เชื่อว่า ทุกคนในโลกนี้ ไม่ว่าจะวัยไหน ต้องเคยได้ยิน สโลแกน สุดแสนคลาสสิก อย่าง I’m Love’in it อย่างแน่นอน และคงไม่มีใครที่ไม่รู้จักร้านอาหารฟาสต์ฟู้ดอันดับหนึ่งของโลกอย่าง McDonald's

เปิดตำนานความสำเร็จของ McDonald

ตำนานความอร่อยของ McDonald’s นี้เริ่มต้นในปี ค.ศ. 1940  ณ ซานเบอร์นาดิโน เมืองเล็ก ๆ ในรัฐแคลิฟอร์เนีย  โดย 2 พี่น้องแมคโดนัลด์ “ดิ๊ก” (Richard James “Dick” McDonald) และ “แมค” (Maurice James “Mac” McDonald) ที่เริ่มต้นจากร้านแฮมเบอร์เกอร์เล็ก ๆ ที่มีเมนูให้เลือกกว่า 25 เมนู และให้บริการแบบ “ไดร์ฟทรู” 

McDonald Localize

เมื่อธุรกิจดำเนินไปได้ระยะหนึ่ง และถือว่าประสบความสำเร็จ แต่ทั้งสอง มองเห็นว่าร้านของพวกเขายังมีกำไรน้อยเกินไป และมีปัญหาในการบริหารจัดการมากมาย  ทั้งเมนูอาหารที่มากเกินไป ขั้นตอนการสั่งอาหารที่ยุ่งยาก รวมถึงเรื่องการเตรียมวัตถุดิบที่หลากหลาย และบางเมนู เช่น บาร์บีคิว หากเตรียมไว้ล่วงหน้า จะทำให้อาหารเสียรสชาติ 

ช่วงปี ค.ศ.  1948 พวกเขาจึงกลับไปทบทวนธุรกิจของตัวเอง และปิดปรับปรุงร้านเป็นเวลา 3 เดือน และกลับมาให้บริการลูกค้าอีกครั้ง โดยลดเมนูอาหารลงจาก 25 เมนู แล้วชูให้ “แฮมเบอเกอร์” เป็นเมนูหลัก พร้อมเครื่องเคียงอย่างเฟรนช์ฟรายส์ (มันฝรั่งทอด) พาย และเครื่องดื่ม “มิลค์เชค” เน้นในรูปแบบลูกค้าบริการตัวเอง ผลลัพธ์ที่ได้คือ นอกจากจะลดต้นทุนการบริหารจัดการ การจ้างพนักงานเสิร์ฟ พ่อครัวมืออาชีพ ทำให้ราคาแฮมเบอร์เกอร์ของ McDonald ถูกกว่าร้าน อื่น ๆ ด้วยความสะดวก ประหยัดเวลา และราคาเข้าถึงได้ ทำให้ลูกค้าที่่เข้ามาใช้บริการมากขึ้นเรื่อยๆ และนี่นับว่าจุดเริ่มต้นของ McDonald ในฐานะร้านอาหารฟาสต์ฟู้ดอย่างแท้จริง

McDonald Localize begining

ต่อมาในปี ค.ศ.  1954 ทั้งสองคนได้รู้จักกับ “เรย์ คร็อก” (Raymond Albert ‘Ray’ Kroc)  ซึ่งเป็นเซลล์ขายเครื่องปั่นมิลค์เชค ที่ได้รับยอดสั่งซื้อสินค้าจากพวกเขา และมองเห็นโอกาสจากธุรกิจของร้าน McDonald จึงอยากร่วมทำธุรกิจด้วย โดยเขาเป็นผู้คิดระบบแฟรนไชส์ขึ้นมาเสนอทั้งสองพี่น้อง รวมถึงการนำโมเดลธุรกิจแบบ Localize Marketing ขึ้นมาด้วยการให้มีการปรับเปลี่ยนเมนูไปตามแต่ละพื้นที่ และยังคงชู “แฮมเบอร์เกอร์” ให้เป็นเมนูหลักประจำร้าน เน้นราคาถูก บริการรวดเร็ว 

McDonald สาขาแรกในต่างแดน

McDonale เริ่มต้นสาขาแรกในต่างประเทศที่ แคนาดา และปัจจุบันประสบความสำเร็จ และขยายสาขา ไปทั่วโลก 40,275 สาขาใน 118 ประเทศทั่วโลก รวมถึงประเทศไทย โดยมีจำนวนลูกค้าทั่วโลกที่เข้าใช้บริการประมาณ 69 ล้านคนต่อวัน ประมาณว่า McDonald's สามารถขายแฮมเบอร์เกอร์ได้ 75 ชิ้นต่อวินาที เลยทีเดียว และสร้างรายได้ทั่วโลกถึง 23.18 พันล้านดอลลาร์ในปี 2022 (Zippia, 2023) 

McDonald Localize

Localize Marketing ของ McDonald

ความสำเร็จของ McDonald นั้น เกิดมาพร้อมหลายปัจจัย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การทำ Localized Marketing หรือการปรับตัวขององค์กรให้เข้ากับวัฒนธรรมที่แตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ เพื่อทำให้แบรนด์มีความเป็นหนึ่งเดียวกับท้องถิ่น สร้างความเป็นกันเองและทำให้ลูกค้าเกิดการจดจำในแบรนด์มากขึ้น จนประสบความสำเร็จเราลองมาดูตัวอย่างการใช้ โมเดล  Localize Marketing ของ McDonald กัน

McDonald Localize Around world

เริ่มที่ประเทศเยอรมนี ดินแดนแห่งคนรักเนื้อ และไส้กรอก 

ด้วยการทำการบ้านอย่างดีของ McDonald ทำให้ออกเมนูพิเศษอย่าง Nürnburger ที่ทำจากใช้แป้งเบอร์เกอร์ เสิร์ฟพร้อมไส้กรอกเนิร์นแบร์เกอร์ ( Nürnberger sausages ) รวมถึงคิดค้นเมนู แฮมเบอร์เกอร์เนื้อ ที่สามารถทานคู่กับเบียร์ ซึ่งตอบรับกับลักษณะนิสัยของชาวเยอรมันที่นิยมดื่มเบียร์ขณะรับประทานอาหาร ได้เป็นอย่างดี

ต่อมาที่อินโดนีเซีย ประเทศแถบเอเชียที่มีประชากรมากกว่า 260 ล้านคน โดยส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม

McDonald's ทำ Localize Marketing ได้อย่างเหมาะสม ด้วยการตัดเนื้อหมูออกจากเมนู โดยเน้นไปที่การใช้วัตถุดิบจากปลาและเนื้อแทน นอกจากนี้ McDonald ยังวางตัวให้ทุกสาขาในอินโดนีเซียทำร้านให้ได้มาตรฐานฮาลาล  พร้อมปรับเปลี่ยนเมนูหลักจากแฮมเบอร์เกอร์ เป็นเมนูข้าว ให้ตอบรับกับวิถีชีวิตของชาวอินโดนีเซียที่บริโภค “ข้าว” เป็นอาหารหลัก 

ถัดมาที่ประเทศญี่ปุ่น อย่างที่เรารู้กันว่า อาหารญี่ปุ่น มีชื่อเสียงและมีความเฉพาะตัวที่แตกต่างจากที่อื่นในโลก 

McDonald’s ในญี่ปุ่น ยังคงแฮมเบอร์เกอร์ไว้เป็นเมนูหลัก และค่อย ๆ ปรับเปลี่ยนเมนูให้หลากหลายขึ้น เพื่อตอบสนองความต้องการของชาวญี่ปุ่น ไม่ว่าจะเป็น Teriyaki Burger (เทอริยากิเบอร์เกอร์ ด้วยตัวแป้งที่ราดซอสเทอริยากิหวาน ๆ เสิร์ฟพร้อมหัวหอม) (Oyako Teriyaki McBurger : 親子てりやきマックバーガー) ที่ได้แรงบันดาลใจมาจากโอยะโกะด้ง ข้าวหน้าไก่ราดไข่ คราวนี้มาเป็นเนื้อไก่ทอดกรอบนอกนุ่มในชุ่มซอสเทริยากิเลมอนรสหวาน พร้อมไข่ดาวและผักกาด รวมทั้ง อุจิมัทฉะกรีนที เครื่องดื่มชาเขียวจาก McCafe by Barista 

ตัวอย่างสุดท้าย ขอยกตัวอย่างที่ โมร็อกโก ซึ่งเป็นประเทศที่ตั้งอยู่ในภูมิภาค Maghreb ของแอฟริกาเหนือ

McDonalds ทำ Localize Marketing ที่เหมาะสมกับการใช้ชีวิตของผู้คนในประเทศได้เป็นอย่างดี โดยออกแบบเมนู McArabia Sandwich ซึ่งเป็นแซนวิชที่ทำจากขนมปังพิต้าและเครื่องเทศแบบดั้งเดิม เช่น ผงยี่หร่าและผักชี หรือในช่วงเดือนรอมฎอน McDonalds ยังจัดทำเมนูพิเศษที่เรียกว่า "f'tor" F'tor แปลว่า สิ้นสุดการถือศีลอด เมนูนี้ประกอบด้วยซุปแบบดั้งเดิม อินทผลัม นม และ BigMac 

McDonald Localize Morocco

จากตัวอย่างข้างต้นนี้ จะเห็นได้ว่า McDonald’s ประสบความสำเร็จในการตีตลาดกลุ่มผู้บริโภคในแต่ละประเทศเพียงแค่ใช้ความใส่ใจในการปรับปรุงสินค้าให้ตรงกับประเทศนั้น ๆ เท่านั้นเอง

สำหรับผู้อ่านหรือผู้ประกอบการ ที่มองหาช่องทางการขยับขยายกิจการไปต่างประเทศ การทำการตลาดด้วย Localize Marketing ก็เป็นอีกหนึ่งมุมมองที่น่าสนใจ และคุณอาจประสบความสำเร็จเหมือนกับ McDonald’s ได้เพราะข้อคิดหลักของเรื่องนี้มีเพียง แค่ใส่ใจและค้นคว้าข้อมูลของ  “กลุ่มเป้าหมาย” ที่เราต้องการ จะเจาะตลาดเท่านั้นเอง

<แนะนำ>

ถ้าใครอยากเริ่มธุรกิจของตัวเองที่ต้องการองค์ความรู้ในการทำธุรกิจแบบ Step-by-step แนะนำหลักสูตร

Shortcut MBA ที่สอนทุกอย่างที่คนอยากทำธุรกิจให้สำเร็จต้องรู้ดูรายละเอียดได้ที่ลิงค์ http://bit.ly/3FYL93N


Reference 

https://corporate.mcdonalds.com/corpmcd/investors/financial-information.html#accordion-04de232996-item-faf8b528f3

https://www.zippia.com/advice/mcdonalds-statistics/

https://matcha-jp.com/th/8050

http://naturallygreattraders.blogspot.com/2016/11/mcdonalds-marketing-strategy-of.html

https://www.thaismescenter.com/ประวัติของแมคโดนัลด์-ที่โลกต้องรู้/

ถ้าพูดถึงแบรนด์กระเป๋า “Street Fashion” ที่ผู้หญิงใช้ได้ ผู้ชายใช้ดี เน้นความ อึด ถึก ทน และแฝงด้วยกลิ่นอายความรักษ์โลก จนครองใจวัยรุ่นสมัยนี้ หลายคนคงนึกถึง FREITAG

FREITAG ความสำเร็จจากความคิดสุดแหวกแนว

จุดเริ่มต้นของแบรนด์นี้ เกิดขึ้นในเช้าวันหนึ่งที่ฝนตกหนัก ระหว่างการเดินทางไปทำงานของ Markus (มาคัส) และ Daniel Freitag (ดาเนียล) 2 พี่น้อง กราฟิกดีไซเนอร์ ชาวสวิตเซอร์แลนด์ ที่ใช้ชีวิตอยู่ในเมืองซูริกเมืองที่ฝนชุ่มฉ่ำตลอดทั้งปี ด้วยปัญหานี้เอง ทำให้เขาทั้งสองมีไอเดียในการหากระเป๋าสักใบ ที่สามารถใส่เอกสาร อุปกรณ์การเรียน เครื่องเขียน รวมถึงสิ่งอื่น ๆ พร้อมสามารถสะพายหลังในขณะที่ปั่นจักรยานได้ และที่สำคัญที่สุดคือ ความอึด ถึก ทน เพราะระหว่างการเดินทาง อาจมีสถานการณ์ที่ไม่สามารถคาดเดาได้ ซึ่งในช่วงนั้นเอง ( ปี ค.ศ. 1993) กระเป๋าหลากหลายรูปแบบที่มีวางขายในตลาด ไม่สามารถตอบโจทย์การใช้งานของทั้งสองได้

FREITAG Founder
- Daniel และ Markus Freitag - 2 พี่น้องผู้ก่อตั้ง FREITAG

ขณะที่พวกเขากำลังคุยกันถึงไอเดียนี้ พวกเขามองออกไปนอกหน้าต่าง และเห็นรถบรรทุกผ่านไปมา ซึ่งทุกคันจะมีผ้าใบคลุมตัวรถเอาไว้ โดยฝ่าทั้ง ลม หิน ดิน ฝุ่น ฝน และ พายุ ไม่ว่ารถบรรทุกจะขับไปไหนต่อไหน ผ้าใบก็ยังทำหน้าที่ของตัวเองได้ดี ถึงแม้ภายนอกของผืนผ้าจะเก่า หรือสกปรก แต่ก็ยังปกป้องสิ่งของภายในรถบรรทุกได้อย่างดี

ดังนั้น Marcus จึงเกิดแรงบันดาลใจชวน Daniel ตระเวนหาซื้อผืนผ้าใบ ทั้งแบบเก่า และ ใหม่ เพื่อนำมาขึ้นแบบ โดยเริ่มตัดเย็บกันเองด้วยมือ พร้อมนำมาผสมผสานกับวัสดุรีไซเคิลอื่นๆ เช่น เลือกใช้ยางในของรถจักรยานเพื่อมาเย็บขอบผ้าใบให้กระเป๋าเป็นรูปทรงได้ รวมถึงใช้เข็มขัดนิรภัยเหลือใช้ มาตัดเป็นสายสะพาย จนทำให้กระเป๋า Freitag ใบแรกถือกำเนิดขึ้น ซึ่งเป็นต้นแบบของ รุ่น F13 TOP CAT เป็นกระเป๋าทรง Messenger bag ขนาด 30 ตร.ม. อันโด่งดังในปัจจุบัน 

หลังจากที่เขาทั้งสอง นำกระเป๋าไปใช้ เพื่อน ๆ หลายคนที่มหาวิทยาลัยสังเกตเห็น และรู้สึกว่ากระเป๋านี้ ดูเท่มาก ทั้งแปลกแหวกแนว และแตกต่างจากของที่มีอยู่ในตลาด ณ ช่วงเวลานั้น ๆ จนเกิดเป็นกระแสอยากได้กระเป๋าแบบนี้ขึ้นในมหาวิทยาลัย ทำให้ 2 พี่น้องเริ่มตั้งธุรกิจอย่างจริงจัง  โดยเริ่มจากการรับพรีออเดอร์ เพื่อนคนไหนสนใจ สามารถจ่ายเงินมาก่อนได้ แล้วพวกเขาจะไปหาวัสดุ อุปกรณ์มาตัดเย็บให้ 

ต่อมาคำสั่งซื้อที่เข้ามา เริ่มมีเยอะขึ้น ทำให้พวกเขาเริ่มเห็นโอกาสทางธุรกิจที่มีอยู่ พวกเขาเริ่มเชื่อแล้วว่ากระเป๋าแบบที่กำลังทำไม่ควรจำกัดอยู่เพียงแค่เขาสองคนพี่น้อง หรือกลุ่มเพื่อนที่อยากใช้ แต่มีโอกาสที่ขยายไปในระดับโลกได้ด้วย ทั้งสองจึงเริ่มตัดสินใจสร้างธุรกิจโดยจดบริษัทในนามของ FREITAG 

ในช่วงต้นของธุรกิจ พวกเขายังลงมือทำเองในทุกส่วนประกอบ ทั้งการ หาวัตถุดิบ ตัดเย็บ และจัดส่งให้ลูกค้าแต่ละรายด้วยตนเอง เมื่อออเดอร์เริ่มมีมากขึ้นเรื่อย ๆ จึงเริ่มจ้างโรงงานมาตัดเย็บ โดยที่คุณ Marcus และ Daniel ทำหน้าที่ในการคัดเลือกวัสดุ ควบคุมคุณภาพ ควบคุมการผลิต และออกแบบดีไซน์กระเป๋าแต่ละรุ่น 

หลังจากนั้น FREITAG ได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว และขยายไปเปิดตัวตามร้านต่าง ๆ จนกระทั่งเป็นที่นิยมในสวิตเซอร์แลนด์  และเริ่มวางแผนการตลาดที่มีหลักการมากขึ้น โดยใช้กลยุทธ์การตลาดแบบเก่า ที่ยังเก๋าจนถึงปัจจุบัน อย่าง STP Marketing 

โดยในบทความนี้จะขอยกตัวอย่างที่ชัดเจน ในเรื่องของ Positioning หรือ “จุดยืนของแบรนด์”

‘ We Think and Act in Cycles ’ 

เป็นคอนเซ็ปต์หลักของแบรนด์ คือ นับตั้งแต่วันแรกที่ทั้งสองคนเริ่มตัดเย็บกระเป๋าใช้กันเอง มาจนถึงวันที่กลายเป็นธุรกิจระดับโลก เขาก็ยังยึดมั่นคอนเซ็ปเดิมคือ การใช้วัสดุรีไซเคิล 100% แม้จะได้รับคำแนะนำจากหลายคนว่า หากเปลี่ยนวัสดุ จะช่วยลดต้นทุนการผลิตได้อีกมากมาย แต่เขาก็ยังยืนยันจะใช้วัสดุรีไซเคิลเท่านั้น  นอกจากจะช่วยลดปริมาณขยะได้แล้ว การใช้วัสดุรีไซเคิลนี้เองที่ทำให้ FREITAG  เป็นแบรนด์ที่มีเปี่ยมไปด้วยเสน่ห์ จนสามารถครองใจสายฮิปทั่วโลกได้ คือ กระเป๋าทุก ๆ ใบ ที่ผลิตออกมาจะมีลวดลายที่ไม่เหมือนกัน ถือเป็นความต่างผสานกับความเป็นพิเศษ ที่ทำให้ลูกค้าได้รับประสบการณ์ที่ว่า FREITAG ของเขามีเพียงชิ้นเดียวในโลกเท่านั้น 

ปัจจุบัน  FREITAG ยังได้แตกไลน์สินค้าออกไปอีกหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นกระเป๋าถือ กระเป๋าหิ้ว กระเป๋าสตางค์ ปัจจุบัน Marcus และ Daniel ได้ส่งมอบหน้าที่การบริหารให้ผู้บริหารมืออาชีพ ในการบริหารบริษัทให้ยั่งยืนต่อไป และเขาทั้งสองคน กลับไปทำสิ่งที่ตัวเองรัก คือการออกแบบและคิดค้นผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ  ต่อไป

<แนะนำ>

หากใครอยากเริ่มธุรกิจของตัวเอง หรือต้องการองค์ความรู้ในการทำธุรกิจและการตลาด อย่างเช่น การวางกลยุทธ์แบบ STP ที่ 2 พี่น้องเจ้าของ FREITAG ทำจนประสบความสำเร็จ สามารถเรียนรู้ได้ผ่านหลักสูตร Shortcut MBA ที่สอนทุกอย่างที่คนอยากทำธุรกิจให้สำเร็จต้องรู้ แบบ Step-by-step ดูรายละเอียดได้ที่ลิงค์ http://bit.ly/3FYL93N 

Reference :

https://www.freitag.ch/

https://www.labbrand.com/brandsource/going-deeper-than-the-buzz-freitag-keep-moving-forward-like-a-truck

ในประเทศไทยมีร้านพิซซ่าเกิดขึ้นมากมาย การแข่งขันดุเดือด มีร้านอาหารฟิวชั่นที่มีพิซซ่ามาให้คนไทยลิ้มลองกันมากขึ้นทำไม The Pizza Company ถึงยังสามารถคงความเป็นเบอร์ 1 ในใจผู้บริโภคเมืองไทยได้อยู่ตลอด เรื่องราวที่อยู่เบื้องหลังความเป็นเบอร์ 1 ของ The Pizza Company คืออะไร วันนี้เรามาเรียนรู้เรื่องราวกัน

วันนี้พิซซ่ากลายมาเป็นตัวเลือกแรก ๆ ที่คนเลือกทานเวลาหิว หรือถ้าจะบอกว่าพิซซ่ากลายเป็นร้านอาหารหลักที่อาจจะเป็นตัวเลือกแรก ๆ เวลาที่คนมาเดินห้างก็คงจะไม่ผิด แต่ถ้าย้อนกลับไป 40 ปีก่อนในวันที่คนไทยยังไม่คุ้นเคยกับอาหารต่างชาติและพิซซ่าก็ยังไม่ได้รับความนิยมขนาดนี้ 

SWOT Analysis Pizza

เกิดอะไรขึ้นกับวงการอาหารเมืองไทยและใครคือผู้ที่ทำให้วัฒนธรรมการกินพิซซ่าแพร่หลายในเมืองไทยมากขนาดนี้ ต้องพูดถึงผู้ชายที่มีชื่อว่า William E. Heinecke นักธุรกิจชาวอเมริกันผู้มีสัญชาติไทยผู้ก่อตั้งธุรกิจ Minor International ในวันนั้นเขาคือผู้ที่นำ Pizza Hut เข้ามาในประเทศไทยโดยได้รับสิทธิ์มาสเตอร์แฟรนไชส์จาก Tricon Global Restaurant ด้วยความตั้งใจและมุ่งมั่นในการทำธุรกิจเขาจึงสามารถทำให้พิซซ่าฮัทเป็นที่นิยมของคนไทยและติดตลาดได้อย่างรวดเร็ว

วิเคราะห์ SWOT Analysis ของร้าน Pizza ทั้งสอง

ถ้าเรามองกันด้วย SWOT Analysis ซึ่งประกอบด้วย Strengths (จุดแข็ง), Weaknesses (จุดอ่อน), Opportunities (โอกาส) และ Threats (อุปสรรค์) เราจะพบว่ากรณีนี้ Strengths (จุดแข็ง) ของ Minor International เอง คือเข้าใจและเชี่ยวชาญตลาดในประเทศไทยเป็นอย่างดี ในขณะเดียวกัน Tricon Global Restaurant ก็มี Weaknesses (จุดอ่อน) คือทรัพยากรณ์ที่จะขยายธุรกิจในประเทศต่างๆ นี่แหละ ดังนั้นดีลที่เกิดขึ้นระหว่าง Minor International และ Tricon Global Restaurant เรียกได้ว่าเป็นดีลที่ลงตัว และแฮปปี้ทั้งสองฝ่าย ในมุมมองของการทำดีลธุรกิจ การนำเสนอครั้งนี้ก็มีโอกาสประสบความสำเร็จกับทั้งสองฝ่าย

ในช่วงเวลานั้นกลุ่ม Minor เดินหน้าขยายสาขาของพิซซ่าฮัทไปให้ได้มากที่สุด ครอบคลุมทุกจังหวัดมากที่สุดเพราะเป็นธุรกิจที่สามารถสร้างรายได้หลักให้กับบริษัทเลยทีเดียว แต่ในวันที่ทุกอย่างกำลังไปได้ดี พอมาถึงปี พ.ศ. 2542 บริษัท Tricon Global Restaurant กลับมองเห็น Opportunities (โอกาส) ว่าถ้าเอากลับมาทำเอง น่าจะได้รายได้และกำไรสูงกว่า เพราะอย่างไรเสีย Minor International ก็เปิดตลาดมาให้แล้ว

Tricon Global Restaurant ก็เลยเปลี่ยนนโยบายว่าจะเอา Pizza Hut กลับไปบริหารด้วยตัวเอง นั่นหมายความว่ากลุ่ม Minor จะมีเวลาอีกแค่ 1 ปีนับจากนี้จนถึงวันที่หมดสัญญาที่จะสามารถขายพิซซ่าภายใต้แบรนด์ Pizza Hut นี้ได้

ตรงนี้เอง ถ้าเราสังเกตให้ดี Tricon Global Restaurant อาจจะไม่ทันได้ระวัง Threats (อุปสรรค์) ที่จะเกิดขึ้นในการขยายสาขาเอง ไม่ว่าจะเป็นความไม่เชี่ยวชาญในพื้นที่ และความที่ Minor มีลู่ทางต่างๆ ในประเทศไทยดีอยู่แล้ว

เพราะว่าหลังจากนั้นแบรนด์พิซซ่าที่ตัวเองปลุกปั้นมาก็จะต้องคืนกลับไปให้ Tricon Global Restaurant และ 1 ปีหลังจากนั้นพอวันที่หมดสัญญา Pizza Hut ก็ได้เปิดสาขาของตัวเองครั้งแรกในปี พ.ศ. 2543 ซึ่งในปีเดียวกันนั่นเองกลุ่ม Minor มีอยู่ 2 ทางเลือกด้วยกันนั่นก็คือการไปหาแฟรนไชส์เจ้าใหม่ หรือปลุกปั้นแบรนด์พิซซ่าที่เป็นของตัวเองขึ้นมา และสิ่งที่เกิดขึ้นก็คือ Minor เลือกตัวเลือกที่ 2 เป็นเหตุให้ในปี พ.ศ. 2544 พวกเราทุกคนได้เห็นการเปลี่ยนโฉมครั้งยิ่งใหญ่ของร้านพิซซ่าที่เราคุ้นตากันดี นั่นก็คือร้านพิซซ่าเดิมในทำเลเดิมแต่ภายใต้ชื่อใหม่คือ The Pizza Company สีเขียวสะดุดตา ทำให้ทุกคนจดจำแบบใหม่ได้ง่าย 

ด้วยความที่กลุ่ม Minor มีประสบการณ์ในการเสิร์ฟพิซซ่าให้กับคนไทยมาอย่างยาวนานทำให้ The Pizza Company มีความเข้าอกเข้าใจคนไทยมากกว่าก็เลยสามารถที่จะคิดสูตรพิซซ่าปรุงรสให้เข้ากับปากของคนไทยได้ ประกอบกับจำนวนสาขาของ The Pizza Company ที่มีเยอะกว่าอยู่แล้ว นั่นทำให้กลุ่ม Minor มองว่านี่คือแต้มต่อที่ดีที่จะทำให้ The Pizza Company สามารถเริ่มต้นจากจำนวนสาขาที่เยอะกว่า และด้วยความที่มีร้านค้าเยอะกว่านี้เองทำให้ The Pizza Company มองว่าจะกลายเป็น Hub ในการส่งสินค้าไปที่บ้าน

เลยเป็นที่มาที่กลุ่ม Minor ตัดสินใจให้ The Pizza Company มีบริการเดลิเวอรี่หรือส่งถึงบ้านตั้งแต่วันแรกที่เปิดร้าน ซึ่งถ้าเราลองย้อนกลับไปก็อาจจะคุ้นเคยกับโฆษณาของ The Pizza Company ที่บอกว่าโทรมาสั่งพิซซ่าที่ 1112 แล้วถ้าส่งช้าให้กินฟรี และจากวันนั้นก็เลยทำให้ The Pizza Company ของกลุ่ม Minor กลายเป็นที่หนึ่งในวงการพิซซ่าแล้วก็กลายเป็นร้านอาหารอันดับ 1 ในดวงใจของใครหลาย ๆ คน

SWOT Analysis ต้องหมั่นทำซ้ำ บ่อยๆ อยู่เสมอ

สำหรับ SWOT Analysis นั้น ไม่ใช่สิ่งที่ธุรกิจ ต้องทำครั้งเดียวแล้วจบ แต่ในฐานะผู้บริหาร คุณจำเป็นต้องวิเคราะห์ทั้ง 4 ด้าน Strengths (จุดแข็ง), Weaknesses (จุดอ่อน), Opportunities (โอกาส) และ Threats (อุปสรรค์) อยู่เสมอ

เช่น Minor International เอง ถึงแม้ว่าในวันนี้จะมีร้านอาหารหน้าใหม่เกิดขึ้นมากมาย ไม่ว่าจะเป็นร้านอาหารที่มาจากต่างประเทศ หรือร้านอาหารที่มีเชฟคอยคิดสร้างสรรค์เมนูพิซซ่าให้กับลูกค้ากิน แต่ The Pizza Company ก็ยังทิ้งห่างคู่แข่งรายอื่น ๆ อยู่หลายเท่าตัวทั้งในแง่ของยอดขาย จำนวนสาขาแล้วก็ในเรื่องของ innovation เมนูใหม่ๆ ไม่ว่าจะเป็น dipper หรือว่า New York Pizza ที่เปิดตัวมาโดนใจผู้บริโภคอย่างมาก นอกจากนั้นก็ยังมี innovation อื่น ๆ ที่เป็นคนริเริ่มขึ้นมาเอง

อย่างเช่นในปัจจุบันนี้ก็มีการทดลองใช้โดรนส่งพิซซ่า คือทันทีที่คุณโทรสั่ง 1112 โดรนก็จะบินออกมาจากร้านแล้วมาส่งพิซซ่าถึงหน้าบ้านคุณโดยไม่ต้องรอรถติดเลย ทั้งหมดทั้งมวลนี้ก็เป็นเพราะว่า The Pizza Company เชื่อในเรื่องของการสร้าง innovation ใหม่ ๆ ให้กับลูกค้าอยู่เสมอ อย่างเช่น innovation ของการพัฒนาบริการที่เข้าอกเข้าใจลูกค้า ทำให้ The Pizza Company โดดเด่นแล้วก็แตกต่างจากคู่แข่งรายอื่นอยู่เสมอ เช่น ในช่วงโควิดที่ผ่านมา The Pizza Company ก็ยังเป็นเจ้าแรกที่ทำเรื่อง Zero Touch เดลิเวอรี่ เพื่อให้คนที่สั่งพิซซ่ามากินที่บ้านไม่ต้องกังวลในเรื่องของการสัมผัส ทำให้ร้านอาหารอื่น ๆ เอาไปเป็นต้นแบบ 

แม้กระทั่ง innovation ในเรื่องของการตลาดที่ใช้การพัฒนาบริการแบบเข้าใจลูกค้าจริง ๆ แล้วก็ทำให้ตัวเองแตกต่างจากคู่แข่ง อย่างเช่น แคมเปญซื้อ 1 แถม 1 เนี่ยก็เป็นแคมเปญที่ The Pizza Company เป็นคนคิดขึ้นมาจนปัจจุบันคู่แข่งก็เอาไปทำตามกันทั้งตลาด ทำให้ The Pizza Company ก็ต้องคิดขึ้นไปอีกสเต็ปนึงเพื่อสร้างความแตกต่างจากคู่แข่ง เช่น การออกแคมเปญ 1 แถม 1 พิซซ่าซึ้งๆมาให้เธอ ที่ให้ลูกค้าเลือกข้อความบนพิซซ่าด้วยตัวเองเอง เรียกได้ว่าเป็นแบรนด์แรกที่กล้าคิดกล้าทำความท้าทายโดยคิดถึงความต้องการของลูกค้ามาเป็นอันดับ 1 

ช่วงโควิด 19 นาทีในที่หลายคนคิดว่าจะเป็นขาลงของร้านอาหาร แต่ The Pizza Company ก็ยังตอกย้ำความเป็นเบอร์ 1 โดยการสร้าง innovation ของสินค้า เพื่อมาสร้างตลาดใหม่โดยการส่ง New York Pizza xxxl มาให้คนไทยได้ลอง Original Size ของพิซซ่า ทำให้เสมือนว่าไปอยู่นิวยอร์กจริง ๆ จนเกิดเป็นกระแสถึงขนาดที่ว่าพิซซ่าไซส์ใหม่ของ The Pizza Company ใหญ่ถึงขนาดที่ใส่ถุงกลับบ้านไม่ได้ ที่สำคัญที่สุดก็คือเกิดเป็นกระแสตอบรับที่ดีเกินคาด เพราะสามารถขายไปได้ถึง 2 แสนถาด ภายในเวลา 14 วัน ตอกย้ำความเป็นมือหนึ่งในเรื่องพิซซ่าเมืองไทย นั่นทำให้เราเห็นว่า Minor International มีการวิเคราะห์ SWOT Analysis เพื่อพัฒนาและแก้เกมอยู่เสมอนั่นเอง

เคยมีคนตั้งคำถามว่า ถ้าวันนั้นกลุ่ม Minor ไม่ได้สร้าง The Pizza Company ขึ้นมา ทุกวันนี้ Minor จะขายอะไร 

มีคำตอบที่น่าสนใจนั่นก็คือ ถ้าวันนั้น Minor ไม่ได้สร้าง The Pizza Company แต่ด้วยฝีมือการทำพิซซ่า ไม่ว่าจะสร้างใหม่กี่แบรนด์ แบรนด์นั้นก็จะกลายเป็นแบรนด์พิซซ่าอันดับ 1 ของเมืองไทยอยู่ดี 

4 ข้อคิดที่ได้เรียนรู้ในเรื่องนี้

  1. SWOT Analysis คือสิ่งที่ต้องวิเคราะห์ให้ดี ก่อนตัดสินใจทางธุรกิจไม่ว่าจะเรื่องใด ซึ่งก็จะประกอบด้วย Strengths (จุดแข็ง), Weaknesses (จุดอ่อน), Opportunities (โอกาส) และ Threats (อุปสรรค์) เราจะพบว่ากรณีนี้ Strengths (จุดแข็ง) ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นเรื่องสำคัญทั้งสิ้น
  2. ในวงการธุรกิจมีสิ่งที่ไม่คิดไม่ฝันเกิดขึ้นเสมอ เช่น ช่วงเวลาที่เกิดวิกฤตโควิดทำให้ทำธุรกิจไม่ได้เลย หรือทำธุรกิจไม่ประสบความสำเร็จ แต่ในความเป็นจริงต่อให้ไม่เกิดโควิดขึ้น วิกฤตต่าง ๆ ก็สามารถมาเยือนเราได้อยู่ดี
  3. ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นผู้ประกอบการที่ดีคือคนที่สามารถแก้ปัญหาเฉพาะหน้าที่เป็นปัญหาที่ยิ่งใหญ่ได้ด้วยสองมือและ 1 สมอง เหมือนอย่างเช่นที่เราเห็นว่ากลุ่ม Minor International สามารถก้าวผ่านวิกฤตครั้งสำคัญที่ไม่สามารถขายพิซซ่าต่อภายใต้แบรนด์พิซซ่าฮัทที่ตัวเองเนี่ยถือสิทธิ์ Master Franchise แต่สุดท้ายก็สามารถปลุกปั้นแบรนด์ของตัวเองและสามารถประสบความสำเร็จมาจนทุกวันนี้ได้
  4. การเป็นเบอร์ 1 ว่ายากแล้วแต่การรักษาตำแหน่งเบอร์ 1 ยากยิ่งกว่า ถ้าคุณเป็นเบอร์ 1 แล้วสิ่งที่คุณไม่ทำไม่ได้เลยนั่นก็คือการรักษาความเป็นเบอร์ 1 อยู่ตลอด รวมถึงการออกอะไรใหม่ ๆ คิดอะไรใหม่ ๆ ที่นำหน้าตลาด ตอนคุณเป็นเบอร์รองคุณอาจจะไม่ต้องคิดอะไรมากก็ได้แค่ลองทำตามก็สามารถทำได้เหมือนกัน แต่ในวันที่คุณเป็นเบอร์ 1 มันเป็นความท้าทายอย่างยิ่งที่ควรจะต้องคิดใหม่ทำใหม่ลองอะไรใหม่ ๆ เพื่อรักษาความเป็นเบอร์ 1 อยู่เสมอ 

<แนะนำหลักสูตร>

ถ้าใครอยากเริ่มธุรกิจของตัวเองที่ต้องการองค์ความรู้ในการทำธุรกิจแบบ Step-by-step ซึ่งในหลักสูตรมี framework การบริหารทุกแบบที่จำเป็น (SWOT Analysis เป็นเพียง 1 ใน framework ที่สำคัญ ซึ่งมีสอนในหลักสูตร) แนะนำหลักสูตร Shortcut MBA ที่สอนสรุป Mini MBA มีทุกอย่างที่คนอยากทำธุรกิจให้สำเร็จต้องรู้

ดูรายละเอียดได้ที่ลิงค์ http://bit.ly/3FYL93N 

Reference

We use cookies, please see our policy and setting

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save
linkedin facebook pinterest youtube rss twitter instagram facebook-blank rss-blank linkedin-blank pinterest youtube twitter instagram