใจเป็นอย่างยิ่งว่าจะทำให้บริษัทขายได้เยอะ ๆ มีกำไรเยอะ ๆ เอามาจ้างคนงานจ้างผลิต ขายของจนได้ 60 ล้านบาท พอได้ 60 ล้านบาทก็ตั้งใจว่าจะแลกเงินกลับไปเป็นกำไรของตัวเอง ก็คือลงทุนมา 1 ล้านดอลลาร์ เอามาเป็นเงินไทยได้ 30 ล้านบาท ขายของได้ 60 ล้านบาท แล้วแลกกลับไปเป็นดอลล่า มันก็ควรจะได้ 2 ล้านดอลลาร์ 

แต่สมมุติว่าเจอความเสี่ยงเรื่องค่าเงิน เช่น กว่าจะผลิต กว่าจะขายได้ เวลาผ่านไป 1 ปีกลายเป็นว่าตอนนั้นค่าเงินบาทเกิดอ่อนค่าลงพอดี ดังนั้นจากที่ 1 ดอลลาร์จะแลก 30 บาท กลายเป็น 1 ดอลลาร์แลกมาเป็น 60 บาท ทำให้ชาวต่างชาติคนนี้ แม้ขายได้ 60 ล้านบาทก็ปรากฏว่าแลกเงินคืนได้ 1 ล้านดอลลาร์เท่าเดิม ไม่มีกำไรเลย แบบนี้ก็คือความเสี่ยงของค่าเงิน ทำให้หลายคนเวลาที่จะเลือกลงทุนในประเทศต่าง ๆ เขาจะดูเรื่องความเสี่ยงความผันผวนของค่าเงินเป็นหลักด้วย ประเทศไหนความผันผวนของค่าเงินเยอะ ก็ไม่กล้าลงทุนเพราะลงทุนไปแล้วอาจจะไม่ได้เงินคืนก็เป็นได้ หรือขายของได้ก็กลายเป็นว่าหักกับค่าเงินแล้วไม่มีกำไรเลย 

เมื่อเป็นเช่นนี้ นโยบายของรัฐบาลไทยในยุคนั้นก็เลยมีความตั้งใจว่าอยากจะให้ประเทศไทยเนี่ยเป็นประเทศที่ค่าความเสี่ยงทางการเงินน้อยที่สุด ประเทศไทยจึงไปถอดแบบความคิดของประเทศอังกฤษซึ่งมีนโยบายตรึงค่าเงินปอนด์ โดยการตรึงค่าเงินนั้น ทำให้ไม่ต้องกังวลเรื่องค่าเงินบาทอ่อน ค่าเงินบาทแข็ง เพราะไม่ว่าจะผ่านไปกี่ปีก็จะได้ที่ราคานี้ เช่น วันนี้ 1 ดอลลาร์และได้ 25 บาท เวลาผ่านไป 1 ปี 1 ดอลลาร์ก็ยังแลกได้ 25 บาท

ดังนั้นจึงทำให้หลายคนสบายใจในการมาลงทุนในประเทศไทย พอลงทุนในประเทศไทยเยอะขึ้นเศรษฐกิจประเทศไทยก็ดีคือมีการจ้างงานเยอะขึ้น ก่อนปี 2540 เป็นยุคที่อุตสาหกรรมการผลิตของไทยรุ่งเรืองเป็นอย่างที่สุด เพราะว่าหลายประเทศมองว่าประเทศไทยน่าลงทุน แม้กระทั่งคนไทยเองก็มองว่าเมืองไทยน่าลงทุน 

ตอนนั้นพอเศรษฐกิจมันไปได้ดี อาจเริ่มจากในตอนแรกมีเงินเท่านี้ นำไปลงทุนทำธุรกิจ ธุรกิจก็ขายดี เพราะว่าผลิตอะไรมาก็ขายได้ ส่งออกอะไรก็ส่งออกไปได้ดี สิ่งที่เกิดขึ้นตามมาคือ ทำให้หลายคนโลภเกินจำเป็น โลภเกินตัว โดยเห็นว่าพอเศรษฐกิจดีก็อยากจะขายได้มากขึ้น จึงไปกู้เงินมาทำธุรกิจ

เมื่อเกิดการกู้ยืมเงินจากหลายธนาคารในประเทศก็ทำให้เกิดเหตุการณ์เงินภายในประเทศมีไม่เพียงพอ ธนาคารต่าง ๆ จึงเริ่มที่จะไม่ค่อยให้ปล่อยกู้ หลายคนถึงขั้นกู้ทุกธนาคาร กู้ทุกประเทศมาสร้างหลาย ๆ โรงงาน หลาย ๆ ธุรกิจ ประกอบกับตอนนั้นประเทศไทยก็มีนโยบายที่ชื่อ BIBF หรือที่มีชื่อเต็มว่า Bangkok International Banking Facility ซึ่งเป็นนโยบายที่ผ่อนคลายกฎเกณฑ์หลาย ๆ อย่าง โดยมุ่งหวังที่จะปั้นประเทศไทยให้กลายเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจที่แท้จริงของอาเซียน แต่สิ่งที่ตามมาคือธนาคารที่ปล่อยเงินกู้ในประเทศไทยก็ดอกเบี้ยแพง 

คำว่าโลภจนเกินตัวนั้น ไม่ได้ถูกใช้อยู่แค่กลุ่มของคนที่ทำธุรกิจ แต่ยังรวมถึงหลายธนาคารในประเทศไทยด้วยที่มองว่าการกู้ยืมเงินระหว่างประเทศมันง่าย แล้วดอกเบี้ยต่างประเทศมันต่ำ ธนาคารในไทยก็เลยไปกู้เงินจากต่างประเทศในอัตราดอกเบี้ยถูก แล้วเอามาปล่อยกู้ในประเทศในอัตราดอกเบี้ยที่แพงขึ้น ทำให้ธนาคารกินส่วนต่างของดอกเบี้ยได้เยอะ แล้วในเมื่อคนไทยก็ต้องการที่จะกู้เงินไปเพื่อทำธุรกิจเยอะอยู่แล้ว ก็ทำให้ธนาคารที่ปล่อยกู้ด้วยวิธีนี้ได้กำไรกันเป็นกอบเป็นกำ 

ปัญหาก็เริ่มที่จะบานปลาย เพราะว่าตอนนี้คนที่กู้เงินไปนั้น ไม่ได้เอาเงินไปทำธุรกิจจริง ๆ แต่กู้เงินไปซื้อหุ้น กู้เงินไปเก็งกำไรในตลาดอื่น ๆ เพราะเห็นว่าการกู้เงินตอนนี้ดอกเบี้ยมันถูก มันได้มาง่าย เศรษฐกิจก็ไม่ได้เดินไปอย่างที่คิด สิ่งที่ค่อย ๆ สะสมตามมา ก็คือ ตอนนั้นทั้งตลาดหุ้น ตลาดอสังหาริมทรัพย์ถูกปั่นราคากันเป็นว่าเล่น

หลังจากนั้นธนาคารในต่างประเทศก็เริ่มเห็นว่า ลูกหนี้เริ่มมีพฤติกรรมจ่ายช้าลงหรือว่าชะลอการจ่ายหนี้ เริ่มหาเงินกลับมาจ่ายไม่ได้ เช่น คนที่เอาไปเล่นหุ้นปรากฏว่าเล่นแล้วเสียก็เลยไม่มีเงินมาจ่าย ประกอบกับการตรึงค่าเงินบาทนั้น ทำให้ประเทศไทยต้องเสียดุลจำนวนมาก ต้องเอาเงินไปพยุงค่าเงินบาท

เพราะว่าจริง ๆ แล้วค่าเงินจะอ่อนจะแข็งควรเป็นไปตามกลไกตลาดโลก ซึ่งตอนนั้นเองรัฐบาลไทยก็ต้องใส่เงินเข้าไปเพื่อที่จะพยุงค่าเงินให้อยู่ที่ 25 บาทต่อ 1 ดอลลาร์ตลอดเวลา ทำให้จำนวนขาดดุลเป็นจำนวนมาก แต่เพื่อแลกกับเศรษฐกิจที่ตามมา ทั้งการลงทุนจากต่างประเทศ ให้เกิดการสร้างงานให้กับคนไทย สร้างรายได้ให้กับคนไทย ก็ดูเป็นเรื่องที่แลกแล้วมันคุ้ม

ทีนี้ทำความเข้าใจกลไกการทำงานของนโยบายเศรษฐกิจ โดยปกติแล้วนโยบายเศรษฐกิจก็คือการที่จะใส่เงินก้อนหนึ่งลงไปเพื่อพยุงให้เศรษฐกิจดีขึ้น แล้วพอเศรษฐกิจฟื้นตัว เงินก้อนนี้ที่ลงทุนไปก็จะค่อยๆได้กลับมาจากการที่ภาคเศรษฐกิจ ภาคอุตสาหกรรมต่าง ๆ เติบโตขึ้น แต่ประเด็นคือในตอนนั้นหลายคนไม่ได้กู้เงินเพื่อเอาไปทำธุรกิจจริง ๆ แต่เอาไปใช้เล่นหุ้น ไปเก็งกำไรอสังหาริมทรัพย์ เศรษฐกิจจึงไม่ได้โตขึ้นเร็วอย่างที่คิด ทำให้งบประมาณที่ตั้งใจนำมาพยุงเศรษฐกิจ เพื่อที่จะทำให้เศรษฐกิจเติบโตขึ้นไปได้ใกล้จะหมด พองบประมาณใกล้จะหมดแล้ว สุดท้ายรัฐบาลก็เลยประกาศยอมแพ้ 

รัฐบาลในขณะนั้น ได้ประกาศให้ค่าเงินบาทลอยตัวตั้งแต่วันที่ 2 กรกฎาคม 2540 ซึ่งทำให้ค่าเงินบาทถูกปล่อยไปเป็นกลไกของตลาดโลก ทำให้ตอนนั้นค่าเงินบาทจากตอนแรกถูกตรึงไว้ที่ 1 ดอลลาร์เท่ากับ 25 บาท กลายเป็น 1 ดอลลาร์เท่ากับ 52 บาท หมายความว่า หากก่อนหน้านี้คนที่ไปกู้เงิน 1 ล้านดอลลาร์เท่ากับเป็นหนี้ 25 ล้านบาท

แต่การประกาศลอยตัวค่าเงินบาททำให้ในวันเดียวกลายเป็นหนี้ 52 ล้านบาททันที ซึ่งจุดนั้นเองทำให้หลายคนมีหนี้เพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว บริษัทต่าง ๆ นับพันแห่งปิดตัวลงในวันเดียว เศรษฐกิจพังทั้งหมด จากตลาดหุ้นที่ขึ้นไปเกือบ ๆ 2,000 จุดก็ลงมาต่ำกว่า 300 จุด หลายคนฆ่าตัวตายเพราะว่าคิดว่าชีวิตนี้คงหาเงินมาใช้หนี้ไม่ได้แล้ว คนส่วนใหญ่ตกงาน นับเป็นวิกฤตเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยครั้งหนึ่ง 

แต่หลังจากนั้นสิ่งที่เกิดขึ้นคืออะไร

เชื่อไหมว่าคนที่ยังอยู่รอดได้ คนที่ยัง Lean อยู่ คือคนที่ทำธุรกิจตามกำลังของตัวเอง คือพอมีกำไร ก็เอากำไรมาทำต่อ มีกำไรเยอะขึ้นก็ผลิตเยอะขึ้น ไม่ได้คิดที่จะไปกู้เงินให้มันเกินตัวมาเพื่อทำธุรกิจให้มันขายได้เยอะ ๆ ซึ่งหลังจากที่ผ่านวิกฤตต้มยำกุ้ง ลองนึกตามว่าแต่ก่อนผลิตขวดน้ำ แล้วส่งออกขายต่างประเทศในราคา 1 ดอลลาร์แลกเป็นเงินไทยได้ 25 บาท แต่วันนั้นขวดน้ำที่ขายต่างประเทศ 1 ดอลลาร์แลกกลับมาได้ 52 บาท บริษัทมีกำไรเป็นกอบเป็นกำ ทำให้จ้างคนเยอะขึ้น งานเยอะขึ้นอย่างมหาศาลเพราะบริษัทกำลังมีกำไรมากกว่าเดิม 2 เท่าโดยที่ไม่ได้ลงทุนอะไรเพิ่ม 

ดังนั้นจึงอยากจะบอกว่าทุกวิกฤตมีโอกาส แล้วทุกวิกฤตเนี่ยเราจะเห็นว่าคนที่ล้มละลายไปคนที่ชีวิตพังทลายลงไป บริษัทที่เจ๊งไปตอนนั้นเกือบทั้งหมด ไม่ว่าจะจากวิกฤตต้มยำกุ้งหรือวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ เกือบทั้งหมดเกิดจากความโลภที่เกินจำเป็นของมนุษย์เรา ดังนั้นไม่ใช่ความผิดหากว่าเรามีไอเดียที่จะไปกู้เงินมาทำอะไร เพียงแค่เราต้องประเมินก่อนว่าตอนนี้เราอยู่ในสถานการณ์ไหน และเรามีความสามารถที่จะทำเรื่องนี้ได้ขนาดไหน ถ้าจะทำอะไรทำได้ แต่คิดก่อนว่าเราเข้าใจเรื่องนั้นดีจริงหรือไม่

<แนะนำ>

ถ้าใครอยากเริ่มธุรกิจของตัวเองที่ต้องการองค์ความรู้ในการทำธุรกิจแบบ Step-by-step แนะนำหลักสูตร

Shortcut MBA ที่สอนทุกอย่างที่คนอยากทำธุรกิจให้สำเร็จต้องรู้ดูรายละเอียดได้ที่ลิงค์ http://bit.ly/3FYL93N 

Reference

Copyright ©2024Eddu Group International Co.,Ltd.

คอร์สยอดนิยมด้าน Business

อัปสกิลไปพร้อมกับ Eddu

ทีมงานพร้อมให้คำแนะนำและคำปรึกษาในการเรียน
ตลอดจนแนะนำหลักสูตรที่เหมาะสมกับผู้เรียน ทั้งบุคคลและองค์กร

ร่วมเป็น Trainer กับเรา

สร้างสรรค์ผลงานออนไลน แบ่งปันความรู้พร้อมกับหารายได้

We use cookies, please see our policy and setting

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save
linkedin facebook pinterest youtube rss twitter instagram facebook-blank rss-blank linkedin-blank pinterest youtube twitter instagram