หลายคนที่ได้ยินคำว่า ทำงานแบบ Agile มักเข้าใจผิดระหว่าง Agile กับ Scrum ว่าเป็นสิ่งเดียวกัน ซึ่งจริงๆ แล้ว ทั้งสองเพียงแต่มีความเกี่ยวพันธ์กันเท่านั้น แต่มีความแตกต่างกันในความหมาย และวิธีการ เราจะมาดูกันว่า Agile vs Scrum ต่างกันอย่างไร และต้องใช้อะไรเพื่อพัฒนาการทำงานในยุคดิจิทัล

Agile คืออะไร

อย่างที่ทราบกันว่า Agile ก็คือรูปแบบการทำงานหนึ่ง ที่ใช้ในธุรกิจ แต่เป็นเพียงปรัชญา หรือแนวทาง ในการจัดการโครงการ หรือ Project Management ที่เน้นการทำงานแบบ ยืดหยุ่น   ปรับเปลี่ยนได้   ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลง   เน้นการทำงานเป็นทีม   มีส่วนร่วมของลูกค้า   ส่งมอบผลงานเป็นระยะๆ   เน้นการทดสอบ   เรียนรู้  และปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง 

การทำงานของ Agile  จะนำโปรเจคใหญ่ มาซอยย่อย ให้เกิดกระบวนการทำงาน ที่ยืดหยุ่นเน้นการทำงานเป็นทีม การส่งมอบผลงานอย่างรวดเร็ว และการปรับตัวตามการเปลี่ยนแปลง โดยไม่ยึดติดกับแผนงานที่ตายตัว เหมาะกับงานที่ต้องการความคล่องตัวสูง ต้องการรับ feedback และปรับแก้ไขงานได้บ่อย ๆ โดยระหว่างการทำงาน สามารถทำไป Test ไป จนกว่าจะเกิดการมอบคุณค่าที่ดีที่สุดให้กับลูกค้า

Agile ช่วยธุรกิจให้เติบโตได้อย่างไร

1. เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน

2. เพิ่มความคล่องตัว

3. เพิ่มการมีส่วนร่วมของลูกค้า

4. เพิ่มกำลังใจให้พนักงาน

5. เพิ่มคุณภาพของผลิตภัณฑ์

Scrum คืออะไร

Scrum คือส่วนหนึ่งของการทำงานแบบ Agile เป็นวิธีการหรือ กรอบการทำงานแบบ Framework  ที่ใช้ในการนำ Agile ไปปฏิบัติ มีโครงสร้างกระบวนการ   เครื่องมือ   ที่ชัดเจน   เน้นการแบ่งงานเป็น Sprint สั้นๆ   มีการวางแผน   ทบทวน   ปรับปรุงอย่างสม่ำเสมอ   เน้นการทำงานเป็นทีม   มีบทบาทของ Product Owner, Scrum Master  และ Development Team ชัดเจน

Scrum ช่วยธุรกิจเติบโตได้อย่างไร

การช่วยธุรกิจให้เติบโตของ Scrum จะมีส่วนคล้ายกับ Agile แต่มีการลงมือปฏิบัติมากกว่า

1. เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน

2. เพิ่มความคล่องตัว

3. เพิ่มการมีส่วนร่วมของลูกค้า

4. เพิ่มกำลังใจให้พนักงาน

5. เพิ่มคุณภาพของผลิตภัณฑ์

สรุป Agile vs Scrum ต่างกันอย่างไร

ถ้าสรุปเพื่อความเข้าใจง่ายๆ ก็คือ 

Agile vs Scrum: อะไรเหมาะกับการพัฒนาการทำงานในยุคดิจิทัล? 

ทั้ง Agile และ Scrum ต่างเป็นแนวทางการทำงานที่ได้รับความนิยมในยุคดิจิทัล   แต่ความเหมาะสมในการใช้งานนั้นขึ้นอยู่กับบริบทและเป้าหมายขององค์กร นั้นคือ

เครื่องมือที่เหมาะกับ Agile และ Scrum

เทรนด์การใช้ Agile และ Scrum ในยุคดิจิทัล

เราเห็นและเข้าใจกันแล้วว่า Agile VS Scrum มีความแตกต่างกันอย่างไร แม้จะแตกต่างในเชิงปรัชญา และภาคปฏิบัติ ก็เป็นหลักการที่ทำงานร่วมกันอยู่ดี ซึ่งการทำธุรกิจ จะต้องวางกลยุทธ์ในการทำงานทั้ง 2 รูปแบบนี้ ให้เหมาะสม แน่นอนว่า หากทำงานร่วมกันกับทีมทั้ง 2 รูปแบบย่อมส่งผลต่อการทำงานในยุคดิจิทัลได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น นำพาธุรกิจให้เติบโตได้อย่างต่อเนื่อง

หากใครอยากเรียนรู้และเข้าใจเกี่ยวกับการทำงานแบบ Agile มากขึ้น มาเรียนคอร์ส Agile Project Management ปรับระบบการทำงานให้คล่องตัว เน้น…คนและการมีปฏิสัมพันธ์กัน เน้น…ซอฟต์แวร์ที่นำไปใช้งานได้จริง เน้น…ร่วมมือทำงานกับลูกค้า เน้น…การตอบรับกับการเปลี่ยนแปลง แล้วพบกันที่ eddu

ในการทำธุรกิจ มีหลายรูปแบบมากๆ ที่จะช่วยให้ธุรกิจมีการวางแผนที่ชัดเจน และพร้อมเติบโตสู่ความสำเร็จ แต่จะมีสักกี่รูปแบบที่จะทำให้ การทำงานมีระบบ และสามารถนำพาทีม ให้ทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ บางทีอาจจะดูเป็นเรื่องยากพอสมควร แต่หากมีเครื่องมือที่นำพาในการบริหารทีม อย่างการทำงานรูปแบบ Agile ก็ช่วยการทำงานให้ง่ายขึ้นเช่นกัน ส่วนหนึ่งของการทำงานรูปแบบ Agile ซึ่งเป็นที่นิยมและมีประสิทธิภาพสุด ๆ นั่นก็คือ การทำงานแบบ Scrum เรามาดูกันว่า Scrum ใน agile project management framework เป็นอย่างไร พร้อมบอกวิธีใช้งาน รวมในบทความนี้แล้ว

ในการทำธุรกิจ มีหลายรูปแบบมากๆ ที่จะช่วยให้ธุรกิจมีการวางแผนที่ชัดเจน และพร้อมเติบโตสู่ความสำเร็จ แต่จะมีสักกี่รูปแบบที่จะทำให้ การทำงานมีระบบ และสามารถนำพาทีม ให้ทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ บางทีอาจจะดูเป็นเรื่องยากพอสมควร แต่หากมีเครื่องมือที่นำพาในการบริหารทีม อย่างการทำงานรูปแบบ Agile ก็ช่วยการทำงานให้ง่ายขึ้นเช่นกัน ส่วนหนึ่งของการทำงานรูปแบบ Agile ซึ่งเป็นที่นิยมและมีประสิทธิภาพสุด ๆ นั่นก็คือ การทำงานแบบ Scrum เรามาดูกันว่า Scrum ใน agile project management framework เป็นอย่างไร พร้อมบอกวิธีใช้งาน รวมในบทความนี้แล้ว

Scrum ใน Agile Project Management Framework คืออะไร

Scrum เป็นวิธีการจัดการโครงการแบบ Agile ที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย เน้นการทำงานเป็นทีม การส่งมอบผลงานที่ใช้งานได้จริง และความยืดหยุ่นในการปรับเปลี่ยนตามความต้องการของลูกค้า โดยมี Product Owner เป็นผู้ดูแล จัดการ ให้เป็นไปตามเป้าหมายของธุรกิจ

หลักการทำงานของ Scrum เป็นอย่างไร 

  1. การแบ่งงานออกเป็น Sprint โครงการจะถูกแบ่งออกเป็น Sprint สั้นๆ แต่ละ Sprint มักจะมีระยะเวลา 2-4 อาทิตย์
  2. การวางแผน Sprint ทีมจะทำการวางแผน Sprint โดยกำหนดเป้าหมายและงานที่จะต้องทำใน Sprint นั้น
  3. การประชุม Daily Scrum ทีมจะประชุม Daily Scrum ทุกวัน เพื่อติดตามความคืบหน้า แจ้งปัญหา และหาทางแก้ไข
  4. การ Sprint Review ทีมจะนำเสนอผลงานใน Sprint นั้น ให้กับลูกค้าเพื่อรับ feedback
  5. การ Sprint Retrospective ทีมจะประชุม Sprint Retrospective เพื่อทบทวนสิ่งที่เกิดขึ้นใน Sprint นั้น หาจุดที่ควรปรับปรุง และนำไปใช้ใน Sprint ถัดไป

วิธีการใช้งาน Scrum ทำอย่างไรบ้าง

เราจะมาดูวิธีการใช้งานรูปแบบ Scrum กัน ว่ามีการทำงานในแต่ละขั้นตอน จนส่งมอบงานให้กับลูกค้าอย่างไรบ้าง 

  1. สร้างทีม Scrum ในส่วนแรกนี้ ธุรกิจจะต้องมีทีมงานในการทำ Scrum เพื่อวางแผนและดำเนินการสร้างโปรดักซ์ ให้เป็นไปตามแบบแผนที่วางไว้ โดยทีมจะต้องมีอย่างน้อย 5-9 คน ประกอบไปด้วย 
  1. กำหนด Product Backlog  โดย Product Backlog คือ รายการสิ่งที่ต้องการทั้งหมดของโครงการ

ควรเรียงลำดับตามความสำคัญที่ต้องทำก่อนหลัง ในกระบวนการนี้ จะมี เจ้าของหรือ Product Owner เป็นคนคิดวางแผน และกำหนดคุณค่าของโปรดักซ์ ภายใต้ Vision หรือโจทย์ที่ได้รับ นำมาแตกเป็นแนวคิด ก่อนไปขั้นตอนต่อไป

  1. วางแผน Sprint ในกระบวนการนี้ ทีมงานทั้งหมด จะมีส่วนช่วยกันวางแผน Sprint โดยกำหนดเป้าหมายของ Sprint และเลือกงานจาก Product Backlog ที่จะนำมาทำใน Sprint นั้น ทำการประมาณการเวลาที่ใช้สำหรับงานแต่ละชิ้น โดยปกติใช้เวลา 2-4 สัปดาห์ ในขั้นตอนของการวางแผน เราจะใช้คำว่า Sprint Planning
  2. ทำงานใน Sprint เริ่มกระบวนการทำงาน ทีมจะทำงานตามแผนที่วางไว้ และทีมควรทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิด โดยมี Scrum Master คอยช่วยขจัดอุปสรรคที่ทีมเผชิญระหว่างทาง 
  3. ประชุม Daily Scrum เป็นส่วนสำคัญที่ทีมจะต้องประชุมทุกวัน เพื่อตรวจสอบความคืบหน้า แจ้งปัญหา และหาทางแก้ไข ซึ่งในส่วนนี้ สามารถทำการแก้ไขซ้ำได้เลย หลังพบปัญหา
  4. การ Sprint Review เมื่อทำการปรับแก้ไข จนได้โปรดักซ์ชิ้นแรกที่น่าพอใจแล้ว ทีมจะนำเสนอผลงานใน Sprint นั้น ให้กับลูกค้าเพื่อรับ feedback และนำมาปรับเปลี่ยนผลงานตาม feedback ให้ตอบโจทย์ผู้ใช้มากที่สุด 
  5. การ Sprint Retrospective หลังได้รับการรีวิว ทีมจะประชุม Sprint Retrospective เพื่อทบทวนสิ่งที่เกิดขึ้นใน Sprint นั้น หาจุดที่ควรปรับปรุง และนำไปใช้ใน Sprint ถัดไป

ข้อดีของการทำ Scrum

ตัวอย่างการใช้งาน Scrum

โปรดักซ์ที่มักใช้การทำงานแบบ Scrum ส่วนใหญ่จะเป็นการพัฒนาซอฟต์แวร์ การพัฒนาเว็บไซต์ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ หรือการออกแบบโครงการ สำหรับธุรกิจที่ประสบความสำเร็จจากการทำ Scrum Framework เช่น Google Spotify Amazon Netflix และ Facebook เป็นต้น

การทำ Scrum Framework ช่วยให้ธุรกิจเติบโตได้หลายวิธี ดังนี้

1. เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน Scrum Framework เน้นการทำงานแบบแบ่งเป็น Sprint สั้นๆ  ช่วยให้ทีมงานโฟกัส ทำงานเสร็จเร็วขึ้น และปรับแต่งงานตามความต้องการของลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว

2. เพิ่มความคล่องตัว Scrum Framework ช่วยให้ทีมงานสามารถปรับเปลี่ยนแผนการทำงานได้อย่างรวดเร็ว ตามความต้องการของลูกค้า  ช่วยให้ธุรกิจสามารถตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ

3. เพิ่มการมีส่วนร่วมของลูกค้า Scrum Framework เน้นการมีส่วนร่วมของลูกค้า   ช่วยให้ลูกค้าสามารถให้ข้อเสนอแนะกับทีมงานได้อย่างต่อเนื่อง   ช่วยให้มั่นใจว่าผลิตภัณฑ์ที่พัฒนาออกมานั้นตรงกับความต้องการของลูกค้า

4. เพิ่มกำลังใจให้กับพนักงาน Scrum Framework เน้นการทำงานเป็นทีม   ช่วยให้พนักงานรู้สึกมีส่วนร่วมในการทำงาน   ช่วยให้พนักงานมีกำลังใจที่ดีขึ้น   ส่งผลให้พนักงานทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

5. เพิ่มคุณภาพของผลิตภัณฑ์ Scrum Framework เน้นการทดสอบและตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอ   ช่วยให้มั่นใจว่าผลิตภัณฑ์ที่พัฒนาออกมานั้นมีคุณภาพสูง

Scrum ใน agile project management framework ถือได้ว่า มีประโยชน์ต่อการทำธุรกิจมากๆ ในรูปแบบการทำงาน Agile การวางแผนงาน Scrum เป็น Framework ทำให้การทำงานร่วมกันในทีมง่ายขึ้น และทำให้เกิดคุณค่าของผลิตภัณฑ์ที่มอบประสบการณ์ที่ดีที่สุดให้กับลูกค้าหากใครอยากเรียนรู้และเข้าใจเกี่ยวกับการทำงานแบบ Agile มากขึ้น มาเรียนคอร์ส Agile Project Management ปรับระบบการทำงานให้คล่องตัว เน้น…คนและการมีปฏิสัมพันธ์กัน เน้น…ซอฟต์แวร์ที่นำไปใช้งานได้จริง เน้น…ร่วมมือทำงานกับลูกค้า เน้น…การตอบรับกับการเปลี่ยนแปลง แล้วพบกันที่ eddu

การทำงานทุกองค์กร ไม่ว่าจะทำธุรกิจอะไร แน่นอนว่า เป้าหมายความสำเร็จในธุรกิจ เป็นสิ่งที่สำคัญมาก แต่ละองค์กร มักมีวิธีการทำงานที่แตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับวัฒนธรรมองค์กร และทุกที่ ที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับสินค้า ผลิตภัณฑ์ บริการ ก็ต้องมีคนดูแลควบคุม บริหารโปรเจคสินค้าให้เกิดยอดขาย โดยหน้าที่ของคนที่เข้ามาควบคุม เราจะเรียกตำแหน่งนี้ว่า Project Manager ที่คอยจัดการทุกงานให้สมบูรณ์มากที่สุด ตั้งแต่การวางแผน การจัดระเบียบ การจัดการ ควบคุมต้นทุน จัดการงบประมาณ เพื่อให้เป็นไปตามแผนงาน

ในปัจจุบัน แม้จะใช้  Project Manager ในการบริหารจัดการงาน แต่รูปแบบการทำงานในยุคใหม่ ก็มักจะเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งยุคเดิมทุกคนจะเคยชินกับการทำงานแบบ Water Fall หรือการทำงานแบบเป็นขั้นตอนเหมือนน้ำตก ไม่เหมาะกับการทำซ้ำ เมื่อต้องแก้ไขงาน รูปแบบที่องค์กรนิยมกันมากในตอนนี้ จะเรียกว่า การทำงานแบบ Agile ซึ่งถ้าธุรกิจไหน เข้าใจการทำงานแบบ Agile ได้ทั้งหมด รับรองว่าธุรกิจไปได้สวยแน่นอน เรามาดูกัน กับหลักการใช้ Agile ที่รู้แล้ว จะบริหารจัดการงานได้ง่ายกว่าเดิม

ที่มีของการทำงานแบบ Agile

เกิดขึ้นในช่วงเทคโนโลยีเริ่มเข้ามาเปลี่ยนแปลงโลก ยุคค.ศ 2001 โดยนักพัฒนาซอฟแวร์ 17 คน ที่รวมตัวเพื่อแก้ไขปัญหาการพัฒนาซอฟแวร์แบบเดิมๆ ที่ไม่ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า มีรากศัพท์มาจาก Agility หมายถึงความคล่องแคล่ว ว่องไว สามารถปรับตัวได้อย่างรวดเร็ว แม้ว่าต้นกำเนิด จะมาจากปัญหาการพัฒนาซอฟแวร์ แต่ปัจจุบันสามารถประยุกต์กับการพัฒนาทุกๆ องค์กรได้

Agile คืออะไร

เนื่องจากพฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนไป ธุรกิจที่ผลิตสินค้าและบริการ ต้องเปลี่ยนแปลงการทำงานตาม โดยการเอาโปรเจคใหญ่ มาซอยย่อย ให้เกิดกระบวนการทำงาน ที่ยืดหยุ่นเน้นการทำงานเป็นทีม การส่งมอบผลงานอย่างรวดเร็ว และการปรับตัวตามการเปลี่ยนแปลง โดยไม่ยึดติดกับแผนงานที่ตายตัว เหมาะกับงานที่ต้องการความคล่องตัวสูง ต้องการรับ feedback และปรับแก้ไขงานได้บ่อย ๆ โดยระหว่างการทำงาน สามารถทำไป Test ไป จนกว่าจะเกิดการมอบคุณค่าที่ดีที่สุดให้กับลูกค้า

หัวใจสำคัญของ Agile Manifesto

หลักการทำงาน 12 ข้อ ของ Agile Manifesto

1. Satisfy the Customer

Agile เน้นย้ำว่าการส่งมอบคุณค่าให้กับผู้ใช้ตั้งแต่เนิ่นๆ และมักจะสร้างคุณค่าที่มั่นคง ซึ่งจะช่วยเพิ่มความสำเร็จให้กับคุณและลูกค้าของคุณ สิ่งนี้จะสร้างความไว้วางใจและความมั่นใจผ่านการตอบรับอย่างต่อเนื่อง

2. Welcome change

การทํางานแบบ Agile สิ่งสำคัญคือต้องมีความคล่องตัว คุณและทีมของคุณจำเป็นต้องสแกนสภาพแวดล้อมของคุณอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้แน่ใจว่าพร้อมทุกการเปลี่ยนแปลงที่จำเป็นในแผน และยอมรับว่าแผนของคุณอาจมีการเปลี่ยนแปลงเพื่อที่จะช่วยให้แน่ใจว่าคุณกำลังส่งมอบสิ่งที่ดีที่สุดให้ลูกค้า

3. Deliver Frequently

การส่งมอบผลิตภัณฑ์ทีละน้อยและบ่อยครั้งเป็นสิ่งสำคัญ......เพราะช่วยให้ลูกค้ามีเวลาและโอกาสอย่างสม่ำเสมอในการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับความคืบหน้า สิ่งนี้ทำให้มั่นใจได้ว่าเราจะไม่ใช้เวลามากเกินไปในเส้นทางที่ผิด

4. Work Together

การทํางานรวมกันภายในทีม ไม่ได้แบ่งว่าฝ่ายใดเป็นฝ่ายใด ทุกหน้าที่ร่วมกันวางแผนและทํางานเพื่อให้สามารถบรรลุผลของความต้องการของลูกค้าได้

5. Trust & Support

ทีม Agile จะประกอบด้วยสมาชิกในทีมที่ไว้วางใจซึ่งกันและกันเพื่อให้งานสำเร็จลุล่วง แต่การได้รับความไว้วางใจจากผู้สนับสนุนและผู้บริหารเพื่อให้งานสำเร็จลุล่วง ทีมจะสามารถสร้างโซลูชันที่ดีขึ้นเมื่อพวกเขาได้รับพลังและแรงจูงใจในการส่งมอบโครงการที่ยากเสมอ

6. Face to Face Conversation

การสื่อสารแบบเห็นหน้ากันช่วยให้เรารับรู้ได้ถึง ภาษากาย และการแสดงสีหน้าบางอย่างที่อาจหายไปเมื่อเราใช้รูปแบบการสื่อสาร เช่น อีเมล แชท หรือโทรศัพท์ แต่เราก็ไม่สามารถเผชิญหน้ากันได้ตลอดเวลาเสมอไป ดังนั้นทีมจึงต้องบรรทัดฐานในการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ

7. Working Software

ในทีมแบบ Agile วิธีหลักในการแสดงให้เห็นถึงความสำเร็จของงานที่มีความหมายคือการแสดงชิ้นงานของโซลูชันในทีม นั่นอาจหมายถึงสิ่งที่ใช้งานได้ เพื่อทดลองให้ลูกค้าได้เห็นถึงสินค้า หรือความคืบหน้า

8. Sustainable Development

ก้าวที่มั่นคงแต่ระมัดระวังจะป้องกันข้อผิดพลาดระหว่างทาง และไม่ต้องการให้ทีมรู้สึกทำงานหนักเกินไปหรือหนักใจ ในทางกลับกัน ทีมที่ใช้งานน้อยเกินไปอาจรู้สึกเบื่อและสูญเสียจุดประกายความคิดสร้างสรรค์ในการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ อุดมคติแบบอไจล์คือการบรรลุความพยายามที่สม่ำเสมอสำหรับทีมเพื่อหลีกเลี่ยงการทำงานล่วงเวลาและความเหนื่อยหน่ายจากการทํางาน

9. Continuous Attention

Agile เน้นคุณภาพและการออกแบบตลอดช่วงการพัฒนาโครงการ ความคล่องตัว ประสิทธิภาพ และความรวดเร็วของทีมงานจะเพิ่มขึ้นเมื่อทีมได้นำเสนอโซลูชันที่สร้างขึ้นอย่างดี สามารถตอบสนองความคิดเห็นของผู้ใช้และข้อมูลใหม่ได้อย่างรวดเร็ว

10. Embrace Simplicity

การทําสิ่งที่เรียบง่าย ตรงประเด็น และไม่ซับซ้อน ทําให้ทีมสามารถเข้าใจเป้าหมายและทํางานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ

11. Self-Organizing Teams

สมาชิกในทีมควรสามารถทำงานให้สำเร็จได้โดยการออกแบบกระบวนการทำงานและแนวทางปฏิบัติของตนเอง โดยไม่ต้องมีผู้จัดการคอยสั่งการว่าทำงานอย่างไร สมาชิกในทีมควรรู้สึกมีอำนาจที่จะแสดงความคิดเห็นเมื่อมีคำถาม ข้อกังวล หรือคำติชม ความต้องการของลูกค้า งานที่ออกมาดีที่สุด เกิดจากทีมที่บริหารจัดการตัวเองได้

12. Working Product

หัวใจสำคัญของ Agile คือ การส่งมอบผลงานที่ใช้งานได้จริงให้กับลูกค้าเป็นประจำ ช่วยให้ลูกค้าสามารถใช้งานและทดสอบฟังก์ชันการทำงานต่างๆ ได้จริง

เข้าใจหลักการของ Agile อย่างง่าย

สำหรับการใช้ Agile ทำงาน หลักการง่ายๆ เลย มีดังนี้

ขั้นตอนการทำงานแบบ Agile

ขั้นตอนการทำงานของ Agile มีการเรียงลำดับวิธีที่เข้าใจง่ายๆ สรุปได้ ดังนี้

รูปแบบวิธีการของ Agile

โดยปกติแล้ว การทำงานแบบ Agile จะมีหลักๆ 3 แบบ ดังนี้

Agile ช่วยในการทำธุรกิจได้อย่างไร

Agile ถือว่าเป็นแนวทางการทำงานแบบยืดหยุ่น เน้นการทำงานเป็นทีม การส่งมอบผลงานอย่างรวดเร็ว ซึ่งสามารถช่วยธุรกิจได้มากมาย ดังนี้

1. เพิ่มความเร็วในการส่งมอบสินค้าและบริการ Agile แบ่งงานออกเป็นชิ้นเล็ก ๆ พัฒนาและส่งมอบผลงานทีละส่วน ช่วยให้รับ feedback และปรับแก้ไขงานได้บ่อย ส่งผลให้สินค้าและบริการออกสู่ตลาดได้เร็วขึ้น

2. เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน Agile เน้นการลดขั้นตอนที่ไม่จำเป็น เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน ช่วยให้ธุรกิจประหยัดเวลาและทรัพยากร

3. เพิ่มการมีส่วนร่วมของพนักงาน Agile เน้นการทำงานเป็นทีม ทุกคนมีส่วนร่วมและรับผิดชอบร่วมกัน ช่วยให้พนักงานมีแรงจูงใจและทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ

4. เพิ่มประสิทธิภาพให้ปรับตัวตามการเปลี่ยนแปลง Agile ยืดหยุ่นและปรับแผนงานตามสถานการณ์ ช่วยให้ธุรกิจสามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงในตลาดและเทคโนโลยีได้อย่างมีประสิทธิภาพ

5. เพิ่มการเรียนรู้และพัฒนาอย่างต่อเนื่อง Agile เน้นการเรียนรู้จาก feedback ปรับปรุงวิธีการทำงาน พัฒนาผลงานให้ดีขึ้น ช่วยให้ธุรกิจสามารถแข่งขันในตลาดที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ

ตัวอย่าง

Agile คือ Mindset

ท้ายที่สุดแล้ว Agile คือกรอบความคิดที่ได้รับแจ้งจากค่านิยมและหลักการของ Agile Manifesto ค่านิยมและหลักการเหล่านี้ เป็นแนวทางในการสร้างและตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงและวิธีจัดการกับความไม่แน่นอน ให้มีแนวทางปฏิบัติ และเทคนิคต่างๆ เพื่อใช้ทำงานร่วมกับทีม และส่งมอบคุณค่าให้กับลูกค้า ได้ใช้สินค้าและบริการจากธุรกิจของคุณอย่างน่าพึงพอใจมากที่สุด ทำให้ธุรกิจเติบโตได้อย่างรวดเร็ว และรับมือการเปลี่ยนแปลงได้อย่างมีประสิทธิภาพหากใครอยากเรียนรู้และเข้าใจเกี่ยวกับการทำงานแบบ Agile มากขึ้น มาเรียนคอร์ส Agile Project Management ปรับระบบการทำงานให้คล่องตัว เน้น…คนและการมีปฏิสัมพันธ์กัน เน้น…ซอฟต์แวร์ที่นำไปใช้งานได้จริง เน้น…ร่วมมือทำงานกับลูกค้า เน้น…การตอบรับกับการเปลี่ยนแปลง แล้วพบกันที่ eddu

หลายคนพยายามทำธุรกิจให้สำเร็จ แต่ก็ล้มไม่เป็นท่า นั่นเป็นเพราะอะไร? การวางแผนทำธุรกิจ ต้องอาศัยความรอบคอบ และแนวคิดรอบด้าน รวมถึงการวางกลยุทธ์เพื่อให้เกิดยอดขาย ตั้งแต่เริ่มต้นทำ แน่นอนว่า หลายธุรกิจ ยังไม่มีทิศทางที่ชัดเจนให้กับตัวเอง ว่าจะดำเนินธุรกิจอย่างไร ให้ขายได้ปังๆ ดังนั้น ทางเลือกในยุคใหม่ คนทำธุรกิจ ต้องหันมาสนใจในการวางแผนโดยใช้เครื่องมือที่เรียกว่า Business Model Canvas ซึ่งมีความสำคัญมาก ต่อการทำธุรกิจ เพียงแค่ลงรายละเอียดในกระดาษแผ่นเดียว ก็สามารถวางแผนธุรกิจในระยะยาวได้แล้ว

เราจะมาทำความเข้าใจ และดูกันว่า Business Model Canvas มีความสำคัญต่อธุรกิจอย่างไร ทำไมต้องใช้เครื่องมือนี้

Business Model Canvas คืออะไร

Business Model Canvas หรือ BMC เป็นเครื่องมือการจัดการเชิงกลยุทธ์ เพื่อกำหนดและสื่อสารแนวคิดทางธุรกิจได้อย่างรวดเร็วและง่ายขึ้น ผ่านรูปแบบ Business Model Canvas เพียงแผ่นเดียว ที่มีองค์ประกอบพื้นฐานของธุรกิจหรือผลิตภัณฑ์ โดยจัดโครงสร้างให้สอดคล้องกัน วางแผนตั้งแต่เริ่มต้น ว่าธุรกิจทำอะไร อธิบายภาพธุรกิจให้ชัดเจน กลุ่มลูกค้าเป็นใคร ช่องทางการตลาดเป็นอย่างไร ทำยังไงให้เกิดมูลค่าทางธุรกิจ ซึ่งคนทำธุรกิจ จะต้องเข้าใจจุดนี้ และวิธีการทำ Business Model Canvas ก็ไม่ได้ยากเลย เพียงแต่ต้องวิเคราะห์ธุรกิจของตัวเองให้ได้ ว่าจะสามารถเติบโตได้มากน้อยแค่ไหน

ทำไมธุรกิจต้องใช้ Business Model Canvas

แทนที่จะพยายามเขียนแผนธุรกิจออกมาเป็นร้อย ๆ หน้า เราสามารถร่างแผนธุรกิจออกมาได้อย่างรวดเร็วมากขึ้น เมื่อใช้ Business Model Canvas ช่วยให้เราเข้าใจธุรกิจของตัวเอง ผ่านกระบวนการเชื่อมโยงโดยแนวคิด ไอเดีย และทำให้เกิดเป็นธุรกิจที่มีเป้าหมาย มองกลุ่มเป้าหมายที่วางไว้เป็นหลัก เพื่อจะพิจารณาได้ว่า ลูกค้าประเภทใด มีอิทธิพลต่อการซื้อสินค้าหรือบริการของเรา การทำ Business Model Canvas ยังช่วยให้ทุกคนมีความคิดที่ชัดเจน ว่าจะวางธุรกิจของตัวเองเป็นแบบไหนด้วย

แนวคิดเกี่ยวกับธุรกิจหรือผลิตภัณฑ์ของคุณก่อนลงมือทำ Business Model Canvas

เขียนอะไรบ้าง ใน Business Model Canvas 

ในการวางแผนธุรกิจผ่านเครื่องมือ Business Model Canvas จะมีหัวข้อที่ให้เราเขียนรายละเอียดลงไป เกี่ยวกับธุรกิจหรือบริการของเรา โดยมีส่วนประกอบหลัก ทั้งหมด 9 ข้อ ดังนี้

  1. Customer Segments เป็นกลุ่มลูกค้า ที่เราจะต้องแบ่งฐานออกมาใน Business Model Canvas ว่าลักษณะลูกค้าของเราเป็นใคร เช่น อายุ เพศ ความสนใจ และพฤติกรรมการใช้จ่าย สิ่งที่ต้องพิจารณาเลยคือ เรากำลังทำสินค้าหรือบริการให้ใคร และใครคือคนที่เราต้องให้ความสำคัญ ที่จะสร้างมูลค่า และให้คุณค่ากับสินค้าหรือบริการของเราได้ ซึ่งจะทำให้เราสามารถสร้างสินค้าให้กับกลุ่มลูกค้าของเราได้อย่างตรงกลุ่มเป้าหมาย
  2. Customer Relationships เป็นการสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า ใน Business Model Canvas โดยหาวิธีที่จะสื่อสารกับลูกค้า เพื่อให้ลูกค้าเกิดความรัก และสนใจในสินค้าอย่างต่อเนื่อง สร้างความสัมพันธ์ผ่านทุกช่องทาง รักษาฐานลูกค้าไว้ ไม่ว่าจะเป็นทางโทรศัพท์ ออนไลน์ หรือพบปะตัวต่อตัว
  3. Channel เป็นช่องทางการตลาด ใน Business Model Canvas ที่อยากจะสื่อสารการรับรู้สินค้าและบริการผ่านไปยังลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย และเป็นช่องทางที่ลูกค้า สามารถติดต่อกับธุรกิจของเราได้  ไม่ว่าจะเป็นผ่านเว็บไซต์ โซเชียลมีเดีย Facebook IG Tiktok และอื่นๆ ใช้เครื่องมือทางการตลาดเหล่านี้ สร้าง Community ให้เกิดการประชาสัมพันธ์สินค้าผ่านทุกแพลตฟอร์ม ที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย โดยการวิเคราะห์ได้ว่า กลุ่มลูกค้าของเรา อยู่บนแพลตฟอร์มใดด้วย
  4. กิจกรรมหลัก Key Activities เป็นกิจกรรมหลักของธุรกิจ ใน Business Model Canvas ต้องเขียนลงไปว่าเราจะสร้างกิจกรรมหรือแคมเปญอะไร ให้สินค้าหรือบริการ บรรลุเป้าหมาย สร้างคุณค่าของแบรนด์ให้ลูกค้าเกิดความสนใจ ในทางเดียวกัน ธุรกิจจะต้องมีพนักงานคอยให้บริการในส่วนต่างๆ กิจกรรมอะไรที่จะเกิดขึ้นกับพนักงาน เพื่อให้พนักงานมีความเข้าใจในสินค้าหรือบริการด้วย เช่น การกระจายสินค้าทำอย่างไร การฝึกอบรมพนักงานต้องฝึกอะไรบ้าง การจัดโปรโมชั่นประจำเดือน เพื่อดึงดูดลูกค้ามีอะไรบ้าง
  1. Key Resources เป็นการจัดเตรียมทรัพยากรที่สำคัญต่อการดำเนินธุรกิจ ใน Business Model Canvas หากต้องการเป็นเจ้าของแบรนด์สินค้า ต้องมีอะไรบ้าง เช่น มีพื้นที่ออฟฟิศ มีโกดังสินค้า มีระบบขาย POS มีพนักงานบริการ มีคอมพิวเตอร์ มีโต๊ะทำงาน มีรถขนส่งสินค้า เป็นต้น ซึ่งคีย์เหล่านี้ คนทำธุรกิจจะต้องวางแผนลิสต์ออกมาให้ได้ว่า ธุรกิจของเราต้องการทรัพยากรอะไรบ้าง เพื่อประเมินค่าใช้จ่ายในการลงทุน
  1. Key Partners เป็นพันธมิตรหรือคู่ค้าหลักสำคัญ ที่ต้องมี ใน Business Model Canvas เพื่อร่วมกันสร้างสินค้า หรือกิจกรรมที่ตอบโจทย์ ส่งมอบให้กับลูกค้า ซึ่งบางธุรกิจหากทำคนเดียว อาจจะไม่ประสบความสำเร็จ ต้องพึ่งพาพาร์ทเนอร์ในการช่วยให้สินค้าหรือบริการสมบูรณ์ขึ้น เช่น ต้องการเปิดธุรกิจรับจ้างทำความสะอาด เราอาจจะซื้อเครื่องทำความสะอาดมาเองหลายๆ รุ่น ตามที่อยากได้ แต่อาจไม่ตอบโจทย์การใช้งานจริง ก็ควรเลือกพาร์ทเนอร์ที่ผลิตสินค้าในการทำความสะอาดโดยเฉพาะ และเสนอแผนธุรกิจร่วมกัน เพื่อให้เกิดผลประโยชน์ทั้ง 2 ฝ่าย
  2. Cost Structures เป็นโครงสร้างต้นทุนธุรกิจ ใน Business Model Canvas ที่เราควรกำหนดให้เป็นต้นทุนทางการเงิน ในการดำเนินธุรกิจ เช่น ต้นทุนการทำธุรกิจมีเท่าไหร่ ค่าใช้จ่ายในการสร้างสินค้า หรือซื้อทรัพยากรต่างๆ เท่าๆ ไหร่ ค่าใช้จ่ายทางด้านกฎหมาย ค่าใช้จ่ายในการจ้างคน ค่าความเสี่ยง ที่ต้องเตรียมเงินสำรองธุรกิจไว้ กำไรเป็นอย่างไร ก็ต้องคิดวางแผนไว้เช่นกัน
  1. Revenue Strem คือ กระแสรายได้ ใน Business Model Canvas ธุรกิจของเรา ทำรายได้อย่างไร แหล่งที่มาได้มาอย่างไร จากการขายสินค้า หรือบริการ เราต้องมีรายละเอียดชัดเจนลงใน  Business Model Canvas ว่าสินค้าของเรามีคุณค่า จนลูกค้ายอมจ่ายด้วยอะไร กระแสรายได้ มี 2 รูปแบบ ได้แก่ Transactional Revenue เป็นการชำระครั้งเดียว  ซื้อครั้งเดียว แล้วรอกลับมาซื้อซ้ำใหม่อีกครั้ง ส่วนอีกแบบ คือ Recurring Revenue เป็นการชำระแบบต่อเนื่อง เช่น การจ่ายตัดผ่านบัตรเครดิตทุกเดือน ทำให้เรามีรายได้เป็นประจำ 
  2. Value Preposition คือ เขียนคุณค่าของสินค้า ใน Business Model Canvas ที่ต้องแตกต่างจากคู่แข่ง มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ถ้าทำผลิตภัณฑ์ใหม่ ก็ต้องเป็นนวัตกรรมที่แตกต่างจากเดิม แต่หากทำสินค้าที่มีในตลาดแล้ว ก็ต้องโดดเด่น เราต้องให้ความสำคัญของประสบการณ์ผู้ใช้ ที่จะได้รับคุณค่าจากสินค้าและบริการของเรา 

แน่นอนว่า สิ่งเหล่านี้ หากคนทำธุรกิจเข้าใจ และเห็นความสำคัญตรงกัน ในการทำ Business Model Canvas ซึ่งมีส่วนสำคัญต่อการทำธุรกิจโดยตรง ก็จะช่วยให้ธุรกิจประสบความสำเร็จได้อย่างรวดเร็วมากขึ้น เพราะมีแนวทางที่จะดำเนินธุรกิจว่าต้องเริ่มต้นตรงไหน จบที่ตรงไหน แค่ใช้ Business Model Canvas

หากใครไม่รู้ว่าจะใช้ Business Model Canvas มาลงคอร์ส นี้ BUSINESS MODEL CANVAS ออกแบบแผนธุรกิจ ด้วยการเขียน Business Model “ถ้าธุรกิจจะเจ๊ง ก็ให้เจ๊งแค่ในกระดาษ” สอนการใช้ BUSINESS MODEL CANVAS เปิดมุมมองการวิเคราะห์ธุรกิจ และตัวอย่างจาก Case Study ทั่วโลก พบกันที่ eddu เลย

เชื่อว่า คนที่กำลังเริ่มต้นทำธุรกิจมาสักพักแล้ว จะมองธุรกิจของตัวเองออก ว่ากำลังไปในทิศทางที่ดี เตรียมรับความสำเร็จ หรือ อาจจะต้องหยุดธุรกิจนั้นลง เพราะผลตอบรับไม่ค่อยดีนัก สิ่งเหล่านี้ มักเป็นเรื่องที่กังวลใจของธุรกิจหลายคน ที่ลงทุนไปแล้ว อยากได้ผลตอบแทนที่คุ้มค่า แต่ถ้ามองกลับมาดีๆ การที่ธุรกิจจะประสบความสำเร็จหรือไม่นั้น ย่อมเริ่มมาจากการวางแผนธุรกิจที่ดี วางกลยุทธ์ทางการตลาดทุกช่องทางอย่างรอบคอบ และเป็นระบบ ถึงจะสามารถย้อนกลับมาดู แก้ไข ปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ต่างๆ ให้สอดคคล้องกับธุรกิจได้

ดังนั้น ทุกการทำธุรกิจ จึงควรมีเครื่องมือช่วยวางแผน เพื่อให้การดำเนินธุรกิจเป็นไปอย่างราบรื่น เราเรียกเครื่องมือนี้ว่า Business Model Canvas หรือ BMC ซึ่งจะช่วยลดความยุ่งยากในการวางแผนธุรกิจ ทำให้เรารู้ว่า ธุรกิจของเราคืออะไร สามารถอธิบายธุรกิจของตัวเองได้ หาจุดเด่นของธุรกิจให้เจอ และทำให้เราวางกลยุทธ์ได้ว่าคนจะรู้จักสินค้าเราได้อย่างไร คุยกับพาร์ทเนอร์ยังไงให้น่าเชื่อถือ ทุกแผนธุรกิจอยู่ได้ในกระดาษแผ่นเดียว ไม่ต้องเสียเวลาเขียนแผนเป็นร้อย ๆ หน้า ถ้าใครได้รู้จักการทำ Business Model Canvas มั่นใจได้เลยว่า ธุรกิจเดิมจะถูกยกระดับให้ประสบความสำเร็จมากขึ้นแน่นอน

Business Model Canvas  คืออะไร

ก่อนอื่นเรามาทำความเข้าใจกันก่อน ว่าเครื่องมือ Business Model Canvas (BMC) คืออะไร ถ้าให้นิยามความหมายง่ายๆ Business Model Canvas คือ ภาพรวมของธุรกิจทั้งหมด ที่เราจะทำ หรือกำลังทำ ซึ่งใน Business Model Canvas มีส่วนประกอบสำคัญต่างๆ ที่แสดงให้รู้ว่า ธุรกิจของเราคืออะไร ทำให้เกิดรายได้อย่างไร และมีคุณค่าต่อผู้ใช้ยังไง ทำอย่างไรให้ลูกค้ากลับมาซื้อหรือใช้บริการซ้ำ สิ่งที่เรากำลังขาย เป็นสิ่งที่ลูกค้าต้องการจริงๆ รึเปล่า กลุ่มลูกค้าของเราคือใครกันแน่ ซึ่งส่วนประกอบเหล่านี้ เราทำได้ผ่าน Business Model Canvas แบ่งได้ทั้งหมด 9 ส่วนประกอบ เรามาดูกันว่า มีอะไรบ้าง

  1. Customer Segment คือ กลุ่มแรกที่ต้องเขียนลงไปใน  Business Model Canvas คือ กลุ่มบุคคลหรือบริษัท ซึ่งเป็นกลุ่มที่เรากำหนดให้เป็นเป้าหมาย เพื่อขายสินค้าหรือบริการให้  เป็นการหาว่า ลูกค้าของเราเป็นใคร แยกได้ตาม พื้นที่ เพศ อายุ พฤติกรรม ความสนใจ ฯลฯ เพื่อนำมาวิเคราะห์ให้เกิดสินค้าที่มีคุณค่า เป็นที่ต้องการ เพื่อค้นหากลุ่มเป้าหมายที่ใช่ที่สุด
  2. Customer Relationships  คือ การรักษาความสัมพันธ์กับลูกค้า ส่วนสำคัญที่ขาดไม่ได้ในการเขียน Business Model Canvas เราต้องออกแบบวิธีการรักษาฐานลูกค้าไว้ จากแผน Customer Journey Map เพื่อดูว่า ลูกค้าเกิดปัญหาอะไร เปรียบเทียบกับคู่แข่ง แล้วเกิดการตัดสินใจซื้อ รวมถึงทำอย่างไรให้ลูกค้ากลับมาซื้อซ้ำให้ได้ ทำความเข้าใจกับขึ้นต้องที่ลูกค้าต้องเผชิญ เพื่อแก้ปัญหาและขยายฐานลูกค้าให้ตรงจุด การเขียน CRM ถือว่า เป็นความยั่งยืนทางธุรกิจเลยก็ว่าได้ เพราะใช้ต้นทุนในการทำการตลาดน้อย และอาจเป็นหนึ่งในปัจจัยที่ทำให้แบรนด์สินค้าเกิด Royal Customer ได้ด้วย
  3. Channel คือ ช่องทางในการส่งมอบคุณค่าถึงลูกค้า ใน Business Model Canvas  ข้อนี้ จะทำให้เราสามารถสื่อสารและเข้าถึงลูกค้าของเราได้ เป็นการเลือกว่าจะเชื่อมต่อกับลูกค้าผ่านช่องทางไหน เช่น เปิดคาเฟ่ เราจะเพิ่มการรับรู้ให้ลูกค้าผ่านช่องทางไหนได้อีก ขยายเพิ่มไปทาง Facebook, Instragram หรือ สร้าง Tiktok ทำคอนเท้นต์เมนูกาแฟสวยๆ หรือบรรยากาศในร้าน ให้คนสนใจอยากมาใช้บริการ 
  4. Revenue Strem คือ กระแสรายได้ ธุรกิจของเรา ทำรายได้อย่างไร แหล่งที่มาได้มาอย่างไร จากการขายสินค้า หรือบริการ เราต้องมีรายละเอียดชัดเจนลงใน  Business Model Canvas ว่าสินค้าของเรามีคุณค่า จนลูกค้ายอมจ่ายด้วยอะไร กระแสรายได้ มี 2 รูปแบบ ได้แก่ Transactional Revenue เป็นการชำระครั้งเดียว  ซื้อครั้งเดียว แล้วรอกลับมาซื้อซ้ำใหม่อีกครั้ง ส่วนอีกแบบ คือ Recurring Revenue เป็นการชำระแบบต่อเนื่อง เช่น การจ่ายตัดผ่านบัตรเครดิตทุกเดือน ทำให้เรามีรายได้เป็นประจำ 
  5. Key Activities คือ กิจกรรมหรืองานที่เราต้องทำ เพื่อให้ธุรกิจบรรลุตามเป้าหมายได้สำเร็จ แล้วเกิดการเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้า ใน Business Model Canvas  เราจะต้องเขียนทุกกิจกรรมหลักที่เราต้องทำ ระหว่างทางสามารถปรับเปลี่ยนกิจกรรมได้ เพื่อให้สอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมาย สินค้า และบริการของเราด้วย โดยประเภทของ Key Activities ได้แก่ Production การออกแบบผลิตภัณฑ์ บริการ การผลิต การส่งมอบงาน Problem Solving มีวิธีบริหารจัดการยังไง หลังขายสินค้าไปแล้ว จะแก้ไขปัญหาลูกค้าได้อย่างไร Platform/ Network มีหน้าที่ดูแลความเรียบร้อยของระบบ ไม่ว่าจะเป็นเว็บไซต์ แอพพลิเคชั่น ฯลฯ ที่จะต้องตอบโจทย์การรับรู้ของลูกค้าด้วย
  6. Key Resources คือ ทรัพยากรหลัก ที่จะแสดงรายการปัจจัยการผลิต ใน Business Model Canvas เพื่อดำเนินกิจกรรมธุรกิจต่างๆ ได้อย่างราบรื่น วิเคราะห์ได้ว่าทรัพยากรที่มี จะสามารถสร้างคุณค่าให้กับสินค้าได้ การมี Key Resources จะต้องมีเรื่องของ Human (คน) Financial (เงิน) Intellectual (การจดสิทธิบัตร)  Physical (สถานที่ อุปกรณ์ เครื่องมือ) เข้ามาเกี่ยวข้อง เพื่อให้เราสามารถจัดการธุรกิจได้อย่างลงตัว 
  7. Key Partner คือ คู่ค้าหลัก หรือกลุ่มพันธมิตรของธุรกิจเรา ใน Business Model Canvas ส่วนนี้เป็นคนที่จะช่วยให้เราดำเนินกิจการไปได้ด้วยดี เพื่อลดความเสี่ยง และขยายอำนาจของธุรกิจ โดยมีพาร์ทเนอร์มาช่วยซัพพอร์ต ไม่ต้องใช้ทรัพยากรของตัวเองทั้งหมด เช่น ทำธุรกิจแอพพลิเคชั่นคอนเท้นต์หนัง ซีรีส์ ก็ต้องมีพาร์ทเนอร์ธุรกิจ เป็นบริษัทหนัง ซีรีส์ต่างประเทศ มาร่วมทำด้วย 
  8. Cost Structure คือ ต้นทุนที่เราต้องระบุ วางแผนโดย Business Model Canvas ประเมินต้นทุนตั้งแต่แรก จนถึงการส่งมอบงาน การดำเนินกิจกรรม การรักษาฐานลูกค้า ธุรกิจสามารถแบ่งความสัมพันธ์ของต้นทุน ได้ 2 แบบ คือ Cost-driven business เน้นกลยุทธ์ของต้นทุน เช่น ธุรกิจต้นทุนต่ำ และ Value- driven business เน้นคุณค่าของสินค้า บริการ เช่น ให้ความสะดวกสบายของลูกค้าเป็นหลัก
  9. Value Preposition คือ เขียนคุณค่าของสินค้า ใน Business Model Canvas ที่ต้องแตกต่างจากคู่แข่ง มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ถ้าทำผลิตภัณฑ์ใหม่ ก็ต้องเป็นนวัตกรรมที่แตกต่างจากเดิม แต่หากทำสินค้าที่มีในตลาดแล้ว ก็ต้องโดดเด่น เราต้องให้ความสำคัญของประสบการณ์ผู้ใช้ ที่จะได้รับคุณค่าจากสินค้าและบริการของเรา 

ทั้ง 9 ข้อนี้ เป็นส่วนประกอบสำคัญ ใน Business Model Canvas ที่คนทำธุรกิจ จะต้องเขียนลงไป เพื่อใช้เป็นแนวทาง ปรับธุรกิจเดิม ให้ประสบความสำเร็จมากขึ้น โดยการประยุกต์ใช้ Business Model Canvas เป็นหลัก

ยกตัวอย่าง Case Study  หากเขียนลงใน Business Model Canvas : Apple แบรนด์สมาร์ทโฟนระดับโลก ขายแพง แต่ยอดทะลุเป้าทุกปี 

  1. Customer Segment: กลุ่ม High-end มีกำลังซื้อสูง/ กลุ่มที่ใช้ Apple อยู่แล้วเปลี่ยนทุกปี
  2. Key Activities: ใส่ใจและควบคุมรายละเอียดของ Operation ทุกด้าน มีระบบเฉพาะไม่เหมือนใคร
  3. Cost Structure: ลดต้นทุนจากการทำกล่อง รุ่นหลังไม่ใส่ที่ชาร์จแถม ทำให้กล่องเล็กลง ส่งของไปขายได้มากขึ้น ด้วยต้นทุนเท่าเดิม แต่ขายดี ได้กำไร รวมถึง Apple ไม่ได้ผลิตเอง หาพาร์ทเนอร์ผลิต แต่ Apple ควบคุมคุณภาพ คุมต้นทุนได้ดี, ทำ Marketing & Branding เป็นที่จดจำ
  4. Value Preposition: สมาร์ทโฟนระดับสูง เทคโนโลยีขั้นสูง การใช้งานเสถียรด้วยระบบปฏิบัติการ IOS ที่อัพเดทได้เรื่อยๆ และยังใส่ใจด้วยระบบ Eco System 
  5. Channel: Apple Store
  6. Revenue Strem: ยอดดาวน์โหลดแอพจาก App Store, มี App Developers สำหรับให้นักพัฒนามาเขียนแอพได้เลย แล้วแบ่งเปอร์เซ็นต์กัน
  7. Key Resources: IOS Platform ของตัวเอง, แบรนด์ที่แข็งแกร่ง, ควบคุม Cost เองได้
  8. Key Partner: มีโรงงานผลิตที่เป็นพาร์ทเนอร์ ไม่ต้องผลิตเอง
  9. Customer Relationships: ด้วยความเป็นแบรนด์ระดับสูง ราคาสูงแต่เทคโนโลยีดีมาก การดีไซน์ที่เป็นเอกลักษณ์ ใช้แล้วคุ้มค่า ลูกค้ามองเห็นคุณค่าของแบรนด์ รักในตัวแบรนด์ และใช้รุ่นต่อๆ ไปของ Apple 

จากตัวอย่าง จะเห็นได้ว่า Apple ได้คิด Business Model ที่ครอบคลุมทั้งหน้าบ้าน หลังบ้านได้ครบ และชัดเจน แม้จะออกมากี่รุ่น ก็ยังติดตลาดโลก มีคนนิยมซื้อใช้ ไม่ว่าจะแพงแค่ไหน 

สรุปแล้ว ธุรกิจเดิม อยากประสบความสำเร็จมากขึ้น แต่ยังไม่เคยทำ Business Model Canvas ควรได้ลองทำดู ไม่ยากเลย ทำทุกแผนธุรกิจให้อยู่ใน Business Model Canvas แผ่นเดียว ประยุกต์ใช้ให้เป็น ธุรกิจเติบโตขึ้นอย่างเห็นได้ชัดแน่นอน

หากใครไม่รู้ว่าจะใช้ Business Model Canvas มาลงคอร์ส นี้ BUSINESS MODEL CANVAS ออกแบบแผนธุรกิจ ด้วยการเขียน Business Model “ถ้าธุรกิจจะเจ๊ง ก็ให้เจ๊งแค่ในกระดาษ” สอนการใช้ BUSINESS MODEL CANVAS เปิดมุมมองการวิเคราะห์ธุรกิจ และตัวอย่างจาก Case Study ทั่วโลก พบกันที่ eddu เลย

ปฎิเสธไม่ได้เลยว่า กระแส E-commerce (อีคอมเมิร์ซ) ได้เข้ามาเปลี่ยนแปลงการใช้ชีวิตของผู้คนไปตลอดการ โดยเฉพาะในเรื่องพฤติกรรมการ ซื้อ-ขายสินค้า ที่ทำให้ทุกอย่างทำได้ง่ายขึ้น ด้วยปลายนิ้ว ไม่เว้นแต่ในตลาดของเล่นที่มีวางขายในเว็บต่าง ๆ มากมาย การขายของเล่นบนโลกออนไลน์มากมาย ตั้งแต่ของเล่นทั่วไป ที่หาง่าย ไปจนถึงของสินค้า "Rare Item" ที่หายาก และราคาสูงลิ่ว

ความพิเศษของ E-Commerce

การเข้ามาของ E-Commerce สร้างความสะดวกสบายอย่างมาก ทำให้ลูกค้าไม่ต้องออกไปตากแดด ตากฝน ฝ่ารถติด เพื่อตามหาสิ่งที่ตัวเองต้องการ ทั้งยังเปิดทางเลือกให้ผู้ซื้อมีช่องทางและอิสระที่มากขึ้นกว่าเดิม ทำให้ธุรกิจต่าง ๆ ในสมัยนี้ต่างก็ต้องปรับตัวตามกระแสให้ทัน ถ้าไม่อยากถูกกลืน และเลือนหายไปตามกาลเวลา

สำหรับบทความนี้ ขอหยิบยกตัวอย่างธุรกิจในวงการตลาดของเล่น ซึ่งเป็นหนึ่งในบทเรียนชั้นดี ที่ถ่ายทอดให้เห็นถึงการปรับตัวที่ช้าเกินไป จนต้องพบกับความ ‘ล้มเหลว’ และธุรกิจนั้นคือ TOYS “R” US

Toys R Us Logo

TOYS “R” US ยักษ์ใหญ่ของวงการตลาดของเล่น

TOYS “R” US หรือ "Toys Я Us" ร้านขายของเล่นชื่อดังในสหรัฐอเมริกา ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1948 หรือ ราว ๆ 75 ปีก่อน ซึ่งถือเป็นเจ้าใหญ่ของวงการและเป็นแลนด์มาร์คแห่งธุรกิจตลาดของเล่นที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยมีจำนวนสาขากว่า 1,600 สาขา และมีพนักงานถึง 64,000 คน ใน 38 ประเทศทั่วโลก

จุดเด่นของ TOYS “R” US คือ "ความหลากหลาย" ที่ในร้านมีของเล่นให้เลือกมากกว่า 1,000 ชิ้น รวมถึงยังมีของเล่นที่นำเข้าจากหลายประเทศ และจุดขายที่สำคัญคือ ราคาถูก กว่าคู่แข่งเจ้าอื่น ๆ ในตลาด 20 - 50% อีกด้วย

จุดเปลี่ยนสำคัญ ของ TOYS “R” US

ในช่วง ค.ศ. 1998 กระแส Social Media และ E-commerce เริ่มมีบทบาทกับการใช้จ่ายของผู้บริโภคมากขึ้น และสิ่งที่เจ้าตลาดของเล่นอย่าง TOYS “R” US ทำพลาดในครั้งนั้น คือ การไม่ปรับตัวให้ทันกระแสของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป ในขณะที่แบรนด์อื่น ๆ ในทุก ๆ อุตสาหกรรมเริ่มพากันสร้างตัวตน และสื่อสังคมบนโลกออนไลน์ แต่ TOYS “R” US กลับเลือกที่จะนิ่งเฉย ประกอบกับ ณ ช่วงนั้น Amazon ที่เชี่ยวชาญด้าน E-Commerce เริ่มขยายธุรกิจ ตีตลาดออนไลน์มากขึ้น รวมถึงมีการวางขายสินค้าของเล่นใน Platform ของเขามากกว่าที่ TOYS “R” US มีอยู่ ทำให้ Amazon ได้โอกาสดีในการเปิดตลาด และได้ส่วนแบ่งของตลาดของเล่นออนไลน์ที่กำลังเกิดใหม่อย่างรวดเร็ว จนทำให้ Amazon ก้าวสู่การเป็นผู้นำด้านช้อปปิ้งอย่างที่เราเห็นกันในปัจจุบัน

สำหรับความนิ่งนอนใจของ TOYS “R” US ทำให้บริษัทต้องเผชิญกับความท้าทายอยู่หลายปี ทั้งเรื่องของการปรับตัวไม่ทันการเข้ามาของ E-Commerce และตลาดของเล่นที่เปลี่ยนไป รวมถึงมีคู่แข่งรายใหม่ ๆ เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ไม่ว่าจะเป็น Walmart, K-Mart หรือ Alibaba ฯลฯ ที่หันมาเพิ่มความหลากหลายให้กลุ่มสินค้าของตัวเอง สุดท้าย TOYS “R” US จึงพบกับบทเรียนและจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญโดยพบกับปัญหาหนี้สินมากมายและในที่สุดบริษัทได้ยื่นขอล้มละลาย และขอเข้าสู่กระบวนการพิทักษ์ทรัพย์ เพื่อปรับโครงสร้างหนี้ ในปี ค.ศ. 2018

Toys R Us Closing

จากนั้น เริ่มทยอยปิดตัวสาขาหน้าร้านทั้งหมดในสหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย และอังกฤษอย่างถาวร ส่วนกิจการในโซนเอเชีย แอฟริกา ยุโรป และแคนาดา ได้มีการขายออกไปให้เจ้าอื่นดูแล

TOYS “R” US ... เปลี่ยน ความ "ล้มเหลว" ให้เป็น "ประสบการณ์"

ล่าสุด ช่วงกลางปีที่แล้ว (ค.ศ. 2022) TOYS “R” US ได้หวนคืนตลาดของเล่นในสหรัฐอเมริกาได้อีกครั้ง โดยจับมือกับห้างค้าปลีกเก่าแก่ อย่าง Macy’s ที่มีอยู่มากกว่า 400 สาขา โดยทาง Macy ได้ออกมาประกาศผลประกอบการของห้างว่ายอดขายสินค้าหมวดของเล่น ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2022 ที่ผ่านมามีอัตราการเติบโตสูงขึ้นถึง 15 เท่า เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้าที่มีการร่วมมือกับ TOYS “R” US เลยทีเดียว

สุดท้ายนี้ แม้ว่า TOYS “R” US จะมีจุดที่พลาดไปจนทำให้เส้นทางการทำธุรกิจไม่ได้ราบรื่นมากนัก แต่อย่างน้อย การล้มในครั้งนั้นก็เป็นบทเรียนสำคัญ ที่ทำให้วันนี้ TOYS “R” US ได้บทเรียนและสามารถคัมแบ็กกลับมาได้อย่างเต็มตัว หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์ และเป็นข้อเตือนใจสำหรับผู้ที่กำลังทำธุรกิจให้ว่าอย่ามองข้ามพลังของสื่อออนไลน์และตลาดออนไลน์เป็นอันขาด จะได้ไม่ทำผิดพลาดเหมือนกับ TOYS “R” US

<แนะนำ>

สำหรับใครที่สนใจในเรื่องของการตลาดและสื่อออนไลน์เพิ่มเติม

คอร์ส Digital Marketing ตอบโจทย์คุณ ทั้งเรื่องของการวิเคราะห์ และวางแผน การใช้สื่อออนไลน์ทุกอย่างให้ลงตัว ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ลิงค์ https://eddu.org/digital-marketing-detail/

Reference :

https://www.toysrus.co.th/

https://www.thepeople.co/read/business/51020

เชื่อว่า ทุกคนในโลกนี้ ไม่ว่าจะวัยไหน ต้องเคยได้ยิน สโลแกน สุดแสนคลาสสิก อย่าง I’m Love’in it อย่างแน่นอน และคงไม่มีใครที่ไม่รู้จักร้านอาหารฟาสต์ฟู้ดอันดับหนึ่งของโลกอย่าง McDonald's

เปิดตำนานความสำเร็จของ McDonald

ตำนานความอร่อยของ McDonald’s นี้เริ่มต้นในปี ค.ศ. 1940  ณ ซานเบอร์นาดิโน เมืองเล็ก ๆ ในรัฐแคลิฟอร์เนีย  โดย 2 พี่น้องแมคโดนัลด์ “ดิ๊ก” (Richard James “Dick” McDonald) และ “แมค” (Maurice James “Mac” McDonald) ที่เริ่มต้นจากร้านแฮมเบอร์เกอร์เล็ก ๆ ที่มีเมนูให้เลือกกว่า 25 เมนู และให้บริการแบบ “ไดร์ฟทรู” 

McDonald Localize

เมื่อธุรกิจดำเนินไปได้ระยะหนึ่ง และถือว่าประสบความสำเร็จ แต่ทั้งสอง มองเห็นว่าร้านของพวกเขายังมีกำไรน้อยเกินไป และมีปัญหาในการบริหารจัดการมากมาย  ทั้งเมนูอาหารที่มากเกินไป ขั้นตอนการสั่งอาหารที่ยุ่งยาก รวมถึงเรื่องการเตรียมวัตถุดิบที่หลากหลาย และบางเมนู เช่น บาร์บีคิว หากเตรียมไว้ล่วงหน้า จะทำให้อาหารเสียรสชาติ 

ช่วงปี ค.ศ.  1948 พวกเขาจึงกลับไปทบทวนธุรกิจของตัวเอง และปิดปรับปรุงร้านเป็นเวลา 3 เดือน และกลับมาให้บริการลูกค้าอีกครั้ง โดยลดเมนูอาหารลงจาก 25 เมนู แล้วชูให้ “แฮมเบอเกอร์” เป็นเมนูหลัก พร้อมเครื่องเคียงอย่างเฟรนช์ฟรายส์ (มันฝรั่งทอด) พาย และเครื่องดื่ม “มิลค์เชค” เน้นในรูปแบบลูกค้าบริการตัวเอง ผลลัพธ์ที่ได้คือ นอกจากจะลดต้นทุนการบริหารจัดการ การจ้างพนักงานเสิร์ฟ พ่อครัวมืออาชีพ ทำให้ราคาแฮมเบอร์เกอร์ของ McDonald ถูกกว่าร้าน อื่น ๆ ด้วยความสะดวก ประหยัดเวลา และราคาเข้าถึงได้ ทำให้ลูกค้าที่่เข้ามาใช้บริการมากขึ้นเรื่อยๆ และนี่นับว่าจุดเริ่มต้นของ McDonald ในฐานะร้านอาหารฟาสต์ฟู้ดอย่างแท้จริง

McDonald Localize begining

ต่อมาในปี ค.ศ.  1954 ทั้งสองคนได้รู้จักกับ “เรย์ คร็อก” (Raymond Albert ‘Ray’ Kroc)  ซึ่งเป็นเซลล์ขายเครื่องปั่นมิลค์เชค ที่ได้รับยอดสั่งซื้อสินค้าจากพวกเขา และมองเห็นโอกาสจากธุรกิจของร้าน McDonald จึงอยากร่วมทำธุรกิจด้วย โดยเขาเป็นผู้คิดระบบแฟรนไชส์ขึ้นมาเสนอทั้งสองพี่น้อง รวมถึงการนำโมเดลธุรกิจแบบ Localize Marketing ขึ้นมาด้วยการให้มีการปรับเปลี่ยนเมนูไปตามแต่ละพื้นที่ และยังคงชู “แฮมเบอร์เกอร์” ให้เป็นเมนูหลักประจำร้าน เน้นราคาถูก บริการรวดเร็ว 

McDonald สาขาแรกในต่างแดน

McDonale เริ่มต้นสาขาแรกในต่างประเทศที่ แคนาดา และปัจจุบันประสบความสำเร็จ และขยายสาขา ไปทั่วโลก 40,275 สาขาใน 118 ประเทศทั่วโลก รวมถึงประเทศไทย โดยมีจำนวนลูกค้าทั่วโลกที่เข้าใช้บริการประมาณ 69 ล้านคนต่อวัน ประมาณว่า McDonald's สามารถขายแฮมเบอร์เกอร์ได้ 75 ชิ้นต่อวินาที เลยทีเดียว และสร้างรายได้ทั่วโลกถึง 23.18 พันล้านดอลลาร์ในปี 2022 (Zippia, 2023) 

McDonald Localize

Localize Marketing ของ McDonald

ความสำเร็จของ McDonald นั้น เกิดมาพร้อมหลายปัจจัย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การทำ Localized Marketing หรือการปรับตัวขององค์กรให้เข้ากับวัฒนธรรมที่แตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ เพื่อทำให้แบรนด์มีความเป็นหนึ่งเดียวกับท้องถิ่น สร้างความเป็นกันเองและทำให้ลูกค้าเกิดการจดจำในแบรนด์มากขึ้น จนประสบความสำเร็จเราลองมาดูตัวอย่างการใช้ โมเดล  Localize Marketing ของ McDonald กัน

McDonald Localize Around world

เริ่มที่ประเทศเยอรมนี ดินแดนแห่งคนรักเนื้อ และไส้กรอก 

ด้วยการทำการบ้านอย่างดีของ McDonald ทำให้ออกเมนูพิเศษอย่าง Nürnburger ที่ทำจากใช้แป้งเบอร์เกอร์ เสิร์ฟพร้อมไส้กรอกเนิร์นแบร์เกอร์ ( Nürnberger sausages ) รวมถึงคิดค้นเมนู แฮมเบอร์เกอร์เนื้อ ที่สามารถทานคู่กับเบียร์ ซึ่งตอบรับกับลักษณะนิสัยของชาวเยอรมันที่นิยมดื่มเบียร์ขณะรับประทานอาหาร ได้เป็นอย่างดี

ต่อมาที่อินโดนีเซีย ประเทศแถบเอเชียที่มีประชากรมากกว่า 260 ล้านคน โดยส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม

McDonald's ทำ Localize Marketing ได้อย่างเหมาะสม ด้วยการตัดเนื้อหมูออกจากเมนู โดยเน้นไปที่การใช้วัตถุดิบจากปลาและเนื้อแทน นอกจากนี้ McDonald ยังวางตัวให้ทุกสาขาในอินโดนีเซียทำร้านให้ได้มาตรฐานฮาลาล  พร้อมปรับเปลี่ยนเมนูหลักจากแฮมเบอร์เกอร์ เป็นเมนูข้าว ให้ตอบรับกับวิถีชีวิตของชาวอินโดนีเซียที่บริโภค “ข้าว” เป็นอาหารหลัก 

ถัดมาที่ประเทศญี่ปุ่น อย่างที่เรารู้กันว่า อาหารญี่ปุ่น มีชื่อเสียงและมีความเฉพาะตัวที่แตกต่างจากที่อื่นในโลก 

McDonald’s ในญี่ปุ่น ยังคงแฮมเบอร์เกอร์ไว้เป็นเมนูหลัก และค่อย ๆ ปรับเปลี่ยนเมนูให้หลากหลายขึ้น เพื่อตอบสนองความต้องการของชาวญี่ปุ่น ไม่ว่าจะเป็น Teriyaki Burger (เทอริยากิเบอร์เกอร์ ด้วยตัวแป้งที่ราดซอสเทอริยากิหวาน ๆ เสิร์ฟพร้อมหัวหอม) (Oyako Teriyaki McBurger : 親子てりやきマックバーガー) ที่ได้แรงบันดาลใจมาจากโอยะโกะด้ง ข้าวหน้าไก่ราดไข่ คราวนี้มาเป็นเนื้อไก่ทอดกรอบนอกนุ่มในชุ่มซอสเทริยากิเลมอนรสหวาน พร้อมไข่ดาวและผักกาด รวมทั้ง อุจิมัทฉะกรีนที เครื่องดื่มชาเขียวจาก McCafe by Barista 

ตัวอย่างสุดท้าย ขอยกตัวอย่างที่ โมร็อกโก ซึ่งเป็นประเทศที่ตั้งอยู่ในภูมิภาค Maghreb ของแอฟริกาเหนือ

McDonalds ทำ Localize Marketing ที่เหมาะสมกับการใช้ชีวิตของผู้คนในประเทศได้เป็นอย่างดี โดยออกแบบเมนู McArabia Sandwich ซึ่งเป็นแซนวิชที่ทำจากขนมปังพิต้าและเครื่องเทศแบบดั้งเดิม เช่น ผงยี่หร่าและผักชี หรือในช่วงเดือนรอมฎอน McDonalds ยังจัดทำเมนูพิเศษที่เรียกว่า "f'tor" F'tor แปลว่า สิ้นสุดการถือศีลอด เมนูนี้ประกอบด้วยซุปแบบดั้งเดิม อินทผลัม นม และ BigMac 

McDonald Localize Morocco

จากตัวอย่างข้างต้นนี้ จะเห็นได้ว่า McDonald’s ประสบความสำเร็จในการตีตลาดกลุ่มผู้บริโภคในแต่ละประเทศเพียงแค่ใช้ความใส่ใจในการปรับปรุงสินค้าให้ตรงกับประเทศนั้น ๆ เท่านั้นเอง

สำหรับผู้อ่านหรือผู้ประกอบการ ที่มองหาช่องทางการขยับขยายกิจการไปต่างประเทศ การทำการตลาดด้วย Localize Marketing ก็เป็นอีกหนึ่งมุมมองที่น่าสนใจ และคุณอาจประสบความสำเร็จเหมือนกับ McDonald’s ได้เพราะข้อคิดหลักของเรื่องนี้มีเพียง แค่ใส่ใจและค้นคว้าข้อมูลของ  “กลุ่มเป้าหมาย” ที่เราต้องการ จะเจาะตลาดเท่านั้นเอง

<แนะนำ>

ถ้าใครอยากเริ่มธุรกิจของตัวเองที่ต้องการองค์ความรู้ในการทำธุรกิจแบบ Step-by-step แนะนำหลักสูตร

Shortcut MBA ที่สอนทุกอย่างที่คนอยากทำธุรกิจให้สำเร็จต้องรู้ดูรายละเอียดได้ที่ลิงค์ http://bit.ly/3FYL93N


Reference 

https://corporate.mcdonalds.com/corpmcd/investors/financial-information.html#accordion-04de232996-item-faf8b528f3

https://www.zippia.com/advice/mcdonalds-statistics/

https://matcha-jp.com/th/8050

http://naturallygreattraders.blogspot.com/2016/11/mcdonalds-marketing-strategy-of.html

https://www.thaismescenter.com/ประวัติของแมคโดนัลด์-ที่โลกต้องรู้/

ถ้าพูดถึงแบรนด์กระเป๋า “Street Fashion” ที่ผู้หญิงใช้ได้ ผู้ชายใช้ดี เน้นความ อึด ถึก ทน และแฝงด้วยกลิ่นอายความรักษ์โลก จนครองใจวัยรุ่นสมัยนี้ หลายคนคงนึกถึง FREITAG

FREITAG ความสำเร็จจากความคิดสุดแหวกแนว

จุดเริ่มต้นของแบรนด์นี้ เกิดขึ้นในเช้าวันหนึ่งที่ฝนตกหนัก ระหว่างการเดินทางไปทำงานของ Markus (มาคัส) และ Daniel Freitag (ดาเนียล) 2 พี่น้อง กราฟิกดีไซเนอร์ ชาวสวิตเซอร์แลนด์ ที่ใช้ชีวิตอยู่ในเมืองซูริกเมืองที่ฝนชุ่มฉ่ำตลอดทั้งปี ด้วยปัญหานี้เอง ทำให้เขาทั้งสองมีไอเดียในการหากระเป๋าสักใบ ที่สามารถใส่เอกสาร อุปกรณ์การเรียน เครื่องเขียน รวมถึงสิ่งอื่น ๆ พร้อมสามารถสะพายหลังในขณะที่ปั่นจักรยานได้ และที่สำคัญที่สุดคือ ความอึด ถึก ทน เพราะระหว่างการเดินทาง อาจมีสถานการณ์ที่ไม่สามารถคาดเดาได้ ซึ่งในช่วงนั้นเอง ( ปี ค.ศ. 1993) กระเป๋าหลากหลายรูปแบบที่มีวางขายในตลาด ไม่สามารถตอบโจทย์การใช้งานของทั้งสองได้

FREITAG Founder
- Daniel และ Markus Freitag - 2 พี่น้องผู้ก่อตั้ง FREITAG

ขณะที่พวกเขากำลังคุยกันถึงไอเดียนี้ พวกเขามองออกไปนอกหน้าต่าง และเห็นรถบรรทุกผ่านไปมา ซึ่งทุกคันจะมีผ้าใบคลุมตัวรถเอาไว้ โดยฝ่าทั้ง ลม หิน ดิน ฝุ่น ฝน และ พายุ ไม่ว่ารถบรรทุกจะขับไปไหนต่อไหน ผ้าใบก็ยังทำหน้าที่ของตัวเองได้ดี ถึงแม้ภายนอกของผืนผ้าจะเก่า หรือสกปรก แต่ก็ยังปกป้องสิ่งของภายในรถบรรทุกได้อย่างดี

ดังนั้น Marcus จึงเกิดแรงบันดาลใจชวน Daniel ตระเวนหาซื้อผืนผ้าใบ ทั้งแบบเก่า และ ใหม่ เพื่อนำมาขึ้นแบบ โดยเริ่มตัดเย็บกันเองด้วยมือ พร้อมนำมาผสมผสานกับวัสดุรีไซเคิลอื่นๆ เช่น เลือกใช้ยางในของรถจักรยานเพื่อมาเย็บขอบผ้าใบให้กระเป๋าเป็นรูปทรงได้ รวมถึงใช้เข็มขัดนิรภัยเหลือใช้ มาตัดเป็นสายสะพาย จนทำให้กระเป๋า Freitag ใบแรกถือกำเนิดขึ้น ซึ่งเป็นต้นแบบของ รุ่น F13 TOP CAT เป็นกระเป๋าทรง Messenger bag ขนาด 30 ตร.ม. อันโด่งดังในปัจจุบัน 

หลังจากที่เขาทั้งสอง นำกระเป๋าไปใช้ เพื่อน ๆ หลายคนที่มหาวิทยาลัยสังเกตเห็น และรู้สึกว่ากระเป๋านี้ ดูเท่มาก ทั้งแปลกแหวกแนว และแตกต่างจากของที่มีอยู่ในตลาด ณ ช่วงเวลานั้น ๆ จนเกิดเป็นกระแสอยากได้กระเป๋าแบบนี้ขึ้นในมหาวิทยาลัย ทำให้ 2 พี่น้องเริ่มตั้งธุรกิจอย่างจริงจัง  โดยเริ่มจากการรับพรีออเดอร์ เพื่อนคนไหนสนใจ สามารถจ่ายเงินมาก่อนได้ แล้วพวกเขาจะไปหาวัสดุ อุปกรณ์มาตัดเย็บให้ 

ต่อมาคำสั่งซื้อที่เข้ามา เริ่มมีเยอะขึ้น ทำให้พวกเขาเริ่มเห็นโอกาสทางธุรกิจที่มีอยู่ พวกเขาเริ่มเชื่อแล้วว่ากระเป๋าแบบที่กำลังทำไม่ควรจำกัดอยู่เพียงแค่เขาสองคนพี่น้อง หรือกลุ่มเพื่อนที่อยากใช้ แต่มีโอกาสที่ขยายไปในระดับโลกได้ด้วย ทั้งสองจึงเริ่มตัดสินใจสร้างธุรกิจโดยจดบริษัทในนามของ FREITAG 

ในช่วงต้นของธุรกิจ พวกเขายังลงมือทำเองในทุกส่วนประกอบ ทั้งการ หาวัตถุดิบ ตัดเย็บ และจัดส่งให้ลูกค้าแต่ละรายด้วยตนเอง เมื่อออเดอร์เริ่มมีมากขึ้นเรื่อย ๆ จึงเริ่มจ้างโรงงานมาตัดเย็บ โดยที่คุณ Marcus และ Daniel ทำหน้าที่ในการคัดเลือกวัสดุ ควบคุมคุณภาพ ควบคุมการผลิต และออกแบบดีไซน์กระเป๋าแต่ละรุ่น 

หลังจากนั้น FREITAG ได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว และขยายไปเปิดตัวตามร้านต่าง ๆ จนกระทั่งเป็นที่นิยมในสวิตเซอร์แลนด์  และเริ่มวางแผนการตลาดที่มีหลักการมากขึ้น โดยใช้กลยุทธ์การตลาดแบบเก่า ที่ยังเก๋าจนถึงปัจจุบัน อย่าง STP Marketing 

โดยในบทความนี้จะขอยกตัวอย่างที่ชัดเจน ในเรื่องของ Positioning หรือ “จุดยืนของแบรนด์”

‘ We Think and Act in Cycles ’ 

เป็นคอนเซ็ปต์หลักของแบรนด์ คือ นับตั้งแต่วันแรกที่ทั้งสองคนเริ่มตัดเย็บกระเป๋าใช้กันเอง มาจนถึงวันที่กลายเป็นธุรกิจระดับโลก เขาก็ยังยึดมั่นคอนเซ็ปเดิมคือ การใช้วัสดุรีไซเคิล 100% แม้จะได้รับคำแนะนำจากหลายคนว่า หากเปลี่ยนวัสดุ จะช่วยลดต้นทุนการผลิตได้อีกมากมาย แต่เขาก็ยังยืนยันจะใช้วัสดุรีไซเคิลเท่านั้น  นอกจากจะช่วยลดปริมาณขยะได้แล้ว การใช้วัสดุรีไซเคิลนี้เองที่ทำให้ FREITAG  เป็นแบรนด์ที่มีเปี่ยมไปด้วยเสน่ห์ จนสามารถครองใจสายฮิปทั่วโลกได้ คือ กระเป๋าทุก ๆ ใบ ที่ผลิตออกมาจะมีลวดลายที่ไม่เหมือนกัน ถือเป็นความต่างผสานกับความเป็นพิเศษ ที่ทำให้ลูกค้าได้รับประสบการณ์ที่ว่า FREITAG ของเขามีเพียงชิ้นเดียวในโลกเท่านั้น 

ปัจจุบัน  FREITAG ยังได้แตกไลน์สินค้าออกไปอีกหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นกระเป๋าถือ กระเป๋าหิ้ว กระเป๋าสตางค์ ปัจจุบัน Marcus และ Daniel ได้ส่งมอบหน้าที่การบริหารให้ผู้บริหารมืออาชีพ ในการบริหารบริษัทให้ยั่งยืนต่อไป และเขาทั้งสองคน กลับไปทำสิ่งที่ตัวเองรัก คือการออกแบบและคิดค้นผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ  ต่อไป

<แนะนำ>

หากใครอยากเริ่มธุรกิจของตัวเอง หรือต้องการองค์ความรู้ในการทำธุรกิจและการตลาด อย่างเช่น การวางกลยุทธ์แบบ STP ที่ 2 พี่น้องเจ้าของ FREITAG ทำจนประสบความสำเร็จ สามารถเรียนรู้ได้ผ่านหลักสูตร Shortcut MBA ที่สอนทุกอย่างที่คนอยากทำธุรกิจให้สำเร็จต้องรู้ แบบ Step-by-step ดูรายละเอียดได้ที่ลิงค์ http://bit.ly/3FYL93N 

Reference :

https://www.freitag.ch/

https://www.labbrand.com/brandsource/going-deeper-than-the-buzz-freitag-keep-moving-forward-like-a-truck

หลายคนอาจสงสัยว่า May the 4th Be with you หรือวันที่ 4 พฤษภาคม ของทุกปี อยู่ดี ๆ กลายเป็น วันสตาร์วอรส์ ได้อย่างไร และเราถอดบทเรียนจากเรื่องของวันนี้ได้อย่างไร ... หาคำตอบได้ในบทความนี้ !!

จุดเริ่มต้นของเรื่องนี้ เกิดขึ้นใน วันที่ 4 พฤษภาคม ปี ค.ศ. 1979  เมื่อคุณมาร์กาเรต ฮิลดา แทตเชอร์ (Margaret Hilda Thatcher) ผู้นำพรรคอนุรักษนิยม ชนะการเลือกตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกแห่งสหราชอาณาจักร และเพื่อฉลองชัยชนะนี้ ทางพรรคของเธอได้ตีพิมพ์ข้อความลงบนหนังสือพิมพ์ “London Evening News” ว่า

May The Fourth Be With You, Maggie Congratulation

ซึ่งข้อความนี้ ได้สอดคล้องกับ ‘May The Force be with you’ สุดโด่งดัง ของมหาภาพยนตร์ STAR WARS อย่าง ‘𝙈𝙖𝙮 𝙩𝙝𝙚 𝙛𝙤𝙧𝙘𝙚 𝙗𝙚 𝙬𝙞𝙩𝙝 𝙮𝙤𝙪’ .. ขอพลังจงสถิตย์แก่ท่าน 🍀 ที่มักมีสอดแทรกอยู่ในหนัง STAR WARS ทุกภาค

ส่วนคำว่า May the force be with you มีที่มาจากภาษาละติน ‘dominus vobiscum’ ที่หมายถึง The Lord be with you หรือ จากข้อมูลของเว็บไซต์ Urban Dictionary ระบุว่า การใช้ May the force be with you เป็นการสื่อถึงการส่งผ่านความปรารถนาดีในเชิงอวยพรใครสักคนให้โชคดีและผ่านเรื่องต่าง ๆ ไปได้ด้วยดี และมักใช้อวยพรเมื่อมีบุคคลที่รัก กำลังเริ่มต้นทำสิ่งใหม่ ๆ - good luck, be well, good fortune, may good things happen to you -

นอกจากเหตุการณ์ดังกล่าว ด้วยความที่ในเดือน พฤษภาคม เป็นเดือนที่มีเหตุการณ์ต่าง ๆ เกี่ยวข้องกับจักรวาล STAR WARS มากมาย จึงทำให้เหล่าสาวก STAR WARS ต่างพร้อมใจกัน ยกให้ วันที่ 4 พฤษภาคม เป็น วันสตาร์วอลล์ หรือ STAR WARS'S DAY ที่เหล่าแฟนคลับจะรวมตัวกันจัดงานปาร์ตี้ แต่งกายเป็นตัวละครที่ชื่นชอบ รวมถึงใช้ประโยค “May the Fourth Be With You” ในการทักทายกัน รวมถึงร้านค้า สวนสาธารณะ และสถานที่ต่าง ๆ ยังพากันตกแต่งด้วยธีม STAR WARS อีกด้วย

สำหรับในปี 2023 นี้ แม้แต่ทาง Disney Plus เอง ก็ร่วมเฉลิมฉลองวัน STAR WARS ด้วยการปล่อย #StarWarsVisions Volume 2 ให้เหล่าสาวกได้รับชม ผ่านทาง Streaming ของ Disney Plus เท่านั้น

รวมถึง Gardens by the Bay แลนด์มาร์คชื่อดังของสิงคโปร์ก็มีการจัด Campaign เฉพาะกิจให้เหล่าแฟน ๆ ได้มาย้อนวัย และรับชม แสง สี เสียง ด้วยเช่นกัน

ทั้งนี้ ความสำเร็จทั้งหมดของ STAR WARS คงไม่อาจเกิดขึ้นได้ หากขาด George Lucas ผู้กำกับภาพยนต์ และเปรียบเสมือนศาสดาของชาว STAR WARS ซึ่งจากการวางแผนการทำงานที่ดีของเขา ทำให้ George Lucas ขึ้นแท่นเป็นหนึ่งในผู้กำกับที่รวยที่สุด จากการกำกับหนังน้อยที่สุด

George Lucas มีการทำงานด้วยแนวคิด Agile Project Management ที่ดีแม้จะมีแพลนการสร้างหนัง STAR WARS อยู่ในหัวนานแล้ว แต่เขาไม่ได้มุทะลุ ที่จะสร้างหนังออกมารวดเดียวทั้งหมด โดยเลือกทำงานด้วยการวางพล๊อตเรื่องแบบคร่าว ๆ ไว้ก่อน และปรับเปลี่ยนตามสถานการณ์ เพื่อที่จะสามารถนำเรื่องราวไปบิดต่อได้ จนประสบความสำเร็จและครองใจคนทั่วโลก จนถึงปัจจุบัน

นอกจากนี้ความสำเร็จของ STAR WARS ยังไม่หยุดอยู่ที่ภาพยนต์เพียงอย่างเดียว แต่ต่อยอดไปสู่การผลิตหนังสือการ์ตูน ของเล่น ของสะสมต่าง ๆ รวมไปถึงสวนสนุก ออกมาสานต่อจักรวาลของ STAR WARS ไปได้อย่างไม่มีที่สิ้นสุด

<แนะนำ>

หากคุณกำลังมองหาเทคนิค แนวคิดหรือเครื่องมือทุ่นแรงที่ช่วยให้ธุรกิจและการทำงาน ประสบความสำเร็จ เหมือนอย่างคุณ George Lucas แนะนำ หลักสูตร Agile Project Management 🔆

หลักสูตรที่จะช่วยให้คุณปรับการทำงานได้อย่างรวดเร็ว คล่องตัวมากยิ่งขึ้น และขยายโอกาสทางธุรกิจได้ ดูรายละเอียดได้ที่ลิงค์ http://bit.ly/3FYL93N 

Reference

https://www.starwars.com/news/may-the-4th-be-with-you-cultural-history

https://scifi.radio/2022/05/03/may-is-star-wars-month/

https://disneyworld.disney.go.com/star-wars-galactic-starcruiser/overview/

https://www.daysoftheyear.com/days/star-wars-day/

https://www.urbandictionary.com/

We use cookies, please see our policy and setting

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save
linkedin facebook pinterest youtube rss twitter instagram facebook-blank rss-blank linkedin-blank pinterest youtube twitter instagram