ปฎิเสธไม่ได้เลยว่า กระแส E-commerce (อีคอมเมิร์ซ) ได้เข้ามาเปลี่ยนแปลงการใช้ชีวิตของผู้คนไปตลอดการ โดยเฉพาะในเรื่องพฤติกรรมการ ซื้อ-ขายสินค้า ที่ทำให้ทุกอย่างทำได้ง่ายขึ้น ด้วยปลายนิ้ว ไม่เว้นแต่ในตลาดของเล่นที่มีวางขายในเว็บต่าง ๆ มากมาย การขายของเล่นบนโลกออนไลน์มากมาย ตั้งแต่ของเล่นทั่วไป ที่หาง่าย ไปจนถึงของสินค้า "Rare Item" ที่หายาก และราคาสูงลิ่ว
การเข้ามาของ E-Commerce สร้างความสะดวกสบายอย่างมาก ทำให้ลูกค้าไม่ต้องออกไปตากแดด ตากฝน ฝ่ารถติด เพื่อตามหาสิ่งที่ตัวเองต้องการ ทั้งยังเปิดทางเลือกให้ผู้ซื้อมีช่องทางและอิสระที่มากขึ้นกว่าเดิม ทำให้ธุรกิจต่าง ๆ ในสมัยนี้ต่างก็ต้องปรับตัวตามกระแสให้ทัน ถ้าไม่อยากถูกกลืน และเลือนหายไปตามกาลเวลา
สำหรับบทความนี้ ขอหยิบยกตัวอย่างธุรกิจในวงการตลาดของเล่น ซึ่งเป็นหนึ่งในบทเรียนชั้นดี ที่ถ่ายทอดให้เห็นถึงการปรับตัวที่ช้าเกินไป จนต้องพบกับความ ‘ล้มเหลว’ และธุรกิจนั้นคือ TOYS “R” US
TOYS “R” US หรือ "Toys Я Us" ร้านขายของเล่นชื่อดังในสหรัฐอเมริกา ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1948 หรือ ราว ๆ 75 ปีก่อน ซึ่งถือเป็นเจ้าใหญ่ของวงการและเป็นแลนด์มาร์คแห่งธุรกิจตลาดของเล่นที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยมีจำนวนสาขากว่า 1,600 สาขา และมีพนักงานถึง 64,000 คน ใน 38 ประเทศทั่วโลก
จุดเด่นของ TOYS “R” US คือ "ความหลากหลาย" ที่ในร้านมีของเล่นให้เลือกมากกว่า 1,000 ชิ้น รวมถึงยังมีของเล่นที่นำเข้าจากหลายประเทศ และจุดขายที่สำคัญคือ ราคาถูก กว่าคู่แข่งเจ้าอื่น ๆ ในตลาด 20 - 50% อีกด้วย
ในช่วง ค.ศ. 1998 กระแส Social Media และ E-commerce เริ่มมีบทบาทกับการใช้จ่ายของผู้บริโภคมากขึ้น และสิ่งที่เจ้าตลาดของเล่นอย่าง TOYS “R” US ทำพลาดในครั้งนั้น คือ การไม่ปรับตัวให้ทันกระแสของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป ในขณะที่แบรนด์อื่น ๆ ในทุก ๆ อุตสาหกรรมเริ่มพากันสร้างตัวตน และสื่อสังคมบนโลกออนไลน์ แต่ TOYS “R” US กลับเลือกที่จะนิ่งเฉย ประกอบกับ ณ ช่วงนั้น Amazon ที่เชี่ยวชาญด้าน E-Commerce เริ่มขยายธุรกิจ ตีตลาดออนไลน์มากขึ้น รวมถึงมีการวางขายสินค้าของเล่นใน Platform ของเขามากกว่าที่ TOYS “R” US มีอยู่ ทำให้ Amazon ได้โอกาสดีในการเปิดตลาด และได้ส่วนแบ่งของตลาดของเล่นออนไลน์ที่กำลังเกิดใหม่อย่างรวดเร็ว จนทำให้ Amazon ก้าวสู่การเป็นผู้นำด้านช้อปปิ้งอย่างที่เราเห็นกันในปัจจุบัน
สำหรับความนิ่งนอนใจของ TOYS “R” US ทำให้บริษัทต้องเผชิญกับความท้าทายอยู่หลายปี ทั้งเรื่องของการปรับตัวไม่ทันการเข้ามาของ E-Commerce และตลาดของเล่นที่เปลี่ยนไป รวมถึงมีคู่แข่งรายใหม่ ๆ เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ไม่ว่าจะเป็น Walmart, K-Mart หรือ Alibaba ฯลฯ ที่หันมาเพิ่มความหลากหลายให้กลุ่มสินค้าของตัวเอง สุดท้าย TOYS “R” US จึงพบกับบทเรียนและจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญโดยพบกับปัญหาหนี้สินมากมายและในที่สุดบริษัทได้ยื่นขอล้มละลาย และขอเข้าสู่กระบวนการพิทักษ์ทรัพย์ เพื่อปรับโครงสร้างหนี้ ในปี ค.ศ. 2018
จากนั้น เริ่มทยอยปิดตัวสาขาหน้าร้านทั้งหมดในสหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย และอังกฤษอย่างถาวร ส่วนกิจการในโซนเอเชีย แอฟริกา ยุโรป และแคนาดา ได้มีการขายออกไปให้เจ้าอื่นดูแล
ล่าสุด ช่วงกลางปีที่แล้ว (ค.ศ. 2022) TOYS “R” US ได้หวนคืนตลาดของเล่นในสหรัฐอเมริกาได้อีกครั้ง โดยจับมือกับห้างค้าปลีกเก่าแก่ อย่าง Macy’s ที่มีอยู่มากกว่า 400 สาขา โดยทาง Macy ได้ออกมาประกาศผลประกอบการของห้างว่ายอดขายสินค้าหมวดของเล่น ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2022 ที่ผ่านมามีอัตราการเติบโตสูงขึ้นถึง 15 เท่า เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้าที่มีการร่วมมือกับ TOYS “R” US เลยทีเดียว
สุดท้ายนี้ แม้ว่า TOYS “R” US จะมีจุดที่พลาดไปจนทำให้เส้นทางการทำธุรกิจไม่ได้ราบรื่นมากนัก แต่อย่างน้อย การล้มในครั้งนั้นก็เป็นบทเรียนสำคัญ ที่ทำให้วันนี้ TOYS “R” US ได้บทเรียนและสามารถคัมแบ็กกลับมาได้อย่างเต็มตัว หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์ และเป็นข้อเตือนใจสำหรับผู้ที่กำลังทำธุรกิจให้ว่าอย่ามองข้ามพลังของสื่อออนไลน์และตลาดออนไลน์เป็นอันขาด จะได้ไม่ทำผิดพลาดเหมือนกับ TOYS “R” US
<แนะนำ>
สำหรับใครที่สนใจในเรื่องของการตลาดและสื่อออนไลน์เพิ่มเติม
คอร์ส Digital Marketing ตอบโจทย์คุณ ทั้งเรื่องของการวิเคราะห์ และวางแผน การใช้สื่อออนไลน์ทุกอย่างให้ลงตัว ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ลิงค์ https://eddu.org/digital-marketing-detail/
Reference :
https://www.thepeople.co/read/business/51020
ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา เมื่อก้าวเข้าสู่เดือนมิถุนายน เรามักเห็นแบรนด์ดังต่าง ๆ รวมถึงบริษัทยักษ์ใหญ่ หลาย ๆ แห่ง ต่างพากันเปลี่ยนภาพโปรไฟล์ในช่องทาง Social Media ออกแคมเปญการตลาด หรือสินค้าคอลเลกชันใหม่ ให้เป็น “สีรุ้ง” เพื่อเฉลิมฉลองเดือนแห่งความภาคภูมิใจ หรือ Pride Month
มีหลายคนที่เข้าใจความหมายของสายรุ้งนี้ แต่ก็มีคนอีกมากมายที่ไม่รู้ หรืออาจไม่เข้าใจ ว่าเทรนด์นี้เกิดขึ้นได้อย่างไร ทำไมถึงต้องเป็นเดือนมิถุนายน และการแสดงออกของแบรนด์ควรต้องระวังอะไรบ้าง เราลองมาหาคำตอบกันในบทความนี้
สื่อสารและแสดงออกอย่างจริงใจ ไม่ใช่หวังแค่ตัวเลข
เมื่อโลกของเราเริ่มเปิดกว้างมากขึ้น และในทุก ๆ ปีเริ่มมีแบรนด์เล็ก และใหญ่ ที่เข้ามาร่วมกับกิจกรรม Pride Month ที่มากขึ้น และหนึ่งเรื่องที่น่าสนใจคือ
จากผลการศึกษาของบริษัท Unilever เมื่อปี 2021 พบว่ากว่า 66% ของเหล่า บุคคล LGBTQ+ ที่มีอายุระหว่าง 18 ถึง 34 ปี มีความเห็นว่าแบรนด์ส่วนใหญ่ ร่วมกิจกรรมกับวันแห่งความภาคภูมิใจของพวกเขา เพียงเพื่อหวังในเรื่องของตัวเลข และยอดขายเท่านั้น
ซึ่งการกระทำนี้นอกจากจะไม่ได้ทำให้พวกเขา “อิน” กับแบรนด์ แต่ กลับยิ่งทำให้เกิดความรู้สึกในแง่ลบกับแบรนด์เหล่านั้นมากขึ้นด้วย
ซึ่งสิ่งสำคัญที่แบรนด์ควรทำ นอกเหนือจากการเปลี่ยนภาพโปรไฟล์เป็นสีรุ้ง หรือทำสินค้าสีรุ้งออกสู่ตลาด คือ การทำความเข้าใจและสนับสนุนพวกเขาอย่างแท้จริง เช่น การทำความเข้าใจถึงความชอบ ความต้องการและออกแบบสินค้าเพื่อพวกเขาอย่างต่อเนื่อง หรือการสนับสนุนการจ้างงาน การเลื่อนตำแหน่งอย่างเท่าเทียม รวมถึงการสนับสนุนองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร เพื่อช่วยเหลือชุมชนของเหล่าผู้มีความหลากหลายทางเพศอย่างแท้จริง
ยกตัวอย่างแบรนด์ชื่อดัง ที่มีการร่วมเฉลิมฉลองกับ Pride Month ในปี 2023 เช่น
ในปีนี้ Disney มีการออกคอลเลคชัน Star Wars Pride ในคอนเซ็ปต์ของ rainbow BB-8 พร้อมเข็มกลัด BB-8 Pride Pin ที่มาพร้อมกับสโลแกน “Belong, Belive, Be Proud” ที่นอกจากแฝงไปด้วยความน่ารักของตัวละครแล้ว เขายังแบ่งรายได้ส่วนหนึ่งให้กับองค์กร "It Gets Better" ซึ่งเป็นองค์กรที่ยกระดับ เพิ่มศักยภาพ และเชื่อมโยงเยาวชน LGBTQ+ ทั่วโลก โดยโครงการ "It Gets Better" นี้เป็นแรงบันดาลใจให้ชาว LGBTQ+ สามารถแบ่งปันเรื่องราวของพวกเขาและเตือนเยาวชนรุ่นต่อ ๆ ไป ให้มีความฝันและความหวังมากขึ้นเรื่อย ๆ
แบรนด์เครื่องสำอาง ของคุณ รวิศ หาญอุตสาหะ ที่ในปีนี้ ก็ร่วมเฉลิมฉลอง Pride Month อีกเช่นเคย โดยมีการแสดงออกผ่านโซเชียลมีเดีย
พร้อมกับมีสินค้าที่ออกแบบมาเพื่อคนทุกกลุ่ม รวมถึงเพิ่มสวัสดิการพนักงานให้ครอบคลุมทุกกลุ่ม และทุกเพศสภาพ ด้วยแนวคิดที่ว่า เพราะพนักงานคือหัวใจหลัก ในการขับเคลื่อนองค์กรให้เติบโตไปข้างหน้า ประกอบกับภายในองค์กรที่มีคนหลากหลายรุ่น ตั้งแต่ Baby Boomer จนถึง Gen Z และสิ่งที่เพิ่มขึ้นมา คือ มีพนักงานในกลุ่ม LGBT ร่วมงานกับเราถึง 10% จึงพัฒนาสวัสดิการดูแลคุณภาพชีวิตพนักงานให้สอดคล้องกับพนักงานช่วงวัยต่างจึงอยากมอบโอกาสให้กับทุกคนและพร้อมจะสร้างให้เกิดความสุขและรอยยิ้มในทุกๆ วัน
แม้ว่า Pride Month นั้นถือเป็นเดือนของสีสันของการเฉลิมฉลอง ที่ยิ่งใหญ่ของกลุ่มเพศทางเลือก หรือ LGBTQ+ ทั่วโลกที่ต่างพร้อมใจกันออกมาสร้้างสีสัน เดินขบวนพาเรต และแสดงออกถึงความเท่าเทียมกันอย่างสนุกสนาน แต่กว่าจะมาถึงวันนี้ได้นั้น พวกเขาต้องผ่านเบื้องหลังที่แฝงด้วยหยาดเหงื่อและคราบน้ำตา จากการถูกดูหมิ่นและกีดกันทางสังคมอย่างรุนแรง จนไม่สามารถแสดงตัวตนในที่สาธารณะได้ ต้องคอยหลบหลีกและนัดพบกันตามสถานที่อโคจรในเวลากลางคืน ที่ที่พวกเขาสามารถเปิดเผยตัวตนได้อย่างสบายใจโดยไม่ถูกตัดสินว่าเป็นตัวประหลาด หรือส่วนเกินในสังคม
จนถึงวันหนึ่งที่เป็นจุดเปลี่ยน ..ในเช้ารุ่งสางของวันที่ 28 มิถุนายน 1969 เมื่อเจ้าหน้าที่ตำรวจได้บุกเข้าไปยัง Stonewall Inn ซึ่งเป็นบาร์เกย์ชื่อดัง ในย่าน Greenwich Village
โดยพยายามยัดข้อหาว่าที่บาร์ มีการขายแอลกอฮอล์โดยไม่ได้รับอนุญาต และใช้กำลังทำร้ายลูกค้าภายในร้านซึ่งส่วนใหญ่เป็นกลุ่ม LGBTQ+ จนเกิดเหตุจลาจลขึ้น เมื่อในครั้งนี้ ผู้คนภายในบาร์เริ่มตอบโต้และลุกขึ้นสู้เพื่อปกป้องสิทธิของตัวเอง
จากเหตุการณ์คืนนั้น ทำให้มีผู้คนนับร้อยออกมาร่วมเดินขบวนประท้วงกันบนท้องถนน โดยเฉพาะบริเวณคริสโตเฟอร์สตรีท ซึ่งเป็นที่ตั้งของ Stonewall Inn พร้อมการปะทะกันระหว่างกลุ่ม LGBTQ+ และตำรวจหลายครั้ง และเริ่มรุนแรงขึ้นพร้อมสื่อมวลชนที่เข้ามาทำข่าวและเผยแพร่เรื่องราวที่เกิดขึ้นออกไปจนคนทั่วไปรู้จัก
การประท้วงครั้งนี้เอง ถือเป็นการจุดประกาย และกลายเป็นจุดเริ่มต้นการเรียกร้องความเท่าเทียมทางเพศในสหรัฐอเมริกา ข่าวการจลาจลที่สโตนวอลล์ทำให้เกิดกระแสของการเรียกร้องเสรีภาพในการแสดงออกของชาว LGBTQ+ ในหลายประเทศ
สำหรับงาน Pride ครั้งแรก เกิดขึ้นในปี 1970 และดำเนินต่อเนื่องนับแต่นั้นเป็นต้นมา เพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้น โดยมีสัญลักษณ์พิเศษคือธงรุ้งจากการประดิษฐ์ของ Gilbert Baker ศิลปินและนักขับเคลื่อนสิทธิมนุษยชนของชาวเกย์ โดยเขาได้แรงบันดาลใจมาจากธงชาติของประเทศสหรัฐอเมริกาในวาระฉลองครบรอบ 200 ปี ในปี 1976 โดยประกอบด้วย 8 สี ได้แก่
หลังจากนั้นได้ถูกลดทอนลงจนเหลือ 6 สี โดยตัดสีชมพู และสีน้ำเงินเข้มออก และใช้กันต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน ที่สื่อถึงความหลากหลายในของความเป็นมนุษย์ และย้ำเตือนว่าทุก ๆ คน ล้วนเป็นสีที่ช่วยเติมเต็มสังคมให้สวยงามและน่าอยู่ขึ้น รวมถึงในประเทศไทยของเราเองก็เริ่มมีการร่วมกิจกรรมเกี่ยวกับเดือนแห่งความภาคภูมิใจนี้ ซึ่งปี 2023 ก็มีการจัดงานอย่างยิ่งใหญ่ ที่กำลังจะเกิดขึ้นในวันที่ 4 มิถุนายน และคงได้มีหลากหลายแบรนด์ที่ออกแคมเปญการตลาดให้เราได้เห็นกัน
จากบทความนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของเรื่องราวเคล้าสีสัน ความสนุก และประวัติศาสตร์ที่สำคัญของกลุ่ม LGBT+ และยังเป็นจุดเริ่มต้นของสิทธิที่เท่าเทียมกันของทุก ๆ คน ที่ไม่ใช่เพียงเรื่องของเพศเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการเข้าใจ และยอมรับ ความแตกต่างของเชื้อชาติ สีผิว ภาษา ศาสนา ความคิดเห็นทางการเมือง หรือสถานะทางสังคมอีกด้วย
Reference :
https://www.facebook.com/srichand1948
https://www.linkedin.com/pulse/asia-you-ready-pink-dollar-david-ko/?trk=pulse-article
เชื่อว่า ทุกคนในโลกนี้ ไม่ว่าจะวัยไหน ต้องเคยได้ยิน สโลแกน สุดแสนคลาสสิก อย่าง I’m Love’in it อย่างแน่นอน และคงไม่มีใครที่ไม่รู้จักร้านอาหารฟาสต์ฟู้ดอันดับหนึ่งของโลกอย่าง McDonald's
ตำนานความอร่อยของ McDonald’s นี้เริ่มต้นในปี ค.ศ. 1940 ณ ซานเบอร์นาดิโน เมืองเล็ก ๆ ในรัฐแคลิฟอร์เนีย โดย 2 พี่น้องแมคโดนัลด์ “ดิ๊ก” (Richard James “Dick” McDonald) และ “แมค” (Maurice James “Mac” McDonald) ที่เริ่มต้นจากร้านแฮมเบอร์เกอร์เล็ก ๆ ที่มีเมนูให้เลือกกว่า 25 เมนู และให้บริการแบบ “ไดร์ฟทรู”
เมื่อธุรกิจดำเนินไปได้ระยะหนึ่ง และถือว่าประสบความสำเร็จ แต่ทั้งสอง มองเห็นว่าร้านของพวกเขายังมีกำไรน้อยเกินไป และมีปัญหาในการบริหารจัดการมากมาย ทั้งเมนูอาหารที่มากเกินไป ขั้นตอนการสั่งอาหารที่ยุ่งยาก รวมถึงเรื่องการเตรียมวัตถุดิบที่หลากหลาย และบางเมนู เช่น บาร์บีคิว หากเตรียมไว้ล่วงหน้า จะทำให้อาหารเสียรสชาติ
ช่วงปี ค.ศ. 1948 พวกเขาจึงกลับไปทบทวนธุรกิจของตัวเอง และปิดปรับปรุงร้านเป็นเวลา 3 เดือน และกลับมาให้บริการลูกค้าอีกครั้ง โดยลดเมนูอาหารลงจาก 25 เมนู แล้วชูให้ “แฮมเบอเกอร์” เป็นเมนูหลัก พร้อมเครื่องเคียงอย่างเฟรนช์ฟรายส์ (มันฝรั่งทอด) พาย และเครื่องดื่ม “มิลค์เชค” เน้นในรูปแบบลูกค้าบริการตัวเอง ผลลัพธ์ที่ได้คือ นอกจากจะลดต้นทุนการบริหารจัดการ การจ้างพนักงานเสิร์ฟ พ่อครัวมืออาชีพ ทำให้ราคาแฮมเบอร์เกอร์ของ McDonald ถูกกว่าร้าน อื่น ๆ ด้วยความสะดวก ประหยัดเวลา และราคาเข้าถึงได้ ทำให้ลูกค้าที่่เข้ามาใช้บริการมากขึ้นเรื่อยๆ และนี่นับว่าจุดเริ่มต้นของ McDonald ในฐานะร้านอาหารฟาสต์ฟู้ดอย่างแท้จริง
ต่อมาในปี ค.ศ. 1954 ทั้งสองคนได้รู้จักกับ “เรย์ คร็อก” (Raymond Albert ‘Ray’ Kroc) ซึ่งเป็นเซลล์ขายเครื่องปั่นมิลค์เชค ที่ได้รับยอดสั่งซื้อสินค้าจากพวกเขา และมองเห็นโอกาสจากธุรกิจของร้าน McDonald จึงอยากร่วมทำธุรกิจด้วย โดยเขาเป็นผู้คิดระบบแฟรนไชส์ขึ้นมาเสนอทั้งสองพี่น้อง รวมถึงการนำโมเดลธุรกิจแบบ Localize Marketing ขึ้นมาด้วยการให้มีการปรับเปลี่ยนเมนูไปตามแต่ละพื้นที่ และยังคงชู “แฮมเบอร์เกอร์” ให้เป็นเมนูหลักประจำร้าน เน้นราคาถูก บริการรวดเร็ว
McDonale เริ่มต้นสาขาแรกในต่างประเทศที่ แคนาดา และปัจจุบันประสบความสำเร็จ และขยายสาขา ไปทั่วโลก 40,275 สาขาใน 118 ประเทศทั่วโลก รวมถึงประเทศไทย โดยมีจำนวนลูกค้าทั่วโลกที่เข้าใช้บริการประมาณ 69 ล้านคนต่อวัน ประมาณว่า McDonald's สามารถขายแฮมเบอร์เกอร์ได้ 75 ชิ้นต่อวินาที เลยทีเดียว และสร้างรายได้ทั่วโลกถึง 23.18 พันล้านดอลลาร์ในปี 2022 (Zippia, 2023)
ความสำเร็จของ McDonald นั้น เกิดมาพร้อมหลายปัจจัย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การทำ Localized Marketing หรือการปรับตัวขององค์กรให้เข้ากับวัฒนธรรมที่แตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ เพื่อทำให้แบรนด์มีความเป็นหนึ่งเดียวกับท้องถิ่น สร้างความเป็นกันเองและทำให้ลูกค้าเกิดการจดจำในแบรนด์มากขึ้น จนประสบความสำเร็จเราลองมาดูตัวอย่างการใช้ โมเดล Localize Marketing ของ McDonald กัน
เริ่มที่ประเทศเยอรมนี ดินแดนแห่งคนรักเนื้อ และไส้กรอก
ด้วยการทำการบ้านอย่างดีของ McDonald ทำให้ออกเมนูพิเศษอย่าง Nürnburger ที่ทำจากใช้แป้งเบอร์เกอร์ เสิร์ฟพร้อมไส้กรอกเนิร์นแบร์เกอร์ ( Nürnberger sausages ) รวมถึงคิดค้นเมนู แฮมเบอร์เกอร์เนื้อ ที่สามารถทานคู่กับเบียร์ ซึ่งตอบรับกับลักษณะนิสัยของชาวเยอรมันที่นิยมดื่มเบียร์ขณะรับประทานอาหาร ได้เป็นอย่างดี
ต่อมาที่อินโดนีเซีย ประเทศแถบเอเชียที่มีประชากรมากกว่า 260 ล้านคน โดยส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม
McDonald's ทำ Localize Marketing ได้อย่างเหมาะสม ด้วยการตัดเนื้อหมูออกจากเมนู โดยเน้นไปที่การใช้วัตถุดิบจากปลาและเนื้อแทน นอกจากนี้ McDonald ยังวางตัวให้ทุกสาขาในอินโดนีเซียทำร้านให้ได้มาตรฐานฮาลาล พร้อมปรับเปลี่ยนเมนูหลักจากแฮมเบอร์เกอร์ เป็นเมนูข้าว ให้ตอบรับกับวิถีชีวิตของชาวอินโดนีเซียที่บริโภค “ข้าว” เป็นอาหารหลัก
ถัดมาที่ประเทศญี่ปุ่น อย่างที่เรารู้กันว่า อาหารญี่ปุ่น มีชื่อเสียงและมีความเฉพาะตัวที่แตกต่างจากที่อื่นในโลก
McDonald’s ในญี่ปุ่น ยังคงแฮมเบอร์เกอร์ไว้เป็นเมนูหลัก และค่อย ๆ ปรับเปลี่ยนเมนูให้หลากหลายขึ้น เพื่อตอบสนองความต้องการของชาวญี่ปุ่น ไม่ว่าจะเป็น Teriyaki Burger (เทอริยากิเบอร์เกอร์ ด้วยตัวแป้งที่ราดซอสเทอริยากิหวาน ๆ เสิร์ฟพร้อมหัวหอม) (Oyako Teriyaki McBurger : 親子てりやきマックバーガー) ที่ได้แรงบันดาลใจมาจากโอยะโกะด้ง ข้าวหน้าไก่ราดไข่ คราวนี้มาเป็นเนื้อไก่ทอดกรอบนอกนุ่มในชุ่มซอสเทริยากิเลมอนรสหวาน พร้อมไข่ดาวและผักกาด รวมทั้ง อุจิมัทฉะกรีนที เครื่องดื่มชาเขียวจาก McCafe by Barista
ตัวอย่างสุดท้าย ขอยกตัวอย่างที่ โมร็อกโก ซึ่งเป็นประเทศที่ตั้งอยู่ในภูมิภาค Maghreb ของแอฟริกาเหนือ
McDonalds ทำ Localize Marketing ที่เหมาะสมกับการใช้ชีวิตของผู้คนในประเทศได้เป็นอย่างดี โดยออกแบบเมนู McArabia Sandwich ซึ่งเป็นแซนวิชที่ทำจากขนมปังพิต้าและเครื่องเทศแบบดั้งเดิม เช่น ผงยี่หร่าและผักชี หรือในช่วงเดือนรอมฎอน McDonalds ยังจัดทำเมนูพิเศษที่เรียกว่า "f'tor" F'tor แปลว่า สิ้นสุดการถือศีลอด เมนูนี้ประกอบด้วยซุปแบบดั้งเดิม อินทผลัม นม และ BigMac
จากตัวอย่างข้างต้นนี้ จะเห็นได้ว่า McDonald’s ประสบความสำเร็จในการตีตลาดกลุ่มผู้บริโภคในแต่ละประเทศเพียงแค่ใช้ความใส่ใจในการปรับปรุงสินค้าให้ตรงกับประเทศนั้น ๆ เท่านั้นเอง
สำหรับผู้อ่านหรือผู้ประกอบการ ที่มองหาช่องทางการขยับขยายกิจการไปต่างประเทศ การทำการตลาดด้วย Localize Marketing ก็เป็นอีกหนึ่งมุมมองที่น่าสนใจ และคุณอาจประสบความสำเร็จเหมือนกับ McDonald’s ได้เพราะข้อคิดหลักของเรื่องนี้มีเพียง แค่ใส่ใจและค้นคว้าข้อมูลของ “กลุ่มเป้าหมาย” ที่เราต้องการ จะเจาะตลาดเท่านั้นเอง
<แนะนำ>
ถ้าใครอยากเริ่มธุรกิจของตัวเองที่ต้องการองค์ความรู้ในการทำธุรกิจแบบ Step-by-step แนะนำหลักสูตร
Shortcut MBA ที่สอนทุกอย่างที่คนอยากทำธุรกิจให้สำเร็จต้องรู้ดูรายละเอียดได้ที่ลิงค์ http://bit.ly/3FYL93N
Reference
https://www.zippia.com/advice/mcdonalds-statistics/
http://naturallygreattraders.blogspot.com/2016/11/mcdonalds-marketing-strategy-of.html
https://www.thaismescenter.com/ประวัติของแมคโดนัลด์-ที่โลกต้องรู้/
ถ้าพูดถึงแบรนด์กระเป๋า “Street Fashion” ที่ผู้หญิงใช้ได้ ผู้ชายใช้ดี เน้นความ อึด ถึก ทน และแฝงด้วยกลิ่นอายความรักษ์โลก จนครองใจวัยรุ่นสมัยนี้ หลายคนคงนึกถึง FREITAG
FREITAG ความสำเร็จจากความคิดสุดแหวกแนว
จุดเริ่มต้นของแบรนด์นี้ เกิดขึ้นในเช้าวันหนึ่งที่ฝนตกหนัก ระหว่างการเดินทางไปทำงานของ Markus (มาคัส) และ Daniel Freitag (ดาเนียล) 2 พี่น้อง กราฟิกดีไซเนอร์ ชาวสวิตเซอร์แลนด์ ที่ใช้ชีวิตอยู่ในเมืองซูริกเมืองที่ฝนชุ่มฉ่ำตลอดทั้งปี ด้วยปัญหานี้เอง ทำให้เขาทั้งสองมีไอเดียในการหากระเป๋าสักใบ ที่สามารถใส่เอกสาร อุปกรณ์การเรียน เครื่องเขียน รวมถึงสิ่งอื่น ๆ พร้อมสามารถสะพายหลังในขณะที่ปั่นจักรยานได้ และที่สำคัญที่สุดคือ ความอึด ถึก ทน เพราะระหว่างการเดินทาง อาจมีสถานการณ์ที่ไม่สามารถคาดเดาได้ ซึ่งในช่วงนั้นเอง ( ปี ค.ศ. 1993) กระเป๋าหลากหลายรูปแบบที่มีวางขายในตลาด ไม่สามารถตอบโจทย์การใช้งานของทั้งสองได้
ขณะที่พวกเขากำลังคุยกันถึงไอเดียนี้ พวกเขามองออกไปนอกหน้าต่าง และเห็นรถบรรทุกผ่านไปมา ซึ่งทุกคันจะมีผ้าใบคลุมตัวรถเอาไว้ โดยฝ่าทั้ง ลม หิน ดิน ฝุ่น ฝน และ พายุ ไม่ว่ารถบรรทุกจะขับไปไหนต่อไหน ผ้าใบก็ยังทำหน้าที่ของตัวเองได้ดี ถึงแม้ภายนอกของผืนผ้าจะเก่า หรือสกปรก แต่ก็ยังปกป้องสิ่งของภายในรถบรรทุกได้อย่างดี
ดังนั้น Marcus จึงเกิดแรงบันดาลใจชวน Daniel ตระเวนหาซื้อผืนผ้าใบ ทั้งแบบเก่า และ ใหม่ เพื่อนำมาขึ้นแบบ โดยเริ่มตัดเย็บกันเองด้วยมือ พร้อมนำมาผสมผสานกับวัสดุรีไซเคิลอื่นๆ เช่น เลือกใช้ยางในของรถจักรยานเพื่อมาเย็บขอบผ้าใบให้กระเป๋าเป็นรูปทรงได้ รวมถึงใช้เข็มขัดนิรภัยเหลือใช้ มาตัดเป็นสายสะพาย จนทำให้กระเป๋า Freitag ใบแรกถือกำเนิดขึ้น ซึ่งเป็นต้นแบบของ รุ่น F13 TOP CAT เป็นกระเป๋าทรง Messenger bag ขนาด 30 ตร.ม. อันโด่งดังในปัจจุบัน
หลังจากที่เขาทั้งสอง นำกระเป๋าไปใช้ เพื่อน ๆ หลายคนที่มหาวิทยาลัยสังเกตเห็น และรู้สึกว่ากระเป๋านี้ ดูเท่มาก ทั้งแปลกแหวกแนว และแตกต่างจากของที่มีอยู่ในตลาด ณ ช่วงเวลานั้น ๆ จนเกิดเป็นกระแสอยากได้กระเป๋าแบบนี้ขึ้นในมหาวิทยาลัย ทำให้ 2 พี่น้องเริ่มตั้งธุรกิจอย่างจริงจัง โดยเริ่มจากการรับพรีออเดอร์ เพื่อนคนไหนสนใจ สามารถจ่ายเงินมาก่อนได้ แล้วพวกเขาจะไปหาวัสดุ อุปกรณ์มาตัดเย็บให้
ต่อมาคำสั่งซื้อที่เข้ามา เริ่มมีเยอะขึ้น ทำให้พวกเขาเริ่มเห็นโอกาสทางธุรกิจที่มีอยู่ พวกเขาเริ่มเชื่อแล้วว่ากระเป๋าแบบที่กำลังทำไม่ควรจำกัดอยู่เพียงแค่เขาสองคนพี่น้อง หรือกลุ่มเพื่อนที่อยากใช้ แต่มีโอกาสที่ขยายไปในระดับโลกได้ด้วย ทั้งสองจึงเริ่มตัดสินใจสร้างธุรกิจโดยจดบริษัทในนามของ FREITAG
ในช่วงต้นของธุรกิจ พวกเขายังลงมือทำเองในทุกส่วนประกอบ ทั้งการ หาวัตถุดิบ ตัดเย็บ และจัดส่งให้ลูกค้าแต่ละรายด้วยตนเอง เมื่อออเดอร์เริ่มมีมากขึ้นเรื่อย ๆ จึงเริ่มจ้างโรงงานมาตัดเย็บ โดยที่คุณ Marcus และ Daniel ทำหน้าที่ในการคัดเลือกวัสดุ ควบคุมคุณภาพ ควบคุมการผลิต และออกแบบดีไซน์กระเป๋าแต่ละรุ่น
หลังจากนั้น FREITAG ได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว และขยายไปเปิดตัวตามร้านต่าง ๆ จนกระทั่งเป็นที่นิยมในสวิตเซอร์แลนด์ และเริ่มวางแผนการตลาดที่มีหลักการมากขึ้น โดยใช้กลยุทธ์การตลาดแบบเก่า ที่ยังเก๋าจนถึงปัจจุบัน อย่าง STP Marketing
โดยในบทความนี้จะขอยกตัวอย่างที่ชัดเจน ในเรื่องของ Positioning หรือ “จุดยืนของแบรนด์”
‘ We Think and Act in Cycles ’
เป็นคอนเซ็ปต์หลักของแบรนด์ คือ นับตั้งแต่วันแรกที่ทั้งสองคนเริ่มตัดเย็บกระเป๋าใช้กันเอง มาจนถึงวันที่กลายเป็นธุรกิจระดับโลก เขาก็ยังยึดมั่นคอนเซ็ปเดิมคือ การใช้วัสดุรีไซเคิล 100% แม้จะได้รับคำแนะนำจากหลายคนว่า หากเปลี่ยนวัสดุ จะช่วยลดต้นทุนการผลิตได้อีกมากมาย แต่เขาก็ยังยืนยันจะใช้วัสดุรีไซเคิลเท่านั้น นอกจากจะช่วยลดปริมาณขยะได้แล้ว การใช้วัสดุรีไซเคิลนี้เองที่ทำให้ FREITAG เป็นแบรนด์ที่มีเปี่ยมไปด้วยเสน่ห์ จนสามารถครองใจสายฮิปทั่วโลกได้ คือ กระเป๋าทุก ๆ ใบ ที่ผลิตออกมาจะมีลวดลายที่ไม่เหมือนกัน ถือเป็นความต่างผสานกับความเป็นพิเศษ ที่ทำให้ลูกค้าได้รับประสบการณ์ที่ว่า FREITAG ของเขามีเพียงชิ้นเดียวในโลกเท่านั้น
ปัจจุบัน FREITAG ยังได้แตกไลน์สินค้าออกไปอีกหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นกระเป๋าถือ กระเป๋าหิ้ว กระเป๋าสตางค์ ปัจจุบัน Marcus และ Daniel ได้ส่งมอบหน้าที่การบริหารให้ผู้บริหารมืออาชีพ ในการบริหารบริษัทให้ยั่งยืนต่อไป และเขาทั้งสองคน กลับไปทำสิ่งที่ตัวเองรัก คือการออกแบบและคิดค้นผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ต่อไป
<แนะนำ>
หากใครอยากเริ่มธุรกิจของตัวเอง หรือต้องการองค์ความรู้ในการทำธุรกิจและการตลาด อย่างเช่น การวางกลยุทธ์แบบ STP ที่ 2 พี่น้องเจ้าของ FREITAG ทำจนประสบความสำเร็จ สามารถเรียนรู้ได้ผ่านหลักสูตร Shortcut MBA ที่สอนทุกอย่างที่คนอยากทำธุรกิจให้สำเร็จต้องรู้ แบบ Step-by-step ดูรายละเอียดได้ที่ลิงค์ http://bit.ly/3FYL93N
Reference :
หลายคนอาจสงสัยว่า May the 4th Be with you หรือวันที่ 4 พฤษภาคม ของทุกปี อยู่ดี ๆ กลายเป็น วันสตาร์วอรส์ ได้อย่างไร และเราถอดบทเรียนจากเรื่องของวันนี้ได้อย่างไร ... หาคำตอบได้ในบทความนี้ !!
จุดเริ่มต้นของเรื่องนี้ เกิดขึ้นใน วันที่ 4 พฤษภาคม ปี ค.ศ. 1979 เมื่อคุณมาร์กาเรต ฮิลดา แทตเชอร์ (Margaret Hilda Thatcher) ผู้นำพรรคอนุรักษนิยม ชนะการเลือกตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกแห่งสหราชอาณาจักร และเพื่อฉลองชัยชนะนี้ ทางพรรคของเธอได้ตีพิมพ์ข้อความลงบนหนังสือพิมพ์ “London Evening News” ว่า
May The Fourth Be With You, Maggie Congratulation
ซึ่งข้อความนี้ ได้สอดคล้องกับ ‘May The Force be with you’ สุดโด่งดัง ของมหาภาพยนตร์ STAR WARS อย่าง ‘𝙈𝙖𝙮 𝙩𝙝𝙚 𝙛𝙤𝙧𝙘𝙚 𝙗𝙚 𝙬𝙞𝙩𝙝 𝙮𝙤𝙪’ .. ขอพลังจงสถิตย์แก่ท่าน 🍀 ที่มักมีสอดแทรกอยู่ในหนัง STAR WARS ทุกภาค
ส่วนคำว่า May the force be with you มีที่มาจากภาษาละติน ‘dominus vobiscum’ ที่หมายถึง The Lord be with you หรือ จากข้อมูลของเว็บไซต์ Urban Dictionary ระบุว่า การใช้ May the force be with you เป็นการสื่อถึงการส่งผ่านความปรารถนาดีในเชิงอวยพรใครสักคนให้โชคดีและผ่านเรื่องต่าง ๆ ไปได้ด้วยดี และมักใช้อวยพรเมื่อมีบุคคลที่รัก กำลังเริ่มต้นทำสิ่งใหม่ ๆ - good luck, be well, good fortune, may good things happen to you -
นอกจากเหตุการณ์ดังกล่าว ด้วยความที่ในเดือน พฤษภาคม เป็นเดือนที่มีเหตุการณ์ต่าง ๆ เกี่ยวข้องกับจักรวาล STAR WARS มากมาย จึงทำให้เหล่าสาวก STAR WARS ต่างพร้อมใจกัน ยกให้ วันที่ 4 พฤษภาคม เป็น วันสตาร์วอลล์ หรือ STAR WARS'S DAY ที่เหล่าแฟนคลับจะรวมตัวกันจัดงานปาร์ตี้ แต่งกายเป็นตัวละครที่ชื่นชอบ รวมถึงใช้ประโยค “May the Fourth Be With You” ในการทักทายกัน รวมถึงร้านค้า สวนสาธารณะ และสถานที่ต่าง ๆ ยังพากันตกแต่งด้วยธีม STAR WARS อีกด้วย
สำหรับในปี 2023 นี้ แม้แต่ทาง Disney Plus เอง ก็ร่วมเฉลิมฉลองวัน STAR WARS ด้วยการปล่อย #StarWarsVisions Volume 2 ให้เหล่าสาวกได้รับชม ผ่านทาง Streaming ของ Disney Plus เท่านั้น
รวมถึง Gardens by the Bay แลนด์มาร์คชื่อดังของสิงคโปร์ก็มีการจัด Campaign เฉพาะกิจให้เหล่าแฟน ๆ ได้มาย้อนวัย และรับชม แสง สี เสียง ด้วยเช่นกัน
ทั้งนี้ ความสำเร็จทั้งหมดของ STAR WARS คงไม่อาจเกิดขึ้นได้ หากขาด George Lucas ผู้กำกับภาพยนต์ และเปรียบเสมือนศาสดาของชาว STAR WARS ซึ่งจากการวางแผนการทำงานที่ดีของเขา ทำให้ George Lucas ขึ้นแท่นเป็นหนึ่งในผู้กำกับที่รวยที่สุด จากการกำกับหนังน้อยที่สุด
George Lucas มีการทำงานด้วยแนวคิด Agile Project Management ที่ดีแม้จะมีแพลนการสร้างหนัง STAR WARS อยู่ในหัวนานแล้ว แต่เขาไม่ได้มุทะลุ ที่จะสร้างหนังออกมารวดเดียวทั้งหมด โดยเลือกทำงานด้วยการวางพล๊อตเรื่องแบบคร่าว ๆ ไว้ก่อน และปรับเปลี่ยนตามสถานการณ์ เพื่อที่จะสามารถนำเรื่องราวไปบิดต่อได้ จนประสบความสำเร็จและครองใจคนทั่วโลก จนถึงปัจจุบัน
นอกจากนี้ความสำเร็จของ STAR WARS ยังไม่หยุดอยู่ที่ภาพยนต์เพียงอย่างเดียว แต่ต่อยอดไปสู่การผลิตหนังสือการ์ตูน ของเล่น ของสะสมต่าง ๆ รวมไปถึงสวนสนุก ออกมาสานต่อจักรวาลของ STAR WARS ไปได้อย่างไม่มีที่สิ้นสุด
<แนะนำ>
หากคุณกำลังมองหาเทคนิค แนวคิดหรือเครื่องมือทุ่นแรงที่ช่วยให้ธุรกิจและการทำงาน ประสบความสำเร็จ เหมือนอย่างคุณ George Lucas แนะนำ หลักสูตร Agile Project Management
หลักสูตรที่จะช่วยให้คุณปรับการทำงานได้อย่างรวดเร็ว คล่องตัวมากยิ่งขึ้น และขยายโอกาสทางธุรกิจได้ ดูรายละเอียดได้ที่ลิงค์ http://bit.ly/3FYL93N
Reference
https://www.starwars.com/news/may-the-4th-be-with-you-cultural-history
https://scifi.radio/2022/05/03/may-is-star-wars-month/
https://disneyworld.disney.go.com/star-wars-galactic-starcruiser/overview/