การทำธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจเล็ก หรือใหญ่ ต้องเริ่มต้นด้วยการมีเงินทุน หากมีเงินทุนไม่มาก ก็ต้องคำนวณให้เป็นธุรกิจเล็ก และได้กำไรสมเหตุสมผลกับเงินทุน แต่หากธุรกิจใหญ่มาก ก็ต้องมีเงินทุนมหาศาล รวมไปถึงบางธุรกิจ อาจจะต้องมองหาแหล่งเงินทุน จากนายทุน หรือ ผู้ร่วมลงทุน ซึ่งในบทความนี้ เราจะมีทำความเข้าใจ เกี่ยวกับการหาแหล่งเงินทุน ว่าหาได้จากที่ไหน และจะช่วยอะไรกับบริษัทคุณได้บ้าง การมีเงินทุนจะทำให้มีกำไรเพิ่มขึ้นจริงหรือไม่ เรามาดูกัน
เงินทุน เปรียบเสมือน "เลือด" ที่หล่อเลี้ยงให้ธุรกิจดำเนินต่อไป และยังเหมือน "เชื้อเพลิง" ที่คอยขับเคลื่อนให้ธุรกิจเติบโตไปข้างหน้าได้ โดยเหตุผล ที่ธุรกิจจะต้องหาแหล่งเงินทุน มีดังนี้
แน่นอนว่า ผู้เริ่มต้นธุรกิจใหม่ จำเป็นต้องมีเงินทุน 2 ส่วน นั่นก็คือ เงินทุนสำหรับลงทุนในสินทรัพย์ถาวร เช่น อุปกรณ์ เครื่องจักร พื้นที่ และ เงินทุนสำหรับค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน เช่น เงินเดือน วัตถุดิบ ค่าเช่า หากต้องเป็นการลงทุนในธุรกิจขนาดใหญ่ ยิ่งจำเป็นหาแหล่งเงินทุนสนับสนุน ให้สามารถใช้จ่ายหมุนเวียนสำหรับทรัพย์สินเบื้องต้นได้
2. แหล่งเงินทุน เพื่อขยายธุรกิจ
สำหรับผู้ที่ทำธุรกิจมาหลายปีแล้ว รู้สึกว่า ธุรกิจกำลังเติบโตไปได้ดีมากๆ ก็ต้องเริ่มมองหาแหล่งเงินทุน ที่จะช่วยสนับสนุน เพื่อขยายธุรกิจไปยังสาขาอื่นๆ มีเงินทุนสำหรับลงทุนในสินทรัพย์ถาวรเพิ่มเติม เช่น ขยายโรงงาน ซื้ออุปกรณ์ใหม่ และเงินทุนสำหรับเพิ่มทุนหมุนเวียน รองรับการขยายตัวของธุรกิจในอนาคต
ทุกธุรกิจ จำเป็นต้องมีเงินทุนส่วนนี้ไว้ เป็นเงินทุนสำรองสำหรับรองรับเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด เช่น ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ และมีเงินทุนสำหรับชำระหนี้สิน ให้ตรงตามกำหนด ป้องกันหนี้เสีย
แหล่งเงินทุน มีหลายประเภท ขึ้นอยู่กับความต้องการของธุรกิจ สามารถหาได้ ผ่านช่องทางต่างๆ ดังนี้
การหาแหล่งเงินทุนที่เหมาะสม มีความสำคัญต่อธุรกิจ อย่างมาก เพราะจะช่วยให้ธุรกิจมี "เงินทุน" เพียงพอสำหรับการดำเนินงาน ช่วยให้ธุรกิจ "เติบโต" ได้อย่างรวดเร็ว และ ช่วยให้ธุรกิจ "ยั่งยืน" ในระยะยาว ดังนั้น ธุรกิจควรศึกษา หาข้อมูล เปรียบเทียบ เลือกแหล่งเงินทุนที่เหมาะสมกับธุรกิจมากที่สุด การจัดการเงินทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ยังช่วยให้ธุรกิจบรรลุเป้าหมาย ประสบความสำเร็จได้อย่างรวดเร็วด้วย
ก่อนจะหาแหล่งเงินทุน จากนายทุนแหล่งต่างๆ เราจะต้องเข้าใจความแตกต่าง ง่ายๆ กันก่อน ว่านายทุนแต่ละแบบ มีความแตกต่างกันอย่างไร โดยความหมายของการเป็นนายทุน คือ เป็นบุคคลที่มีเงินทุน มักลงทุนในธุรกิจที่ตัวเองรู้จัก เข้าใจ ลงทุนเพื่อผลตอบแทนระยะยาว เน้นความมั่นคง และมักไม่เข้ามายุ่งเกี่ยวกับการบริหาร แต่จะเน้นมองผลลัพธ์ที่จะมีกำไรมหาศาล และคืนกลับมายังนายทุนได้
เหมาะกับธุรกิจ Startup ระยะเริ่มต้น ธุรกิจที่มีศักยภาพการเติบโตสูง ธุรกิจที่ต้องการคำปรึกษา การสนับสนุน เช่น ธุรกิจเทคโนโลยี ธุรกิจนวัตกรรม ธุรกิจอีคอมเมิร์ซ เป็นต้น
ข้อดี
ข้อเสีย
ตัวอย่าง: นักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ บุคคลที่มีชื่อเสียง
เหมาะกับธุรกิจ Startup ระยะเริ่มต้นถึงเติบโต ธุรกิจที่มีศักยภาพการเติบโตสูง และธุรกิจที่ต้องการเงินทุนจำนวนมาก เช่น ธุรกิจ FinTech ธุรกิจ Health tech ธุรกิจ EdTech เป็นต้น
ข้อดี
ข้อเสีย
ตัวอย่าง: บริษัทลงทุน Startup กองทุนร่วมลงทุน
เหมาะกับธุรกิจทุกขนาด ธุรกิจที่ต้องการเงินทุนจำนวนมาก และ ธุรกิจที่มีความมั่นคง เช่น ธุรกิจผลิต ธุรกิจค้าส่ง ธุรกิจบริการ เป็นต้น
ข้อดี
ข้อเสีย
ตัวอย่าง: ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารเฉพาะกิจ
ถือได้ว่า แหล่งเงินทุนเหล่านี้ ถ้าธุรกิจไหน เข้าถึงแล้วได้รับมา ก็จะช่วยส่งเสริมธุรกิจให้เติบโตขึ้นได้อย่างรวดเร็ว แต่ถึงอย่างไร การหาแหล่งเงินทุนให้เหมาะสมก็ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น ประเภทธุรกิจ ระยะการเติบโต เงินทุนที่ต้องการ เงื่อนไขการลงทุน และบทบาทของผู้ลงทุนด้วยเช่นกัน
เมื่อตัดสินใจที่จะเริ่มธุรกิจแล้ว อย่าลืมว่าบริษัทต้องมีการเติบโต อย่าลืมวางแผนการเติบโตผ่านการลงทุน และนายทุนเหล่านี้ก็อาจจะเป็น 1 ในปัจจัย ที่จะทำให้ธุรกิจคุณเติบโตขึ้นมากกว่า 1 เท่า สร้างกำไรให้ธุรกิจเพิ่มขึ้นได้อย่างสบายใจ
สำหรับใครที่อยากลงทุนให้เติบโตด้วยความเข้าใจเรื่องแหล่งเงินทุนโดยละเอียด และมีความรู้ในการบริหารการเงิน วิเคราะห์งบการเงินของธุรกิจได้ ลองเข้ามาเรียนกันที่คอร์ส Finance for Entrepreneur by eddu ที่จะพาทุกคนดูบัญชีและยกตัวอย่างแบบครบองค์รวม เรียนจบ การวิเคราะห์งบการเงินของบริษัทคุณจะถูกดำเนินและกำกับดูแลได้อย่างถูกจุดมากขึ้น เปลี่ยนคุณให้ทำธุรกิจด้วยการใช้เงินอย่างคุ้มค่าและมืออาชีพ สมัครเลย!
หากจะพูดถึงสภาพคล่องทางการเงิน สำหรับ Finance for Entrepreneur แล้ว เป็นเรื่องที่สำคัญและจำเป็นมากๆ โดยเฉพาะเจ้าของธุรกิจ ที่ต้องมีความรู้ ความเข้าใจด้านสภาพคล่องทางการเงินของตัวเอง โดยสภาพคล่องทางการเงิน หมายถึง ความสามารถของบริษัทในการชำระหนี้ระยะสั้น หรือแปลงสินทรัพย์เป็นเงินสด เพื่อชำระหนี้สินที่ครบกำหนดชำระภายใน 1 ปี ได้ นั่นหมายความว่า จะทำให้สามารถประเมิน หรือวิเคราะห์งบการเงินของธุรกิจได้ ว่าธุรกิจของคุณ ยังมีสุขภาพดีอยู่หรือไม่ ในบทความนี้ เราจะพามารู้จักกับประเภทของสภาพคล่องทางการเงิน และวิธีการคำนวณแบบพื้นฐาน รวมถึงแนะนำ คอร์สเรียน finance หรือ หลักสูตรการเงินพื้นฐาน ที่บอกเลยว่า ถ้าได้เข้าคอร์สเรียน finance นี้ จะต้องร้อง อ๋ออออ!! เรื่องการเงินเลยทันที
หากคุณสามารถวิเคราะห์งบการเงิน และสภาพคล่องทางการเงินต่างๆ ของธุรกิจตัวเองเป็น จะมีข้อดี ในการช่วยให้
รู้ข้อดีของการวิเคราะห์สภาพคล่องทางการเงินไปแล้ว เรามาดูกันต่อว่า ประเภทของสภาพคล่องทางการเงิน มีอะไรบ้าง โดยแต่ละประเภท จะมีอัตราส่วนในการคำนวณสภาพคล่องได้ ดังนี้
เป็นการวัดความสามารถในการชำระหนี้ระยะสั้น โดยใช้สินทรัพย์หมุนเวียน ซึ่งสินทรัพย์หมุนเวียน หมายถึง สินทรัพย์ที่สามารถแปลงเป็นเงินสดได้ภายใน 1 ปี เช่น เงินสด สินค้าคงคลัง ลูกหนี้ ส่วนหนี้สินหมุนเวียน หมายถึง หนี้สินที่ต้องชำระภายใน 1 ปี เช่น เงินบัญชีเจ้าหนี้ เงินกู้ยืมระยะสั้น
การคำนวณเบื้องต้น: สินทรัพย์หมุนเวียน / หนี้สินหมุนเวียน
ค่ามาตรฐาน: > 1.5
ตัวอย่าง:
บริษัทมีสินทรัพย์หมุนเวียน 100 ล้านบาท และหนี้สินหมุนเวียน 80 ล้านบาท
Current Ratio = 100 / 80 = 1.25
ผลวิเคราะห์:
ค่า Current Ratio 1.25 > 1.5 แสดงว่าบริษัทมีสภาพคล่องเพียงพอ
*อย่างไรก็ตาม ค่าที่สูงเกินไป อาจหมายความว่า บริษัทมีสินทรัพย์หมุนเวียนที่ไม่ได้ใช้งาน
เป็นการวัดความสามารถในการชำระหนี้ระยะสั้นโดยไม่รวมสินค้าคงคลัง ซึ่งสินค้าคงคลังอาจแปลงเป็นเงินสดได้ยากกว่าสินทรัพย์หมุนเวียนประเภทอื่น
การคำนวณเบื้องต้น: (สินทรัพย์หมุนเวียน - สินค้าคงคลัง) / หนี้สินหมุนเวียน
ค่ามาตรฐาน: > 1
ตัวอย่าง:
บริษัทมีสินทรัพย์หมุนเวียน 100 ล้านบาท สินค้าคงคลัง 30 ล้านบาท และหนี้สินหมุนเวียน 80 ล้านบาท
Quick Ratio = (100 - 30) / 80 = 0.88
ผลวิเคราะห์:
ค่า Quick Ratio 0.88 < 1 แสดงว่าบริษัทมีสภาพคล่องไม่ดี
*บริษัทอาจมีปัญหาในการชำระหนี้ระยะสั้นหากไม่สามารถขายสินค้าคงคลังได้
เป็นการวัดความสามารถในการชำระหนี้ระยะสั้นโดยใช้เงินสด โดยเงินสดเป็นสินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องสูงสุด
การคำนวณเบื้องต้น: เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด / หนี้สินหมุนเวียน
ค่ามาตรฐาน: > 0.5
ตัวอย่าง:
บริษัทมีเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด 20 ล้านบาท และหนี้สินหมุนเวียน 80 ล้านบาท
Cash Ratio = 20 / 80 = 0.25
ผลวิเคราะห์:
ค่า Cash Ratio 0.25 < 0.5 แสดงว่าบริษัทมีสภาพคล่องต่ำ
*บริษัทอาจมีปัญหาในการชำระหนี้ระยะสั้น
เป็นการวัดความสามารถในการชำระหนี้ระยะสั้นจากกระแสเงินสด โดยกระแสเงินสดจากการดำเนินงาน หมายถึง เงินสดที่บริษัทได้รับจากการดำเนินธุรกิจ
การคำนวณเบื้องต้น: กระแสเงินสดจากการดำเนินงาน / หนี้สินหมุนเวียน
ค่ามาตรฐาน: > 1
ตัวอย่าง:
บริษัทมีกระแสเงินสดจากการดำเนินงาน 40 ล้านบาท และหนี้สินหมุนเวียน 80 ล้านบาท
Operating Cash Flow Ratio = 40 / 80 = 0.5
ผลวิเคราะห์:
ค่า Operating Cash Flow Ratio 0.5 < 1 แสดงว่ากระแสเงินสดจากการดำเนินงานไม่เพียงพอ
*บริษัทอาจต้องหาเงินทุนเพิ่มเติมเพื่อชำระหนี้ระยะสั้น
และนี่ก็คือทั้ง 4 ประเภทของการวิเคราะห์สภาพคล่องทางการเงิน สำหรับ Finance for Entrepreneur อย่างง่าย ในธุรกิจของคุณ โดยแบ่งสภาพคล่องออกเป็นอัตราส่วน และวิธีการคำนวณเบื้องต้น ซึ่งจริงๆ แล้ว คิดว่าหลายคนที่เพิ่งเริ่มต้นธุรกิจได้ไม่นาน อาจจะยังไม่เข้าใจเกี่ยวกับการวิเคราะห์งบการเงิน และการเช็คสุขภาพของธุรกิจมากเท่าไหร่ หากใครมีปัญหาด้านการวิเคราะห์งบการเงิน อยากรู้วิธีการคำนวณภาพรวมสุขภาพการเงิน ของ Finance for Entrepreneur ในแง่ของสภาพคล่องบริษัท eddu มีคอร์ส Finance for Entrepreneur ที่จะพาทุกคนดูบัญชีและยกตัวอย่างแบบครบองค์รวม เรียนจบ การวิเคราะห์งบการเงินของบริษัทคุณจะถูกดำเนินและกำกับดูแลได้อย่างถูกจุดมากขึ้น
โดย คอร์ส Finance for Entrepreneur จะมีเนื้อหาที่สรุปออกมาให้เข้าใจเรื่องการเงินได้ง่าย เป็นคอร์สเรียน finance ที่จะได้เรียนรู้เรื่องการเงิน สำหรับเจ้าของธุรกิจ รู้ตัวไว จัดการธุรกิจเป็น ก่อนจะล้ม เพราะเรื่องของเงินกับเจ้าของธุรกิจ (Finance for Entrepreneur) เป็นเรื่องสำคัญ ในเนื้อหาประกอบด้วย
ในแต่ละบทเรียน โดยเฉพาะเรื่อง การอ่านงบการเงิน และเรื่องการบริหารกระแสเงินสด จะพาคุณไปทำความเข้าใจเรื่องของการวิเคราะห์งบการเงินแต่ละประเภท ดูสภาพคล่องทางการเงินในธุรกิจของคุณ จะต้องทำอย่างไร สุขภาพทางการเงินดีหรือไม่ พร้อมสอนวิธีการคำนวณอย่างละเอียด ผ่านตัวอย่างและเคสต่างๆ จบคอร์ส Finance for Entrepreneur แล้ว พร้อมบริหารการเงินในธุรกิจของคุณได้อย่างเข้าใจ และมีศักยภาพทางการเงินที่ดีขึ้นแน่นอน สนใจคอร์สเรียน finance หลักสูตรการเงินพื้นฐาน สมัครได้เลยนะ!