ในการทำธุรกิจสิ่งที่สำคัญไม่แพ้เรื่องผลกำไรคือการสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างแบรนด์กับลูกค้า หลายครั้งที่ผู้ทำธุรกิจมักได้ยินคำว่า “Customer Loyalty” หรือความจงรักภักดีที่ลูกค้ามีต่อแบรนด์ และการทำ CRM Marketing คือสิ่งที่ช่วยทำให้เกิดความภักดีของลูกค้าได้ หลายคนยังไม่รู้ว่าการทำ CRM ต้องใช้โปรแกรมอะไรบ้าง วันนี้เรามีมาแนะนำกัน 

Customer Relationship มีอะไรบ้าง

Customer Relationship คือการบริหารความสัมพันธ์กับลูกค้า เพื่อขับเคลื่อนความเติบโตให้กับธุรกิจ โดยที่การบริหารความสัมพันธ์นั้นมาจากการมอบประสบการณ์ทางบวกที่เหมาะสมให้กับทางลูกค้า ซึ่งประกอบไปด้วย 5 หลักสำคัญคือ

·   การยึดลูกค้าเป็นศูนย์กลาง (Customer-Centric)

·   การใช้ข้อมูลเป็นพื้นฐานในการทำงาน (Data-Driven)

·   การทำงานข้ามหน่วยงาน (Cross-Functional)

·   การปรับให้เหมาะสมกับลูกค้าแต่ละบุคคล (Personalization)

·   การพัฒนาอย่างต่อเนื่อง (Continuous Improvement) 

ประโยชน์ของการใช้ CRM Marketing คืออะไร

การสร้างลูกค้าสัมพันธ์ เพื่อให้เกิดความจงรักภักดีต่อแบรนด์มีหลายขั้นตอน และกระบวนการในการทำที่ต้องผ่านการวิเคราะห์ บริหารจัดการ แต่ถึงแม้ว่าจะมีขั้นตอนที่ต้องลงมือปฏิบัติ เมื่อมองถึงประโยชน์แล้ว CRM Marketing ก็ยังเป็นสิ่งที่คุ้มค่าต่อการลงทุน โดยประโยชน์หลักของการทำ CRM คือ 

1. ช่วยในการวิเคราะห์ข้อมูล

ประโยชน์ข้อแรกของการทำ CRM Marketing คือ ช่วยให้องค์กรวิเคราะห์ข้อมูลได้ง่ายขึ้น ทำให้เกิดวงจร Customer Lifecycle ที่ช่วยต่อยอดธุรกิจ และพัฒนาความสัมพันธ์กับลูกค้าได้ตรงจุด

2. ช่วยให้เกิดการซื้อซ้ำ

หลังจากทำ CRM แล้วจะช่วยให้เกิดการซื้อซ้ำ และเข้าใช้บริการอย่างต่อเนื่องได้มากขึ้น ช่วยขับเคลื่อนยอดขายสร้างผลกำไรที่เติบโตมากขึ้น 

3. ได้ข้อมูลเชิงลึกของลูกค้า

เมื่อมีการเก็บข้อมูลแล้วนำมาวิเคราะห์ จะช่วยให้เข้าใจพฤติกรรมเชิงลึกของลูกค้ามากขึ้น ช่วยให้สื่อสารได้อย่างเจาะจง อีกทั้งยังนำมาพัฒนาการบริการลูกค้าได้ดีขึ้นกว่าเดิมด้วย 

4. เกิดความคล่องตัวในการทำงาน

สำหรับองค์กรขนาดใหญ่ เมื่อมีข้อมูลที่ช่วยให้วิเคราะห์พฤติกรรมได้ง่ายขึ้น การทำงานของคนในองค์กรก็ง่ายขึ้นด้วย ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายขาย การตลาด ไปจนถึงหน้าร้านที่ต้องที่ให้บริการลูกค้า ช่วยให้เกิดรูปแบบการทำงานที่ Automatic มากขึ้น 

ต้องการทำ CRM Marketing เริ่มต้นอย่างไร?

เมื่อเห็นแล้วว่า Customer Relationship คือส่วนสำคัญของการเติบโตทางธุรกิจ จึงต้องรีบลงมือทำ CRM กันตั้งแต่เนิ่น ๆ สำหรับคนที่ไม่เคยทำมาก่อน CRM นั้นคือการเก็บรวบรวมข้อมูล ซึ่งก็สามารถทำได้บนสมุดหนึ่งเล่ม หรือใช้ตารางบน Excel เพื่อจัดการข้อมูล รายละเอียด พฤติกรรมของลูกค้าได้เช่นกัน แต่กรณีที่องค์กรของคุณมีสินค้าจำนวนมาก และมีการให้บริการลูกค้าหลักร้อยคนต่อวัน การบันทึกให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดต้องมาจาก CRM Software

CRM Software ถูกออกแบบมาให้ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล และมีฟังก์ชันที่ใช้ในการวิเคราะห์พฤติกรรมโดยเฉพาะ ทำให้ง่ายต่อการใช้งาน และเก็บข้อมูลจำนวนมากได้ โดย ​Software นั้นแบ่งเป็นสองประเภท คือ

On Cloud : ใช้การเก็บข้อมูลผ่านระบบ Cloud

On Premise : เป็นการติดตั้งโปรแกรมบนระบบคอมพิวเตอร์ภายในองค์กร

นอกจากนี้แต่ละโปรแกรม ยังมีการออกแบบมาให้เหมาะสมกันตามแต่ละองค์กรด้วย คือ

ส่วนตัว/ทีมขนาดเล็ก : สำหรับใช้ธุรกิจขนาดเล็ก หรือทีมขาย และตลาด

ธุรกิจ SMEs : รองรับการเก็บข้อมูลที่มีขนาดใหญ่ขึ้น

องค์กรขนาดใหญ่ : สำหรับใช้ในองค์กร หรือธุรกิจขนาดใหญ่ 

แนะนำ 5 โปรแกรม CRM Marketing พร้อมเปรียบเทียบข้อมูลให้ตัดสินใจง่ายขึ้น

เมื่อทราบแล้วว่าธุรกิจของคุณอยู่ในระดับไหน ต่อไปนี้คือโปรแกรม CRM Marketing ที่ขอแนะนำ 

1. Zoho CRM

โปรแกรมที่ช่วยในการจัดวางระบบข้อมูลพฤติกรรมของลูกค้า ที่ออกแบบมาให้ตอบโจทย์สำหรับการใช้งานในธุรกิจ SME มีฟีเจอร์​หลากหลายที่ครอบคลุมการทำธุรกิจ แต่มีจุดสังเกตอยู่ตรงที่ความยืดหยุ่นที่ปรับแต่งได้น้อยกว่าโปรแกรมอื่น ๆ และการใช้งานต้องใช้งานผ่านระบบ Cloud เท่านั้น

ราคา : เริ่มต้นที่ประมาณ 515 บาท/เดือน 

2. Freshsales

สำหรับโปรแกรมนี้ออกแบบมาให้รองรับกับการใช้งานในองค์กรที่ขนาดใหญ่ขึ้น หรือตั้งแต่ SMEs ขึ้นไป โดยข้อดีของโปรแกรม Customer Relationship คือ มีการทำงานร่วมกับ Ai ที่ช่วยให้วิเคราะห์พฤติกรรมลูกค้าได้รวดเร็ว และปรับตั้งค่าฟีเจอร์ต่าง ๆ ได้ง่ายสะดวก แต่โปรแกรมอาจใช้เวลาในการสร้างแผนการตลาดค่อนข้างนาน และเครื่องมือในการค้นหากลุ่มเป้าหมายยังมีน้อยเกินไป สำหรับการใช้งานมีเฉพาะระบบ Cloud

ราคา : เริ่มต้นที่ประมาณ 1,435 บาท/เดือน 

3. Cratio

โปรแกรมที่มาพร้อมการปรับแต่งฟีเจอร์ต่าง ๆ ให้ใช้งานได้ง่าย ช่วยให้ทราบถึงความต้องการของลูกค้า และวางแผนในการทำรายได้ให้กับองค์กรได้ตามเป้าหมาย พร้อมวิเคราะห์พฤติกรรมเพื่อส่งมอบประสบการณ์ในการบริการที่ยอดเยี่ยมได้ ตัวโปรแกรมยังรองรับการใช้งานทั้งบนระบบ Cloud และติดตั้งบนอุปกรณ์ได้ แต่เหมาะสำหรับองค์กรขนาดใหญ่ และผู้ที่มีประสบการณ์ในการใช้งานโปรแกรม CRM มาบ้างแล้ว

ราคา : เริ่มต้นที่ประมาณ 1,200 บาท/เดือน 

4. Microsoft Dynamics 365

โปรแกรม CRM ที่พัฒนาโดย Microsoft รองรับการใช้งานทั้งรูปแบบ Cloud และติดตั้งระบบบนอุปกรณ์ จุดเด่นอยู่ที่การเข้าถึงข้อมูลลูกค้าได้รวดเร็ว ง่าย และมีอินเตอร์เฟชที่ใช้งานได้ง่าย มีความยืดหยุ่นในการปรับแต่งให้ตรงกับผู้ใช้งาน แต่การใช้งานอาจยุ่งยากในช่วงแรกทำให้ต้องใช้งบประมาณ และระยะเวลาในการเซ็ตระบบค่อนข้างมาก

ราคา : ขึ้นอยู่กับประเภทและรูปแบบที่เลือกใช้ เริ่มต้นที่ 2,576 บาท/เดือน 

5. Salesforce

โปรแกรมทำ CRM Marketing ที่มีความยืดหยุ่น และความสามารถในการใช้งานที่ครอบคลุม ทั้งการบริหาร การตลาด และเพื่อส่งเสริมการขาย โดยผู้ใช้สามารถปรับแต่งได้ตามความต้องการของธุรกิจ และยังเป็นโปรแกรมที่มีฐานข้อมูลขนาดใหญ่ด้วย ทั้งนี้ราคาของโปรแกรมค่อนข้างสูง และต้องความเข้าใจก่อนใช้งานจริงเพื่อประสิทธิภาพสูงสุดด้วย

ราคา : ขึ้นอยู่กับประเภทและรูปแบบที่เลือกใช้ เริ่มต้นที่ 2,945 บาท/เดือน 

สรุปการทำ CRM Marketing ที่ผู้ประกอบการต้องรู้

นับว่า Customer Relationship คือ ส่วนสำคัญสำหรับการทำธุรกิจที่ต้องการความต่อเนื่องของผลกำไร โดยใช้เทคนิคในการทำให้ลูกค้าเกิดความประทับใจ ซึ่งการได้โปรแกรม CRM เข้ามาใช้งานร่วมด้วยจะยิ่งเพิ่มประสิทธิภาพในการวิเคราะห์ข้อมูล สำรวจพฤติกรรม และวางแผนในการทำการตลาด หรือการให้บริการได้ง่ายยิ่งขึ้น ดังนั้นแล้ว CRM Marketing คือสิ่งที่ขาดไม่ได้ ไม่ว่าธุรกิจของคุณจะมีขนาดใหญ่หรือเล็กก็ตาม 

แนะนำคอร์ส CRM เพื่อประสิทธิภาพสูงสุดเพื่อปรับใช้จริงในธุรกิจของคุณ

แม้ว่าการสร้างความประทับใจให้กับลูกค้า อาจเป็นงานถนัดสำหรับคุณ แต่เพื่อสร้างผลลัพธ์ที่ดีที่สุดของ Customer Relationship การเรียนรู้จากผู้เชี่ยวชาญเป็นอีกวิธีที่จะช่วยให้เข้าใจถึงกระบวนการ และหลักการต่าง ๆ ของระบบ CRM ที่สามารถนำไปใช้จริงในธุรกิจได้ ที่นี่สำคัญคือการได้ศึกษาจาก Case Study ที่ช่วยให้เห็นภาพการทำงานจริง ๆ ของการตลาดแบบ CRM ได้ชัดขึ้น ซึ่งทั้งหมดนี้มีอยู่ในคอร์ส “Customer Relationship Management” จาก eddu

หลักสูตร Customer Relationship Management จะพาคุณไปทำความรู้จักกับความหมาย, Customer Relationship มีอะไรบ้าง,  แนวคิด การทำงาน การคำนวณความพึงพอใจ ตลอดจนแนะนำโปรแกรมที่น่าใช้งานสำหรับ CRM Marketing และในคอร์สนี้ยังมีแบบทดสอบที่ให้คุณได้ลองคิด และวางแผนทำ CRM เพื่อฝึกประสบการณ์ก่อนใช้งานจริงด้วย ที่สำคัญคือจบคอร์สแล้วมี Certificate รับรองให้ด้วย แล้วมาพบกับคอร์ส Digital Marketing ดี ๆ แบบนี้ได้อีกมากมายที่ eddu

CRM คืออะไร ธุรกิจที่ยังไม่โตมากจำเป็นต้องใช้จริงหรือ

เคยสำรวจดูหรือไม่ว่า ธุรกิจของคุณประสบความสำเร็จได้อย่างไร หรือสิ่งไหนที่มีความสำคัญกับการดำเนินธุรกิจของคุณ แน่นอนว่านอกจากเรื่องของโปรดักส์ที่มีคุณภาพ หรือบริการที่ยอดเยี่ยมแล้ว สิ่งสำคัญอีกประการคือการรักษาความสัมพันธ์อันดีระหว่างแบรนด์กับลูกค้านั่นเอง โดยในทางธุรกิจแล้วระบบลูกค้าสัมพันธ์นี้ถูกเรียกว่า CRM ซึ่งก็คือระบบที่ช่วยรักษาความสัมพันธ์อันดีระหว่างแบรนด์ของคุณกับลูกค้าได้ยาวนานยิ่งขึ้น

CRM คืออะไร ทำไมถึงสำคัญกับการทำธุรกิจ

CRM คือคำย่อของ Customer Relationship Management คือการบริหารจัดการความสัมพันธ์กับลูกค้า โดยมีจุดมุ่งหมายคือการทำให้ระดับความพึงพอใจของลูกค้าเพิ่มในระดับสูงสุดจากการมาซื้อสินค้าหรือบริการจากเรา จนเกิดความจงรักภักดีต่อแบรนด์ (Customer Loyalty) ทำให้เกิดการซื้อซ้ำในอนาคต และเป็นการซื้อซ้ำในระยะยาวโดยไม่เปลี่ยนใจไปใช้แบรนด์อื่น ๆ อีกทั้งยังช่วยในการบอกต่อให้กับผู้ที่กำลังมองหาสินค้าหรือบริการที่ตรงกับธุรกิจเราได้เช่นกัน

ในด้านการทำธุรกิจ CRM คือสิ่งที่ช่วยให้เจ้าของแบรนด์ หรือทีมบริหารจัดการในองค์กรได้เข้าใจพฤติกรรมการใช้สินค้า หรือบริการจากลูกค้ามากขึ้น ทำให้เกิดการวางแผนด้านการตลาดในอนาคตได้ง่ายขึ้นด้วย นี่คือสิ่งที่ทำให้การมีลูกค้าสัมพันธ์ หรือให้ความสำคัญกับการวางระบบ CRM เป็นสิ่งสำคัญที่จะสร้างโอกาสเติบโตทางธุรกิจ และสร้างยอดขายในระยะยาวได้

ประโยชน์ของ CRM มีอะไรบ้าง?

เมื่อทราบความหมายกันไปแล้วว่า CRM คืออะไร ลองมาดูประโยชน์ของการให้ความสำคัญกับระบบ Customer Relationship Management กันบ้างดีกว่า โดยประโยชน์หลัก ๆ ของระบบลูกค้าสัมพันธ์มีอยู่ 5 ข้อสำคัญคือ

1. พัฒนาความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้า

ประโยชน์ที่สำคัญที่สุดของการทำ CRM ก็คือเพื่อพัฒนาความสัมพันธ์อันดีระหว่างแบรนด์กับทางลูกค้าทำให้เกิดความภักดีในแบรนด์นั้น และลูกค้าไม่อยากปันใจไปยังแบรนด์อื่น ๆ

2. สร้างยอดขายและรายได้

เมื่อมีการสร้างลูกค้าสัมพันธ์ที่ดีที่สุดกับลูกค้า การบอกต่อ การแนะนำ และการกลับมาซื้อซ้ำก็เป็นไปได้มากขึ้น ทำให้เกิดยอดขาย และรายได้ที่เติบโตมากขึ้น

3. ทำการตลาดได้ง่ายขึ้น

นอกจากลูกค้าได้รับประสบการณ์ที่ดีที่สุดแล้ว ทางแบรนด์เองก็ยังเก็บข้อมูลความต้องการของลูกค้าเอาไว้ด้วย ทำให้วางแผนทำการตลาดง่ายขึ้น

4. ใช้ข้อมูลที่มีเพื่อขายได้ง่ายขึ้น

เมื่อมีข้อมูลจากระบบ Customer Relationship Management ที่มากเพียงพอทางแบรนด์จะสามารถวิเคราะห์ความต้องการ วางแผน และตัดสินใจในการขายสินค้าหรือบริการได้ง่ายขึ้นจากข้อมูลลูกค้าที่มีอยู่

5. ทีมทำงานได้เป็นระบบ

ในองค์กรที่เริ่มเติบโตย่อมมีการทำงานจากหลายทีม ซึ่ง CRM คือ สิ่งที่ช่วยเชื่อมโยงข้อมูลแต่ละฝ่ายเข้ามาเป็นก้อนเดียว ทำให้วิเคราะห์และทำงานร่วมกันระหว่างฝั่งการตลาดกับฝั่งส่งเสริมการขายได้ดียิ่งขึ้น

ธุรกิจแบบไหนถึงต้องใช้ CRM

หลายคนอาจมองว่าการใช้ CRM ประกอบธุรกิจเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับแบรนด์ใหญ่ ๆ หรือธุรกิจขนาดใหญ่ที่เติบโตเร็ว แต่ความเป็นจริงแล้ว ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจแบบ B2B หรือ B2C ที่ทั้งเล็กใหญ่ก็จำเป็นต้องให้ความสำคัญกับระบบลูกค้าสัมพันธ์เช่นเดียวกัน ลองคิดดูว่าหากคุณเปิดร้านอาหารตามสั่งที่มีลูกค้าเข้าวันละไม่น้อยกว่า 50 คน แต่ในทุก ๆ วันคุณสามารถจดจำได้ว่าลูกค้าคนไหนชอบกินอะไร หรือสั่งเผ็ดมากเผ็ดน้อย ไข่ดาวสุกหรือไม่สุก ลองคิดดูว่าลูกค้าจะเกิดความประทับใจในการบริการ และรสชาติอาหารของคุณมากขนาดไหน ซึ่งนี่คือหนึ่งในตัวอย่างเล็ก ๆ ของ CRM

อยากเริ่มต้นใช้ CRM ทำได้อย่างไร

เมื่อ CRM คือสิ่งที่ขาดไม่ได้ แล้วเราจะเริ่มต้นใช้งานมันได้อย่างไร? ปัจจุบันการใช้งาน CRM สามารถปรับเปลี่ยนไปได้ตามรูปแบบของธุรกิจ รวมทั้งขนาดของธุรกิจและฐานลูกค้า เนื่องจากระบบนี้คือสิ่งที่อิงจากระบบลูกค้าสัมพันธ์โดยตรงทำให้ต้องประเมินดูว่าคุณควรใช้ CRM ในระดับไหน เช่นธุรกิจขนาดเล็กเพิ่งเริ่มต้นก็สามารถใช้การจดบันทึกอย่างง่าย ๆ บนกระดาษ สมุดโน้ต ไปจนถึงการใช้แอปพลิเคชันบนมือถือ ส่วนถ้าธุรกิจเริ่มเติบโต และมีฐานลูกค้าขนาดใหญ่ การทำ CRM บน Software คอมพิวเตอร์จะช่วยให้ทำงานได้ง่าย และมีโอกาสคลาดเคลื่อนน้อยลง

อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าสุดท้ายแล้วคุณจะเริ่มต้นใช้ CRM ด้วยเครื่องมือชนิดใดก่อนก็ตาม แต่ขอให้นึกไว้เสมอเลยว่าประโยชน์ของการทำ CRM ที่คุณจะได้รับคือสิ่งเหล่านี้

·  ประสิทธิภาพในการบริหารความสัมพันธ์ของแบรนด์กับลูกค้า

·  เพิ่ม Customer Engagement ให้กับแบรนด์

·  เพิ่มมูลค่าตลอดชีวิตของลูกค้า

·  เพิ่มการขับเคลื่อนและเติบโตให้กับธุรกิจ

เรียกว่า CRM คือสิ่งที่มีประโยชน์ และให้ความสำคัญสำหรับคนทำธุรกิจไม่น้อยเลยทีเดียว อีกทั้งยังเป็นส่วนสำคัญที่ลงทุนทำครั้งเดียว แต่ได้ประโยชน์ในระยะยาวอีกด้วย

แล้วธุรกิจของคุณละ ทำ CRM แล้วหรือยัง?

เมื่อทราบเรื่องของ CRM คืออะไรกันไปแล้ว ลองสำรวจดูสิว่าธุรกิจของคุณใช้ CRM ควบคู่กับการทำธุรกิจแล้วหรือยัง? และคุณเองมีความรู้ความเข้าใจในการทำ CRM มากน้อยขนาดไหน ถ้าทุกอย่างดูจะเป็นเรื่องยาก ไม่เป็นไร เพราะในคอร์สเรียน Customer Relationship Management จาก EDDU คุณจะได้เรียนรู้แบบเจาะลึกตั้งแต่ความหมายของ CRM ความสำคัญ ประโยชน์ที่จะได้ ไปจนถึงเครื่องมือ และ Software ที่คุณจะใช้ในการทำ CRM ที่เรียกได้ว่าให้คุณเข้าใจถึงแก่นแท้ของระบบนี้ จนสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในธุรกิจของคุณได้ทันทีที่จบหลักสูตร

เรียนแล้วได้อะไรบ้าง ?

ในหลักสูตร Customer Relationship Management ไม่เพียงแค่การรู้จักความหมาย หรือวิธีทำด้วยเครื่องมือต่าง ๆ เท่านั้น แต่ยังได้เรียนรู้จาก Case Study ที่อิงมาจากองค์กรระดับโลก พร้อมถอดบทเรียนว่าทำไมการทำ CRM ถึงทำให้แบรนด์เหล่านั้นประสบความสำเร็จได้ และหลังจากจบคอร์สยังมีแบบทดสอบที่ชวนให้ผู้เรียนได้ลองลงมือทำจริงเพื่อทดสอบความรู้ที่ได้เรียนมาก่อนนำไปใช้จริง ที่สำคัญคือหลังจบคอร์สยังได้ Certificate อีกด้วย หลักสูตรดี ๆ แบบนี้มาเรียนได้กันที่ eddu

เครื่องมือทำการตลาดในปัจจุบันมีให้เลือกใช้กันมากมายตามความถนัด และรูปแบบของแต่ละธุรกิจ แต่ละองค์กร ซึ่งเรามักทราบกันดีว่าเครื่องมือการตลาดที่ต้องมีสำหรับการทำตลาดออนไลน์คือ เครื่องมืออย่าง Google Ads หรือเครื่องมือ Analytics ต่าง ๆ แต่รู้หรือไม่ว่ามีอีกหนึ่งเครื่องมือที่จะช่วยเพิ่มโอกาสเติบโตให้กับธุรกิจได้ง่าย และยั่งยืน ซึ่งก็คือ ระบบ CRM นั่นเอง 

 CRM Marketing คืออะไร

ระบบ CRM ย่อมาจาก Customer Relationship Management หรือแปลง่าย ๆ ก็คือระบบที่ช่วยบริหารจัดการความสัมพันธ์ระหว่างธุรกิจกับลูกค้า ที่หลายคนเข้าใจในชื่อของระบบลูกค้าสัมพันธ์ โดยระบบนี้มีจุดเด่นอยู่ตรงที่ ผู้ประกอบการสามารถเก็บสถิติ ข้อมูล พฤติกรรมของลูกค้าเอาไว้ได้ เพื่อนำมาใช้ในการวางกลยุทธ์สำหรับทำการตลาด และสร้างประสบการณ์ที่ยอดเยี่ยมที่สุดให้กับลูกค้า เพื่อนำไปสู่การซื้อซ้ำ และการบอกต่อ 

รูปแบบของการทำ CRM Marketing

สำหรับรูปแบบของการทำ CRM Marketing คือการรวบรวมข้อมูลของลูกค้า พฤติกรรมต่าง ๆ เพื่อมาวิเคราะห์ โดยรูปแบบในการทำสามารถยืดหยุ่น ปรับเปลี่ยนได้ตามรูปแบบ และขนาดของธุรกิจที่ต้องการทำระบบ CRM

ยกตัวอย่างเช่น นาย A ซื้อสินค้าที่ร้านนาย B เป็นครั้งแรก และในครั้งนั้นมีการบันทึกข้อมูลลูกค้า (นาย A) เอาไว้ หลังจากนั้นไม่นาน นาย A กลับมาซื้อสินค้าที่ร้านนาย B อีกครั้ง แต่คราวนี้นาย A ไม่ต้องคอยเดินหาสินค้าเอง เพราะนาย B ได้แนะนำจุดวางสินค้า พร้อมโปรโมชั่นให้ทราบในทันที ทำให้เกิดความประทับใจในการใช้บริการและเกิดการซื้อซ้ำอยู่เรื่อย ๆ ซึ่งถ้าทำได้กับลูกค้า 100-1000 คน ก็มีโอกาสเติบโตในระยะยาวได้

อีกหนึ่งตัวอย่างของการทำ CRM Marketing ที่น่าสนใจคือ Amazon กับธุรกิจ E-Commerce ขนาดใหญ่ ซึ่งมีลูกค้าที่กลับมาซื้อสินค้าซ้ำเป็นประจำ นั่นเป็นเพราะการตลาดแบบลูกค้าสัมพันธ์ที่ทุกครั้งเมื่อมีการซื้อสินค้าเกิดขึ้น ระบบจะทำการเก็บข้อมูลประวัติการซื้อ ความชอบ และพฤติกรรมการเลือกซื้อสินค้าเอาไว้ ทำให้ทาง Amazon นำข้อมูลเหล่านั้นมาวิเคราะห์ และนำเสนอสินค้ารวมทั้งโปรโมชันให้กับลูกค้าได้ตรงจุด ทั้งยังได้ประสบการณ์ที่ดีที่สุดแก้ลูกค้า จนเกิดความไว้วางใจและกลับมาซื้อซ้ำในที่สุด 

ทำการตลาดผ่านโปรแกรม CRM ช่วยเพิ่มโอกาสเติบโตทางธุรกิจ

เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการทำระบบ CRM การทำงานร่วมกับโปรแกรมที่ออกแบบมาสำหรับแคมเปญทางธุรกิจโดยเฉพาะ จะช่วยให้ทำงานได้ง่าย วิเคราะห์การตลาด จัดทำโปรโมชัน ได้ตรงกับความต้องการของผู้บริโภคได้มากยิ่งขึ้น ซึ่งประโยชน์ของการใช้โปรแกรม CRM คือ 

1. เป็นศูนย์กลางในการเข้าถึงข้อมูล

โปรแกรม CRM ส่วนใหญ่ออกแบบมาให้มีหน้าที่จัดเก็บ และจัดระเบียบข้อมูลของลูกค้า รวมไปถึงข้อมูลของการติดต่อในช่องทางต่าง ๆ ตลอดจนความคิดเห็นของลูกค้า เพื่อนำมาใช้ในการปรับปรุง และออกแบบกิจกรรมส่งเสริมการขายได้ง่ายขึ้น ซึ่งข้อมูลเชิงลึกที่ได้ยังช่วยให้ทีมการตลาด ฝ่ายขาย ฝ่ายลูกค้าสัมพันธ์ ทำงานร่วมกันได้สะดวกสบายขึ้นด้วย 

2. ช่วยจัดแบ่งหมวดหมู่ของกลุ่มเป้าหมาย

ระบบ CRM ทำให้การแบ่งสัดส่วนของลูกค้า และกลุ่มเป้าหมายได้ง่ายยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มลูกค้าที่ทำงานบริษัท กลุ่มลูกค้าที่ทำธุรกิจส่วนตัว หรือกลุ่มลูกค้าที่ประกอบอาชีพอิสระ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ช่วยให้การนำเสนอโปรโมชัน หรือกิจกรรมส่งเสริมการขายถูกส่งตรงไปยังกลุ่มเป้าหมายได้อย่างแม่นยำ 

3. ช่วยนำเสนอโปรโมชันสินค้าได้แบบรายบุคคล

โปรแกรม CRM ในระดับมืออาชีพจะช่วยให้นักการตลาด สามารถเข้าถึงข้อมูลแบบรายบุคคลได้อย่างง่ายดาย ไม่ว่าจะเป็นพฤติกรรมในการเลือกซื้อสินค้า ความชอบส่วนบุคคล ไปจนถึงความคิดเห็นในการใช้บริการ และการซื้อสินค้า ทำให้การนำเสนอสินค้าหรือโปรโมชัน สามารถนำส่งได้แบบรายบุคคลเพื่อให้ผู้รับข้อมูลเกิดความรู้สึกเป็นกันเอง ใส่ใจ ของผู้ให้บริการได้ 

4. เสริมความแข็งแรงให้การตลาดบนโซเชียลมีเดีย

ข้อดีอีกอย่างของระบบ CRM Marketing คือ มีการเชื่อมต่อกับแพลตฟอร์มบนโซเชียลมีเดียอย่าง Facebook, Instagram, Tiktok และอีกมากมายได้โดยสะดวกรวดเร็ว ช่วยให้แบรนด์สามารถโต้ตอบกับทางลูกค้าได้ทุกที่ทุกเวลา ทำให้เกิดความมั่นใจในแบรนด์มากขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยให้ฝ่ายการตลาดวิเคราะห์ และปรับแต่งแคมเปญทางการตลาดเพื่อนำเสนอกลุ่มลูกค้าได้แบบเฉพาะเจาะจง ตรงกับกลุ่มเป้าหมายได้ง่ายด้วย 

5. ช่วยในการทดสอบ ติดตาม และปรับปรุง แคมเปญทางการตลาด

ระบบ CRM มีผลโดยตรงต่อการสร้างลูกค้าสัมพันธ์ และฝ่ายการตลาดเองก็ยังนำข้อมูลที่ได้มาใช้ประมวลผลหลังจากที่ได้จัดแคมเปญด้านการตลาดไปแล้ว ไม่ว่าจะเป็นความคิดเห็น ความชอบ พฤติกรรมการของลูกค้า ทำให้สามารถนำมาปรับปรุงเพื่อให้ตรงจุดประสงค์ได้อย่างรวดเร็ว อีกทั้งยังช่วยบริหารจัดการงบประมาณทางการตลาดได้ง่ายขึ้นด้วย 

6. ยืดหยุ่นในการทำงาน แม้ธุรกิจเติบโตแบบก้าวกระโดด

เมื่อใช้ CRM Marketing ในการบริหารจัดการธุรกิจแล้ว หากได้ผลตอบรับที่ดี มีผลลัพธ์ที่ช่วยให้ธุรกิจเติบโตอย่างก้าวกระโดด ก็ยังสามารถปรับเปลี่ยนฟังก์ชัน และรูปแบบในการใช้งานให้ตรงกับขนาดของธุรกิจได้อีกด้วย โดยระบบ CRM ส่วนใหญ่แล้วออกแบบมาให้รองรับกับการใช้งานสำหรับธุรกิจในระดับเริ่มต้น ไปจนถึงธุรกิจขนาดใหญ่ การใช้งานโปรแกรม CRM จึงมีข้อดีในเรื่องของความต่อเนื่องในการใช้งานโดยไม่ต้องปรับเปลี่ยนโปรแกรมที่ต้องทำความเข้าใจใหม่ 

เติบโตแบบก้าวกระโดด ด้วย โปรแกรม CRM ที่คุณเองก็ทำได้

ทุกจุดหมายของการทำธุรกิจและการลงทุนก็เพื่อผลกำไรที่งอกเงย และเติบโตอย่างต่อเนื่อง การทำงานที่ใช้โปรแกรม CRM จึงเปรียบเสมือนทางลัดที่ทำให้เดินทางสู่จุดหมายได้ง่ายยิ่งขึ้น ยิ่งทำความเข้าใจในพฤติกรรมของลูกค้าได้มากเท่าไรยิ่งมีโอกาสปิดการขายได้ง่ายขึ้นเท่านั้น ระบบ CRM ถูกออกแบบมาเพื่อช่วยในด้านนี้โดยเฉพาะ ดังนั้นแล้วการลงทุนใน CRM Marketing จึงเป็นอีกการลงทุนที่คุ้มค่า และให้ผลลัพธ์ที่ยอดเยี่ยม 

เรียนรู้ระบบ CRM ให้มากขึ้นจากหลังสูตร Customer Relationship Management

เพื่อเข้าจึงความหมาย ประเภทของ CRM และการสรุปผลลัพธ์จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องมีก่อนเริ่มใช้งาน ซึ่งในหลักสูตร Customer Relationship Management ของ EDDU ได้รวบรวมเนื้อหา และรายละเอียดของ CRM คอร์สนี้ยังได้เรียนรู้วิธีคิดของการทำ CRM จาก Case Study ของแบรนด์ระดับโลกมากมายที่ให้แนวความคิด ระบบ CRM กลับไปใช้กับธุรกิจของคุณได้อีกด้วย นอกจากเนื้อหาแล้วยังมีแบบทดสอบให้ได้ลงมือคิด และวางแผนเพื่อทดสอบองค์ความรู้ด้วย เมื่อเรียนจบจะได้รับ Certificate เพื่อการันตีว่าคุณรู้จัก และเข้าใจการทำ CRM Marketing เป็นที่เรียบร้อย แล้วมาพบกันที่ eddu

ใครที่กำลังทำธุรกิจ หรือลงทุนในธุรกิจใดอยู่ เคยสงสัยหรือไม่ว่าสินค้าของคุณทำไมถึงยังขายได้ไม่ตามเป้า ทั้งที่เริ่มต้นทำก่อนใคร แต่ทำไมแบรนด์หรือธุรกิจของคุณกลับยังไม่เปรี้ยงปังอย่างที่คิดไว้ ซึ่งเรื่องนี้ปัญหาอาจไม่ได้อยู่ที่ตัวสินค้า แต่มันอาจมีผลจาก Business Model ของคุณเองก็เป็นได้ 

Business Model คืออะไร?

โมเดลธุรกิจ หรือ Business Model คือแผนหรือกลยุทธ์บางอย่างที่ช่วยสร้างรายได้และให้ผลกำไรได้ตามเป้าหมาย ซึ่งก็คือการวางแผน นำเสนอผลิตภัณฑ์หรือบริการ โดยผ่านการวิเคราะห์ปัญหา กำหนดกลุ่มเป้าหมายและวิธีการที่จะทำให้กลุ่มเป้าหมายเข้าถึงสินค้าจนสามารถขายได้ ซึ่งโมเดลธุรกิจนั้นยังรวมถึงการคำนวณต้นทุน รายได้ และกำไร หรือพูดง่าย ๆ ก็คือต้นแบบในการดำเนินกิจการในองค์กรหรือบริษัทนั่นเอง 

ทำไม Business Model ถึงสำคัญ

อย่างที่ได้กล่าวมาตอนต้นว่าสินค้าดี ทำก่อน แต่ทำไมถึงยังไม่ได้ยอดขายตามเป้า นั่นก็เพราะโมเดลธุรกิจขององค์กรหรือบริษัทอาจยังไม่ชัดพอ หรือยังออกแบบมาได้ไม่ตรงกับกลุ่มเป้าหมาย เพราะ Business Model ที่ดีจะช่วยให้เกิดการทำงานที่ช่วยสร้างรายได้เข้าองค์กร ลูกค้ากลุ่มเป้าหมายมีการซื้อซ้ำ สามารถวิเคราะห์คู่แข่ง สร้างกลยุทธ์ทางการตลาดเพื่อกุมความได้เปรียบสำหรับการแข่งขันในท้องตลาดได้ และที่สำคัญคือช่วยจัดการต้นทุน คาดการณ์รายได้เพื่อจัดสรรงบประมาณได้อย่างเหมาะสมนั่นเอง 

Business Model แบบไหนถึงน่าสนใจ

ถึงตรงนี้หลายคนคงเริ่มที่จะย้อนกลับไปมองโมเดลธุรกิจของตัวเองกันบ้างแล้วว่ามีจุดบกพร่องตรงไหน หรือมีด้านไหนที่ยังต้องแก้ไขบ้าง ซึ่งหากจะให้บอกว่าโมเดลธุรกิจแบบไหนถึงจะน่าสนใจ ประเด็นอาจจะต้องมองว่าธุรกิจของคุณคืออะไร และกลุ่มเป้าหมายเป็นใคร แล้วค่อยวิเคราะห์ดูว่าจุดไหนในโมเดลของคุณขาดหายไปบ้าง ซึ่งในเรื่องนี้เราขอยก Business Model จากองค์กรระดับโลกที่หลายคนรู้จักกันดีอย่าง Walmart มาแนะนำกัน

อย่างที่ทราบกันดีว่า Walmart คือหนึ่งในร้านค้าปลีกขนาดใหญ่ในอเมริกาและอีกหลายประเทศทั่วโลก ที่แม้ว่าช่วงหนึ่งเขาจะสร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำจากการจำหน่ายสินค้าในครัวเรือนด้วยราคาถูกที่สุดได้จนหลาย ๆ คนยกให้เป็นต้นแบบของโมเดลธุรกิจที่น่าสนใจ กระทั่งการมาของธุรกิจ E-Commerce ที่ทำให้พฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยน หลายคนเริ่มซื้อของออนไลน์ที่ได้ทั้งราคาถูกและสะดวกด้วยการไม่ต้องเดินทาง ซึ่งแน่นอนว่าช่วงแรก Walmart เองก็เริ่มมียอดขายที่ลดลง

เมื่อ Walmart ได้กลับมาทบทวนถึงโมเดลธุรกิจ และทำให้เกิดการ Reinventing โมเดล หรือ พลิกโฉม Business Model ขึ้น ซึ่งจุดแข็งของพวกเขาก็คือการเป็นร้านค้าปลีกขนาดใหญ่ที่มีการสต๊อกสินค้าหลักล้านชิ้น ทำให้ Walmart แตกยอดธุรกิจตัวใหม่ออกมาคือ Fulfillment Services ซึ่งก็เป็นโมเดลธุรกิจที่ช่วยจัดการเรื่องสต๊อกและจัดส่งสินค้าจำนวนมากให้กับเหล่าร้านค้าออนไลน์สามารถบริหารจัดการได้ง่ายขึ้น เป็นโมเดลธุรกิจที่ win-win กันทั้งสองฝ่าย ซึ่งดูแล้วทาง Walmart น่าจะได้ประโยชน์ในเรื่องนี้ไปแบบเต็ม ๆ เลยทีเดียว

จากโมเดลธุรกิจตัวอย่างของ Walmart ที่เราบอกเล่ากันไป จะเห็นได้ว่าการวิเคราะห์และจุดอ่อนจุดแข็ง และมองหาโอกาสใหม่ ๆ จาก Business Model เดิมที่มีอยู่เป็นสิ่งสำคัญมากทีเดียว ซึ่งนี่เองที่ทำให้การ Reinventing โมเดล มีความสำคัญเป็นอย่างมากสำหรับการดำเนินธุรกิจให้เป็นไปตามเป้าหมาย และสร้างผลกำไรให้กับองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วย 

Business Model มีกี่รูปแบบ?

ก่อนที่จะไปทำการ Reinventing โมเดล ก็ต้องทำความเข้าใจกับรูปแบบของโมเดลธุรกิจกันก่อน ซึ่งรูปแบบของโมเดลธุรกิจนั้นมีอยู่ 6 รูปแบบด้วยกัน คือ

Long Tail (โมเดลธุรกิจแบบหางยาว)  

โมเดลธุรกิจที่เน้นการขายสินค้าหลักไม่กี่ชิ้น แต่จะสร้างรายได้เพิ่มจากการขายสินค้าที่มีความหลากหลาย ซึ่งเป็นสินค้าที่สอดคล้องกับการใช้งานสินค้าหลัก และสามารถขายได้ในระยะยาวเกิดการซื้อซ้ำ โดยมีปริมาณยอดขายที่เทียบเท่าได้กับการขายสินค้าชิ้นหลัก

Multi Sided (โมเดลธุรกิจแบบระบบลูกค้าหลายด้าน)  

เป็นการขายสินค้าที่มีลูกค้าจากหลายกลุ่มมารวมกัน จนเกิดเป็นการพึ่งพาอาศัยและสร้างคุณค่าระหว่างกัน และทำให้เกิดกลุ่มลูกค้าใหม่ ๆ เพิ่มขึ้นจนสร้างยอดขายได้มากขึ้น

Free as (โมเดลธุรกิจแบบฟรี)  

Business Model ที่จะมีลูกค้ากลุ่มหนึ่งที่ได้ใช้สินค้าหรือบริการแบบไม่เสียค่าใช้จ่าย โดยมีรายละเอียดและเงื่อนไขแตกต่างกันไปตามรูปแบบธุรกิจ ซึ่งผลลัพธ์ของโมเดลธุรกิจฟรีแบบนี้จะมีทั้งการกลับมาซื้อซ้ำแบบเสียค่าใช้จ่าย การเปลี่ยนจากใช้ฟรีมาเป็นการจ่ายเงินเพื่อรับประสบการณ์ในการใช้งานที่ดีกว่า เป็นต้น

Unbundling (โมเดลธุรกิจแบบแยกส่วน)  

เป็นการทำธุรกิจที่แยกส่วนธุรกิจที่ทำได้ดีที่สุดหรือได้ผลกำไรมากที่สุดออกมาจากโมเดลธุรกิจเดิม เพื่อเพิ่มโอกาสในการแข่งขันที่เหนือกว่า และตรงจุดประสงค์กับกลุ่มเป้าหมายมากกว่า โดยมีเงื่อนไขว่าธุรกิจที่แยกส่วนออกมาจะต้องมีการเตรียมพร้อมมาอย่างดีและเป็นธุรกิจที่บริหารจัดการได้ดีจริง ๆ เท่านั้น

Subscription (โมเดลธุรกิจแบบสมาชิก) 

โมเดลธุรกิจที่เปลี่ยนจากพฤติกรรมการซื้อด้วยเงินก้อนใหญ่ มาเป็นพฤติกรรมของการสมัครสมาชิกที่จ่ายรายเดือนหรือรายปีในจำนวนที่ถูกกว่าการซื้อทีเดียว แต่เมื่อมองภาพรวมในระยะยาวแล้ว จะช่วยสร้างรายได้ที่ต่อเนื่องและมีโอกาสเพิ่มจำนวนลูกค้าได้มากกว่าการขายขาดเพียงครั้งเดียว

Open Business Model (โมเดลธุรกิจแบบเปิด)  

โมเดลธุรกิจที่เน้นการขายแนวคิด การขายสินค้าที่มีความเฉพาะเพื่อให้ผู้ซื้อสามารถนำไปต่อยอดทำกำไรได้ ซึ่งตัวผู้ขายเองก็สามารถทำเงินทำกำไรจากการขายได้เป็นจำนวนมาก และมีโอกาสขายได้ต่อเนื่องในระยะยาว 

เพิ่มประสิทธิภาพในการ Reinventing โมเดล ด้วย Business Model Canvas

เมื่อทราบถึงโมเดลธุรกิจรูปแบบต่าง ๆ แล้ว เชื่อว่าหลายคนคงจะเริ่มมองเห็นภาพมากขึ้นแล้วว่า จะทำการพลิกโฉมโมเดลธุรกิจของตัวเองแบบไหน หรือเสริมในจุดไหน แต่เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการ Reinventing โมเดล ก็ต้องมีเครื่องมือดี ๆ ในการวางแผนธุรกิจและสร้าง Business Model ให้เกิดผลกำไรได้ตามเป้าหมาย ซึ่งเครื่องมือที่ดีที่สุดก็คือ Business Model Canvas

Business Model Canvas คืออะไร?

Business Model Canvas คือเครื่องมือที่ช่วยออกแบบโมเดลธุรกิจได้ง่ายขึ้นโดยผ่านปัจจัย 9 ด้านที่มีการออกแบบมาแล้วว่าครอบคลุมทุกส่วนสำคัญของการทำธุรกิจ ซึ่งเครื่องมือชนิดนี้จะมีลักษณะเป็นช่อง 9 ช่องที่แต่ละช่องก็เป็นหัวข้อสำคัญที่จะช่วยอธิบายการดำเนินธุรกิจให้เห็นภาพได้มากขึ้น และช่วยให้มองเห็นจุดแข็งจุดอ่อนของธุรกิจได้ชัดเจน ซึ่งก็จะช่วยให้สามารถ Reinventing โมเดล ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เพิ่มโอกาสที่จะประสบความสำเร็จในการต่อยอดธุรกิจรวมทั้งการสร้างโมเดลธุรกิจใหม่ได้เป็นไปตามเป้าหมายมากยิ่งขึ้น

ทั้งนี้เพื่อให้เข้าใจถึงการเขียนโมเดลธุรกิจได้ดีที่สุด และสามารถวางแผนในการ Reinventing โมเดล ได้ตรงจุดประสงค์ เกิดประสิทธิภาพสูงสุด การลงเรียนในหลักสูตรที่สอนโดยผู้เชี่ยวชาญและนักธุรกิจที่มีประสบการณ์จะช่วยให้คุณเข้าใจ และเห็นภาพของการสร้าง Business Model ได้อย่างชัดเจนมากขึ้น อย่างเช่นหลักสูตรReinventing Business Model ที่ Eddu 

หลักสูตร Reinventing Business Model เสริมความเข้าใจในการสร้างโมเดลธุรกิจ จาก Eddu

เรื่องธุรกิจเป็นเรื่องที่ยิ่งรู้ยิ่งเข้าใจ ยิ่งเพิ่มโอกาสในการประสบความสำเร็จได้มากขึ้น หลักสูตร Reinventing Business Model คือหลักสูตรที่ออกแบบมาเพื่อให้ผู้ที่เริ่มต้นทำธุรกิจแล้วและกำลังต้องการ Reinventing โมเดล หรือสร้าง Business Model ได้ตรงกับความต้องการมากยิ่งขึ้น เพื่อเพิ่มโอกาสในการสร้างผลกำไร เพิ่มยอดขาย และสามารถทำธุรกิจได้ตรงกับกลุ่มเป้าหมายมากขึ้น นอกจากนี้หลักสูตร Reinventing Business Model ยังนำเสนอตัวอย่าง Business Model Canvas ที่น่าสนใจเพื่อให้ผู้เรียนได้เข้าใจ และสามารถเขียนโมเดลธุรกิจของตัวเองได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วย แล้วมาพบกันได้ที่ eddu 

สำหรับผู้ประกอบการหรือเจ้าของธุรกิจ เคยสงสัยกันไหมว่า ทำไมเจ้าของธุรกิจบางคนแม้ว่าจะประสบความสำเร็จกับการทำธุรกิจบางชนิดมาแล้ว แต่ก็ยังประสบความสำเร็จกับธุรกิจรูปแบบใหม่ที่คล้าย ๆ เดิมได้อีก ซึ่งเราเชื่อว่าหลายท่านสนใจ และอยากที่จะประสบความสำเร็จบ้างอย่างแน่นอน โดยกุญแจสำคัญสู่ความสำเร็จของนักธุรกิจเหล่านี้ก็คือการ Reinventing โมเดล หรือการพลิกโฉมโมเดลธุรกิจนั่นเอง 

Reinventing Business Model คืออะไร?

เชื่อว่าผู้ที่ประกอบธุรกิจส่วนตัว หรือเป็นเจ้าของธุรกิจคงจะทราบกันดีว่า ในช่วงแรกของการทำธุรกิจจะต้องเขียน Business Model กันมาบ้างแล้ว ซึ่งสิ่งนี้ก็คือแผนธุรกิจที่จะบอกได้ว่า ธุรกิจของคุณคืออะไร เป้าหมายเป็นใคร และอะไรคือตัววัดผลให้กับธุรกิจนั้น ๆ

Reinventing โมเดล หรือ Reinventing Business Model นี้ก็คล้ายกับการเขียนแผนธุรกิจ แต่จะเป็นการเขียนโมเดลธุรกิจแบบใหม่ขึ้นมาโดยใช้เครื่องมือที่เรียกว่า Business Model Canvas ในการเขียน ซึ่งจะช่วยให้คุณสามารถกำหนดทิศทางของธุรกิจได้ง่ายขึ้น เห็นภาพมากขึ้น และชัดเจนขึ้น 

ตัวอย่างของการ Reinventing Business Model

ปัจจุบันมีหลายแบรนด์หลายธุรกิจที่คนทั่วโลกรู้จักกันดีในหลายยุคหลายสมัย แต่แบรนด์เหล่านั้นก็ยังคงมีอยู่ แถมยังเป็นอันดับต้น ๆ ในธุรกิจหลักของตัวเอง ต่างจากแบรนด์คู่แข่งที่แม้ว่าในอดีตอาจเคยแข่งขันทำผลกำไรตีคู่กันมา แต่ปัจจุบันกลับต้องยกธงขาวยอมแพ้ในเส้นทางธุรกิจนั้น ๆ ไปเสียแล้ว ซึ่งนี่คือประโยชน์ของการพลิกโฉม Business Model โดยอิงกับยุคสมัยมากที่สุดเพื่อความอยู่รอด 

สำหรับตัวอย่างของแบรนด์ที่ Reinventing โมเดล ได้อย่างน่าสนใจในปัจจุบันที่ขอพูดถึงก็คือ Fujifilm แบรนด์ที่ประสบความสำเร็จมากมายในอดีต ย้อนกลับไปในสมัยที่การถ่ายรูปยังต้องพึ่งพาม้วนฟิล์ม ยุคนั้นคงไม่มีใครไม่รู้จัก Kodak และ Fujifilm สองแบรนด์ผู้ผลิตฟิล์มถ่ายรูปที่เรียกได้ว่าแย่งส่วนแบ่งทางการตลาดมาโดยตลอด 

แต่เมื่อการมาถึงของกล้องดิจิตอลได้เริ่มต้นขึ้น ยอดขายของฟิล์มถ่ายรูปก็ลดลงตามมา ซึ่งจุดนี้เองที่ทำให้ Fujifilm ทำการ พลิกโฉมโมเดลธุรกิจ หรือ Reinventing โมเดล ของตัวเองใหม่โดยยังอยู่บนพื้นฐานความถนัดของตัวเอง ด้วยการทำกล้องถ่ายรูปดิจิตอลออกขายพร้อมกับใส่ฟังก์ชันของการแปลงสีภาพถ่ายให้เหมือนกับถ่ายจากฟิล์มสีของฟูจิได้ทันทีโดยไม่ต้องไปแต่งภาพต่อ

นี่เองที่ทำให้ Fujifilm ยังคงไปต่อได้ในชื่อของแบรนด์ฟิล์มและกล้องถ่ายรูป อีกทั้งปัจจุบันก็ยังต่อยอดธุรกิจภาพถ่ายด้วยการนำเสนอโซลูชันใหม่ของการพิมพ์ภาพที่ผู้สั่งพิมพ์สามารถดีไซน์รูปแบบ และขนาดได้อย่างมีอิสระ รวมทั้งไม่มีขั้นต่ำในการผลิตในคอนเซปต์ที่ว่า “Photo Never Die” ซึ่งนี่คือตัวอย่างของการพลิกโฉมโมเดลธุรกิจที่น่าสนใจ และควรนำเอาไปใช้เป็นกรณีศึกษาเป็นอย่างมาก 

Business Model Canvas เครื่องมือสำคัญของการ Reinventing โมเดล

มาถึงตรงนี้หลายท่านคงเริ่มสนใจกับการ Reinventing โมเดล ของตัวเองกันบ้างแล้ว แต่ไม่ใช่เพียงแค่แนวคิด หรือรูปแบบของโมเดลธุรกิจใหม่เท่านั้นสำคัญ เพราะเครื่องมือที่ใช้ในการพลิกโฉมโมเดลธุรกิจก็สำคัญไม่แพ้กัน ซึ่งเครื่องมือชิ้นสำคัญของการ Reinventing ก็คือ Business Model Canvas นั่นเอง 

ส่วนประกอบของ Business Model Canvas

Business Model Canvas คือแผ่นกระดาษหนึ่งใบที่ภายในนั้นประกอบไปด้วยช่องตาราง 9 ช่อง ซึ่งแต่ละช่องนั้นประกอบไปด้วย

Customer Segment :  คือกลุ่มเป้าหมายของธุรกิจ โดยกลุ่มเป้าหมายที่จะเขียนลงไปไม่จำเป็นต้องมีแค่กลุ่มเดียว

Value Propositions : คือจุดแข็งของสินค้า หรือบริการของเรา

Customer Segment : คือการบริหารด้านความสัมพันธ์กับลูกค้า

Channels : คือช่องทางการขาย หรือส่งมอบสินค้า และบริการให้กับลูกค้า

Revenue Streams : คือช่องทางในการทำรายได้ หรือสร้างได้ให้กับสินค้า และบริการ

Key Activities : คือกระบวนการหรือสิ่งที่ต้องทำเพื่อให้เกิดรายได้ตั้งแต่เริ่มต้น ไปจนถึงการจัดจำหน่าย

Key Partners : คือพันธมิตร หรือคู่ค้าทางธุรกิจที่มีอยู่

Key Resource : คือทรัพยากรที่ต้องใช้ในการสร้างรายได้

Cost Structure : คือค่าใช้จ่ายทั้งหมด ทั้ง Fix และ Variable

การใช้งาน Business Model Canvas

เมื่อทราบส่วนต่าง ๆ แล้วว่าในแต่ละช่องมีความหมายว่าอะไร และใช้เพื่อเขียนแผนธุรกิจแบบไหน ในขั้นตอนของการใช้งานนั้นเพียงแค่ระบุในแต่ละช่องลงไปเท่านั้น ว่าจุดแข็งในด้านต่าง ๆ ของธุรกิจคุณมีอะไรบ้าง ในที่นี้เราจะขอยกตัวอย่างจาก Fujifilm แบบเบื้องต้นให้พอมองเห็นภาพกัน โดยแบบแรกจะเป็นโมเดลธุรกิจในยุคแรกของแบรนด์ที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับการผลิตฟิล์ม

แต่แล้วเมื่อยุคเปลี่ยนผ่านของภาพถ่ายมาถึงทาง Fujifilm ก็ได้ทำการ Reinventing โมเดล โดยประเมินก่อนว่าจุดแข็งด้านไหนของตัวเองบ้างที่ยังคงเก็บไว้ แล้วนำไปต่อยอดพัฒนาธุรกิจให้เข้ากับยุคสมัย และเป็นจุดขาย ซึ่งก็คือ Value Propositions, Customer Segment, Channels, Key Activities และ Key Resource 

โดยจุดแข็งเหล่านี้ถือว่าเป็นสิ่งที่ Fujifilm ทำได้ดีมาโดยตลอด และเป็นที่จดจำของลูกค้า ทำให้พวกเขาปรับจากการขายแค่ฟิล์มมาขายกล้องถ่ายภาพใหม่ โดยชูจุดเด่นคือถ่ายภาพได้โทนสีฟิล์มทุกรูปแบบไม่ต้องเสียค่าล้างและสแกนฟิล์ม ซึ่งปัจจุบันก็ยังไม่มีแบรนด์กล้องถ่ายรูปแบรนด์ไหนที่มีโหมดฟิล์มสีสวยให้เลือกใช้ได้มากเท่ากับฟูจิฟิล์มเลยทีเดียว 

ข้อดีของการใช้ Business Model Canvas

เรียกว่ากระดาษที่มีช่อง 9 ช่องนี้ มีความสำคัญเป็นอย่างมากต่อการ Reinventing Business Model นั้นก็คือเพราะการได้ลงใส่ข้อมูลลงไปให้ในแต่ละช่อง ช่วยให้มองเห็นภาพรวมของธุรกิจมากขึ้น รวมทั้งยังวางแผนอนาคตให้กับธุรกิจได้มากขึ้นด้วย ไม่ว่าจะเป็น การประเมินความเสี่ยงของพาร์ทเนอร์ว่ามีแนวโน้มจะเทเราหรือไม่ หรือการประเมินความเสี่ยงของต้นทุนที่ใช้ในด้านต่าง ๆ เพื่อให้สอดคล้องกับผลประกอบการ รวมทั้งยังได้มองเห็นจุดแข็งจากแบรนด์ของตัวเองที่จะนำไปสู่การต่อยอด หรือ Reinventing โมเดล ได้ง่ายขึ้นด้วย 

เรียนรู้การ Reinventing Business Model ให้เข้าใจในแบบเชิงลึก

แม้ว่าเรื่องของ Reinventing Business Model อาจดูไม่ซับซ้อน และสามารถลงมือทำได้เองจาก Business Model Canvas แต่ก็ต้องบอกก่อนว่าการลงมือทำในทันทีโดยขาดข้อมูลของ Case Study ที่จะช่วยให้เห็นภาพมากขึ้น หรือเข้าใจการ Reinventing โมเดล ได้แบบลงลึกในรายละเอียดมากขึ้นอาจเป็นเรื่องยาก อีกทั้งยังยากที่จะนำไปใช้ให้เกิดประสิทธิภาพหากขาดความเข้าใจ

ดังนั้นการเรียนรู้ในหลักสูตร “Reinventing Business Model” จากผู้ออกแบบธุรกิจ และเข้าใจการตลาดในเชิงลึก จะเป็นอีกหนึ่งแนวทางที่ช่วยให้คุณเข้าใจ และเข้าถึงเรื่องของ Business Model รูปแบบใหม่ได้มากขึ้น รวมทั้งยังมี Case Study ให้ได้ศึกษาเป็นข้อมูล และแนวทางในการพลิกโฉมโมเดลธุรกิจได้ง่ายยิ่งขึ้นด้วย เพราะเรื่องของความสำเร็จไม่อยากเกินไปหากได้เรียนรู้ และเข้าใจ

สำหรับใครที่อยากเข้าใจในการเขียนโมเดลธุรกิจได้มากขึ้น และสามารถจัดการกับ Business Model Canvas ได้อย่างมืออาชีพเพื่อต่อยอดให้กับธุรกิจ และสร้างผลลัพธ์ที่ยอดเยี่ยมได้อย่างที่ต้องการ แล้วมาพบกันได้ที่ eddu 

ในแวดวงของคนทำธุรกิจมั่นใจว่าทุกคนย่อมต้องการประสบความสำเร็จ และถูกจดจำในฐานะแบรนด์อันดับต้น ๆ ในกลุ่มธุรกิจเหล่านั้น แต่หากติดตามข่าวสารวงการธุรกิจมาโดยตลอดก็จะเห็นได้ว่าเมื่อเวลาเปลี่ยนผ่านหลายแบรนด์ก็ต้องปิดตัวอำลาวงการไป หรือบ้างก็ต้องขายหุ้นให้กับนักบริหารท่านอื่น ๆ เข้ามาดำเนินกิจการเพื่อรักษาแบรนด์ต่อไป ซึ่งส่วนหนึ่งที่อาจส่งผลให้แบรนด์เหล่านั้นไม่ได้รับความนิยมเหมือนอดีตก็เป็นเพราะไม่ได้วางแผนทำ Reinventing โมเดล มาก่อนก็เป็นได้

บทบาทของ Reinventing โมเดล ที่มีต่อธุรกิจคืออะไร

การ Reinventing โมเดล คือการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ให้กับธุรกิจ หรือปรับเปลี่ยน Business Model ในบางส่วนเพื่อให้เข้ากับยุคสมัย และเพิ่มโอกาสให้กับการทำธุรกิจได้มากยิ่งขึ้น ซึ่งบทบาทหลักที่สำคัญหากพูดให้ง่ายก็คือเพื่อให้ประสบความสำเร็จในการทำแบรนด์ หรือธุรกิจได้อย่างที่คาดการณ์เอาไว้ แม้ว่าจะมีการเปลี่ยนผ่านของยุคสมัยแต่ก็ยังคงมียอดขาย และได้รับการยอมรับจากฐานลูกค้ากลุ่มใหม่ได้อยู่ตลอด

ควรเริ่มต้นของการทำ Reinventing โมเดล ตอนไหน

เมื่อทราบแล้วว่า Business Model เดิมเริ่มไปต่อไม่ได้ หรือมีท่าทีว่าจะมียอดขายสินค้า และบริการที่ลดลง สิ่งที่ต้องเริ่มทำในทันทีก็คือการพลิกโฉมโมเดลธุรกิจ หรือ Reinventing Business Model ซึ่งการทำ Reinventing ให้กับธุรกิจจะช่วยให้มองเห็นภาพรวมของจุดแข็งของแบรนด์ได้มากขึ้น และสามารถนำจุดแข็งที่มีไปต่อยอดให้กับสินค้า และบริการเพื่อให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งนี่เองที่บ่งบอกได้ว่า ทำไม “Reinventing Business Model ถึงสำคัญต่อธุรกิจของคุณ”

เครื่องมือสำคัญของการทำ Reinventing โมเดล

แม้ว่าการพลิกโฉมธุรกิจอาจฟังดูง่าย แต่จะลงมือทำได้จริง ๆ ต้องใช้เวลาในการคิด และวิเคราะห์ข้อมูลทางธุรกิจของตัวเองอยู่พอสมควร โดยวิธีที่ง่ายที่สุดก็คือการลงมือทำผ่านเครื่องมือที่ชื่อ Business Model Canvas เป็นเครื่องมือที่ใช้ร่างข้อมูลธุรกิจผ่านแผ่นกระดาษที่กำหนดตารางเอาไว้ 9 ช่อง โดยแต่ละช่องก็คือข้อมูลแต่ละส่วนของแบรนด์ ที่จะช่วยให้มองเห็นภาพรวมได้ชัดยิ่งขึ้นเมื่อต้องทำ Reinventing โมเดล เมื่อมองเห็นจุดแข็งใน Part ต่าง ๆ ของธุรกิจแล้ว ก็ย่อมเห็นโอกาส และช่องทางในการต่อยอดธุรกิจของคุณได้ง่ายขึ้น

ตัวอย่างแบรนด์ที่ประสบความสำเร็จจากการ Reinventing Business Model

เพื่อให้เห็นภาพของการพลิกโฉมธุรกิจได้มากยิ่งขึ้น เรามีตัวอย่างแบรนด์ที่ถือได้ว่าทำการ Reinventing Business Model ได้อย่างน่าสนใจมาให้ได้ถอดบทเรียนกัน โดยจะขอยกตัวอย่างแบรนด์เสื้อผ้าอย่าง Uniqlo ที่หลายคนรู้จักกันดี หากย้อนกลับไปแบรนด์เสื้อผ้าในบ้านเรามีทางเลือกไม่มากจนกระทั่งการมาของ Uniqlo แบรนด์เสื้อผ้ามินิมอลจากประเทศญี่ปุ่น ที่ช่วงแรกจุดขายของแบรนด์คือเสื้อผ้าที่เรียบง่าย สีสันน้อย เป็นที่นิยมของเหล่าคนรุ่นใหม่ที่ชื่นชอบการแต่งตัวสไตล์น้อยแต่มาก

ทว่าเมื่อความนิยมสูงแบรนด์คู่แข่งก็เพิ่มมากขึ้น ทำให้การ Reinventing โมเดล ของ Uniqlo เกิดขึ้นเพื่อสร้างยอดขายและเพิ่มกลุ่มเป้าหมายให้เพิ่มมากขึ้น โดย Business Model Canvas ร้านเสื้อผ้า ยูนิโคล่นั้นมีจุดเด่นคือมาตรฐานการผลิตที่ให้ได้เนื้อผ้าคุณภาพสูง, การตลาดและการขาย, ความเรียบง่าย มินิมอล เมื่อจุดแข็งของแบรนด์สามารถนำไปไปต่อยอดได้มากมายทำให้แบรนด์ออกไลน์สินค้าที่เกี่ยวกับกีฬาเน้นการระบายอากาศที่ยอดเยี่ยมในราคาถูก ตัวเลือกของสินค้าสำหรับคนหลายกลุ่ม ไม่ว่าจะเป็นเด็ก คุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ และเสื้อผ้าคอลเลกชันพิเศษที่ได้ทำงานร่วมกับศิลปินชื่อดังของโลก

เรียกได้ว่าเมื่อลองเขียน Business Model Canvas ร้านเสื้อผ้า Uniqlo แล้วเห็นได้ว่าจุดแข็งของแบรนด์คือส่วนสำคัญที่เอามาต่อยอดธุรกิจได้อย่างยอดเยี่ยม และเมื่อมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบธุรกิจให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้มากขึ้น อีกทั้งจุดแข็งจากคุณสมบัติของเนื้อผ้าที่เกิดการบอกต่อทำให้การเพิ่มไลน์ธุรกิจประสบความสำเร็จ และ Revenue Streams คืออีกหนึ่งตัวช่วยที่เพิ่มโอกาสทางธุรกิจได้มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการขายสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ หรือไลน์สินค้าอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้ชีวิตประจำวัน

3 แนวทางการ Reinventing Business Model ที่น่าสนใจในยุคนี้

การ Reinventing โมเดล สามารถทำได้หลายรูปแบบโมเดลธุรกิจโดยมีทั้งหมด 6 โมเดลธุรกิจด้วยกัน คือ Long Tail (โมเดลธุรกิจแบบหางยาว), Multi Sided (โมเดลธุรกิจแบบระบบลูกค้าหลายด้าน), Free as Business Model (โมเดลธุรกิจแบบฟรี), Unbundling Business Model (โมเดลธุรกิจแบบแยกส่วน), Subscription (โมเดลธุรกิจแบบสมาชิก), Open Business Model (โมเดลธุรกิจแบบเปิด) ทั้งนี้ในปัจจุบันการเลือกใช้รูปแบบธุรกิจที่น่าสนใจสามารถเลือกใช้ได้ทุกรูปแบบ แต่ที่พบเห็นได้หลายแบรนด์คือ 3 แนวทางต่อไปนี้

Free as Business Model : คือโมเดลธุรกิจที่มีการให้ใช้สินค้า หรือบริการฟรี เพื่อให้เกิดการนำเสนอ บอกต่อ หรือเป็นการนำไปสู่การเสียเงินซื้อซ้ำในครั้งต่อไป ซึ่งในปัจจุบันโมเดลธุรกิจลักษณะมักจะถูกนำไปใช้กับ Influencer หรือ KOL ได้ทดลองใช้สินค้า หรือบริการก่อนที่จะนำไปรีวิวบนแพลตฟอร์มอื่น ๆ

Subscription : คือโมเดลธุรกิจที่เหมาะสำหรับธุรกิจเกี่ยวกับบริการ เพราะเป็นลูกค้าจะต้องทำการสมัครสมาชิกแบบรายเดือนหรือรายปีเพื่อใช้บริการ ข้อดีของโมเดลธุรกิจแบบ Subscription คือ สามารถเก็บค่าบริการได้ในระยะยาว

Open Business Model : คือโมเดลธุรกิจที่ช่วยเพิ่มโอกาสให้กับการสินค้า จัดส่งสินค้า หรือนำเสนอสินค้าได้หลายช่องทางมากขึ้น ผ่านพาร์ทเนอร์ หรือคู่ค้าทางธุรกิจที่สามารถมีส่วนร่วมในการขายสินค้าได้มากขึ้น

 Business Model Canvas เครื่องมือสำคัญที่คนอยาก Reinventing โมเดล ต้องมี

จากที่กล่าวมาทั้งหมด นอกจากการทำ Business Model ในรูปแบบที่ตรงตามแนวทางของธุรกิจแล้ว หนึ่งในสิ่งสำคัญที่ขาดไม่ได้เลยก็คือ Business Model Canvas ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ถูกหยิบมาใช้ในการเขียนแผนธุรกิจรูปแบบใหม่ เพื่อให้การ Reinventing โมเดล เป็นไปด้วยตามเป้าหมายที่ต้องการ อีกทั้งส่วนสำคัญของเครื่องมือนี้ยังช่วยให้มองเห็นจุดแข็ง-จุดอ่อนของแบรนด์ได้มากขึ้น เพื่อที่จะทำการพลิกโฉมโมเดลธุรกิจได้ง่ายยิ่งขึ้น

เพื่อประสิทธิภาพสูงสุด แนะนำหลักสูตร Reinventing Business Model จาก EDDU

สิ่งสำคัญของการลงมือพลิกโฉมธุรกิจที่อยากให้เจ้าของธุรกิจทุกคนมีก็คือ ข้อมูลของการทำธุรกิจ และแนวคิดที่ได้มาจาก Case Study ของแบรนด์ต่าง ๆ ที่อยู่บนโลกธุรกิจ เพราะการได้เรียนรู้จากแนวคิด หรือลองถอดบทเรียนจากหลายแบรนด์ผ่านการใช้ Business Model Canvas จะช่วยให้เราค้นหาคำตอบของการ Reinventing โมเดล ได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งในเรื่องนี้คุณสามารถศึกษาได้จาก คอร์ส Reinventing Business Model จาก eddu คอร์สที่จะพาไปทำความรู้จักกับการวิธีคิด และแนวทางในการพลิกโฉมธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วย Case Study จากแบรนด์ดัง พร้อมบททดสอบเมื่อจบหลักสูตรที่สามารถนำมาปรับใช้ในการทำธุรกิจได้จริง แถมเรียนจบยังได้ Certificate อีกด้วย คอร์สเรียนดี ๆ แบบนี้ พบกันได้ที่ eddu 

หลายคนที่ได้ยินคำว่า ทำงานแบบ Agile มักเข้าใจผิดระหว่าง Agile กับ Scrum ว่าเป็นสิ่งเดียวกัน ซึ่งจริงๆ แล้ว ทั้งสองเพียงแต่มีความเกี่ยวพันธ์กันเท่านั้น แต่มีความแตกต่างกันในความหมาย และวิธีการ เราจะมาดูกันว่า Agile vs Scrum ต่างกันอย่างไร และต้องใช้อะไรเพื่อพัฒนาการทำงานในยุคดิจิทัล

Agile คืออะไร

อย่างที่ทราบกันว่า Agile ก็คือรูปแบบการทำงานหนึ่ง ที่ใช้ในธุรกิจ แต่เป็นเพียงปรัชญา หรือแนวทาง ในการจัดการโครงการ หรือ Project Management ที่เน้นการทำงานแบบ ยืดหยุ่น   ปรับเปลี่ยนได้   ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลง   เน้นการทำงานเป็นทีม   มีส่วนร่วมของลูกค้า   ส่งมอบผลงานเป็นระยะๆ   เน้นการทดสอบ   เรียนรู้  และปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง 

การทำงานของ Agile  จะนำโปรเจคใหญ่ มาซอยย่อย ให้เกิดกระบวนการทำงาน ที่ยืดหยุ่นเน้นการทำงานเป็นทีม การส่งมอบผลงานอย่างรวดเร็ว และการปรับตัวตามการเปลี่ยนแปลง โดยไม่ยึดติดกับแผนงานที่ตายตัว เหมาะกับงานที่ต้องการความคล่องตัวสูง ต้องการรับ feedback และปรับแก้ไขงานได้บ่อย ๆ โดยระหว่างการทำงาน สามารถทำไป Test ไป จนกว่าจะเกิดการมอบคุณค่าที่ดีที่สุดให้กับลูกค้า

Agile ช่วยธุรกิจให้เติบโตได้อย่างไร

1. เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน

2. เพิ่มความคล่องตัว

3. เพิ่มการมีส่วนร่วมของลูกค้า

4. เพิ่มกำลังใจให้พนักงาน

5. เพิ่มคุณภาพของผลิตภัณฑ์

Scrum คืออะไร

Scrum คือส่วนหนึ่งของการทำงานแบบ Agile เป็นวิธีการหรือ กรอบการทำงานแบบ Framework  ที่ใช้ในการนำ Agile ไปปฏิบัติ มีโครงสร้างกระบวนการ   เครื่องมือ   ที่ชัดเจน   เน้นการแบ่งงานเป็น Sprint สั้นๆ   มีการวางแผน   ทบทวน   ปรับปรุงอย่างสม่ำเสมอ   เน้นการทำงานเป็นทีม   มีบทบาทของ Product Owner, Scrum Master  และ Development Team ชัดเจน

Scrum ช่วยธุรกิจเติบโตได้อย่างไร

การช่วยธุรกิจให้เติบโตของ Scrum จะมีส่วนคล้ายกับ Agile แต่มีการลงมือปฏิบัติมากกว่า

1. เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน

2. เพิ่มความคล่องตัว

3. เพิ่มการมีส่วนร่วมของลูกค้า

4. เพิ่มกำลังใจให้พนักงาน

5. เพิ่มคุณภาพของผลิตภัณฑ์

สรุป Agile vs Scrum ต่างกันอย่างไร

ถ้าสรุปเพื่อความเข้าใจง่ายๆ ก็คือ 

Agile vs Scrum: อะไรเหมาะกับการพัฒนาการทำงานในยุคดิจิทัล? 

ทั้ง Agile และ Scrum ต่างเป็นแนวทางการทำงานที่ได้รับความนิยมในยุคดิจิทัล   แต่ความเหมาะสมในการใช้งานนั้นขึ้นอยู่กับบริบทและเป้าหมายขององค์กร นั้นคือ

เครื่องมือที่เหมาะกับ Agile และ Scrum

เทรนด์การใช้ Agile และ Scrum ในยุคดิจิทัล

เราเห็นและเข้าใจกันแล้วว่า Agile VS Scrum มีความแตกต่างกันอย่างไร แม้จะแตกต่างในเชิงปรัชญา และภาคปฏิบัติ ก็เป็นหลักการที่ทำงานร่วมกันอยู่ดี ซึ่งการทำธุรกิจ จะต้องวางกลยุทธ์ในการทำงานทั้ง 2 รูปแบบนี้ ให้เหมาะสม แน่นอนว่า หากทำงานร่วมกันกับทีมทั้ง 2 รูปแบบย่อมส่งผลต่อการทำงานในยุคดิจิทัลได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น นำพาธุรกิจให้เติบโตได้อย่างต่อเนื่อง

หากใครอยากเรียนรู้และเข้าใจเกี่ยวกับการทำงานแบบ Agile มากขึ้น มาเรียนคอร์ส Agile Project Management ปรับระบบการทำงานให้คล่องตัว เน้น…คนและการมีปฏิสัมพันธ์กัน เน้น…ซอฟต์แวร์ที่นำไปใช้งานได้จริง เน้น…ร่วมมือทำงานกับลูกค้า เน้น…การตอบรับกับการเปลี่ยนแปลง แล้วพบกันที่ eddu

ในการทำธุรกิจ มีหลายรูปแบบมากๆ ที่จะช่วยให้ธุรกิจมีการวางแผนที่ชัดเจน และพร้อมเติบโตสู่ความสำเร็จ แต่จะมีสักกี่รูปแบบที่จะทำให้ การทำงานมีระบบ และสามารถนำพาทีม ให้ทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ บางทีอาจจะดูเป็นเรื่องยากพอสมควร แต่หากมีเครื่องมือที่นำพาในการบริหารทีม อย่างการทำงานรูปแบบ Agile ก็ช่วยการทำงานให้ง่ายขึ้นเช่นกัน ส่วนหนึ่งของการทำงานรูปแบบ Agile ซึ่งเป็นที่นิยมและมีประสิทธิภาพสุด ๆ นั่นก็คือ การทำงานแบบ Scrum เรามาดูกันว่า Scrum ใน agile project management framework เป็นอย่างไร พร้อมบอกวิธีใช้งาน รวมในบทความนี้แล้ว

ในการทำธุรกิจ มีหลายรูปแบบมากๆ ที่จะช่วยให้ธุรกิจมีการวางแผนที่ชัดเจน และพร้อมเติบโตสู่ความสำเร็จ แต่จะมีสักกี่รูปแบบที่จะทำให้ การทำงานมีระบบ และสามารถนำพาทีม ให้ทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ บางทีอาจจะดูเป็นเรื่องยากพอสมควร แต่หากมีเครื่องมือที่นำพาในการบริหารทีม อย่างการทำงานรูปแบบ Agile ก็ช่วยการทำงานให้ง่ายขึ้นเช่นกัน ส่วนหนึ่งของการทำงานรูปแบบ Agile ซึ่งเป็นที่นิยมและมีประสิทธิภาพสุด ๆ นั่นก็คือ การทำงานแบบ Scrum เรามาดูกันว่า Scrum ใน agile project management framework เป็นอย่างไร พร้อมบอกวิธีใช้งาน รวมในบทความนี้แล้ว

Scrum ใน Agile Project Management Framework คืออะไร

Scrum เป็นวิธีการจัดการโครงการแบบ Agile ที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย เน้นการทำงานเป็นทีม การส่งมอบผลงานที่ใช้งานได้จริง และความยืดหยุ่นในการปรับเปลี่ยนตามความต้องการของลูกค้า โดยมี Product Owner เป็นผู้ดูแล จัดการ ให้เป็นไปตามเป้าหมายของธุรกิจ

หลักการทำงานของ Scrum เป็นอย่างไร 

  1. การแบ่งงานออกเป็น Sprint โครงการจะถูกแบ่งออกเป็น Sprint สั้นๆ แต่ละ Sprint มักจะมีระยะเวลา 2-4 อาทิตย์
  2. การวางแผน Sprint ทีมจะทำการวางแผน Sprint โดยกำหนดเป้าหมายและงานที่จะต้องทำใน Sprint นั้น
  3. การประชุม Daily Scrum ทีมจะประชุม Daily Scrum ทุกวัน เพื่อติดตามความคืบหน้า แจ้งปัญหา และหาทางแก้ไข
  4. การ Sprint Review ทีมจะนำเสนอผลงานใน Sprint นั้น ให้กับลูกค้าเพื่อรับ feedback
  5. การ Sprint Retrospective ทีมจะประชุม Sprint Retrospective เพื่อทบทวนสิ่งที่เกิดขึ้นใน Sprint นั้น หาจุดที่ควรปรับปรุง และนำไปใช้ใน Sprint ถัดไป

วิธีการใช้งาน Scrum ทำอย่างไรบ้าง

เราจะมาดูวิธีการใช้งานรูปแบบ Scrum กัน ว่ามีการทำงานในแต่ละขั้นตอน จนส่งมอบงานให้กับลูกค้าอย่างไรบ้าง 

  1. สร้างทีม Scrum ในส่วนแรกนี้ ธุรกิจจะต้องมีทีมงานในการทำ Scrum เพื่อวางแผนและดำเนินการสร้างโปรดักซ์ ให้เป็นไปตามแบบแผนที่วางไว้ โดยทีมจะต้องมีอย่างน้อย 5-9 คน ประกอบไปด้วย 
  1. กำหนด Product Backlog  โดย Product Backlog คือ รายการสิ่งที่ต้องการทั้งหมดของโครงการ

ควรเรียงลำดับตามความสำคัญที่ต้องทำก่อนหลัง ในกระบวนการนี้ จะมี เจ้าของหรือ Product Owner เป็นคนคิดวางแผน และกำหนดคุณค่าของโปรดักซ์ ภายใต้ Vision หรือโจทย์ที่ได้รับ นำมาแตกเป็นแนวคิด ก่อนไปขั้นตอนต่อไป

  1. วางแผน Sprint ในกระบวนการนี้ ทีมงานทั้งหมด จะมีส่วนช่วยกันวางแผน Sprint โดยกำหนดเป้าหมายของ Sprint และเลือกงานจาก Product Backlog ที่จะนำมาทำใน Sprint นั้น ทำการประมาณการเวลาที่ใช้สำหรับงานแต่ละชิ้น โดยปกติใช้เวลา 2-4 สัปดาห์ ในขั้นตอนของการวางแผน เราจะใช้คำว่า Sprint Planning
  2. ทำงานใน Sprint เริ่มกระบวนการทำงาน ทีมจะทำงานตามแผนที่วางไว้ และทีมควรทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิด โดยมี Scrum Master คอยช่วยขจัดอุปสรรคที่ทีมเผชิญระหว่างทาง 
  3. ประชุม Daily Scrum เป็นส่วนสำคัญที่ทีมจะต้องประชุมทุกวัน เพื่อตรวจสอบความคืบหน้า แจ้งปัญหา และหาทางแก้ไข ซึ่งในส่วนนี้ สามารถทำการแก้ไขซ้ำได้เลย หลังพบปัญหา
  4. การ Sprint Review เมื่อทำการปรับแก้ไข จนได้โปรดักซ์ชิ้นแรกที่น่าพอใจแล้ว ทีมจะนำเสนอผลงานใน Sprint นั้น ให้กับลูกค้าเพื่อรับ feedback และนำมาปรับเปลี่ยนผลงานตาม feedback ให้ตอบโจทย์ผู้ใช้มากที่สุด 
  5. การ Sprint Retrospective หลังได้รับการรีวิว ทีมจะประชุม Sprint Retrospective เพื่อทบทวนสิ่งที่เกิดขึ้นใน Sprint นั้น หาจุดที่ควรปรับปรุง และนำไปใช้ใน Sprint ถัดไป

ข้อดีของการทำ Scrum

ตัวอย่างการใช้งาน Scrum

โปรดักซ์ที่มักใช้การทำงานแบบ Scrum ส่วนใหญ่จะเป็นการพัฒนาซอฟต์แวร์ การพัฒนาเว็บไซต์ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ หรือการออกแบบโครงการ สำหรับธุรกิจที่ประสบความสำเร็จจากการทำ Scrum Framework เช่น Google Spotify Amazon Netflix และ Facebook เป็นต้น

การทำ Scrum Framework ช่วยให้ธุรกิจเติบโตได้หลายวิธี ดังนี้

1. เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน Scrum Framework เน้นการทำงานแบบแบ่งเป็น Sprint สั้นๆ  ช่วยให้ทีมงานโฟกัส ทำงานเสร็จเร็วขึ้น และปรับแต่งงานตามความต้องการของลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว

2. เพิ่มความคล่องตัว Scrum Framework ช่วยให้ทีมงานสามารถปรับเปลี่ยนแผนการทำงานได้อย่างรวดเร็ว ตามความต้องการของลูกค้า  ช่วยให้ธุรกิจสามารถตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ

3. เพิ่มการมีส่วนร่วมของลูกค้า Scrum Framework เน้นการมีส่วนร่วมของลูกค้า   ช่วยให้ลูกค้าสามารถให้ข้อเสนอแนะกับทีมงานได้อย่างต่อเนื่อง   ช่วยให้มั่นใจว่าผลิตภัณฑ์ที่พัฒนาออกมานั้นตรงกับความต้องการของลูกค้า

4. เพิ่มกำลังใจให้กับพนักงาน Scrum Framework เน้นการทำงานเป็นทีม   ช่วยให้พนักงานรู้สึกมีส่วนร่วมในการทำงาน   ช่วยให้พนักงานมีกำลังใจที่ดีขึ้น   ส่งผลให้พนักงานทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

5. เพิ่มคุณภาพของผลิตภัณฑ์ Scrum Framework เน้นการทดสอบและตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอ   ช่วยให้มั่นใจว่าผลิตภัณฑ์ที่พัฒนาออกมานั้นมีคุณภาพสูง

Scrum ใน agile project management framework ถือได้ว่า มีประโยชน์ต่อการทำธุรกิจมากๆ ในรูปแบบการทำงาน Agile การวางแผนงาน Scrum เป็น Framework ทำให้การทำงานร่วมกันในทีมง่ายขึ้น และทำให้เกิดคุณค่าของผลิตภัณฑ์ที่มอบประสบการณ์ที่ดีที่สุดให้กับลูกค้าหากใครอยากเรียนรู้และเข้าใจเกี่ยวกับการทำงานแบบ Agile มากขึ้น มาเรียนคอร์ส Agile Project Management ปรับระบบการทำงานให้คล่องตัว เน้น…คนและการมีปฏิสัมพันธ์กัน เน้น…ซอฟต์แวร์ที่นำไปใช้งานได้จริง เน้น…ร่วมมือทำงานกับลูกค้า เน้น…การตอบรับกับการเปลี่ยนแปลง แล้วพบกันที่ eddu

การทำงานทุกองค์กร ไม่ว่าจะทำธุรกิจอะไร แน่นอนว่า เป้าหมายความสำเร็จในธุรกิจ เป็นสิ่งที่สำคัญมาก แต่ละองค์กร มักมีวิธีการทำงานที่แตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับวัฒนธรรมองค์กร และทุกที่ ที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับสินค้า ผลิตภัณฑ์ บริการ ก็ต้องมีคนดูแลควบคุม บริหารโปรเจคสินค้าให้เกิดยอดขาย โดยหน้าที่ของคนที่เข้ามาควบคุม เราจะเรียกตำแหน่งนี้ว่า Project Manager ที่คอยจัดการทุกงานให้สมบูรณ์มากที่สุด ตั้งแต่การวางแผน การจัดระเบียบ การจัดการ ควบคุมต้นทุน จัดการงบประมาณ เพื่อให้เป็นไปตามแผนงาน

ในปัจจุบัน แม้จะใช้  Project Manager ในการบริหารจัดการงาน แต่รูปแบบการทำงานในยุคใหม่ ก็มักจะเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งยุคเดิมทุกคนจะเคยชินกับการทำงานแบบ Water Fall หรือการทำงานแบบเป็นขั้นตอนเหมือนน้ำตก ไม่เหมาะกับการทำซ้ำ เมื่อต้องแก้ไขงาน รูปแบบที่องค์กรนิยมกันมากในตอนนี้ จะเรียกว่า การทำงานแบบ Agile ซึ่งถ้าธุรกิจไหน เข้าใจการทำงานแบบ Agile ได้ทั้งหมด รับรองว่าธุรกิจไปได้สวยแน่นอน เรามาดูกัน กับหลักการใช้ Agile ที่รู้แล้ว จะบริหารจัดการงานได้ง่ายกว่าเดิม

ที่มีของการทำงานแบบ Agile

เกิดขึ้นในช่วงเทคโนโลยีเริ่มเข้ามาเปลี่ยนแปลงโลก ยุคค.ศ 2001 โดยนักพัฒนาซอฟแวร์ 17 คน ที่รวมตัวเพื่อแก้ไขปัญหาการพัฒนาซอฟแวร์แบบเดิมๆ ที่ไม่ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า มีรากศัพท์มาจาก Agility หมายถึงความคล่องแคล่ว ว่องไว สามารถปรับตัวได้อย่างรวดเร็ว แม้ว่าต้นกำเนิด จะมาจากปัญหาการพัฒนาซอฟแวร์ แต่ปัจจุบันสามารถประยุกต์กับการพัฒนาทุกๆ องค์กรได้

Agile คืออะไร

เนื่องจากพฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนไป ธุรกิจที่ผลิตสินค้าและบริการ ต้องเปลี่ยนแปลงการทำงานตาม โดยการเอาโปรเจคใหญ่ มาซอยย่อย ให้เกิดกระบวนการทำงาน ที่ยืดหยุ่นเน้นการทำงานเป็นทีม การส่งมอบผลงานอย่างรวดเร็ว และการปรับตัวตามการเปลี่ยนแปลง โดยไม่ยึดติดกับแผนงานที่ตายตัว เหมาะกับงานที่ต้องการความคล่องตัวสูง ต้องการรับ feedback และปรับแก้ไขงานได้บ่อย ๆ โดยระหว่างการทำงาน สามารถทำไป Test ไป จนกว่าจะเกิดการมอบคุณค่าที่ดีที่สุดให้กับลูกค้า

หัวใจสำคัญของ Agile Manifesto

หลักการทำงาน 12 ข้อ ของ Agile Manifesto

1. Satisfy the Customer

Agile เน้นย้ำว่าการส่งมอบคุณค่าให้กับผู้ใช้ตั้งแต่เนิ่นๆ และมักจะสร้างคุณค่าที่มั่นคง ซึ่งจะช่วยเพิ่มความสำเร็จให้กับคุณและลูกค้าของคุณ สิ่งนี้จะสร้างความไว้วางใจและความมั่นใจผ่านการตอบรับอย่างต่อเนื่อง

2. Welcome change

การทํางานแบบ Agile สิ่งสำคัญคือต้องมีความคล่องตัว คุณและทีมของคุณจำเป็นต้องสแกนสภาพแวดล้อมของคุณอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้แน่ใจว่าพร้อมทุกการเปลี่ยนแปลงที่จำเป็นในแผน และยอมรับว่าแผนของคุณอาจมีการเปลี่ยนแปลงเพื่อที่จะช่วยให้แน่ใจว่าคุณกำลังส่งมอบสิ่งที่ดีที่สุดให้ลูกค้า

3. Deliver Frequently

การส่งมอบผลิตภัณฑ์ทีละน้อยและบ่อยครั้งเป็นสิ่งสำคัญ......เพราะช่วยให้ลูกค้ามีเวลาและโอกาสอย่างสม่ำเสมอในการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับความคืบหน้า สิ่งนี้ทำให้มั่นใจได้ว่าเราจะไม่ใช้เวลามากเกินไปในเส้นทางที่ผิด

4. Work Together

การทํางานรวมกันภายในทีม ไม่ได้แบ่งว่าฝ่ายใดเป็นฝ่ายใด ทุกหน้าที่ร่วมกันวางแผนและทํางานเพื่อให้สามารถบรรลุผลของความต้องการของลูกค้าได้

5. Trust & Support

ทีม Agile จะประกอบด้วยสมาชิกในทีมที่ไว้วางใจซึ่งกันและกันเพื่อให้งานสำเร็จลุล่วง แต่การได้รับความไว้วางใจจากผู้สนับสนุนและผู้บริหารเพื่อให้งานสำเร็จลุล่วง ทีมจะสามารถสร้างโซลูชันที่ดีขึ้นเมื่อพวกเขาได้รับพลังและแรงจูงใจในการส่งมอบโครงการที่ยากเสมอ

6. Face to Face Conversation

การสื่อสารแบบเห็นหน้ากันช่วยให้เรารับรู้ได้ถึง ภาษากาย และการแสดงสีหน้าบางอย่างที่อาจหายไปเมื่อเราใช้รูปแบบการสื่อสาร เช่น อีเมล แชท หรือโทรศัพท์ แต่เราก็ไม่สามารถเผชิญหน้ากันได้ตลอดเวลาเสมอไป ดังนั้นทีมจึงต้องบรรทัดฐานในการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ

7. Working Software

ในทีมแบบ Agile วิธีหลักในการแสดงให้เห็นถึงความสำเร็จของงานที่มีความหมายคือการแสดงชิ้นงานของโซลูชันในทีม นั่นอาจหมายถึงสิ่งที่ใช้งานได้ เพื่อทดลองให้ลูกค้าได้เห็นถึงสินค้า หรือความคืบหน้า

8. Sustainable Development

ก้าวที่มั่นคงแต่ระมัดระวังจะป้องกันข้อผิดพลาดระหว่างทาง และไม่ต้องการให้ทีมรู้สึกทำงานหนักเกินไปหรือหนักใจ ในทางกลับกัน ทีมที่ใช้งานน้อยเกินไปอาจรู้สึกเบื่อและสูญเสียจุดประกายความคิดสร้างสรรค์ในการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ อุดมคติแบบอไจล์คือการบรรลุความพยายามที่สม่ำเสมอสำหรับทีมเพื่อหลีกเลี่ยงการทำงานล่วงเวลาและความเหนื่อยหน่ายจากการทํางาน

9. Continuous Attention

Agile เน้นคุณภาพและการออกแบบตลอดช่วงการพัฒนาโครงการ ความคล่องตัว ประสิทธิภาพ และความรวดเร็วของทีมงานจะเพิ่มขึ้นเมื่อทีมได้นำเสนอโซลูชันที่สร้างขึ้นอย่างดี สามารถตอบสนองความคิดเห็นของผู้ใช้และข้อมูลใหม่ได้อย่างรวดเร็ว

10. Embrace Simplicity

การทําสิ่งที่เรียบง่าย ตรงประเด็น และไม่ซับซ้อน ทําให้ทีมสามารถเข้าใจเป้าหมายและทํางานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ

11. Self-Organizing Teams

สมาชิกในทีมควรสามารถทำงานให้สำเร็จได้โดยการออกแบบกระบวนการทำงานและแนวทางปฏิบัติของตนเอง โดยไม่ต้องมีผู้จัดการคอยสั่งการว่าทำงานอย่างไร สมาชิกในทีมควรรู้สึกมีอำนาจที่จะแสดงความคิดเห็นเมื่อมีคำถาม ข้อกังวล หรือคำติชม ความต้องการของลูกค้า งานที่ออกมาดีที่สุด เกิดจากทีมที่บริหารจัดการตัวเองได้

12. Working Product

หัวใจสำคัญของ Agile คือ การส่งมอบผลงานที่ใช้งานได้จริงให้กับลูกค้าเป็นประจำ ช่วยให้ลูกค้าสามารถใช้งานและทดสอบฟังก์ชันการทำงานต่างๆ ได้จริง

เข้าใจหลักการของ Agile อย่างง่าย

สำหรับการใช้ Agile ทำงาน หลักการง่ายๆ เลย มีดังนี้

ขั้นตอนการทำงานแบบ Agile

ขั้นตอนการทำงานของ Agile มีการเรียงลำดับวิธีที่เข้าใจง่ายๆ สรุปได้ ดังนี้

รูปแบบวิธีการของ Agile

โดยปกติแล้ว การทำงานแบบ Agile จะมีหลักๆ 3 แบบ ดังนี้

Agile ช่วยในการทำธุรกิจได้อย่างไร

Agile ถือว่าเป็นแนวทางการทำงานแบบยืดหยุ่น เน้นการทำงานเป็นทีม การส่งมอบผลงานอย่างรวดเร็ว ซึ่งสามารถช่วยธุรกิจได้มากมาย ดังนี้

1. เพิ่มความเร็วในการส่งมอบสินค้าและบริการ Agile แบ่งงานออกเป็นชิ้นเล็ก ๆ พัฒนาและส่งมอบผลงานทีละส่วน ช่วยให้รับ feedback และปรับแก้ไขงานได้บ่อย ส่งผลให้สินค้าและบริการออกสู่ตลาดได้เร็วขึ้น

2. เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน Agile เน้นการลดขั้นตอนที่ไม่จำเป็น เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน ช่วยให้ธุรกิจประหยัดเวลาและทรัพยากร

3. เพิ่มการมีส่วนร่วมของพนักงาน Agile เน้นการทำงานเป็นทีม ทุกคนมีส่วนร่วมและรับผิดชอบร่วมกัน ช่วยให้พนักงานมีแรงจูงใจและทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ

4. เพิ่มประสิทธิภาพให้ปรับตัวตามการเปลี่ยนแปลง Agile ยืดหยุ่นและปรับแผนงานตามสถานการณ์ ช่วยให้ธุรกิจสามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงในตลาดและเทคโนโลยีได้อย่างมีประสิทธิภาพ

5. เพิ่มการเรียนรู้และพัฒนาอย่างต่อเนื่อง Agile เน้นการเรียนรู้จาก feedback ปรับปรุงวิธีการทำงาน พัฒนาผลงานให้ดีขึ้น ช่วยให้ธุรกิจสามารถแข่งขันในตลาดที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ

ตัวอย่าง

Agile คือ Mindset

ท้ายที่สุดแล้ว Agile คือกรอบความคิดที่ได้รับแจ้งจากค่านิยมและหลักการของ Agile Manifesto ค่านิยมและหลักการเหล่านี้ เป็นแนวทางในการสร้างและตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงและวิธีจัดการกับความไม่แน่นอน ให้มีแนวทางปฏิบัติ และเทคนิคต่างๆ เพื่อใช้ทำงานร่วมกับทีม และส่งมอบคุณค่าให้กับลูกค้า ได้ใช้สินค้าและบริการจากธุรกิจของคุณอย่างน่าพึงพอใจมากที่สุด ทำให้ธุรกิจเติบโตได้อย่างรวดเร็ว และรับมือการเปลี่ยนแปลงได้อย่างมีประสิทธิภาพหากใครอยากเรียนรู้และเข้าใจเกี่ยวกับการทำงานแบบ Agile มากขึ้น มาเรียนคอร์ส Agile Project Management ปรับระบบการทำงานให้คล่องตัว เน้น…คนและการมีปฏิสัมพันธ์กัน เน้น…ซอฟต์แวร์ที่นำไปใช้งานได้จริง เน้น…ร่วมมือทำงานกับลูกค้า เน้น…การตอบรับกับการเปลี่ยนแปลง แล้วพบกันที่ eddu

We use cookies, please see our policy and setting

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save
linkedin facebook pinterest youtube rss twitter instagram facebook-blank rss-blank linkedin-blank pinterest youtube twitter instagram