thumbnail
March 3, 2025

Engagement ตัวชี้วัดผลลัพธ์ทำการตลาดออนไลน์

หากพูดถึงกลยุทธ์การตลาดออนไลน์หลายคนมักจะนึกถึงการใช้งาน Social Media ที่สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ตามต้องการ แต่ถ้าหากเราต้องการตรวจสอบผลลัพธ์ที่ได้กลับมาจากการใช้ Digital Marketing หนีไม่พ้นการตรวจสอบ Engagement ที่เราได้จากการใช้กลยุทธ์ที่ผ่านมา นอกจากนี้เราจะต้องมีการใช้สูตรคำนวณเพื่อวัดผลลัพธ์ว่าสิ่งที่เราลงทุนไปกับยอดที่เราได้กลับมานั้นมีความคุ้มค่ามากแค่ไหน ซึ่งจะมีความคล้ายกับการใช้สูตร ROI ที่ไม่ยากอย่างที่คิด โดย Engagement Rate คิดยังไง เราลองมาดูวิธีการเปรียบเทียบความคุ้มค่ากันเลย


Key Takeaways

  • Engagement เป็นผลลัพธ์สำคัญที่เป็นตัวชี้วัดทางธุรกิจว่ารูปแบบโฆษณาของเรามีประสิทธิภาพมากแค่ไหน และเราควรจะปรับปรุงพัฒนาไปในทิศทางใด
  • Engagement มีทั้งหมด 4 ประเภทที่สามารถช่วยชี้วัดผลลัพธ์การทำการตลาดออนไลน์ได้ อีกทั้งยังสามารถนำมาวิเคราะห์ประสิทธิภาพด้วยสูตรคำนวณที่ช่วยบ่งบอกถึงคุณภาพของโฆษณาที่เราได้สื่อสารออกไป
  • กลยุทธ์และเทคนิคการเพิ่มยอด Engagement เป็นสิ่งที่ต้องคำนึงถึงอย่างครบครัน เพื่อช่วยเพิ่มโอกาสปิดยอดขายและสร้างฐานลูกค้าได้มากขึ้น 

สารบัญบทความ


Engagement คืออะไร มีประโยชน์ต่อธุรกิจอย่างไรบ้าง?

ยอด Engagement คือ การสรุปผลลัพธ์ที่ได้จากการที่เราเลือกใช้กลยุทธ์การตลาดออนไลน์ในรูปแบบที่มีการวางกลยุทธ์ไว้อย่างชัดเจน เพื่อมาตรวจสอบว่ามียอดผลลัพธ์ที่ช่วยสร้าง Conversion และสามารถปิดยอดขายได้มากน้อยแค่ไหน เพื่อการนำข้อมูลที่ได้มาเปรียบเทียบและวิเคราะห์สิ่งที่ต้องปรับแก้ไขในการวางแผนกลยุทธ์การตลาดลำดับต่อไป นั่นจึงเป็นเหตุผลว่า Engagement คือสิ่งที่เราต้องหมั่นตรวจสอบอยู่เสมอนั่นเอง


ทำไม Engagement จึงเป็นตัวชี้วัดการตลาดออนไลน์? 

Engagement คือ

การสร้าง Engagement คือสิ่งที่มีความสำคัญและจำเป็นมากในปัจจุบัน เนื่องจากว่าทุกธุรกิจย่อมมีการปรับตัวและใช้งานโซเชียลมีเดียเป็นช่องทางการสร้างการรับรู้และเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งถ้าหากมี Engagement ที่เข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้จำนวนมากย่อมเป็นผลดีต่อธุรกิจในหลายรูปแบบ ได้แก่

  • การสร้างการรับรู้และเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายเดิมไปจนถึงกลุ่มเป้าหมายใหม่ ๆ 
  • เป็นตัวช่วยให้ลูกค้าเกิดความสนใจในสินค้าและบริการ
  • ช่วยเพิ่มโอกาสปิดการขาย และเพิ่มยอดขายได้มากยิ่งขึ้น
  • สามารถสร้างความสัมพันธ์ระหว่างแบรนด์และกลุ่มลูกค้าได้มากขึ้น
  • Customer Engagement คือตัวกลางที่ช่วยในการวิเคราะห์ความคุ้มค่าจากการทำการตลาดออนไลน์

4 ประเภทของ Engagement ที่เป็นประโยชน์สำคัญต่อธุรกิจ

การตรวจสอบ Engagement จะถูกแบ่งออกเป็น 4 ประเภท ที่กลุ่มลูกค้าสามารถเข้ามามีปฏิสัมพันธ์ร่วมกับแบรนด์ได้ ซึ่งแต่ละแพลตฟอร์มออนไลน์จะมีฟังก์ชันการตรวจสอบที่ต่างกันออกไป แต่หลัก ๆ แล้วเราจะสามารถแบ่งออกมาได้ ดังนี้

Reactions การแสดงความรู้สึก

หลายแพลตฟอร์มเราสามารถกดแสดงความรู้สึกได้ทั้งสิ้น แต่บนแพลตฟอร์ม Facebook จะสามารถแสดงความรู้สึกได้หลากหลายมากกว่า ไม่ว่าจะเป็นการกดไลก์ (Like) กดขำ (HAHA) กดว้าว (Wow) กดรัก (Love) กดห่วงใย (Care) กดเศร้า (Sad) และกดโกรธ (Angry) ซึ่งทั้งหมดนี้ล้วนเป็น Engagement การตลาดทั้งสิ้น

Comment การแสดงความคิดเห็น

แน่นอนว่าสิ่งที่มีเหมือนกันในทุกแพลตฟอร์มออนไลน์คือการเปิดให้ผู้ใช้งานแสดงความคิดเห็น ซึ่งเป็น Engagement ที่เราสามารถตรวจสอบความต้องการของลูกค้าจากการคอมเมนต์ได้ เช่น การสอบถามรายละเอียดสินค้าเพิ่มเติมผ่านคอมเมนต์ เป็นต้น

Share การส่งต่อ

เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่ทุกแพลตฟอร์มมีเหมือนกันนั่นคือการแชร์ส่งต่อไปยังพื้นที่อื่น ๆ เพิ่มเติมเช่น การแชร์ไปหาคนรอบตัว หน้าโปรไฟล์ของตัวเอง ฯลฯ ซึ่งเป็นอีกหนึ่ง Engagement ที่เราสามารถตรวจสอบได้ว่ามีการแชร์ออกไปเป็นจำนวนเท่าไหร่บ้าง 

Click-Through Rate (CTR) การมีปฏิสัมพันธ์ที่ส่งต่อไปช่องทางอื่น

เป็นอีกหนึ่ง Engagement ที่เราได้มีการใส่ลิงก์พาไปยังช่องทางอื่นที่เราต้องการ เช่น พาไปยังเว็บไซต์ พาไปยังการกรอกฟอร์ม ฯลฯ ซึ่งเราสามารถตรวจสอบยอด CTR ได้ว่ากลุ่มลูกค้าส่วนใหญ่มีการกดลิงก์ไปยังปลายทางจากคอนเทนต์ตัวไหนที่เราได้มีการเผยแพร่ เพื่อการสร้างตัวใหม่ที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น


Engagement Rate สูตรคำนวณตัวชี้วัดการตลาดออนไลน์ต้องคิดอย่างไร?

ได้รู้กันไปแล้วว่าทั้ง 4 ประเภทของ Engagement การตลาดคืออะไรบ้างที่เราสามารถตรวจสอบผลลัพธ์จากกลุ่มลูกค้าได้ นอกจากนี้เรายังต้องมีการใช้สูตรคำนวณ Engagement เพื่อให้ทราบว่าผลลัพธ์ที่ได้มานั้นมีความคุ้มค่าและคุ้มต่อการลงทุนมากน้อยแค่ไหน ซึ่งสูตรคำนวณจะมีความคล้ายกับการใช้สูตร ROI ดังต่อไปนี้

Total Engagement (Like+Comment+Share) / Total Impressions x 100 = Engagement Rate

  • Total Engagement คือ จำนวนที่เกิด Engagement ทั้งหมดรวมกัน ไม่ว่าจะเป็น Reaction / Comment / Share
  • Total Impressions คือ จำนวนครั้งที่ตัวโฆษณาสามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้

การใช้สูตรคำนวณ Engagement Rate จะเป็นตัวช่วยบ่งบอกถึงคุณภาพของโฆษณาของเราว่ามีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใด เพื่อนำไปปรับรูปแบบกลยุทธ์ขึ้นใหม่เพื่อเจาะกลุ่มเป้าหมายได้มากขึ้น


องค์ประกอบของ Engagement ที่ทุกธุรกิจต้องให้ความสำคัญ

การสร้างสรรค์เนื้อหาโฆษณาที่สามารถสร้าง Engagement ที่เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ จะต้องมีองค์ประกอบต่าง ๆ อย่างครบครัน เพื่อให้สามารถสร้างปฏิสัมพันธ์ได้ตรงกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมายมากที่สุด ดังนี้

  • เข้าถึงตัวตนของกลุ่มเป้าหมายโดยตรงจากเนื้อหาโฆษณาที่เขียนขึ้นมาเพื่อคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งโดยเฉพาะ ซึ่งจะเป็นตัวช่วยเพิ่มยอด Engagement ได้อย่างดี
  • การกำหนดสิ่งที่กลุ่มเป้าหมายต้องการ จากการวิเคราะห์ Engagement ที่ผ่านมาว่ากลุ่มเป้าหมายชื่นชอบในเนื้อหาโฆษณารูปแบบไหน เพื่อการสร้างสรรค์คอนเทนต์ที่ตรงใจ
  • การสร้างประสบการที่ดีจากการใช้งานทุกแพลตฟอร์ม ด้วยการวิเคราะห์ความต้องการของกลุ่มเป้าหมายในแต่ละแพลตฟอร์ม เพื่อการนำเสนอเนื้อหาคอนเทนต์ที่ตอบโจทย์
  • สร้างการมีส่วนร่วมระหว่างกลุ่มลูกค้าและแบรนด์อย่างต่อเนื่อง เพื่อการไต่ระดับการสร้างการรับรู้พร้อมรับ Engagement ที่มากขึ้น อีกทั้งยังช่วยให้ลูกค้าเกิดความภักดีต่อแบรนด์อีกด้วย

กลยุทธ์สร้าง Engagement ให้กับแบรนด์เพื่อประโยชน์สูงสุด

กลยุทธ์สร้าง Engagement

ต่อมาเราจะมาพูดถึงการใช้กลยุทธ์เพื่อสร้าง Engagement อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยการใช้ 5 องค์ประกอบที่มีความจำเป็นในการสร้างสรรค์เนื้อหาคอนเทนต์ ที่จะประกอบไปด้วย

1. จำลองตัวตนของลูกค้าถึงความต้องการให้ชัดเจน 

เป็นรูปแบบการจำลองเพื่อกำหนดว่าแต่ละกลุ่มลูกค้ามีความชื่นชอบ และความต้องการในด้านใดบ้าง เพื่อให้เราสามารถกำหนดสิ่งที่ต้องการจะสื่อสาร และสร้างสรรค์ออกมาได้อย่างตรงจุด ซึ่งแน่นอนว่าจะช่วยเพิ่มยอด Engagement ได้อย่างแน่นอน

2. กำหนดภาพลักษณ์ของแบรนด์ที่ต้องการจะสื่อสาร 

เป็นรูปแบบการสร้างภาพลักษณ์เพื่อสร้างการจดจำให้กับกลุ่มลูกค้า ซึ่งสามารถทำออกมาได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการทำคลิปวิดีโอ การสร้างสรรค์เนื้อหาคอนเทนต์ที่ไม่เหมือนใคร ฯลฯ ซึ่งแม้จะดูเป็นรายละเอียดเล็กน้อย แต่เป็นอีกส่วนที่ช่วยสร้าง Engagement ได้เป็นอย่างดี

3. กำหนดรูปแบบคอนเทนต์ที่จะนำเสนอ

เป็นรูปแบบการกำหนดเนื้อหาที่แบรนด์ต้องการจะสื่อสาร โดยที่จะต้องมีรูปแบบให้เน้นการจดจำ เข้าใจง่าย และสื่อสารได้ตรงจุดมากที่สุด เพื่อสร้างแรงดึงดูดให้กลุ่มลูกค้าเกิดความสนใจและเข้ามามีส่วนร่วมกับแบรนด์

4. กำหนดตารางเผยแพร่คอนเทนต์ในแต่ละเดือน 

เป็นรูปแบบการกำหนดการปล่อยเนื้อหาคอนเทนต์ว่าเราจะมีการสร้างสรรค์เนื้อหาและเผยแพร่วันไหนบ้าง โดยควรจะมีการสร้างคอนเทนต์ผ่านการวาง Customer Journey เพื่อเรียงลำดับให้กลุ่มเป้าหมายค่อย ๆ สร้างการรับรู้จนไปถึงการเข้ามาเป็นกลุ่มลูกค้าในที่สุด

5. วัดผลและปรับปรุงคอนเทนต์ 

เป็นตัวชี้วัดที่สำคัญที่สุดคือการรวบรวมและตรวจสอบ Engagement ทั้งหมดเพื่อนำมาคำนวณและวิเคราะห์ว่ามีผลตอบรับดีมากแค่ไหน เราควรปรับปรุงและพัฒนาอย่างไรเพื่อให้เกิด Engagement ที่มีส่วนช่วยให้กลุ่มลูกค้าเข้ามามีปฏิสัมพันธ์กับแบรนด์มากยิ่งขึ้น


เคล็ดลับเพิ่ม Engagement ด้วย Social Media เพื่อสร้างการเติบโตให้ธุรกิจ

ช่องทางออนไลน์แต่ละแพลตฟอร์มมีกลยุทธ์การเพิ่มยอด Engagement ที่แตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับระบบของโซเชียลมีเดียรวมไปถึงพฤติกรรมของผู้ใช้งาน ซึ่งเราได้รวบรวมเคล็ดลับของแต่ละแพลตฟอร์มไว้ให้เรียบร้อย

  • Facebook สามารถเพิ่มยอดได้จากการทำคอนเทนต์ในเชิงตั้งคำถาม การทำคลิปวิดีโอสั้น หรือการทำคอนเทนต์ที่เกาะกระแสสังคม เป็นต้น
  • Instagram เน้นการลง Stories ที่สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ง่าย หรือจะเป็นการไลฟ์สด การโต้ตอบคำถามของลูกค้าผ่าน Stories เป็นต้น
  • Tiktok ต้องมีการใช้เสียงประกอบคลิปที่ได้รับความนิยมในช่วงเวลานั้น หรือจะเป็นการตอบกลับความสงสัยของลูกค้าด้วยคลิปวิดีโอ เป็นต้น
  • X สามารถเพิ่มยอดเข้าถึงได้จากการซื้อ Get Verlified รายเดือน เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือ และการใช้ Hashtags ที่กำลังได้รับความนิยม เป็นต้น

Engagement ตัวชี้วัดสำคัญที่เป็นประโยชน์สำหรับทุกธุรกิจ

Engagement หมายถึงการสร้างยอดการรับชมที่มีความสำคัญต่อการเดินหน้าในทางธุรกิจระยะยาว เนื่องจากเราสามารถนำข้อมูลการเข้าถึงกลุ่มลูกค้ามาปรับเปลี่ยนกลยุทธ์และสร้างสรรค์เนื้อหาโฆษณาที่ตอบโจทย์และตรงความต้องการมากยิ่งขึ้น และนอกจาก Engagement ยังมีกลยุทธ์หลากหลายที่ต้องเรียนรู้ ซึ่งเรารวบรวมไว้ให้แล้วที่คอร์สเรียนการตลาดออนไลน์ Shortcut Digital Marketing รับรองว่าได้รับความรู้ที่สดใหม่ จัดเต็มทุกเนื้อหา พร้อมนำไปปรับใช้กับการทำธุรกิจของตัวเองได้ในระยะยาว

Copyright ©2024Eddu Group International Co.,Ltd.

หลักสูตรที่เกี่ยวข้อง

อัปสกิลไปพร้อมกับ eddu
ทีมงานพร้อมให้คำแนะนำและคำปรึกษาในการเรียน
ตลอดจนแนะนำหลักสูตรที่เหมาะสม
กับผู้เรียน ทั้งบุคคลและองค์กร