เมื่อการเข้ามาของอินเทอร์เน็ตและเทคโนโลยี ที่ทำให้คนสามารถออนไลน์ได้ทุกที่ทุกเวลา  และเป็นจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของคนทั่วโลก ทั้งในเรื่องของการเปิดรับสื่อใหม่ ๆ รวมไปถึงโลกของการตลาด ที่การจับจ่ายใช้สอยทำได้อย่างง่ายดาย ด้วยปลายนิ้วคลิก ดังนั้นจึงเป็นจุดเริ่มต้นที่เจ้าของธุรกิจและนักการตลาด เริ่มปรับตัวจากการตลาดแบบเดิม มาสู่การทำการตลาดดิจิทัล เพื่อให้สามารถตีตลาด สร้างการรับรู้และเข้าถึงลูกค้าได้มากขึ้น เพราะใครก็ตามที่ไขความลับของจักรวาลการตลาดดิจิทัลนี้ได้ก่อน ก็จะกลายเป็นเจ้าของส่วนแบ่งเค้กชิ้นใหญ่ในตลาดทันที และในบทความนี้ เราจะพาทุกคน ไปทำความรู้จัก Digital Marketing ว่าคืออะไร ทำไมจึงสำคัญ และเป็นที่ต้องการในยุคนี้

นิยามของ Digital Marketing

Digital Marketing Definition

คำกล่าวด้านบนนี้ เป็นนิยามของคำว่า “Marketing” จาก Philip Kotler ปรมาจารย์และนักการตลาดผู้ทรงอิทธิพลระดับโลก ที่สื่อความหมายว่า “การตลาด คือ ศาสตร์และศิลป์ในการ สำรวจ สร้างสรรค์ และส่งมอบสิ่งที่มีค่า เพื่อสร้างความพึงพอใจและตอบสนองความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย ในรูปแบบที่สามารถทำกำไรให้บริษัทได้” 

และความหมายของ Digital Marketing คือ การทำการตลาดผ่านระบบ Digital โดยมีอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic) เช่น computer, tablet หรือ smart phone เป็นสื่อกลาง  เพื่อส่งมอบผลิตภัณฑ์ และเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่ใช้งานในโลกออนไลน์ ทั้ง Search Engine, Website, E-mail, Social Media ไปจนถึง Mobile Application รวมไปถึงการทำการตลาดโดยการใช้อุปกรณ์ดิจิทัล เช่น ทีวี วิทยุ podcast รวมถึง ดิจิทัลบิลบอร์ด ที่เรามักเห็นตามถนนหรือทางด่วนต่าง ๆ อีกด้วย 

Digital Marketing สำคัญอย่างไร?

Digital _ report _dataportal

จากข้อมูลการรายงานของ Datareportal ประจำปี 2023 

Digital report in thailand 2023

เมื่อเราเห็นข้อมูลจากสถิติทั้งของทั่วโลก และประเทศไทย ยิ่งเป็นตัวบ่งบอกว่าการทำ Digital Marketing ในปัจจุบันเป็นสิ่งจำเป็นอย่างมาก เพราะหากเราไม่ปรับให้ทัน เราอาจสูญเสียลูกค้าให้คู่แข่งไปมากมาย

 Guglielmo Marconi

จุดเริ่มต้นของ Digital Marketing เริ่มเป็นที่รู้จักมากขึ้นในปลายปี 1980 และได้รับความนิยมในต้นปี 2000 แต่จริง ๆ แล้วจุดเริ่มต้นของการตลาดดิจิทัลมีมากว่า 100 ปีที่แล้ว และผู้บุกเบิกการตลาดแบบดิจิทัลนี้กลับไม่ใช่นักการตลาด แต่เป็นวิศวกรไฟฟ้าชาวอิตาลี ชื่อว่า Guglielmo Marconi (กูลเยลโม มาร์โกนี) 

ในปี 1896 Gugliemo Marconi เป็นผู้พัฒนาระบบโทรเลขไร้สาย หรือเรียกว่า วิทยุ และเป็นคนแรกที่สาธิต "การส่งสัญญาณวิทยุ" โดยบอร์ดแคสเกี่ยวกับการแสดง THE METROPOLITAN OPERA และ ผลคือ มีคนที่ซื้อตั๋วการแสดงรอบนั้น! และเหตุการณ์นี้ ถือเป็นจุดเริ่มต้นการทำการตลาดดิจิทัลที่ประสบความสำเร็จเป็นครั้งแรก และต่อมาวิทยุก็เริ่มเข้าถึงประชาชนทั่วไปมากขึ้น ซึ่งเป็นโอกาสของนักการตลาดที่จะเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้

ประเภทของ Digital Marketing

การตลาดดิจิทัล มีรายละเอียดปลีกย่อยมากมาย โดยส่วนใหญ่นักการตลาดจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก ๆ คือ การทำการตลาดดิจิตัลแบบออนไลน์ และแบบออฟไลน์

Online Digital Marketing

เป็นการทำการตลาดผ่านสื่อออนไลน์ โดยมีอินเทอร์เน็ตเป็นสื่อกลาง แบ่งย่อยได้อีก 6 ประเภท ดังนี้

Search Engine Optimization หรือ SEO

example of SEO by eddu
ตัวอย่างของการทำ Search Engine Optimization

Search Engine Optimization เป็นการปรับแต่งเว็บไซต์ของเรา ให้เหมาะสมกับเครื่องมือค้นหาของ Seach Engine ต่าง ๆ เช่น Google, Yahoo หรือ Bing  เพื่อให้เพิ่มโอกาสในการได้ติดอันดับ และเพิ่ม Traffic การเข้าชมของกลุ่มเป้าหมาย โดยการปรับแต่งที่ว่านี้ประกอบไปด้วย

โดยยิ่งปรับแต่งเว็บไซต์ได้เหมาะกับเครื่องมือค้นหา (Search Engine) มากเท่าไหร่ ก็ยิ่งเพิ่มโอกาสให้เว็บไซต์ของเรามีอันดับที่ดีขึ้นได้มากเท่านั้น และมักให้ผลลัพธ์ในระยะยาว โดยที่เราไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเลย

Search Engine Marketing หรือ SEM

หมายถึง การทำให้หน้าเว็บไซต์ที่เราต้องการขึ้นหน้าแรกของการค้นหาใน Search Engine ทันที โดยการทำ SEM นี้จำเป็นที่จะต้องมีการทำ Keyword Research และวิเคราะห์ตลาดรวมถึงคู่แข่ง เนื่องจากเราจำเป็นที่จะต้องเสียเงินเพื่อซื้อ Keyword นั้น ๆ โดยมักจะเสียค่าใช้จ่ายตามจำนวนที่กลุ่มเป้าหมายทำการคลิก จึงมีชื่อเรียกอีกอย่างว่า Pay-per-click advertising หรือ PPC นั่นเอง ตัวอย่างของการทำ SEM เช่น

SEM Search Ads Example by eddu

Search Ads : เป็นโฆษณาที่จะแสดงบนหน้าค้นหาตาม Keywords ที่เราซื้อไว้ เมื่อมีคค้นหาผ่าน Search Engine โฆษณาของเราก็จะปรากฏในหน้าแรกทันที โดยจะสังเกตได้จากคำว่า “Ads” หรือ “ได้รับการสนับสนุน” ตรงมุมด้านซ้ายของหน้าเพจนั้น ๆ

Shopping Ads : เป็นโฆษณาที่จะแสดงผลเป็นภาพสินค้าบนหน้าค้นหา ตาม Keywords ที่เราซื้อไว้

YouTube Ads : โฆษณาที่จะแสดงเป็นวีดีโอ หรือหน้าเว็บไซต์ เมื่อผู้คนค้นหาในหรือรับชมวีดีโอบน YouTube

Social Media Marketing (SMM)

Social Media Marketing
Social Media Marketing

เป็นการทำการตลาดที่เน้นการสร้างคอนเทนต์ และยิงโฆษณา ผ่านทาง Social Media เช่น Facebook, Instagram, Tiktok, LINE, Twitter, YouTube, LinkedIn ไปจนถึง น้องใหม่อย่าง Threads เพื่อใช้ในการสื่อสาร และโปรโมทสินค้า แบรนด์ ให้กลุ่มเป้าหมายหรือลูกค้าเกิดการรับรู้มากที่สุด โดยเราสามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างมากมาย ตั้งแต่การสร้างการรับรู้ การสร้างยอดขาย ไปจนถึงการรักษาความสัมพันธ์กับลูกค้า ทั้งยังเป็นอีกหนึ่งช่องทางที่เราสามารถนำมาใช้ในการหาข้อมูล insight ใหม่ ๆ รวมถึงศึกษาคู่แข่งได้ด้วย

Content Marketing 

Content Marketing
Content Marketing

เรียกได้ว่าเป็นหนึ่งในองค์ประกอบสำคัญที่สุด ของการทำการตลาดดิจิทัลเลยทีเดียว ที่เรามักจะได้ยินคำกล่าวอมตะเสมอ ๆ ว่า “Content is King” เพราะแก่นสำคัญที่สุดของการทำการตลาด ก็คือการสื่อสาร ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบ บทความ โพสต์ วีดีโอ อินโฟกราฟิก รวมถึงอีเมลล์ ก็ล้วนจำเป็นต้องมี Content ทั้งสิ้น

และการทำคอนเทนต์ที่ดี ควรมีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน ทั้งในเรื่องของกลุ่มเป้าหมายที่เราต้องการสื่อสาร และตอบตัวเองให้ได้ก่อนว่า เราต้องการทำ content นี้เพื่ออะไร เช่น การให้ความรู้  สร้างความน่าเชื่อถือ ให้แรงบันดาลใจ ให้ความบันเทิง หรือต้องการขาย เพื่อที่เราจะได้วัดผลได้อย่างถูกต้อง

Email Marketing 

email marketing

Email Marketing เป็นหนึ่งในรูปแบบ การทำการตลาดสุดคลาสสิก และมีประสิทธิภาพมากที่สุด โดยเราสามารถควบคุมสื่อที่ออกไป เช่น

  • การแจ้งโปรโมชั่นพิเศษ
  • การโปรโมทสินค้าหรือบริการใหม่ ๆ
  • การแชร์บทความหรือการแจ้งข่าวสาร
  • เลือกส่งข้อมูลให้ลูกค้าแบบ Personalize

แม้ว่าจะมีช่องทางการสื่อสารใหม่ ๆ เกิดขึ้นมากมาย แต่ก็ยังมีผู้ที่ใช้อีเมลล์อยู่ทั่วโลกกว่า 4.5 พันล้านคน และนอกจากนี้ การใช้ Email Marketing ยังให้  Return On Investment สูงถึง 36 ดอลลาร์ ต่อการลงทุน เพียง 1 ดอลลาร์ เท่านั้น 

Affiliate Marketing

เป็นการตลาดโดยใช้นายหน้า หรือ Influencer ที่มีชื่อเสียง เพื่อบอกต่อสินค้าหรือบริการ เป็นอีกหนึ่งรูปแบบใหม่ที่ช่วยเพิ่มยอดขายและสร้างรายได้ออนไลน์ ที่เป็นประโยชน์ต่อทั้งแบรนด์และนักการตลาด โดยส่วนมาก ผลตอบแทนของการทำ Affiliate Marketing จะออกมาในรูปแบบของยอดขายที่นายหน้าคนนั้นทำได้ แต่สำหรับบางธุรกิจก็ให้ผลตอบแทนหรือรางวัลกับคนที่ทำ Affiliate Markteting กับแบรนด์ในการหา Lead, หา Traffic ใหม่ ๆ หรือหาคนที่ดาวน์โหลดแอปพลิเคชันเพิ่มขึ้นได้อีกด้วย ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับรูปแบบของธุรกิจด้วย

Affiliate Marketing eddu
Affiliate Marketing

Offiline Digital Marketing

Offline Digital Marketing : เป็นการทำการตลาดโดยใช้เทคโนโลยี Digital หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เข้ามาช่วย แต่ไม่จำเป็นต้องเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต โดยในบทความนี้จะแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้

Digital Out Of Home หรือ Digital Billboard 

เป็นอีกสื่อประเภท Offine Digital Marketing ที่ได้รับความนิยมจากนักการตลาดทั่วโลก ซึ่งในหลาย ๆ ปีที่ผ่านมา มีการนำเทคโนโลยี Digital เข้ามาใช้งาน แทนป้ายโฆษณาแบบเดิม จนกลายเป็น Digital LED Billboard ในปัจจุบันที่สามารถทำงานเชื่อมต่อกับเทคโนโลยีสื่อสมัยใหม่ ที่เพิ่มลูกเล่นได้มากมาย ไม่ว่าจะเป็น QR Code,  Augmented Reality (AR), GPS เป็นต้น 

Digital Billboard in OSAKA, JAPAN

Radio Marketing 

หลายคนอาจมองว่าการทำการตลาดผ่านวิทยุ เป็นวิธีที่ล้าสมัยไปแล้ว และคงไม่ค่อยได้ผลในปัจจุบัน แต่หากดูตามข้อมูลสถิติแล้ว กลับตรงกันข้าม เนื่องจาก

83% ของชาวอเมริกัน ฟังวิทยุทุกสัปดาห์

ในหนึ่งวันมีคนใช้เวลาฟังรายการวิทยาเฉลี่ย 99 นาที/วัน

และเมื่อการโฆษณาผ่านวิทยุ ถูกนำมาทำให้ทันสมัยยิ่งขึ้นเป็นรายการพอดแคสต์ที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน  ที่ผู้จัดรายการสามารถสอดแทรกโฆษณาต่าง ๆ ไว้ในช่วงต่าง ๆ ของรายการเลยทีเดียว 

Radio Marketing 

Mobile Marketing

จากต้นบทความที่พูดถึงสถิติของคนที่เข้าถึงอินเทอร์เน็ต ที่มีมากถึง 68% และ 90 % ของคนสะดวกใจที่จะรับข้อความจากธุรกิจ มากกว่าการพูดคุยโทรศัพท์ ดังนั้นการทำ Mobile Marketing จึงเป็นอีกหนึ่งช่องทางของ Offline Digital Marketing ที่แบรนด์และนักการตลาด ไม่ควรละเลย  และเราสามารถนำอย่างไรได้บ้าง มาดูกัน

การโทร และ การส่งข้อความ

แม้เทคโนโลยีจะล้ำหน้าไปมาก แต่การโทรติดต่อกลับยังคงเป็นเทคนิคทางการตลาดที่ใช้ได้ผล โดยมีอัตราความสำเร็จโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 2 เปอร์เซ็นต์  ในทางกลับกันการทำการตลาดผ่านการส่งข้อความหรือ SMS ให้ผลลัพธ์ที่ดีกว่า โดยมีอัตราการเปิดอ่านที่ 98 เปอร์เซ็นต์ 

มีหลายวิธีในการใช้ประโยชน์จากการตลาดผ่านข้อความ เช่น คูปอง และส่วนลดพิเศษ เหมาะสำหรับร้านอาหารเพื่อเพิ่มลูกค้าและเปลี่ยนลูกค้าที่เข้ามาเป็นขาประจำ

ยกตัวอย่าง Case study ที่น่าสนใจ อย่าง Mc’Donald

ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2565 McDonalds ได้เปิดตัวแคมเปญพิเศษบนโซเชียลมีเดีย ให้ผู้คนสามารถเลือกเข้าร่วมได้ โดยส่งข้อความไปยังหมายเลขที่ Mc'Donald ระบุไว้ 

“Text me if u want in on a life-changing opportunity this is not a drill 707-932-4826.” 

เมื่อมีคนส่งข้อความไปยังหมายเลขนั้น พวกเขาจะได้รับข้อความอัตโนมัติ เพื่อให้ตอบกลับการเข้าร่วมกิจกรรม และข้อตกลงเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัวต่าง ๆ

ตามมาด้วยข้อความแนะนำตัว คำขอเพิ่มหมายเลขติดต่อ และ เขตเวลาของผู้ใช้ เพื่อเก็บข้อมูลไว้ในอนาคต ไม่ให้ระบบส่งข้อความไปกวนในเวลาที่ลูกค้าไม่สะดวก และแคมเปญนี้ได้รับผลตอบรับอย่างเหลือเชื่อเลย

เราลองมาวิเคราะห์แคมเปญการตลาด SMS ของ Mc'Donald

อ่านบทความเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Mc'Donald ได้ที่ >> McDonald’s ใช้ Localized Marketing ยังไง ?! ถึงครองความเป็นยักษ์ใหญ่ของธุรกิจฟาสต์ฟู้ดได้สำเร็จ

นอกจากนี้ยังสามารถใช้ Mobile Marketing เป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการทำ CRM ให้ลูกค้าได้อีกด้วย ซึ่งถือว่าตอบโจทย์การทำ Digital Marketing โดยที่มีต้นทุนไม่สูงมากนัก และทั้งหมดนี้เป็นข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับจักรวาลการทำ Digital Marketing ที่เรานำมาฝากกัน สำหรับใครที่สนใจเรียนรู้ข้อมูลเชิงลึกเพิ่มเติม 

รายละเอียดเพิ่มเติม >> หลักสูตร Digital Marketing

Reference : 

https://kotlermarketing.com/phil_questions.shtml

https://datareportal.com/reports/digital-2023-thailand

https://www.nrn.com/quick-service/mcdonald-s-steps-its-sms-marketing-efforts

https://twitter.com/HuinGuillaume/status/1595170047378558976/photo/1

เชื่อว่า ทุกคนในโลกนี้ ไม่ว่าจะวัยไหน ต้องเคยได้ยิน สโลแกน สุดแสนคลาสสิก อย่าง I’m Love’in it อย่างแน่นอน และคงไม่มีใครที่ไม่รู้จักร้านอาหารฟาสต์ฟู้ดอันดับหนึ่งของโลกอย่าง McDonald's

เปิดตำนานความสำเร็จของ McDonald

ตำนานความอร่อยของ McDonald’s นี้เริ่มต้นในปี ค.ศ. 1940  ณ ซานเบอร์นาดิโน เมืองเล็ก ๆ ในรัฐแคลิฟอร์เนีย  โดย 2 พี่น้องแมคโดนัลด์ “ดิ๊ก” (Richard James “Dick” McDonald) และ “แมค” (Maurice James “Mac” McDonald) ที่เริ่มต้นจากร้านแฮมเบอร์เกอร์เล็ก ๆ ที่มีเมนูให้เลือกกว่า 25 เมนู และให้บริการแบบ “ไดร์ฟทรู” 

McDonald Localize

เมื่อธุรกิจดำเนินไปได้ระยะหนึ่ง และถือว่าประสบความสำเร็จ แต่ทั้งสอง มองเห็นว่าร้านของพวกเขายังมีกำไรน้อยเกินไป และมีปัญหาในการบริหารจัดการมากมาย  ทั้งเมนูอาหารที่มากเกินไป ขั้นตอนการสั่งอาหารที่ยุ่งยาก รวมถึงเรื่องการเตรียมวัตถุดิบที่หลากหลาย และบางเมนู เช่น บาร์บีคิว หากเตรียมไว้ล่วงหน้า จะทำให้อาหารเสียรสชาติ 

ช่วงปี ค.ศ.  1948 พวกเขาจึงกลับไปทบทวนธุรกิจของตัวเอง และปิดปรับปรุงร้านเป็นเวลา 3 เดือน และกลับมาให้บริการลูกค้าอีกครั้ง โดยลดเมนูอาหารลงจาก 25 เมนู แล้วชูให้ “แฮมเบอเกอร์” เป็นเมนูหลัก พร้อมเครื่องเคียงอย่างเฟรนช์ฟรายส์ (มันฝรั่งทอด) พาย และเครื่องดื่ม “มิลค์เชค” เน้นในรูปแบบลูกค้าบริการตัวเอง ผลลัพธ์ที่ได้คือ นอกจากจะลดต้นทุนการบริหารจัดการ การจ้างพนักงานเสิร์ฟ พ่อครัวมืออาชีพ ทำให้ราคาแฮมเบอร์เกอร์ของ McDonald ถูกกว่าร้าน อื่น ๆ ด้วยความสะดวก ประหยัดเวลา และราคาเข้าถึงได้ ทำให้ลูกค้าที่่เข้ามาใช้บริการมากขึ้นเรื่อยๆ และนี่นับว่าจุดเริ่มต้นของ McDonald ในฐานะร้านอาหารฟาสต์ฟู้ดอย่างแท้จริง

McDonald Localize begining

ต่อมาในปี ค.ศ.  1954 ทั้งสองคนได้รู้จักกับ “เรย์ คร็อก” (Raymond Albert ‘Ray’ Kroc)  ซึ่งเป็นเซลล์ขายเครื่องปั่นมิลค์เชค ที่ได้รับยอดสั่งซื้อสินค้าจากพวกเขา และมองเห็นโอกาสจากธุรกิจของร้าน McDonald จึงอยากร่วมทำธุรกิจด้วย โดยเขาเป็นผู้คิดระบบแฟรนไชส์ขึ้นมาเสนอทั้งสองพี่น้อง รวมถึงการนำโมเดลธุรกิจแบบ Localize Marketing ขึ้นมาด้วยการให้มีการปรับเปลี่ยนเมนูไปตามแต่ละพื้นที่ และยังคงชู “แฮมเบอร์เกอร์” ให้เป็นเมนูหลักประจำร้าน เน้นราคาถูก บริการรวดเร็ว 

McDonald สาขาแรกในต่างแดน

McDonale เริ่มต้นสาขาแรกในต่างประเทศที่ แคนาดา และปัจจุบันประสบความสำเร็จ และขยายสาขา ไปทั่วโลก 40,275 สาขาใน 118 ประเทศทั่วโลก รวมถึงประเทศไทย โดยมีจำนวนลูกค้าทั่วโลกที่เข้าใช้บริการประมาณ 69 ล้านคนต่อวัน ประมาณว่า McDonald's สามารถขายแฮมเบอร์เกอร์ได้ 75 ชิ้นต่อวินาที เลยทีเดียว และสร้างรายได้ทั่วโลกถึง 23.18 พันล้านดอลลาร์ในปี 2022 (Zippia, 2023) 

McDonald Localize

Localize Marketing ของ McDonald

ความสำเร็จของ McDonald นั้น เกิดมาพร้อมหลายปัจจัย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การทำ Localized Marketing หรือการปรับตัวขององค์กรให้เข้ากับวัฒนธรรมที่แตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ เพื่อทำให้แบรนด์มีความเป็นหนึ่งเดียวกับท้องถิ่น สร้างความเป็นกันเองและทำให้ลูกค้าเกิดการจดจำในแบรนด์มากขึ้น จนประสบความสำเร็จเราลองมาดูตัวอย่างการใช้ โมเดล  Localize Marketing ของ McDonald กัน

McDonald Localize Around world

เริ่มที่ประเทศเยอรมนี ดินแดนแห่งคนรักเนื้อ และไส้กรอก 

ด้วยการทำการบ้านอย่างดีของ McDonald ทำให้ออกเมนูพิเศษอย่าง Nürnburger ที่ทำจากใช้แป้งเบอร์เกอร์ เสิร์ฟพร้อมไส้กรอกเนิร์นแบร์เกอร์ ( Nürnberger sausages ) รวมถึงคิดค้นเมนู แฮมเบอร์เกอร์เนื้อ ที่สามารถทานคู่กับเบียร์ ซึ่งตอบรับกับลักษณะนิสัยของชาวเยอรมันที่นิยมดื่มเบียร์ขณะรับประทานอาหาร ได้เป็นอย่างดี

ต่อมาที่อินโดนีเซีย ประเทศแถบเอเชียที่มีประชากรมากกว่า 260 ล้านคน โดยส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม

McDonald's ทำ Localize Marketing ได้อย่างเหมาะสม ด้วยการตัดเนื้อหมูออกจากเมนู โดยเน้นไปที่การใช้วัตถุดิบจากปลาและเนื้อแทน นอกจากนี้ McDonald ยังวางตัวให้ทุกสาขาในอินโดนีเซียทำร้านให้ได้มาตรฐานฮาลาล  พร้อมปรับเปลี่ยนเมนูหลักจากแฮมเบอร์เกอร์ เป็นเมนูข้าว ให้ตอบรับกับวิถีชีวิตของชาวอินโดนีเซียที่บริโภค “ข้าว” เป็นอาหารหลัก 

ถัดมาที่ประเทศญี่ปุ่น อย่างที่เรารู้กันว่า อาหารญี่ปุ่น มีชื่อเสียงและมีความเฉพาะตัวที่แตกต่างจากที่อื่นในโลก 

McDonald’s ในญี่ปุ่น ยังคงแฮมเบอร์เกอร์ไว้เป็นเมนูหลัก และค่อย ๆ ปรับเปลี่ยนเมนูให้หลากหลายขึ้น เพื่อตอบสนองความต้องการของชาวญี่ปุ่น ไม่ว่าจะเป็น Teriyaki Burger (เทอริยากิเบอร์เกอร์ ด้วยตัวแป้งที่ราดซอสเทอริยากิหวาน ๆ เสิร์ฟพร้อมหัวหอม) (Oyako Teriyaki McBurger : 親子てりやきマックバーガー) ที่ได้แรงบันดาลใจมาจากโอยะโกะด้ง ข้าวหน้าไก่ราดไข่ คราวนี้มาเป็นเนื้อไก่ทอดกรอบนอกนุ่มในชุ่มซอสเทริยากิเลมอนรสหวาน พร้อมไข่ดาวและผักกาด รวมทั้ง อุจิมัทฉะกรีนที เครื่องดื่มชาเขียวจาก McCafe by Barista 

ตัวอย่างสุดท้าย ขอยกตัวอย่างที่ โมร็อกโก ซึ่งเป็นประเทศที่ตั้งอยู่ในภูมิภาค Maghreb ของแอฟริกาเหนือ

McDonalds ทำ Localize Marketing ที่เหมาะสมกับการใช้ชีวิตของผู้คนในประเทศได้เป็นอย่างดี โดยออกแบบเมนู McArabia Sandwich ซึ่งเป็นแซนวิชที่ทำจากขนมปังพิต้าและเครื่องเทศแบบดั้งเดิม เช่น ผงยี่หร่าและผักชี หรือในช่วงเดือนรอมฎอน McDonalds ยังจัดทำเมนูพิเศษที่เรียกว่า "f'tor" F'tor แปลว่า สิ้นสุดการถือศีลอด เมนูนี้ประกอบด้วยซุปแบบดั้งเดิม อินทผลัม นม และ BigMac 

McDonald Localize Morocco

จากตัวอย่างข้างต้นนี้ จะเห็นได้ว่า McDonald’s ประสบความสำเร็จในการตีตลาดกลุ่มผู้บริโภคในแต่ละประเทศเพียงแค่ใช้ความใส่ใจในการปรับปรุงสินค้าให้ตรงกับประเทศนั้น ๆ เท่านั้นเอง

สำหรับผู้อ่านหรือผู้ประกอบการ ที่มองหาช่องทางการขยับขยายกิจการไปต่างประเทศ การทำการตลาดด้วย Localize Marketing ก็เป็นอีกหนึ่งมุมมองที่น่าสนใจ และคุณอาจประสบความสำเร็จเหมือนกับ McDonald’s ได้เพราะข้อคิดหลักของเรื่องนี้มีเพียง แค่ใส่ใจและค้นคว้าข้อมูลของ  “กลุ่มเป้าหมาย” ที่เราต้องการ จะเจาะตลาดเท่านั้นเอง

<แนะนำ>

ถ้าใครอยากเริ่มธุรกิจของตัวเองที่ต้องการองค์ความรู้ในการทำธุรกิจแบบ Step-by-step แนะนำหลักสูตร

Shortcut MBA ที่สอนทุกอย่างที่คนอยากทำธุรกิจให้สำเร็จต้องรู้ดูรายละเอียดได้ที่ลิงค์ http://bit.ly/3FYL93N


Reference 

https://corporate.mcdonalds.com/corpmcd/investors/financial-information.html#accordion-04de232996-item-faf8b528f3

https://www.zippia.com/advice/mcdonalds-statistics/

https://matcha-jp.com/th/8050

http://naturallygreattraders.blogspot.com/2016/11/mcdonalds-marketing-strategy-of.html

https://www.thaismescenter.com/ประวัติของแมคโดนัลด์-ที่โลกต้องรู้/

We use cookies, please see our policy and setting

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save
linkedin facebook pinterest youtube rss twitter instagram facebook-blank rss-blank linkedin-blank pinterest youtube twitter instagram