ถ้าพูดถึงแบรนด์ กระเป๋า และ รองเท้า ที่ราคาไม่สูง และคุณภาพดี หนึ่งในแบรนด์ที่ขาดไม่ได้ คือ "Charles & Keith" แบรนด์แฟชั่นสัญชาติสิงคโปร์ ที่เข้ามาตีตลาดทั่วโลก รวมถึงในประเทศไทย ที่เรามักพบเจอ Shop มากมาย ในห้างสรรพสินค้าชั้นนำ ที่มีคนก็ยังคงเดินเข้าร้านแบบไม่ขาดสาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วง Mid Year Sale หรือในเทศการต่าง ๆ ที่แบรนด์มีประกาศลดราคา ซึ่งในบทความนี้ เราจะพาทุกคนมาทำความเข้าใจ ถึง 5 กลยุทธ์ในการบริหารธุรกิจและการทำการตลาด ของ Charles & Keith ที่ทำให้แบรนด์ประสบความสำเร็จ และได้รับความนิมยม มากขนาดนี้

Charles & Keith Shop

จุดประสงค์ของ แบรนด์ Charles & Keithมีความชัดเจนมากที่ต้องการจะแฟชั่น เป็นสิ่งที่คนเข้าถึงได้ ทางแบรนด์จึงมักจะตั้งราคาที่ไม่แพง แต่ถ้าหากมองเรื่องคุณภาพสินค้านั้น ก็ถือว่าดีเกินราคาเลย และนอกจากนั้นแล้วยังมีการออกแบบที่ทันสมัย ปรับตัวเข้ากับแฟชั่นยุคใหม่อยู่เเสมอ

1. ความชัดเจนในการทำธุรกิจ

Charles & Keith มีจุดประสงค์ในการทำธุรกิจที่ชัดเจนมาก ที่ต้องการทำให้ “แฟชั่น” เป็นสิ่งที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ ทางแบรนด์มักสร้างสรรค์สินค้าอย่างใส่ใจทุกรายละเอียด ทั้งการออกแบบที่ทันสมัย ปรับตัวเข้ากับแฟชั่นยุคใหม่อยู่เสมอ และกำหนดราคาขายที่สมเหตุสมผล หรือหลาย ๆ คนมักพูดว่า คุ้มเกินราคา

Charles & Keith Bag english fashion

2. ยึดมั่นใจ Position ของตัวเองของ Charles & Keith

ต่อยอดจากการมีจุดประสงค์ที่ชัดเจนของ Charles & Keith ทางแบรนด์เน้นกำหนด Position ในการทำการตลาด โดยสื่อสารด้วย คำว่า  “Affordable Luxury” หรือ “ความหรูหราในราคาที่จับต้องได้” โดยสามารถเข้าถึงลูกค้าได้หลากหลายกลุ่ม ไม่ว่าลูกค้าจะมีรายได้ น้อย ปานกลาง หรือสูง ก็สามารถเป็นเจ้าของ  Charles & Keith ได้

3. Charles & Keith ใส่ใจมาตรฐานและรับผิดชอบต่อส่วนรวม

ยิ่งกว่านั้น Charles & Keith ยังเน้นให้ความสำคัญกับมาตรฐานการผลิต รวมถึงการรับผิดชอบต่อสังคม การใส่ใจในทุก ๆ กระบวนการผลิตสินค้าที่อาจส่งผลต่อสิ่งแวดล้อม และสร้างมาตรฐานของตัวเองไว้ว่า Charles & Keith จะผลิตแต่สิ่งที่ลูกค้าต้องการเท่านั้น

4. ใกล้ชิดและเข้าใจลูกค้าอย่างแท้จริง

แบรนด์ Charles & Keith ถือเป็นแบรนด์แฟชั่นระดับโลก แบรนด์แรก ๆ ที่สามารถเติมเต็มช่องว่างในตลาดของผู้บริโภคที่มีใจรักแฟชั่นได้เป็นอย่างดี

โดย Charles & Keith ได้วางรากฐานความใส่ใจ เพื่อให้เข้าถึงความต้องการของลูกค้าได้ตรงจุด โดยเริ่มจากวัฒนธรรมภายในร้านเลยทีเดียว ทางแบรนด์จะเลือกพนักงานหน้าร้าน ที่มีอายุเฉลี่ย  (ประมาณ 27 ปี) ซึ่งตรงกับกลุ่มลูกค้าของแบรนด์ เพื่อเข้ามาให้บริการลูกค้าทั้ง การให้คำแนะนำอย่างเป็นมิตร และคอยฟีดแบคพฤติกรรมการซื้อของลูกค้า รวมไปถึงการให้อิสระกับลูกค้า ที่เข้าใช้บริการภายในร้าน 

นอกจากนี้ Charles & Keith ในประเทศต่าง ๆ มักจะเลือกพนักงานที่เป็น Local หรืออยู่ในประเทศนั้น ๆ เข้ามาเป็นพนักงานขาย เพื่อให้สามารถเข้าใจตลาดในแต่ละพื้นที่ และมองเห็นภาพความต้องการของลูกค้าและความนิยมของประเทศนั้น ๆ มากขึ้น

5. เจ้าตลาดสินค้าออนไลน์รายแรกในสิงคโปร์

Charles & Keith ถือเป็นบริษัทค้าปลีก รายแรกในสิงคโปร์ที่เปิดตัวร้านค้าผ่านช่องทางออนไลน์ ทำให้ช่วยลดข้อจำกัดในเรื่องของจำนวนสาขาหน้าร้านที่ไม่ครอบคลุมในหลาย ๆ ประเทศ เมื่อเทียบกับที่อื่น ๆ แต่แนวคิดในเรื่องการทำตลาดช้อปปิ้งออนไลน์ของแบรนด์ ทำให้สามารถครอบคลุมการซื้อ - ขาย ได้ถึง 70 ประเทศทั่วโลก

charles-keith-itzy-group

ทั้งหมดนี้ เป็นความลับที่อยู่เบื้องหลัง ความสำเร็จของแบรนด์ Charles & Keith ที่รักษาจุดยืนและการทำการตลาดของทางแบรนด์ได้อย่างชัดเจน ในการสร้างสรรค์สินค้าแฟชั่นคุณภาพสูง มีสไตล์ และราคาจับต้องได้  เพื่อผู้บริโภค โดยสินค้าของแบรนด์ครอบคลุมทั้ง  รองเท้า กระเป๋า และเครื่องประดับ จึงทำให้แบรนด์  Charles & Keith เป็นแบรนด์ที่ครองใจผู้บริโภค จากหลาย ๆ ประเทศได้อย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน

และสำหรับใคร ที่สนใจเรียนรู้เรื่องการทำการตลาดเพื่อก้าวให้ทันการเปลี่ยนแปลงของโลกที่กำลังหมุนอย่างรวดเร็วขอแนะนำ หลักสูตร Digital Marketing

เพราะจริงๆ แล้ว Digital Marketing ไม่ใช่เพียงการยิง Ads โฆษณา แต่มีองค์ประกอบหลากหลาย ทั้งในส่วนของทฤษฎี การวิเคราะห์ และวางแผน ทุกอย่างให้ลงตัว ไม่ว่าจะเป็นธรรมชาติของธุรกิจแต่ละประเภทที่แตกต่างกัน ช่องทางการขายของธุรกิจคุณเป็นอย่างไร และควรวางแผนสร้าง Content แบบไหน จึงจะดึงดูดลูกค้าได้ แล้วจึงไปวางแผนการยิง Ads โฆษณาว่า การตั้งงบประมาณ และจำกัดกลุ่มเป้าหมายอย่างไร จนถึงขั้นตอนสุดท้าย คือ การวิเคราะห์ผลที่ได้เพื่อปรับปรุงให้ดีขึ้น

Reference :

ปฎิเสธไม่ได้เลยว่า กระแส E-commerce (อีคอมเมิร์ซ) ได้เข้ามาเปลี่ยนแปลงการใช้ชีวิตของผู้คนไปตลอดการ โดยเฉพาะในเรื่องพฤติกรรมการ ซื้อ-ขายสินค้า ที่ทำให้ทุกอย่างทำได้ง่ายขึ้น ด้วยปลายนิ้ว ไม่เว้นแต่ในตลาดของเล่นที่มีวางขายในเว็บต่าง ๆ มากมาย การขายของเล่นบนโลกออนไลน์มากมาย ตั้งแต่ของเล่นทั่วไป ที่หาง่าย ไปจนถึงของสินค้า "Rare Item" ที่หายาก และราคาสูงลิ่ว

ความพิเศษของ E-Commerce

การเข้ามาของ E-Commerce สร้างความสะดวกสบายอย่างมาก ทำให้ลูกค้าไม่ต้องออกไปตากแดด ตากฝน ฝ่ารถติด เพื่อตามหาสิ่งที่ตัวเองต้องการ ทั้งยังเปิดทางเลือกให้ผู้ซื้อมีช่องทางและอิสระที่มากขึ้นกว่าเดิม ทำให้ธุรกิจต่าง ๆ ในสมัยนี้ต่างก็ต้องปรับตัวตามกระแสให้ทัน ถ้าไม่อยากถูกกลืน และเลือนหายไปตามกาลเวลา

สำหรับบทความนี้ ขอหยิบยกตัวอย่างธุรกิจในวงการตลาดของเล่น ซึ่งเป็นหนึ่งในบทเรียนชั้นดี ที่ถ่ายทอดให้เห็นถึงการปรับตัวที่ช้าเกินไป จนต้องพบกับความ ‘ล้มเหลว’ และธุรกิจนั้นคือ TOYS “R” US

Toys R Us Logo

TOYS “R” US ยักษ์ใหญ่ของวงการตลาดของเล่น

TOYS “R” US หรือ "Toys Я Us" ร้านขายของเล่นชื่อดังในสหรัฐอเมริกา ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1948 หรือ ราว ๆ 75 ปีก่อน ซึ่งถือเป็นเจ้าใหญ่ของวงการและเป็นแลนด์มาร์คแห่งธุรกิจตลาดของเล่นที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยมีจำนวนสาขากว่า 1,600 สาขา และมีพนักงานถึง 64,000 คน ใน 38 ประเทศทั่วโลก

จุดเด่นของ TOYS “R” US คือ "ความหลากหลาย" ที่ในร้านมีของเล่นให้เลือกมากกว่า 1,000 ชิ้น รวมถึงยังมีของเล่นที่นำเข้าจากหลายประเทศ และจุดขายที่สำคัญคือ ราคาถูก กว่าคู่แข่งเจ้าอื่น ๆ ในตลาด 20 - 50% อีกด้วย

จุดเปลี่ยนสำคัญ ของ TOYS “R” US

ในช่วง ค.ศ. 1998 กระแส Social Media และ E-commerce เริ่มมีบทบาทกับการใช้จ่ายของผู้บริโภคมากขึ้น และสิ่งที่เจ้าตลาดของเล่นอย่าง TOYS “R” US ทำพลาดในครั้งนั้น คือ การไม่ปรับตัวให้ทันกระแสของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป ในขณะที่แบรนด์อื่น ๆ ในทุก ๆ อุตสาหกรรมเริ่มพากันสร้างตัวตน และสื่อสังคมบนโลกออนไลน์ แต่ TOYS “R” US กลับเลือกที่จะนิ่งเฉย ประกอบกับ ณ ช่วงนั้น Amazon ที่เชี่ยวชาญด้าน E-Commerce เริ่มขยายธุรกิจ ตีตลาดออนไลน์มากขึ้น รวมถึงมีการวางขายสินค้าของเล่นใน Platform ของเขามากกว่าที่ TOYS “R” US มีอยู่ ทำให้ Amazon ได้โอกาสดีในการเปิดตลาด และได้ส่วนแบ่งของตลาดของเล่นออนไลน์ที่กำลังเกิดใหม่อย่างรวดเร็ว จนทำให้ Amazon ก้าวสู่การเป็นผู้นำด้านช้อปปิ้งอย่างที่เราเห็นกันในปัจจุบัน

สำหรับความนิ่งนอนใจของ TOYS “R” US ทำให้บริษัทต้องเผชิญกับความท้าทายอยู่หลายปี ทั้งเรื่องของการปรับตัวไม่ทันการเข้ามาของ E-Commerce และตลาดของเล่นที่เปลี่ยนไป รวมถึงมีคู่แข่งรายใหม่ ๆ เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ไม่ว่าจะเป็น Walmart, K-Mart หรือ Alibaba ฯลฯ ที่หันมาเพิ่มความหลากหลายให้กลุ่มสินค้าของตัวเอง สุดท้าย TOYS “R” US จึงพบกับบทเรียนและจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญโดยพบกับปัญหาหนี้สินมากมายและในที่สุดบริษัทได้ยื่นขอล้มละลาย และขอเข้าสู่กระบวนการพิทักษ์ทรัพย์ เพื่อปรับโครงสร้างหนี้ ในปี ค.ศ. 2018

Toys R Us Closing

จากนั้น เริ่มทยอยปิดตัวสาขาหน้าร้านทั้งหมดในสหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย และอังกฤษอย่างถาวร ส่วนกิจการในโซนเอเชีย แอฟริกา ยุโรป และแคนาดา ได้มีการขายออกไปให้เจ้าอื่นดูแล

TOYS “R” US ... เปลี่ยน ความ "ล้มเหลว" ให้เป็น "ประสบการณ์"

ล่าสุด ช่วงกลางปีที่แล้ว (ค.ศ. 2022) TOYS “R” US ได้หวนคืนตลาดของเล่นในสหรัฐอเมริกาได้อีกครั้ง โดยจับมือกับห้างค้าปลีกเก่าแก่ อย่าง Macy’s ที่มีอยู่มากกว่า 400 สาขา โดยทาง Macy ได้ออกมาประกาศผลประกอบการของห้างว่ายอดขายสินค้าหมวดของเล่น ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2022 ที่ผ่านมามีอัตราการเติบโตสูงขึ้นถึง 15 เท่า เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้าที่มีการร่วมมือกับ TOYS “R” US เลยทีเดียว

สุดท้ายนี้ แม้ว่า TOYS “R” US จะมีจุดที่พลาดไปจนทำให้เส้นทางการทำธุรกิจไม่ได้ราบรื่นมากนัก แต่อย่างน้อย การล้มในครั้งนั้นก็เป็นบทเรียนสำคัญ ที่ทำให้วันนี้ TOYS “R” US ได้บทเรียนและสามารถคัมแบ็กกลับมาได้อย่างเต็มตัว หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์ และเป็นข้อเตือนใจสำหรับผู้ที่กำลังทำธุรกิจให้ว่าอย่ามองข้ามพลังของสื่อออนไลน์และตลาดออนไลน์เป็นอันขาด จะได้ไม่ทำผิดพลาดเหมือนกับ TOYS “R” US

<แนะนำ>

สำหรับใครที่สนใจในเรื่องของการตลาดและสื่อออนไลน์เพิ่มเติม

คอร์ส Digital Marketing ตอบโจทย์คุณ ทั้งเรื่องของการวิเคราะห์ และวางแผน การใช้สื่อออนไลน์ทุกอย่างให้ลงตัว ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ลิงค์ https://eddu.org/digital-marketing-detail/

Reference :

https://www.toysrus.co.th/

https://www.thepeople.co/read/business/51020

เชื่อว่า ทุกคนในโลกนี้ ไม่ว่าจะวัยไหน ต้องเคยได้ยิน สโลแกน สุดแสนคลาสสิก อย่าง I’m Love’in it อย่างแน่นอน และคงไม่มีใครที่ไม่รู้จักร้านอาหารฟาสต์ฟู้ดอันดับหนึ่งของโลกอย่าง McDonald's

เปิดตำนานความสำเร็จของ McDonald

ตำนานความอร่อยของ McDonald’s นี้เริ่มต้นในปี ค.ศ. 1940  ณ ซานเบอร์นาดิโน เมืองเล็ก ๆ ในรัฐแคลิฟอร์เนีย  โดย 2 พี่น้องแมคโดนัลด์ “ดิ๊ก” (Richard James “Dick” McDonald) และ “แมค” (Maurice James “Mac” McDonald) ที่เริ่มต้นจากร้านแฮมเบอร์เกอร์เล็ก ๆ ที่มีเมนูให้เลือกกว่า 25 เมนู และให้บริการแบบ “ไดร์ฟทรู” 

McDonald Localize

เมื่อธุรกิจดำเนินไปได้ระยะหนึ่ง และถือว่าประสบความสำเร็จ แต่ทั้งสอง มองเห็นว่าร้านของพวกเขายังมีกำไรน้อยเกินไป และมีปัญหาในการบริหารจัดการมากมาย  ทั้งเมนูอาหารที่มากเกินไป ขั้นตอนการสั่งอาหารที่ยุ่งยาก รวมถึงเรื่องการเตรียมวัตถุดิบที่หลากหลาย และบางเมนู เช่น บาร์บีคิว หากเตรียมไว้ล่วงหน้า จะทำให้อาหารเสียรสชาติ 

ช่วงปี ค.ศ.  1948 พวกเขาจึงกลับไปทบทวนธุรกิจของตัวเอง และปิดปรับปรุงร้านเป็นเวลา 3 เดือน และกลับมาให้บริการลูกค้าอีกครั้ง โดยลดเมนูอาหารลงจาก 25 เมนู แล้วชูให้ “แฮมเบอเกอร์” เป็นเมนูหลัก พร้อมเครื่องเคียงอย่างเฟรนช์ฟรายส์ (มันฝรั่งทอด) พาย และเครื่องดื่ม “มิลค์เชค” เน้นในรูปแบบลูกค้าบริการตัวเอง ผลลัพธ์ที่ได้คือ นอกจากจะลดต้นทุนการบริหารจัดการ การจ้างพนักงานเสิร์ฟ พ่อครัวมืออาชีพ ทำให้ราคาแฮมเบอร์เกอร์ของ McDonald ถูกกว่าร้าน อื่น ๆ ด้วยความสะดวก ประหยัดเวลา และราคาเข้าถึงได้ ทำให้ลูกค้าที่่เข้ามาใช้บริการมากขึ้นเรื่อยๆ และนี่นับว่าจุดเริ่มต้นของ McDonald ในฐานะร้านอาหารฟาสต์ฟู้ดอย่างแท้จริง

McDonald Localize begining

ต่อมาในปี ค.ศ.  1954 ทั้งสองคนได้รู้จักกับ “เรย์ คร็อก” (Raymond Albert ‘Ray’ Kroc)  ซึ่งเป็นเซลล์ขายเครื่องปั่นมิลค์เชค ที่ได้รับยอดสั่งซื้อสินค้าจากพวกเขา และมองเห็นโอกาสจากธุรกิจของร้าน McDonald จึงอยากร่วมทำธุรกิจด้วย โดยเขาเป็นผู้คิดระบบแฟรนไชส์ขึ้นมาเสนอทั้งสองพี่น้อง รวมถึงการนำโมเดลธุรกิจแบบ Localize Marketing ขึ้นมาด้วยการให้มีการปรับเปลี่ยนเมนูไปตามแต่ละพื้นที่ และยังคงชู “แฮมเบอร์เกอร์” ให้เป็นเมนูหลักประจำร้าน เน้นราคาถูก บริการรวดเร็ว 

McDonald สาขาแรกในต่างแดน

McDonale เริ่มต้นสาขาแรกในต่างประเทศที่ แคนาดา และปัจจุบันประสบความสำเร็จ และขยายสาขา ไปทั่วโลก 40,275 สาขาใน 118 ประเทศทั่วโลก รวมถึงประเทศไทย โดยมีจำนวนลูกค้าทั่วโลกที่เข้าใช้บริการประมาณ 69 ล้านคนต่อวัน ประมาณว่า McDonald's สามารถขายแฮมเบอร์เกอร์ได้ 75 ชิ้นต่อวินาที เลยทีเดียว และสร้างรายได้ทั่วโลกถึง 23.18 พันล้านดอลลาร์ในปี 2022 (Zippia, 2023) 

McDonald Localize

Localize Marketing ของ McDonald

ความสำเร็จของ McDonald นั้น เกิดมาพร้อมหลายปัจจัย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การทำ Localized Marketing หรือการปรับตัวขององค์กรให้เข้ากับวัฒนธรรมที่แตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ เพื่อทำให้แบรนด์มีความเป็นหนึ่งเดียวกับท้องถิ่น สร้างความเป็นกันเองและทำให้ลูกค้าเกิดการจดจำในแบรนด์มากขึ้น จนประสบความสำเร็จเราลองมาดูตัวอย่างการใช้ โมเดล  Localize Marketing ของ McDonald กัน

McDonald Localize Around world

เริ่มที่ประเทศเยอรมนี ดินแดนแห่งคนรักเนื้อ และไส้กรอก 

ด้วยการทำการบ้านอย่างดีของ McDonald ทำให้ออกเมนูพิเศษอย่าง Nürnburger ที่ทำจากใช้แป้งเบอร์เกอร์ เสิร์ฟพร้อมไส้กรอกเนิร์นแบร์เกอร์ ( Nürnberger sausages ) รวมถึงคิดค้นเมนู แฮมเบอร์เกอร์เนื้อ ที่สามารถทานคู่กับเบียร์ ซึ่งตอบรับกับลักษณะนิสัยของชาวเยอรมันที่นิยมดื่มเบียร์ขณะรับประทานอาหาร ได้เป็นอย่างดี

ต่อมาที่อินโดนีเซีย ประเทศแถบเอเชียที่มีประชากรมากกว่า 260 ล้านคน โดยส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม

McDonald's ทำ Localize Marketing ได้อย่างเหมาะสม ด้วยการตัดเนื้อหมูออกจากเมนู โดยเน้นไปที่การใช้วัตถุดิบจากปลาและเนื้อแทน นอกจากนี้ McDonald ยังวางตัวให้ทุกสาขาในอินโดนีเซียทำร้านให้ได้มาตรฐานฮาลาล  พร้อมปรับเปลี่ยนเมนูหลักจากแฮมเบอร์เกอร์ เป็นเมนูข้าว ให้ตอบรับกับวิถีชีวิตของชาวอินโดนีเซียที่บริโภค “ข้าว” เป็นอาหารหลัก 

ถัดมาที่ประเทศญี่ปุ่น อย่างที่เรารู้กันว่า อาหารญี่ปุ่น มีชื่อเสียงและมีความเฉพาะตัวที่แตกต่างจากที่อื่นในโลก 

McDonald’s ในญี่ปุ่น ยังคงแฮมเบอร์เกอร์ไว้เป็นเมนูหลัก และค่อย ๆ ปรับเปลี่ยนเมนูให้หลากหลายขึ้น เพื่อตอบสนองความต้องการของชาวญี่ปุ่น ไม่ว่าจะเป็น Teriyaki Burger (เทอริยากิเบอร์เกอร์ ด้วยตัวแป้งที่ราดซอสเทอริยากิหวาน ๆ เสิร์ฟพร้อมหัวหอม) (Oyako Teriyaki McBurger : 親子てりやきマックバーガー) ที่ได้แรงบันดาลใจมาจากโอยะโกะด้ง ข้าวหน้าไก่ราดไข่ คราวนี้มาเป็นเนื้อไก่ทอดกรอบนอกนุ่มในชุ่มซอสเทริยากิเลมอนรสหวาน พร้อมไข่ดาวและผักกาด รวมทั้ง อุจิมัทฉะกรีนที เครื่องดื่มชาเขียวจาก McCafe by Barista 

ตัวอย่างสุดท้าย ขอยกตัวอย่างที่ โมร็อกโก ซึ่งเป็นประเทศที่ตั้งอยู่ในภูมิภาค Maghreb ของแอฟริกาเหนือ

McDonalds ทำ Localize Marketing ที่เหมาะสมกับการใช้ชีวิตของผู้คนในประเทศได้เป็นอย่างดี โดยออกแบบเมนู McArabia Sandwich ซึ่งเป็นแซนวิชที่ทำจากขนมปังพิต้าและเครื่องเทศแบบดั้งเดิม เช่น ผงยี่หร่าและผักชี หรือในช่วงเดือนรอมฎอน McDonalds ยังจัดทำเมนูพิเศษที่เรียกว่า "f'tor" F'tor แปลว่า สิ้นสุดการถือศีลอด เมนูนี้ประกอบด้วยซุปแบบดั้งเดิม อินทผลัม นม และ BigMac 

McDonald Localize Morocco

จากตัวอย่างข้างต้นนี้ จะเห็นได้ว่า McDonald’s ประสบความสำเร็จในการตีตลาดกลุ่มผู้บริโภคในแต่ละประเทศเพียงแค่ใช้ความใส่ใจในการปรับปรุงสินค้าให้ตรงกับประเทศนั้น ๆ เท่านั้นเอง

สำหรับผู้อ่านหรือผู้ประกอบการ ที่มองหาช่องทางการขยับขยายกิจการไปต่างประเทศ การทำการตลาดด้วย Localize Marketing ก็เป็นอีกหนึ่งมุมมองที่น่าสนใจ และคุณอาจประสบความสำเร็จเหมือนกับ McDonald’s ได้เพราะข้อคิดหลักของเรื่องนี้มีเพียง แค่ใส่ใจและค้นคว้าข้อมูลของ  “กลุ่มเป้าหมาย” ที่เราต้องการ จะเจาะตลาดเท่านั้นเอง

<แนะนำ>

ถ้าใครอยากเริ่มธุรกิจของตัวเองที่ต้องการองค์ความรู้ในการทำธุรกิจแบบ Step-by-step แนะนำหลักสูตร

Shortcut MBA ที่สอนทุกอย่างที่คนอยากทำธุรกิจให้สำเร็จต้องรู้ดูรายละเอียดได้ที่ลิงค์ http://bit.ly/3FYL93N


Reference 

https://corporate.mcdonalds.com/corpmcd/investors/financial-information.html#accordion-04de232996-item-faf8b528f3

https://www.zippia.com/advice/mcdonalds-statistics/

https://matcha-jp.com/th/8050

http://naturallygreattraders.blogspot.com/2016/11/mcdonalds-marketing-strategy-of.html

https://www.thaismescenter.com/ประวัติของแมคโดนัลด์-ที่โลกต้องรู้/

ถ้าพูดถึงแบรนด์กระเป๋า “Street Fashion” ที่ผู้หญิงใช้ได้ ผู้ชายใช้ดี เน้นความ อึด ถึก ทน และแฝงด้วยกลิ่นอายความรักษ์โลก จนครองใจวัยรุ่นสมัยนี้ หลายคนคงนึกถึง FREITAG

FREITAG ความสำเร็จจากความคิดสุดแหวกแนว

จุดเริ่มต้นของแบรนด์นี้ เกิดขึ้นในเช้าวันหนึ่งที่ฝนตกหนัก ระหว่างการเดินทางไปทำงานของ Markus (มาคัส) และ Daniel Freitag (ดาเนียล) 2 พี่น้อง กราฟิกดีไซเนอร์ ชาวสวิตเซอร์แลนด์ ที่ใช้ชีวิตอยู่ในเมืองซูริกเมืองที่ฝนชุ่มฉ่ำตลอดทั้งปี ด้วยปัญหานี้เอง ทำให้เขาทั้งสองมีไอเดียในการหากระเป๋าสักใบ ที่สามารถใส่เอกสาร อุปกรณ์การเรียน เครื่องเขียน รวมถึงสิ่งอื่น ๆ พร้อมสามารถสะพายหลังในขณะที่ปั่นจักรยานได้ และที่สำคัญที่สุดคือ ความอึด ถึก ทน เพราะระหว่างการเดินทาง อาจมีสถานการณ์ที่ไม่สามารถคาดเดาได้ ซึ่งในช่วงนั้นเอง ( ปี ค.ศ. 1993) กระเป๋าหลากหลายรูปแบบที่มีวางขายในตลาด ไม่สามารถตอบโจทย์การใช้งานของทั้งสองได้

FREITAG Founder
- Daniel และ Markus Freitag - 2 พี่น้องผู้ก่อตั้ง FREITAG

ขณะที่พวกเขากำลังคุยกันถึงไอเดียนี้ พวกเขามองออกไปนอกหน้าต่าง และเห็นรถบรรทุกผ่านไปมา ซึ่งทุกคันจะมีผ้าใบคลุมตัวรถเอาไว้ โดยฝ่าทั้ง ลม หิน ดิน ฝุ่น ฝน และ พายุ ไม่ว่ารถบรรทุกจะขับไปไหนต่อไหน ผ้าใบก็ยังทำหน้าที่ของตัวเองได้ดี ถึงแม้ภายนอกของผืนผ้าจะเก่า หรือสกปรก แต่ก็ยังปกป้องสิ่งของภายในรถบรรทุกได้อย่างดี

ดังนั้น Marcus จึงเกิดแรงบันดาลใจชวน Daniel ตระเวนหาซื้อผืนผ้าใบ ทั้งแบบเก่า และ ใหม่ เพื่อนำมาขึ้นแบบ โดยเริ่มตัดเย็บกันเองด้วยมือ พร้อมนำมาผสมผสานกับวัสดุรีไซเคิลอื่นๆ เช่น เลือกใช้ยางในของรถจักรยานเพื่อมาเย็บขอบผ้าใบให้กระเป๋าเป็นรูปทรงได้ รวมถึงใช้เข็มขัดนิรภัยเหลือใช้ มาตัดเป็นสายสะพาย จนทำให้กระเป๋า Freitag ใบแรกถือกำเนิดขึ้น ซึ่งเป็นต้นแบบของ รุ่น F13 TOP CAT เป็นกระเป๋าทรง Messenger bag ขนาด 30 ตร.ม. อันโด่งดังในปัจจุบัน 

หลังจากที่เขาทั้งสอง นำกระเป๋าไปใช้ เพื่อน ๆ หลายคนที่มหาวิทยาลัยสังเกตเห็น และรู้สึกว่ากระเป๋านี้ ดูเท่มาก ทั้งแปลกแหวกแนว และแตกต่างจากของที่มีอยู่ในตลาด ณ ช่วงเวลานั้น ๆ จนเกิดเป็นกระแสอยากได้กระเป๋าแบบนี้ขึ้นในมหาวิทยาลัย ทำให้ 2 พี่น้องเริ่มตั้งธุรกิจอย่างจริงจัง  โดยเริ่มจากการรับพรีออเดอร์ เพื่อนคนไหนสนใจ สามารถจ่ายเงินมาก่อนได้ แล้วพวกเขาจะไปหาวัสดุ อุปกรณ์มาตัดเย็บให้ 

ต่อมาคำสั่งซื้อที่เข้ามา เริ่มมีเยอะขึ้น ทำให้พวกเขาเริ่มเห็นโอกาสทางธุรกิจที่มีอยู่ พวกเขาเริ่มเชื่อแล้วว่ากระเป๋าแบบที่กำลังทำไม่ควรจำกัดอยู่เพียงแค่เขาสองคนพี่น้อง หรือกลุ่มเพื่อนที่อยากใช้ แต่มีโอกาสที่ขยายไปในระดับโลกได้ด้วย ทั้งสองจึงเริ่มตัดสินใจสร้างธุรกิจโดยจดบริษัทในนามของ FREITAG 

ในช่วงต้นของธุรกิจ พวกเขายังลงมือทำเองในทุกส่วนประกอบ ทั้งการ หาวัตถุดิบ ตัดเย็บ และจัดส่งให้ลูกค้าแต่ละรายด้วยตนเอง เมื่อออเดอร์เริ่มมีมากขึ้นเรื่อย ๆ จึงเริ่มจ้างโรงงานมาตัดเย็บ โดยที่คุณ Marcus และ Daniel ทำหน้าที่ในการคัดเลือกวัสดุ ควบคุมคุณภาพ ควบคุมการผลิต และออกแบบดีไซน์กระเป๋าแต่ละรุ่น 

หลังจากนั้น FREITAG ได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว และขยายไปเปิดตัวตามร้านต่าง ๆ จนกระทั่งเป็นที่นิยมในสวิตเซอร์แลนด์  และเริ่มวางแผนการตลาดที่มีหลักการมากขึ้น โดยใช้กลยุทธ์การตลาดแบบเก่า ที่ยังเก๋าจนถึงปัจจุบัน อย่าง STP Marketing 

โดยในบทความนี้จะขอยกตัวอย่างที่ชัดเจน ในเรื่องของ Positioning หรือ “จุดยืนของแบรนด์”

‘ We Think and Act in Cycles ’ 

เป็นคอนเซ็ปต์หลักของแบรนด์ คือ นับตั้งแต่วันแรกที่ทั้งสองคนเริ่มตัดเย็บกระเป๋าใช้กันเอง มาจนถึงวันที่กลายเป็นธุรกิจระดับโลก เขาก็ยังยึดมั่นคอนเซ็ปเดิมคือ การใช้วัสดุรีไซเคิล 100% แม้จะได้รับคำแนะนำจากหลายคนว่า หากเปลี่ยนวัสดุ จะช่วยลดต้นทุนการผลิตได้อีกมากมาย แต่เขาก็ยังยืนยันจะใช้วัสดุรีไซเคิลเท่านั้น  นอกจากจะช่วยลดปริมาณขยะได้แล้ว การใช้วัสดุรีไซเคิลนี้เองที่ทำให้ FREITAG  เป็นแบรนด์ที่มีเปี่ยมไปด้วยเสน่ห์ จนสามารถครองใจสายฮิปทั่วโลกได้ คือ กระเป๋าทุก ๆ ใบ ที่ผลิตออกมาจะมีลวดลายที่ไม่เหมือนกัน ถือเป็นความต่างผสานกับความเป็นพิเศษ ที่ทำให้ลูกค้าได้รับประสบการณ์ที่ว่า FREITAG ของเขามีเพียงชิ้นเดียวในโลกเท่านั้น 

ปัจจุบัน  FREITAG ยังได้แตกไลน์สินค้าออกไปอีกหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นกระเป๋าถือ กระเป๋าหิ้ว กระเป๋าสตางค์ ปัจจุบัน Marcus และ Daniel ได้ส่งมอบหน้าที่การบริหารให้ผู้บริหารมืออาชีพ ในการบริหารบริษัทให้ยั่งยืนต่อไป และเขาทั้งสองคน กลับไปทำสิ่งที่ตัวเองรัก คือการออกแบบและคิดค้นผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ  ต่อไป

<แนะนำ>

หากใครอยากเริ่มธุรกิจของตัวเอง หรือต้องการองค์ความรู้ในการทำธุรกิจและการตลาด อย่างเช่น การวางกลยุทธ์แบบ STP ที่ 2 พี่น้องเจ้าของ FREITAG ทำจนประสบความสำเร็จ สามารถเรียนรู้ได้ผ่านหลักสูตร Shortcut MBA ที่สอนทุกอย่างที่คนอยากทำธุรกิจให้สำเร็จต้องรู้ แบบ Step-by-step ดูรายละเอียดได้ที่ลิงค์ http://bit.ly/3FYL93N 

Reference :

https://www.freitag.ch/

https://www.labbrand.com/brandsource/going-deeper-than-the-buzz-freitag-keep-moving-forward-like-a-truck

We use cookies, please see our policy and setting

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save
linkedin facebook pinterest youtube rss twitter instagram facebook-blank rss-blank linkedin-blank pinterest youtube twitter instagram