หลายคนที่ได้ยินคำว่า ทำงานแบบ Agile มักเข้าใจผิดระหว่าง Agile กับ Scrum ว่าเป็นสิ่งเดียวกัน ซึ่งจริงๆ แล้ว ทั้งสองเพียงแต่มีความเกี่ยวพันธ์กันเท่านั้น แต่มีความแตกต่างกันในความหมาย และวิธีการ เราจะมาดูกันว่า Agile vs Scrum ต่างกันอย่างไร และต้องใช้อะไรเพื่อพัฒนาการทำงานในยุคดิจิทัล

Agile คืออะไร

อย่างที่ทราบกันว่า Agile ก็คือรูปแบบการทำงานหนึ่ง ที่ใช้ในธุรกิจ แต่เป็นเพียงปรัชญา หรือแนวทาง ในการจัดการโครงการ หรือ Project Management ที่เน้นการทำงานแบบ ยืดหยุ่น   ปรับเปลี่ยนได้   ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลง   เน้นการทำงานเป็นทีม   มีส่วนร่วมของลูกค้า   ส่งมอบผลงานเป็นระยะๆ   เน้นการทดสอบ   เรียนรู้  และปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง 

การทำงานของ Agile  จะนำโปรเจคใหญ่ มาซอยย่อย ให้เกิดกระบวนการทำงาน ที่ยืดหยุ่นเน้นการทำงานเป็นทีม การส่งมอบผลงานอย่างรวดเร็ว และการปรับตัวตามการเปลี่ยนแปลง โดยไม่ยึดติดกับแผนงานที่ตายตัว เหมาะกับงานที่ต้องการความคล่องตัวสูง ต้องการรับ feedback และปรับแก้ไขงานได้บ่อย ๆ โดยระหว่างการทำงาน สามารถทำไป Test ไป จนกว่าจะเกิดการมอบคุณค่าที่ดีที่สุดให้กับลูกค้า

Agile ช่วยธุรกิจให้เติบโตได้อย่างไร

1. เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน

2. เพิ่มความคล่องตัว

3. เพิ่มการมีส่วนร่วมของลูกค้า

4. เพิ่มกำลังใจให้พนักงาน

5. เพิ่มคุณภาพของผลิตภัณฑ์

Scrum คืออะไร

Scrum คือส่วนหนึ่งของการทำงานแบบ Agile เป็นวิธีการหรือ กรอบการทำงานแบบ Framework  ที่ใช้ในการนำ Agile ไปปฏิบัติ มีโครงสร้างกระบวนการ   เครื่องมือ   ที่ชัดเจน   เน้นการแบ่งงานเป็น Sprint สั้นๆ   มีการวางแผน   ทบทวน   ปรับปรุงอย่างสม่ำเสมอ   เน้นการทำงานเป็นทีม   มีบทบาทของ Product Owner, Scrum Master  และ Development Team ชัดเจน

Scrum ช่วยธุรกิจเติบโตได้อย่างไร

การช่วยธุรกิจให้เติบโตของ Scrum จะมีส่วนคล้ายกับ Agile แต่มีการลงมือปฏิบัติมากกว่า

1. เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน

2. เพิ่มความคล่องตัว

3. เพิ่มการมีส่วนร่วมของลูกค้า

4. เพิ่มกำลังใจให้พนักงาน

5. เพิ่มคุณภาพของผลิตภัณฑ์

สรุป Agile vs Scrum ต่างกันอย่างไร

ถ้าสรุปเพื่อความเข้าใจง่ายๆ ก็คือ 

Agile vs Scrum: อะไรเหมาะกับการพัฒนาการทำงานในยุคดิจิทัล? 

ทั้ง Agile และ Scrum ต่างเป็นแนวทางการทำงานที่ได้รับความนิยมในยุคดิจิทัล   แต่ความเหมาะสมในการใช้งานนั้นขึ้นอยู่กับบริบทและเป้าหมายขององค์กร นั้นคือ

เครื่องมือที่เหมาะกับ Agile และ Scrum

เทรนด์การใช้ Agile และ Scrum ในยุคดิจิทัล

เราเห็นและเข้าใจกันแล้วว่า Agile VS Scrum มีความแตกต่างกันอย่างไร แม้จะแตกต่างในเชิงปรัชญา และภาคปฏิบัติ ก็เป็นหลักการที่ทำงานร่วมกันอยู่ดี ซึ่งการทำธุรกิจ จะต้องวางกลยุทธ์ในการทำงานทั้ง 2 รูปแบบนี้ ให้เหมาะสม แน่นอนว่า หากทำงานร่วมกันกับทีมทั้ง 2 รูปแบบย่อมส่งผลต่อการทำงานในยุคดิจิทัลได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น นำพาธุรกิจให้เติบโตได้อย่างต่อเนื่อง

หากใครอยากเรียนรู้และเข้าใจเกี่ยวกับการทำงานแบบ Agile มากขึ้น มาเรียนคอร์ส Agile Project Management ปรับระบบการทำงานให้คล่องตัว เน้น…คนและการมีปฏิสัมพันธ์กัน เน้น…ซอฟต์แวร์ที่นำไปใช้งานได้จริง เน้น…ร่วมมือทำงานกับลูกค้า เน้น…การตอบรับกับการเปลี่ยนแปลง แล้วพบกันที่ eddu

ในการทำธุรกิจ มีหลายรูปแบบมากๆ ที่จะช่วยให้ธุรกิจมีการวางแผนที่ชัดเจน และพร้อมเติบโตสู่ความสำเร็จ แต่จะมีสักกี่รูปแบบที่จะทำให้ การทำงานมีระบบ และสามารถนำพาทีม ให้ทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ บางทีอาจจะดูเป็นเรื่องยากพอสมควร แต่หากมีเครื่องมือที่นำพาในการบริหารทีม อย่างการทำงานรูปแบบ Agile ก็ช่วยการทำงานให้ง่ายขึ้นเช่นกัน ส่วนหนึ่งของการทำงานรูปแบบ Agile ซึ่งเป็นที่นิยมและมีประสิทธิภาพสุด ๆ นั่นก็คือ การทำงานแบบ Scrum เรามาดูกันว่า Scrum ใน agile project management framework เป็นอย่างไร พร้อมบอกวิธีใช้งาน รวมในบทความนี้แล้ว

ในการทำธุรกิจ มีหลายรูปแบบมากๆ ที่จะช่วยให้ธุรกิจมีการวางแผนที่ชัดเจน และพร้อมเติบโตสู่ความสำเร็จ แต่จะมีสักกี่รูปแบบที่จะทำให้ การทำงานมีระบบ และสามารถนำพาทีม ให้ทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ บางทีอาจจะดูเป็นเรื่องยากพอสมควร แต่หากมีเครื่องมือที่นำพาในการบริหารทีม อย่างการทำงานรูปแบบ Agile ก็ช่วยการทำงานให้ง่ายขึ้นเช่นกัน ส่วนหนึ่งของการทำงานรูปแบบ Agile ซึ่งเป็นที่นิยมและมีประสิทธิภาพสุด ๆ นั่นก็คือ การทำงานแบบ Scrum เรามาดูกันว่า Scrum ใน agile project management framework เป็นอย่างไร พร้อมบอกวิธีใช้งาน รวมในบทความนี้แล้ว

Scrum ใน Agile Project Management Framework คืออะไร

Scrum เป็นวิธีการจัดการโครงการแบบ Agile ที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย เน้นการทำงานเป็นทีม การส่งมอบผลงานที่ใช้งานได้จริง และความยืดหยุ่นในการปรับเปลี่ยนตามความต้องการของลูกค้า โดยมี Product Owner เป็นผู้ดูแล จัดการ ให้เป็นไปตามเป้าหมายของธุรกิจ

หลักการทำงานของ Scrum เป็นอย่างไร 

  1. การแบ่งงานออกเป็น Sprint โครงการจะถูกแบ่งออกเป็น Sprint สั้นๆ แต่ละ Sprint มักจะมีระยะเวลา 2-4 อาทิตย์
  2. การวางแผน Sprint ทีมจะทำการวางแผน Sprint โดยกำหนดเป้าหมายและงานที่จะต้องทำใน Sprint นั้น
  3. การประชุม Daily Scrum ทีมจะประชุม Daily Scrum ทุกวัน เพื่อติดตามความคืบหน้า แจ้งปัญหา และหาทางแก้ไข
  4. การ Sprint Review ทีมจะนำเสนอผลงานใน Sprint นั้น ให้กับลูกค้าเพื่อรับ feedback
  5. การ Sprint Retrospective ทีมจะประชุม Sprint Retrospective เพื่อทบทวนสิ่งที่เกิดขึ้นใน Sprint นั้น หาจุดที่ควรปรับปรุง และนำไปใช้ใน Sprint ถัดไป

วิธีการใช้งาน Scrum ทำอย่างไรบ้าง

เราจะมาดูวิธีการใช้งานรูปแบบ Scrum กัน ว่ามีการทำงานในแต่ละขั้นตอน จนส่งมอบงานให้กับลูกค้าอย่างไรบ้าง 

  1. สร้างทีม Scrum ในส่วนแรกนี้ ธุรกิจจะต้องมีทีมงานในการทำ Scrum เพื่อวางแผนและดำเนินการสร้างโปรดักซ์ ให้เป็นไปตามแบบแผนที่วางไว้ โดยทีมจะต้องมีอย่างน้อย 5-9 คน ประกอบไปด้วย 
  1. กำหนด Product Backlog  โดย Product Backlog คือ รายการสิ่งที่ต้องการทั้งหมดของโครงการ

ควรเรียงลำดับตามความสำคัญที่ต้องทำก่อนหลัง ในกระบวนการนี้ จะมี เจ้าของหรือ Product Owner เป็นคนคิดวางแผน และกำหนดคุณค่าของโปรดักซ์ ภายใต้ Vision หรือโจทย์ที่ได้รับ นำมาแตกเป็นแนวคิด ก่อนไปขั้นตอนต่อไป

  1. วางแผน Sprint ในกระบวนการนี้ ทีมงานทั้งหมด จะมีส่วนช่วยกันวางแผน Sprint โดยกำหนดเป้าหมายของ Sprint และเลือกงานจาก Product Backlog ที่จะนำมาทำใน Sprint นั้น ทำการประมาณการเวลาที่ใช้สำหรับงานแต่ละชิ้น โดยปกติใช้เวลา 2-4 สัปดาห์ ในขั้นตอนของการวางแผน เราจะใช้คำว่า Sprint Planning
  2. ทำงานใน Sprint เริ่มกระบวนการทำงาน ทีมจะทำงานตามแผนที่วางไว้ และทีมควรทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิด โดยมี Scrum Master คอยช่วยขจัดอุปสรรคที่ทีมเผชิญระหว่างทาง 
  3. ประชุม Daily Scrum เป็นส่วนสำคัญที่ทีมจะต้องประชุมทุกวัน เพื่อตรวจสอบความคืบหน้า แจ้งปัญหา และหาทางแก้ไข ซึ่งในส่วนนี้ สามารถทำการแก้ไขซ้ำได้เลย หลังพบปัญหา
  4. การ Sprint Review เมื่อทำการปรับแก้ไข จนได้โปรดักซ์ชิ้นแรกที่น่าพอใจแล้ว ทีมจะนำเสนอผลงานใน Sprint นั้น ให้กับลูกค้าเพื่อรับ feedback และนำมาปรับเปลี่ยนผลงานตาม feedback ให้ตอบโจทย์ผู้ใช้มากที่สุด 
  5. การ Sprint Retrospective หลังได้รับการรีวิว ทีมจะประชุม Sprint Retrospective เพื่อทบทวนสิ่งที่เกิดขึ้นใน Sprint นั้น หาจุดที่ควรปรับปรุง และนำไปใช้ใน Sprint ถัดไป

ข้อดีของการทำ Scrum

ตัวอย่างการใช้งาน Scrum

โปรดักซ์ที่มักใช้การทำงานแบบ Scrum ส่วนใหญ่จะเป็นการพัฒนาซอฟต์แวร์ การพัฒนาเว็บไซต์ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ หรือการออกแบบโครงการ สำหรับธุรกิจที่ประสบความสำเร็จจากการทำ Scrum Framework เช่น Google Spotify Amazon Netflix และ Facebook เป็นต้น

การทำ Scrum Framework ช่วยให้ธุรกิจเติบโตได้หลายวิธี ดังนี้

1. เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน Scrum Framework เน้นการทำงานแบบแบ่งเป็น Sprint สั้นๆ  ช่วยให้ทีมงานโฟกัส ทำงานเสร็จเร็วขึ้น และปรับแต่งงานตามความต้องการของลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว

2. เพิ่มความคล่องตัว Scrum Framework ช่วยให้ทีมงานสามารถปรับเปลี่ยนแผนการทำงานได้อย่างรวดเร็ว ตามความต้องการของลูกค้า  ช่วยให้ธุรกิจสามารถตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ

3. เพิ่มการมีส่วนร่วมของลูกค้า Scrum Framework เน้นการมีส่วนร่วมของลูกค้า   ช่วยให้ลูกค้าสามารถให้ข้อเสนอแนะกับทีมงานได้อย่างต่อเนื่อง   ช่วยให้มั่นใจว่าผลิตภัณฑ์ที่พัฒนาออกมานั้นตรงกับความต้องการของลูกค้า

4. เพิ่มกำลังใจให้กับพนักงาน Scrum Framework เน้นการทำงานเป็นทีม   ช่วยให้พนักงานรู้สึกมีส่วนร่วมในการทำงาน   ช่วยให้พนักงานมีกำลังใจที่ดีขึ้น   ส่งผลให้พนักงานทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

5. เพิ่มคุณภาพของผลิตภัณฑ์ Scrum Framework เน้นการทดสอบและตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอ   ช่วยให้มั่นใจว่าผลิตภัณฑ์ที่พัฒนาออกมานั้นมีคุณภาพสูง

Scrum ใน agile project management framework ถือได้ว่า มีประโยชน์ต่อการทำธุรกิจมากๆ ในรูปแบบการทำงาน Agile การวางแผนงาน Scrum เป็น Framework ทำให้การทำงานร่วมกันในทีมง่ายขึ้น และทำให้เกิดคุณค่าของผลิตภัณฑ์ที่มอบประสบการณ์ที่ดีที่สุดให้กับลูกค้าหากใครอยากเรียนรู้และเข้าใจเกี่ยวกับการทำงานแบบ Agile มากขึ้น มาเรียนคอร์ส Agile Project Management ปรับระบบการทำงานให้คล่องตัว เน้น…คนและการมีปฏิสัมพันธ์กัน เน้น…ซอฟต์แวร์ที่นำไปใช้งานได้จริง เน้น…ร่วมมือทำงานกับลูกค้า เน้น…การตอบรับกับการเปลี่ยนแปลง แล้วพบกันที่ eddu

การทำงานทุกองค์กร ไม่ว่าจะทำธุรกิจอะไร แน่นอนว่า เป้าหมายความสำเร็จในธุรกิจ เป็นสิ่งที่สำคัญมาก แต่ละองค์กร มักมีวิธีการทำงานที่แตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับวัฒนธรรมองค์กร และทุกที่ ที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับสินค้า ผลิตภัณฑ์ บริการ ก็ต้องมีคนดูแลควบคุม บริหารโปรเจคสินค้าให้เกิดยอดขาย โดยหน้าที่ของคนที่เข้ามาควบคุม เราจะเรียกตำแหน่งนี้ว่า Project Manager ที่คอยจัดการทุกงานให้สมบูรณ์มากที่สุด ตั้งแต่การวางแผน การจัดระเบียบ การจัดการ ควบคุมต้นทุน จัดการงบประมาณ เพื่อให้เป็นไปตามแผนงาน

ในปัจจุบัน แม้จะใช้  Project Manager ในการบริหารจัดการงาน แต่รูปแบบการทำงานในยุคใหม่ ก็มักจะเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งยุคเดิมทุกคนจะเคยชินกับการทำงานแบบ Water Fall หรือการทำงานแบบเป็นขั้นตอนเหมือนน้ำตก ไม่เหมาะกับการทำซ้ำ เมื่อต้องแก้ไขงาน รูปแบบที่องค์กรนิยมกันมากในตอนนี้ จะเรียกว่า การทำงานแบบ Agile ซึ่งถ้าธุรกิจไหน เข้าใจการทำงานแบบ Agile ได้ทั้งหมด รับรองว่าธุรกิจไปได้สวยแน่นอน เรามาดูกัน กับหลักการใช้ Agile ที่รู้แล้ว จะบริหารจัดการงานได้ง่ายกว่าเดิม

ที่มีของการทำงานแบบ Agile

เกิดขึ้นในช่วงเทคโนโลยีเริ่มเข้ามาเปลี่ยนแปลงโลก ยุคค.ศ 2001 โดยนักพัฒนาซอฟแวร์ 17 คน ที่รวมตัวเพื่อแก้ไขปัญหาการพัฒนาซอฟแวร์แบบเดิมๆ ที่ไม่ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า มีรากศัพท์มาจาก Agility หมายถึงความคล่องแคล่ว ว่องไว สามารถปรับตัวได้อย่างรวดเร็ว แม้ว่าต้นกำเนิด จะมาจากปัญหาการพัฒนาซอฟแวร์ แต่ปัจจุบันสามารถประยุกต์กับการพัฒนาทุกๆ องค์กรได้

Agile คืออะไร

เนื่องจากพฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนไป ธุรกิจที่ผลิตสินค้าและบริการ ต้องเปลี่ยนแปลงการทำงานตาม โดยการเอาโปรเจคใหญ่ มาซอยย่อย ให้เกิดกระบวนการทำงาน ที่ยืดหยุ่นเน้นการทำงานเป็นทีม การส่งมอบผลงานอย่างรวดเร็ว และการปรับตัวตามการเปลี่ยนแปลง โดยไม่ยึดติดกับแผนงานที่ตายตัว เหมาะกับงานที่ต้องการความคล่องตัวสูง ต้องการรับ feedback และปรับแก้ไขงานได้บ่อย ๆ โดยระหว่างการทำงาน สามารถทำไป Test ไป จนกว่าจะเกิดการมอบคุณค่าที่ดีที่สุดให้กับลูกค้า

หัวใจสำคัญของ Agile Manifesto

หลักการทำงาน 12 ข้อ ของ Agile Manifesto

1. Satisfy the Customer

Agile เน้นย้ำว่าการส่งมอบคุณค่าให้กับผู้ใช้ตั้งแต่เนิ่นๆ และมักจะสร้างคุณค่าที่มั่นคง ซึ่งจะช่วยเพิ่มความสำเร็จให้กับคุณและลูกค้าของคุณ สิ่งนี้จะสร้างความไว้วางใจและความมั่นใจผ่านการตอบรับอย่างต่อเนื่อง

2. Welcome change

การทํางานแบบ Agile สิ่งสำคัญคือต้องมีความคล่องตัว คุณและทีมของคุณจำเป็นต้องสแกนสภาพแวดล้อมของคุณอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้แน่ใจว่าพร้อมทุกการเปลี่ยนแปลงที่จำเป็นในแผน และยอมรับว่าแผนของคุณอาจมีการเปลี่ยนแปลงเพื่อที่จะช่วยให้แน่ใจว่าคุณกำลังส่งมอบสิ่งที่ดีที่สุดให้ลูกค้า

3. Deliver Frequently

การส่งมอบผลิตภัณฑ์ทีละน้อยและบ่อยครั้งเป็นสิ่งสำคัญ......เพราะช่วยให้ลูกค้ามีเวลาและโอกาสอย่างสม่ำเสมอในการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับความคืบหน้า สิ่งนี้ทำให้มั่นใจได้ว่าเราจะไม่ใช้เวลามากเกินไปในเส้นทางที่ผิด

4. Work Together

การทํางานรวมกันภายในทีม ไม่ได้แบ่งว่าฝ่ายใดเป็นฝ่ายใด ทุกหน้าที่ร่วมกันวางแผนและทํางานเพื่อให้สามารถบรรลุผลของความต้องการของลูกค้าได้

5. Trust & Support

ทีม Agile จะประกอบด้วยสมาชิกในทีมที่ไว้วางใจซึ่งกันและกันเพื่อให้งานสำเร็จลุล่วง แต่การได้รับความไว้วางใจจากผู้สนับสนุนและผู้บริหารเพื่อให้งานสำเร็จลุล่วง ทีมจะสามารถสร้างโซลูชันที่ดีขึ้นเมื่อพวกเขาได้รับพลังและแรงจูงใจในการส่งมอบโครงการที่ยากเสมอ

6. Face to Face Conversation

การสื่อสารแบบเห็นหน้ากันช่วยให้เรารับรู้ได้ถึง ภาษากาย และการแสดงสีหน้าบางอย่างที่อาจหายไปเมื่อเราใช้รูปแบบการสื่อสาร เช่น อีเมล แชท หรือโทรศัพท์ แต่เราก็ไม่สามารถเผชิญหน้ากันได้ตลอดเวลาเสมอไป ดังนั้นทีมจึงต้องบรรทัดฐานในการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ

7. Working Software

ในทีมแบบ Agile วิธีหลักในการแสดงให้เห็นถึงความสำเร็จของงานที่มีความหมายคือการแสดงชิ้นงานของโซลูชันในทีม นั่นอาจหมายถึงสิ่งที่ใช้งานได้ เพื่อทดลองให้ลูกค้าได้เห็นถึงสินค้า หรือความคืบหน้า

8. Sustainable Development

ก้าวที่มั่นคงแต่ระมัดระวังจะป้องกันข้อผิดพลาดระหว่างทาง และไม่ต้องการให้ทีมรู้สึกทำงานหนักเกินไปหรือหนักใจ ในทางกลับกัน ทีมที่ใช้งานน้อยเกินไปอาจรู้สึกเบื่อและสูญเสียจุดประกายความคิดสร้างสรรค์ในการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ อุดมคติแบบอไจล์คือการบรรลุความพยายามที่สม่ำเสมอสำหรับทีมเพื่อหลีกเลี่ยงการทำงานล่วงเวลาและความเหนื่อยหน่ายจากการทํางาน

9. Continuous Attention

Agile เน้นคุณภาพและการออกแบบตลอดช่วงการพัฒนาโครงการ ความคล่องตัว ประสิทธิภาพ และความรวดเร็วของทีมงานจะเพิ่มขึ้นเมื่อทีมได้นำเสนอโซลูชันที่สร้างขึ้นอย่างดี สามารถตอบสนองความคิดเห็นของผู้ใช้และข้อมูลใหม่ได้อย่างรวดเร็ว

10. Embrace Simplicity

การทําสิ่งที่เรียบง่าย ตรงประเด็น และไม่ซับซ้อน ทําให้ทีมสามารถเข้าใจเป้าหมายและทํางานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ

11. Self-Organizing Teams

สมาชิกในทีมควรสามารถทำงานให้สำเร็จได้โดยการออกแบบกระบวนการทำงานและแนวทางปฏิบัติของตนเอง โดยไม่ต้องมีผู้จัดการคอยสั่งการว่าทำงานอย่างไร สมาชิกในทีมควรรู้สึกมีอำนาจที่จะแสดงความคิดเห็นเมื่อมีคำถาม ข้อกังวล หรือคำติชม ความต้องการของลูกค้า งานที่ออกมาดีที่สุด เกิดจากทีมที่บริหารจัดการตัวเองได้

12. Working Product

หัวใจสำคัญของ Agile คือ การส่งมอบผลงานที่ใช้งานได้จริงให้กับลูกค้าเป็นประจำ ช่วยให้ลูกค้าสามารถใช้งานและทดสอบฟังก์ชันการทำงานต่างๆ ได้จริง

เข้าใจหลักการของ Agile อย่างง่าย

สำหรับการใช้ Agile ทำงาน หลักการง่ายๆ เลย มีดังนี้

ขั้นตอนการทำงานแบบ Agile

ขั้นตอนการทำงานของ Agile มีการเรียงลำดับวิธีที่เข้าใจง่ายๆ สรุปได้ ดังนี้

รูปแบบวิธีการของ Agile

โดยปกติแล้ว การทำงานแบบ Agile จะมีหลักๆ 3 แบบ ดังนี้

Agile ช่วยในการทำธุรกิจได้อย่างไร

Agile ถือว่าเป็นแนวทางการทำงานแบบยืดหยุ่น เน้นการทำงานเป็นทีม การส่งมอบผลงานอย่างรวดเร็ว ซึ่งสามารถช่วยธุรกิจได้มากมาย ดังนี้

1. เพิ่มความเร็วในการส่งมอบสินค้าและบริการ Agile แบ่งงานออกเป็นชิ้นเล็ก ๆ พัฒนาและส่งมอบผลงานทีละส่วน ช่วยให้รับ feedback และปรับแก้ไขงานได้บ่อย ส่งผลให้สินค้าและบริการออกสู่ตลาดได้เร็วขึ้น

2. เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน Agile เน้นการลดขั้นตอนที่ไม่จำเป็น เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน ช่วยให้ธุรกิจประหยัดเวลาและทรัพยากร

3. เพิ่มการมีส่วนร่วมของพนักงาน Agile เน้นการทำงานเป็นทีม ทุกคนมีส่วนร่วมและรับผิดชอบร่วมกัน ช่วยให้พนักงานมีแรงจูงใจและทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ

4. เพิ่มประสิทธิภาพให้ปรับตัวตามการเปลี่ยนแปลง Agile ยืดหยุ่นและปรับแผนงานตามสถานการณ์ ช่วยให้ธุรกิจสามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงในตลาดและเทคโนโลยีได้อย่างมีประสิทธิภาพ

5. เพิ่มการเรียนรู้และพัฒนาอย่างต่อเนื่อง Agile เน้นการเรียนรู้จาก feedback ปรับปรุงวิธีการทำงาน พัฒนาผลงานให้ดีขึ้น ช่วยให้ธุรกิจสามารถแข่งขันในตลาดที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ

ตัวอย่าง

Agile คือ Mindset

ท้ายที่สุดแล้ว Agile คือกรอบความคิดที่ได้รับแจ้งจากค่านิยมและหลักการของ Agile Manifesto ค่านิยมและหลักการเหล่านี้ เป็นแนวทางในการสร้างและตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงและวิธีจัดการกับความไม่แน่นอน ให้มีแนวทางปฏิบัติ และเทคนิคต่างๆ เพื่อใช้ทำงานร่วมกับทีม และส่งมอบคุณค่าให้กับลูกค้า ได้ใช้สินค้าและบริการจากธุรกิจของคุณอย่างน่าพึงพอใจมากที่สุด ทำให้ธุรกิจเติบโตได้อย่างรวดเร็ว และรับมือการเปลี่ยนแปลงได้อย่างมีประสิทธิภาพหากใครอยากเรียนรู้และเข้าใจเกี่ยวกับการทำงานแบบ Agile มากขึ้น มาเรียนคอร์ส Agile Project Management ปรับระบบการทำงานให้คล่องตัว เน้น…คนและการมีปฏิสัมพันธ์กัน เน้น…ซอฟต์แวร์ที่นำไปใช้งานได้จริง เน้น…ร่วมมือทำงานกับลูกค้า เน้น…การตอบรับกับการเปลี่ยนแปลง แล้วพบกันที่ eddu

We use cookies, please see our policy and setting

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save
linkedin facebook pinterest youtube rss twitter instagram facebook-blank rss-blank linkedin-blank pinterest youtube twitter instagram