เมื่อการเข้ามาของอินเทอร์เน็ตและเทคโนโลยี ที่ทำให้คนสามารถออนไลน์ได้ทุกที่ทุกเวลา และเป็นจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของคนทั่วโลก ทั้งในเรื่องของการเปิดรับสื่อใหม่ ๆ รวมไปถึงโลกของการตลาด ที่การจับจ่ายใช้สอยทำได้อย่างง่ายดาย ด้วยปลายนิ้วคลิก ดังนั้นจึงเป็นจุดเริ่มต้นที่เจ้าของธุรกิจและนักการตลาด เริ่มปรับตัวจากการตลาดแบบเดิม มาสู่การทำการตลาดดิจิทัล เพื่อให้สามารถตีตลาด สร้างการรับรู้และเข้าถึงลูกค้าได้มากขึ้น เพราะใครก็ตามที่ไขความลับของจักรวาลการตลาดดิจิทัลนี้ได้ก่อน ก็จะกลายเป็นเจ้าของส่วนแบ่งเค้กชิ้นใหญ่ในตลาดทันที และในบทความนี้ เราจะพาทุกคน ไปทำความรู้จัก Digital Marketing ว่าคืออะไร ทำไมจึงสำคัญ และเป็นที่ต้องการในยุคนี้
นิยามของ Digital Marketing
คำกล่าวด้านบนนี้ เป็นนิยามของคำว่า “Marketing” จาก Philip Kotler ปรมาจารย์และนักการตลาดผู้ทรงอิทธิพลระดับโลก ที่สื่อความหมายว่า “การตลาด คือ ศาสตร์และศิลป์ในการ สำรวจ สร้างสรรค์ และส่งมอบสิ่งที่มีค่า เพื่อสร้างความพึงพอใจและตอบสนองความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย ในรูปแบบที่สามารถทำกำไรให้บริษัทได้”
และความหมายของ Digital Marketing คือ การทำการตลาดผ่านระบบ Digital โดยมีอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic) เช่น computer, tablet หรือ smart phone เป็นสื่อกลาง เพื่อส่งมอบผลิตภัณฑ์ และเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่ใช้งานในโลกออนไลน์ ทั้ง Search Engine, Website, E-mail, Social Media ไปจนถึง Mobile Application รวมไปถึงการทำการตลาดโดยการใช้อุปกรณ์ดิจิทัล เช่น ทีวี วิทยุ podcast รวมถึง ดิจิทัลบิลบอร์ด ที่เรามักเห็นตามถนนหรือทางด่วนต่าง ๆ อีกด้วย
Digital Marketing สำคัญอย่างไร?
จากข้อมูลการรายงานของ Datareportal ประจำปี 2023
เมื่อเราเห็นข้อมูลจากสถิติทั้งของทั่วโลก และประเทศไทย ยิ่งเป็นตัวบ่งบอกว่าการทำ Digital Marketing ในปัจจุบันเป็นสิ่งจำเป็นอย่างมาก เพราะหากเราไม่ปรับให้ทัน เราอาจสูญเสียลูกค้าให้คู่แข่งไปมากมาย
จุดเริ่มต้นของ Digital Marketing เริ่มเป็นที่รู้จักมากขึ้นในปลายปี 1980 และได้รับความนิยมในต้นปี 2000 แต่จริง ๆ แล้วจุดเริ่มต้นของการตลาดดิจิทัลมีมากว่า 100 ปีที่แล้ว และผู้บุกเบิกการตลาดแบบดิจิทัลนี้กลับไม่ใช่นักการตลาด แต่เป็นวิศวกรไฟฟ้าชาวอิตาลี ชื่อว่า Guglielmo Marconi (กูลเยลโม มาร์โกนี)
ในปี 1896 Gugliemo Marconi เป็นผู้พัฒนาระบบโทรเลขไร้สาย หรือเรียกว่า วิทยุ และเป็นคนแรกที่สาธิต "การส่งสัญญาณวิทยุ" โดยบอร์ดแคสเกี่ยวกับการแสดง THE METROPOLITAN OPERA และ ผลคือ มีคนที่ซื้อตั๋วการแสดงรอบนั้น! และเหตุการณ์นี้ ถือเป็นจุดเริ่มต้นการทำการตลาดดิจิทัลที่ประสบความสำเร็จเป็นครั้งแรก และต่อมาวิทยุก็เริ่มเข้าถึงประชาชนทั่วไปมากขึ้น ซึ่งเป็นโอกาสของนักการตลาดที่จะเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้
ประเภทของ Digital Marketing
การตลาดดิจิทัล มีรายละเอียดปลีกย่อยมากมาย โดยส่วนใหญ่นักการตลาดจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก ๆ คือ การทำการตลาดดิจิตัลแบบออนไลน์ และแบบออฟไลน์
Online Digital Marketing
เป็นการทำการตลาดผ่านสื่อออนไลน์ โดยมีอินเทอร์เน็ตเป็นสื่อกลาง แบ่งย่อยได้อีก 6 ประเภท ดังนี้
Search Engine Optimization หรือ SEO
Search Engine Optimization เป็นการปรับแต่งเว็บไซต์ของเรา ให้เหมาะสมกับเครื่องมือค้นหาของ Seach Engine ต่าง ๆ เช่น Google, Yahoo หรือ Bing เพื่อให้เพิ่มโอกาสในการได้ติดอันดับ และเพิ่ม Traffic การเข้าชมของกลุ่มเป้าหมาย โดยการปรับแต่งที่ว่านี้ประกอบไปด้วย
โดยยิ่งปรับแต่งเว็บไซต์ได้เหมาะกับเครื่องมือค้นหา (Search Engine) มากเท่าไหร่ ก็ยิ่งเพิ่มโอกาสให้เว็บไซต์ของเรามีอันดับที่ดีขึ้นได้มากเท่านั้น และมักให้ผลลัพธ์ในระยะยาว โดยที่เราไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเลย
Search Engine Marketing หรือ SEM
หมายถึง การทำให้หน้าเว็บไซต์ที่เราต้องการขึ้นหน้าแรกของการค้นหาใน Search Engine ทันที โดยการทำ SEM นี้จำเป็นที่จะต้องมีการทำ Keyword Research และวิเคราะห์ตลาดรวมถึงคู่แข่ง เนื่องจากเราจำเป็นที่จะต้องเสียเงินเพื่อซื้อ Keyword นั้น ๆ โดยมักจะเสียค่าใช้จ่ายตามจำนวนที่กลุ่มเป้าหมายทำการคลิก จึงมีชื่อเรียกอีกอย่างว่า Pay-per-click advertising หรือ PPC นั่นเอง ตัวอย่างของการทำ SEM เช่น
Search Ads : เป็นโฆษณาที่จะแสดงบนหน้าค้นหาตาม Keywords ที่เราซื้อไว้ เมื่อมีคค้นหาผ่าน Search Engine โฆษณาของเราก็จะปรากฏในหน้าแรกทันที โดยจะสังเกตได้จากคำว่า “Ads” หรือ “ได้รับการสนับสนุน” ตรงมุมด้านซ้ายของหน้าเพจนั้น ๆ
Shopping Ads : เป็นโฆษณาที่จะแสดงผลเป็นภาพสินค้าบนหน้าค้นหา ตาม Keywords ที่เราซื้อไว้
YouTube Ads : โฆษณาที่จะแสดงเป็นวีดีโอ หรือหน้าเว็บไซต์ เมื่อผู้คนค้นหาในหรือรับชมวีดีโอบน YouTube
Social Media Marketing (SMM)
เป็นการทำการตลาดที่เน้นการสร้างคอนเทนต์ และยิงโฆษณา ผ่านทาง Social Media เช่น Facebook, Instagram, Tiktok, LINE, Twitter, YouTube, LinkedIn ไปจนถึง น้องใหม่อย่าง Threads เพื่อใช้ในการสื่อสาร และโปรโมทสินค้า แบรนด์ ให้กลุ่มเป้าหมายหรือลูกค้าเกิดการรับรู้มากที่สุด โดยเราสามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างมากมาย ตั้งแต่การสร้างการรับรู้ การสร้างยอดขาย ไปจนถึงการรักษาความสัมพันธ์กับลูกค้า ทั้งยังเป็นอีกหนึ่งช่องทางที่เราสามารถนำมาใช้ในการหาข้อมูล insight ใหม่ ๆ รวมถึงศึกษาคู่แข่งได้ด้วย
Content Marketing
เรียกได้ว่าเป็นหนึ่งในองค์ประกอบสำคัญที่สุด ของการทำการตลาดดิจิทัลเลยทีเดียว ที่เรามักจะได้ยินคำกล่าวอมตะเสมอ ๆ ว่า “Content is King” เพราะแก่นสำคัญที่สุดของการทำการตลาด ก็คือการสื่อสาร ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบ บทความ โพสต์ วีดีโอ อินโฟกราฟิก รวมถึงอีเมลล์ ก็ล้วนจำเป็นต้องมี Content ทั้งสิ้น
และการทำคอนเทนต์ที่ดี ควรมีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน ทั้งในเรื่องของกลุ่มเป้าหมายที่เราต้องการสื่อสาร และตอบตัวเองให้ได้ก่อนว่า เราต้องการทำ content นี้เพื่ออะไร เช่น การให้ความรู้ สร้างความน่าเชื่อถือ ให้แรงบันดาลใจ ให้ความบันเทิง หรือต้องการขาย เพื่อที่เราจะได้วัดผลได้อย่างถูกต้อง
Email Marketing
Email Marketing เป็นหนึ่งในรูปแบบ การทำการตลาดสุดคลาสสิก และมีประสิทธิภาพมากที่สุด โดยเราสามารถควบคุมสื่อที่ออกไป เช่น
แม้ว่าจะมีช่องทางการสื่อสารใหม่ ๆ เกิดขึ้นมากมาย แต่ก็ยังมีผู้ที่ใช้อีเมลล์อยู่ทั่วโลกกว่า 4.5 พันล้านคน และนอกจากนี้ การใช้ Email Marketing ยังให้ Return On Investment สูงถึง 36 ดอลลาร์ ต่อการลงทุน เพียง 1 ดอลลาร์ เท่านั้น
Affiliate Marketing
เป็นการตลาดโดยใช้นายหน้า หรือ Influencer ที่มีชื่อเสียง เพื่อบอกต่อสินค้าหรือบริการ เป็นอีกหนึ่งรูปแบบใหม่ที่ช่วยเพิ่มยอดขายและสร้างรายได้ออนไลน์ ที่เป็นประโยชน์ต่อทั้งแบรนด์และนักการตลาด โดยส่วนมาก ผลตอบแทนของการทำ Affiliate Marketing จะออกมาในรูปแบบของยอดขายที่นายหน้าคนนั้นทำได้ แต่สำหรับบางธุรกิจก็ให้ผลตอบแทนหรือรางวัลกับคนที่ทำ Affiliate Markteting กับแบรนด์ในการหา Lead, หา Traffic ใหม่ ๆ หรือหาคนที่ดาวน์โหลดแอปพลิเคชันเพิ่มขึ้นได้อีกด้วย ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับรูปแบบของธุรกิจด้วย
Offiline Digital Marketing
Offline Digital Marketing : เป็นการทำการตลาดโดยใช้เทคโนโลยี Digital หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เข้ามาช่วย แต่ไม่จำเป็นต้องเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต โดยในบทความนี้จะแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้
Digital Out Of Home หรือ Digital Billboard
เป็นอีกสื่อประเภท Offine Digital Marketing ที่ได้รับความนิยมจากนักการตลาดทั่วโลก ซึ่งในหลาย ๆ ปีที่ผ่านมา มีการนำเทคโนโลยี Digital เข้ามาใช้งาน แทนป้ายโฆษณาแบบเดิม จนกลายเป็น Digital LED Billboard ในปัจจุบันที่สามารถทำงานเชื่อมต่อกับเทคโนโลยีสื่อสมัยใหม่ ที่เพิ่มลูกเล่นได้มากมาย ไม่ว่าจะเป็น QR Code, Augmented Reality (AR), GPS เป็นต้น
Radio Marketing
หลายคนอาจมองว่าการทำการตลาดผ่านวิทยุ เป็นวิธีที่ล้าสมัยไปแล้ว และคงไม่ค่อยได้ผลในปัจจุบัน แต่หากดูตามข้อมูลสถิติแล้ว กลับตรงกันข้าม เนื่องจาก
83% ของชาวอเมริกัน ฟังวิทยุทุกสัปดาห์
ในหนึ่งวันมีคนใช้เวลาฟังรายการวิทยาเฉลี่ย 99 นาที/วัน
และเมื่อการโฆษณาผ่านวิทยุ ถูกนำมาทำให้ทันสมัยยิ่งขึ้นเป็นรายการพอดแคสต์ที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน ที่ผู้จัดรายการสามารถสอดแทรกโฆษณาต่าง ๆ ไว้ในช่วงต่าง ๆ ของรายการเลยทีเดียว
Mobile Marketing
จากต้นบทความที่พูดถึงสถิติของคนที่เข้าถึงอินเทอร์เน็ต ที่มีมากถึง 68% และ 90 % ของคนสะดวกใจที่จะรับข้อความจากธุรกิจ มากกว่าการพูดคุยโทรศัพท์ ดังนั้นการทำ Mobile Marketing จึงเป็นอีกหนึ่งช่องทางของ Offline Digital Marketing ที่แบรนด์และนักการตลาด ไม่ควรละเลย และเราสามารถนำอย่างไรได้บ้าง มาดูกัน
การโทร และ การส่งข้อความ
แม้เทคโนโลยีจะล้ำหน้าไปมาก แต่การโทรติดต่อกลับยังคงเป็นเทคนิคทางการตลาดที่ใช้ได้ผล โดยมีอัตราความสำเร็จโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 2 เปอร์เซ็นต์ ในทางกลับกันการทำการตลาดผ่านการส่งข้อความหรือ SMS ให้ผลลัพธ์ที่ดีกว่า โดยมีอัตราการเปิดอ่านที่ 98 เปอร์เซ็นต์
มีหลายวิธีในการใช้ประโยชน์จากการตลาดผ่านข้อความ เช่น คูปอง และส่วนลดพิเศษ เหมาะสำหรับร้านอาหารเพื่อเพิ่มลูกค้าและเปลี่ยนลูกค้าที่เข้ามาเป็นขาประจำ
ยกตัวอย่าง Case study ที่น่าสนใจ อย่าง Mc’Donald
ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2565 McDonalds ได้เปิดตัวแคมเปญพิเศษบนโซเชียลมีเดีย ให้ผู้คนสามารถเลือกเข้าร่วมได้ โดยส่งข้อความไปยังหมายเลขที่ Mc'Donald ระบุไว้
“Text me if u want in on a life-changing opportunity this is not a drill 707-932-4826.”
เมื่อมีคนส่งข้อความไปยังหมายเลขนั้น พวกเขาจะได้รับข้อความอัตโนมัติ เพื่อให้ตอบกลับการเข้าร่วมกิจกรรม และข้อตกลงเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัวต่าง ๆ
ตามมาด้วยข้อความแนะนำตัว คำขอเพิ่มหมายเลขติดต่อ และ เขตเวลาของผู้ใช้ เพื่อเก็บข้อมูลไว้ในอนาคต ไม่ให้ระบบส่งข้อความไปกวนในเวลาที่ลูกค้าไม่สะดวก และแคมเปญนี้ได้รับผลตอบรับอย่างเหลือเชื่อเลย
เราลองมาวิเคราะห์แคมเปญการตลาด SMS ของ Mc'Donald
อ่านบทความเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Mc'Donald ได้ที่ >> McDonald’s ใช้ Localized Marketing ยังไง ?! ถึงครองความเป็นยักษ์ใหญ่ของธุรกิจฟาสต์ฟู้ดได้สำเร็จ
นอกจากนี้ยังสามารถใช้ Mobile Marketing เป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการทำ CRM ให้ลูกค้าได้อีกด้วย ซึ่งถือว่าตอบโจทย์การทำ Digital Marketing โดยที่มีต้นทุนไม่สูงมากนัก และทั้งหมดนี้เป็นข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับจักรวาลการทำ Digital Marketing ที่เรานำมาฝากกัน สำหรับใครที่สนใจเรียนรู้ข้อมูลเชิงลึกเพิ่มเติม
รายละเอียดเพิ่มเติม >> หลักสูตร Digital Marketing
Reference :
https://kotlermarketing.com/phil_questions.shtml
https://datareportal.com/reports/digital-2023-thailand
https://www.nrn.com/quick-service/mcdonald-s-steps-its-sms-marketing-efforts
https://twitter.com/HuinGuillaume/status/1595170047378558976/photo/1
ปฎิเสธไม่ได้เลยว่า กระแส E-commerce (อีคอมเมิร์ซ) ได้เข้ามาเปลี่ยนแปลงการใช้ชีวิตของผู้คนไปตลอดการ โดยเฉพาะในเรื่องพฤติกรรมการ ซื้อ-ขายสินค้า ที่ทำให้ทุกอย่างทำได้ง่ายขึ้น ด้วยปลายนิ้ว ไม่เว้นแต่ในตลาดของเล่นที่มีวางขายในเว็บต่าง ๆ มากมาย การขายของเล่นบนโลกออนไลน์มากมาย ตั้งแต่ของเล่นทั่วไป ที่หาง่าย ไปจนถึงของสินค้า "Rare Item" ที่หายาก และราคาสูงลิ่ว
การเข้ามาของ E-Commerce สร้างความสะดวกสบายอย่างมาก ทำให้ลูกค้าไม่ต้องออกไปตากแดด ตากฝน ฝ่ารถติด เพื่อตามหาสิ่งที่ตัวเองต้องการ ทั้งยังเปิดทางเลือกให้ผู้ซื้อมีช่องทางและอิสระที่มากขึ้นกว่าเดิม ทำให้ธุรกิจต่าง ๆ ในสมัยนี้ต่างก็ต้องปรับตัวตามกระแสให้ทัน ถ้าไม่อยากถูกกลืน และเลือนหายไปตามกาลเวลา
สำหรับบทความนี้ ขอหยิบยกตัวอย่างธุรกิจในวงการตลาดของเล่น ซึ่งเป็นหนึ่งในบทเรียนชั้นดี ที่ถ่ายทอดให้เห็นถึงการปรับตัวที่ช้าเกินไป จนต้องพบกับความ ‘ล้มเหลว’ และธุรกิจนั้นคือ TOYS “R” US
TOYS “R” US หรือ "Toys Я Us" ร้านขายของเล่นชื่อดังในสหรัฐอเมริกา ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1948 หรือ ราว ๆ 75 ปีก่อน ซึ่งถือเป็นเจ้าใหญ่ของวงการและเป็นแลนด์มาร์คแห่งธุรกิจตลาดของเล่นที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยมีจำนวนสาขากว่า 1,600 สาขา และมีพนักงานถึง 64,000 คน ใน 38 ประเทศทั่วโลก
จุดเด่นของ TOYS “R” US คือ "ความหลากหลาย" ที่ในร้านมีของเล่นให้เลือกมากกว่า 1,000 ชิ้น รวมถึงยังมีของเล่นที่นำเข้าจากหลายประเทศ และจุดขายที่สำคัญคือ ราคาถูก กว่าคู่แข่งเจ้าอื่น ๆ ในตลาด 20 - 50% อีกด้วย
ในช่วง ค.ศ. 1998 กระแส Social Media และ E-commerce เริ่มมีบทบาทกับการใช้จ่ายของผู้บริโภคมากขึ้น และสิ่งที่เจ้าตลาดของเล่นอย่าง TOYS “R” US ทำพลาดในครั้งนั้น คือ การไม่ปรับตัวให้ทันกระแสของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป ในขณะที่แบรนด์อื่น ๆ ในทุก ๆ อุตสาหกรรมเริ่มพากันสร้างตัวตน และสื่อสังคมบนโลกออนไลน์ แต่ TOYS “R” US กลับเลือกที่จะนิ่งเฉย ประกอบกับ ณ ช่วงนั้น Amazon ที่เชี่ยวชาญด้าน E-Commerce เริ่มขยายธุรกิจ ตีตลาดออนไลน์มากขึ้น รวมถึงมีการวางขายสินค้าของเล่นใน Platform ของเขามากกว่าที่ TOYS “R” US มีอยู่ ทำให้ Amazon ได้โอกาสดีในการเปิดตลาด และได้ส่วนแบ่งของตลาดของเล่นออนไลน์ที่กำลังเกิดใหม่อย่างรวดเร็ว จนทำให้ Amazon ก้าวสู่การเป็นผู้นำด้านช้อปปิ้งอย่างที่เราเห็นกันในปัจจุบัน
สำหรับความนิ่งนอนใจของ TOYS “R” US ทำให้บริษัทต้องเผชิญกับความท้าทายอยู่หลายปี ทั้งเรื่องของการปรับตัวไม่ทันการเข้ามาของ E-Commerce และตลาดของเล่นที่เปลี่ยนไป รวมถึงมีคู่แข่งรายใหม่ ๆ เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ไม่ว่าจะเป็น Walmart, K-Mart หรือ Alibaba ฯลฯ ที่หันมาเพิ่มความหลากหลายให้กลุ่มสินค้าของตัวเอง สุดท้าย TOYS “R” US จึงพบกับบทเรียนและจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญโดยพบกับปัญหาหนี้สินมากมายและในที่สุดบริษัทได้ยื่นขอล้มละลาย และขอเข้าสู่กระบวนการพิทักษ์ทรัพย์ เพื่อปรับโครงสร้างหนี้ ในปี ค.ศ. 2018
จากนั้น เริ่มทยอยปิดตัวสาขาหน้าร้านทั้งหมดในสหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย และอังกฤษอย่างถาวร ส่วนกิจการในโซนเอเชีย แอฟริกา ยุโรป และแคนาดา ได้มีการขายออกไปให้เจ้าอื่นดูแล
ล่าสุด ช่วงกลางปีที่แล้ว (ค.ศ. 2022) TOYS “R” US ได้หวนคืนตลาดของเล่นในสหรัฐอเมริกาได้อีกครั้ง โดยจับมือกับห้างค้าปลีกเก่าแก่ อย่าง Macy’s ที่มีอยู่มากกว่า 400 สาขา โดยทาง Macy ได้ออกมาประกาศผลประกอบการของห้างว่ายอดขายสินค้าหมวดของเล่น ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2022 ที่ผ่านมามีอัตราการเติบโตสูงขึ้นถึง 15 เท่า เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้าที่มีการร่วมมือกับ TOYS “R” US เลยทีเดียว
สุดท้ายนี้ แม้ว่า TOYS “R” US จะมีจุดที่พลาดไปจนทำให้เส้นทางการทำธุรกิจไม่ได้ราบรื่นมากนัก แต่อย่างน้อย การล้มในครั้งนั้นก็เป็นบทเรียนสำคัญ ที่ทำให้วันนี้ TOYS “R” US ได้บทเรียนและสามารถคัมแบ็กกลับมาได้อย่างเต็มตัว หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์ และเป็นข้อเตือนใจสำหรับผู้ที่กำลังทำธุรกิจให้ว่าอย่ามองข้ามพลังของสื่อออนไลน์และตลาดออนไลน์เป็นอันขาด จะได้ไม่ทำผิดพลาดเหมือนกับ TOYS “R” US
<แนะนำ>
สำหรับใครที่สนใจในเรื่องของการตลาดและสื่อออนไลน์เพิ่มเติม
คอร์ส Digital Marketing ตอบโจทย์คุณ ทั้งเรื่องของการวิเคราะห์ และวางแผน การใช้สื่อออนไลน์ทุกอย่างให้ลงตัว ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ลิงค์ https://eddu.org/digital-marketing-detail/
Reference :