Daiso คือร้านที่ขายของทุกอย่างในร้านในราคา 100 เยน แล้วในประเทศไทยก็เข้ามาทำการตลาดโดยขายของทุกชิ้นเริ่มต้นที่ 60 บาทด้วย Concept นี้ทำให้เจ้าของเขาสามารถที่จะเปลี่ยนตัวเองจากคนที่เป็นหนี้ล้มละลาย แล้วก็สมัครงานไม่ผ่านถึง 9 ครั้งกลายมาเป็นเศรษฐีแสนล้านได้แต่กว่าจะประสบความสำเร็จอย่างทุกวันนี้ Daiso ต้องผ่านอะไรมาบ้างประวัติที่ไปที่มาเข้าเป็นยังไงวันนี้ผมจะเล่าให้ฟัง สำหรับแบรนด์ที่ผมจะเอามาเล่าให้ฟังในวันนี้ นั่นก็คือแบรนด์ที่มีชื่อว่า Daiso ร้านขายของที่เริ่มต้นทุกอย่าง 60 บาทที่คนไทยรู้จักกันในประเทศญี่ปุ่นก็รู้จักกันในนามร้านร้อยเยน ก็คือทุกๆอย่างที่ขายในร้านก็จะมีราคา 100 เยนนี่แหละ โดยจุดเริ่มต้นของแบบนี้มาจากผู้ชายที่มีชื่อว่า Hirotake Yanoซึ่งเป็นหนึ่งในบุคคลที่ถ้าเราจะนิยามคำว่าประสบความล้มเหลวหลายครั้งมากๆในชีวิตก็คงจะไม่ผิดนักเพราะตัวคุณยาโนะเอง
ตั้งแต่วันที่เขาเรียนจบมหาวิทยาลัยเขามีความคิดที่อยากจะทำธุรกิจเป็นของตัวเอง โดยธุรกิจแรกที่เขาทำ คือธุรกิจง่ายๆ ที่ตอนนั้นใครๆทำอะไรก็ประสบความสำเร็จด้วยกันทั้งนั้นก็คือการเพาะพันธุ์ปลามาขายซึ่งสายพันธุ์ปลาที่เขาเลือกที่จะไปเพาะพันธุ์ ก็คือปลาฮามิจิ ซึ่งเค้าก็เลือกที่จะไปเพาะพันธุ์ปลาที่บ้านเกิดของภรรยา แต่ปรากฏว่าธุรกิจที่เหมือนจะง่าย ธุรกิจแค่เพาะพันธุ์ปลา ซื้อพันธุ์ปลามาเลี้ยงปลาแล้วก็เอาปลาไปขายมันกลับไม่ได้ประสบความสำเร็จง่ายอย่างที่เขาคิด เพราะว่ามันมีทั้งเรื่องของปลาไม่ใช่ว่าเลี้ยง 100 ตัวแล้วจะรอด 100 ตัว แล้วก็ปลาไหลก็ต้องมีต้นทุนที่ต้องดูแลน้ำดูแลปลาเรื่องของอาหารเรื่องของวัคซีนยาต่างๆจนทำให้เงินไม่พอใช้คุณยาโนะก็เลยต้องไปกู้เงินที่จะเอามารันธุรกิจนี่เอามาหมุนธุรกิจนี้อยู่เรื่อยๆจนในที่สุดธุรกิจก็ไม่ได้ประสบความสำเร็จอย่างที่คิดธุรกิจพังลง ล้มไม่เป็นท่าแล้วเขาก็มีหนี้สินอยู่จำนวนมากอีกด้วย
ซึ่งพอเป็นหนี้สินพันตัวขนาดนี้ คุณยาโนะก็เลยไม่มีทางเลือก นอกจากจะไปสมัครงานกับบริษัทต่างๆ โดยคุณยาโนะ เลือกที่จะสมัครงานกับบริษัทเอกชนที่ไหนที่มีงานรับสมัคร เขาก็ไปสมัครงานที่นั่นซึ่งปรากฏว่าทุกที่เข้าไปสมัครเชื่อไหมว่าเขาเข้าไปได้ไม่นานก็ต้องถูกไล่ออกหรือว่าลาออกจากงาน โดยในช่วงเวลาสั้นๆเขาเปลี่ยนงานมากถึง 9 ครั้งด้วยกัน พอยิ่งเป็นแบบนี้นึกถึงวัฒนธรรมญี่ปุ่นที่นั่นคนญี่ปุ่นตั้งใจทำงาน รักองค์กรอยู่องค์กรไหนแล้วอยู่องค์กรนั้นตลอด นั่นทำให้คุณยาโนะก็โดนมองไม่ดีจากคนรอบข้างด้วยว่าทำไมถึงเป็นคนที่เปลี่ยนงานบ่อยขนาดนี้และคนที่เปลี่ยนงานบ่อยแบบนี้จะเอาความมั่นคงจะเอาอะไรไปเชื่อถือคนแบบนี้ได้ แต่ว่าจุดเปลี่ยนก็อยู่ตรงนี้ เมื่อในปีนึงในขณะที่เขากำลังทำงานอยู่ เขาก็ดันไปสังเกตเห็นจักรยาน 10 คันที่หน้าตาเหมือนกันเลยจอดเรียงอยู่หน้าตึก 1 เขาก็เลยสนใจว่าทำไมผู้ชายคนนี้ถึงต้องซื้อจักรยานแบบเดียวกันมาเยอะขนาดนี้ด้วย ก็เลยเข้าไปถามเจ้าของปรากฏว่าเจ้าของเขาก็บอกว่าเหตุผลที่เขาซื้อมาเยอะขนาดนี้เพราะว่าธุรกิจของเขาคือธุรกิจที่จะซื้อของมา แล้วก็ออกของมาให้พนักงานขายใส่จักรยานไป ปั่นไปขายของเคลื่อนที่ก็คือบางครั้งเวลาเราขายอยู่หน้าร้านของเราลูกค้าจะไม่มาเจอเราก็ได้ ดังนั้นเขาก็เลยเปลี่ยนโจทย์ในการเอาสินค้าในใส่จักรยานแล้วก็ปั่นไปเรื่อยๆ ปั่นไปขายคนไหนผ่านไปผ่านมาหรือว่าจักรยานคันนี้ปั่นไปถึงตรงไหนลูกค้าตรงนั้นก็อาจจะมีโอกาสได้ซื้อของของเรา พอคุณยาโนะได้ยินอย่างนี้เขารู้สึกว่านี่คือความคิดที่ชาญฉลาดมาก คุณยาโนะเองก็เลยคิดว่าเขาอยากจะเรียนรู้กับผู้ชายคนนี้ให้ได้มากที่สุดก็เลยขอฝากตัวเป็นลูกศิษย์จนเมื่อเขามีอายุได้ 29 ปีเขาก็เลยตัดสินใจที่จะเปิดธุรกิจของตัวเองอีกครั้งหนึ่งหลังจากที่ล้มเหลวมาแล้วก่อนหน้านี้นั่นก็คือเขาเปิดร้านของตัวเองที่มีชื่อว่า ยาโนะโชเท็น
โดยในตอนแรกเริ่มของธุรกิจนี้ ก็เป็นธุรกิจที่เขาต่อยอดมาจากผู้ชายได้เข้าไปเรียนรู้เรื่องการทำงานการทำธุรกิจมานี่แหละก็คือเอาของเครื่องใช้ทั่วไปจากที่หาได้ทั่วไปเอามาขาย โดยเน้นการขายของเคลื่อนที่เพราะว่าบางครั้งสินค้าที่ดีที่มันวางอยู่ตรงนี้คนเหล่านั้นคนที่หมู่บ้านข้างๆ ก็อาจจะไม่เคยมาเห็นก็ได้ก็เลยเป็นที่มาที่เขาจะเริ่มต้นจากอะไรที่มันง่ายๆก่อนของที่มันไม่เน่าไม่เสียถ้าสมมุติว่าเอามาแล้วสมมุติขายไม่ได้จริงๆ อย่างน้อยๆเก็บไว้ในอนาคตขายได้มันก็ยังพอที่จะมีกำไรพอที่จะคืนทุนได้ ไม่เหมือนกับของสดที่ได้มาไม่กี่วันก็เน่าเสียแล้ว เขาก็เลยเริ่มจากการขายหม้อแล้วก็เครื่องมือช่างต่างๆซึ่งเป็นสินค้าที่เขามองว่าทุกบ้านต่อให้บ้านไหนมีหม้ออยู่แล้วก็อาจจะอยากได้หม้อเพิ่มหรือเครื่องมือช่างทุกบ้านก็มีการต่อเติมหรือมีการใช้อุปกรณ์ต่างๆ ไปจนมันสึกหรอหรือว่ามันหมดไปก็อาจจะอยากได้ของใหม่ๆเข้าไปเติมก็เลยคิดว่าจะเอาหม้อกับอุปกรณ์ช่างปั่นจักรยานทางรถเคลื่อนที่ไปขายตามที่ต่างๆโดยจุดหลักๆที่คุณยาโนะมักจะเอาไปขายในซึ่งก็มีทั้งจักรยานแล้วก็รถบรรทุกของเขาก็คือเอาไปขายอยู่บริเวณหน้า Super market เพราะเขาบอกว่า Super market เป็นที่ที่คนญี่ปุ่นทุกคนจะต้องเดินผ่านอย่างน้อยวันละครั้งอยู่แล้วไม่ว่าจะเป็นซื้อของก่อนไปทำงานหรือว่าซื้อของก่อนที่จะกลับเข้าบ้านทุกคนก็น่าจะต้องผ่าน Super marketกันอยู่แล้วดังนั้นถ้าขับรถบรรทุกของเขา จักรยานขายของ ของเขาไปตั้งใกล้ๆ Supermarket ก็อาจจะทำให้เขาขายดีไปได้ด้วย ซึ่งมันก็เป็นอย่างนั้นจริงๆนั่นก็คือพอเขาทำอย่างนั้นไปก็เริ่มขายดีเริ่มมีคนซื้อมาเรื่อยๆ มีลูกค้าที่ซื้อบ่อยๆซื้อประจำจนเขาตัดสินใจที่จะเปิดสาขาของตัวเองคราวนี้เปิดเป็นหลักเป็นแหล่งจะได้ไม่ต้องขนไปขนมาแล้วก็เหนื่อยเก็บของให้เก็บร้านทุกวันและจุดเด่นสำคัญอีกอย่างหนึ่งของไดโซะที่ทำให้เขาได้ประสบความสำเร็จอย่างเร็วแล้วคนญี่ปุ่นก็ชอบร้านไดโซะมากๆจนสามารถขยายสาขาในญี่ปุ่นได้กว่า 3000 สาขา แล้วก็ขยายไปทั่วโลกกว่า 4,000 สาขา เหตุผลนั้นก็เป็นเพราะว่าตอนที่เขาทำธุรกิจร้าน Daiso ที่ประเทศญี่ปุ่นเขาเริ่มสังเกตคำว่าของที่เอามาขายถึงแม้ว่าเขาจะเอาของใช้มาขายคนก็ซื้อเยอะแต่จริงๆแล้วที่คนมาซื้อร้านของเขาเยอะไม่ใช่เพราะว่าของที่เขาเอามาขายเป็นของใช้ แต่เป็นเพราะราคามันถูก มันไม่ได้แพงจนเกินไปซึ่งเหตุผลที่เขาตั้งราคาทุกชิ้นในราคา 100 เยนก็เป็นเพราะว่าช่วงนั้น ช่วงที่เขาตั้งหลักปักฐาน ตั้งร้านครั้งแรกขึ้นมาเอากับภรรยาในกำลังมีลูกอยู่คนนึง ซึ่งตอนนั้นเองเขาก็วุ่นวายกับการเลี้ยงลูกมาก ถ้าจะต้องมาคิดราคาสินค้าคำนวณราคาสินค้าแปะป้ายราคาแล้วก็เอามานั่งนับว่าชิ้นไหนชิ้นไหนราคาเท่าไหร่บ้างมันน่าจะวุ่นวายน่าดูเขาก็เลยตั้งว่าทุกชิ้น 100 เยนไปเลยละกันโดยที่เขาจะหาของที่มีคุณภาพและก็ดีที่สุดในราคา 100 เยนเท่าที่จะหามาได้เอามาขายในร้าน ซึ่งมันไม่ได้มีแค่เครื่องใช้ แต่มันก็มีไปจนถึงแม้ว่าจะเป็นเครื่องสำอาง โดยเครื่องสำอางเขาก็ไปหายี่ห้อต่างๆ ไปหาดูว่าคนชอบยี่ห้อไหน ยี่ห้อนั่นราคาเท่าไหร่บ้างมีอะไรที่จะเอามาขายใน Daiso จนสาวๆวัยรุ่นส่วนใหญ่ในญี่ปุ่น แทบจะเรียกว่าก็เดินทางเข้ามาซื้อของที่ร้านไดโซะนี่แหละเครื่องสำอาง เพราะอยากจะแต่งหน้าหน่อยอยากจะมีแป้งอยากจะมีลิปอะไรก็เขาดูที่ Daiso ดีกว่าการเดินไปที่ร้านเครื่องสำอางที่บางทีกำเงินไปเป็นพันนึงก็อาจจะเอาไม่อยู่แต่มาที่ร้านไดโซะ 100 เยน ถ้าตีเป็นเงินไทยก็ประมาณแค่ 30 กว่าบาทเท่านั้นเอง ก็จะดูสมเหตุสมผลกับราคาที่ต้องจ่ายไปก็เลยทำให้ Daiso เติบโตจาก Segment เครื่องสำอางมาเยอะพอสมควรเหมือนกัน
นอกจากนั้น Daiso ก็ไม่ได้หยุดอยู่แค่เครื่องสำอางแต่ก็ยังไปในหมวดหมู่อื่นๆด้วยอย่างเช่นเครื่องเขียน เพราะว่าเขามองว่าคนทั่วไปยิ่งคนญี่ปุ่นใช้เครื่องเขียนเยอะ ใช้กระดาษใช้ดินสอใช้ปากกาอะไรอยู่เยอะแต่ว่าร้านเครื่องเขียนในสมัยนี้มันไม่ได้มีเยอะมันจะเป็นยังไงถ้า Daiso สามารถรวบรวมของดีมีคุณภาพเครื่องเขียนยางลบปากกาไม้บรรทัดสมุดจดกระดาษโน้ตแบบนี้ เอามารวบรวมไว้ในราคาที่เหมาะสมเหตุสมผลแล้วก็จริงๆ คือค่อนข้างถูกด้วยซ้ำไปแล้วก็กระจายสาขาให้ได้มากๆ แบบนั้นได้โสดก็น่าจะเข้าไปอยู่ในใจผู้บริโภคได้ไม่ยากซึ่งจากแนวคิดเหล่านี้ก็เลยเป็นเหตุผลที่ทำให้ Daiso สามารถประสบความสำเร็จและพลิกชีวิตจากผู้ชายคนหนึ่งที่เคยเปลี่ยนงานถึง 9 ครั้งทำธุรกิจพังไม่เป็นท่าล้มเหลวติดหนี้ล้มละลายจนในที่สุดการเป็นชายที่มีรายได้กว่าแสนล้านบาทได้สำหรับคุณได้เรียนรู้อะไรบ้าง ตัวผมเองมีอยู่ 3 ข้อคิดด้วยกันที่ผมได้เรียนรู้จากเรื่องนี้เรื่องแรกไม่ว่าเราจะทำอะไรครั้งแรกมักจะยากเสมอเหมือนอย่างเช่นที่คุณยาโนะอยากจะเปิดธุรกิจแรกของตัวเองโดยที่คิดว่ามันทำง่ายมากเลยการเพาะพันธุ์ปลาแต่เอาจริงๆมันก็ไม่ได้ง่ายขนาดนั้นและแน่นอนว่าถ้าเขาไม่คิดจะลองครั้งที่ 2 เลยไม่คิดจะลองทำธุรกิจที่ 2 ของเขาก็คือร้านไดโซะทุกวันนี้เขาก็คงไม่ได้ประสบความสำเร็จมากขนาดนี้ดังนั้นไม่ว่าครั้งแรกมันจะยากแค่ไหน หรือทำให้คุณล้มเหลวได้ขนาดไหน คุณต้องไม่ลืมว่าคุณควรจะเปิดโอกาสตัวเองให้โอกาสครั้งที่สองกับตัวเองได้ลองทำสิ่งใหม่ๆได้ลองทำในสิ่งที่ตัวเองยังไม่สามารถทำได้แล้วก็ถ้ามันล้มเหลวอีกอาจจะลองให้โอกาสตัวเองครั้งที่ 3 กับที่ 4 ไปเรื่อยๆเพราะไม่มีอะไรการันตีจากสถิติทั่วโลกก็เห็นกันอยู่ว่าไม่ใช่ทุกคนทำครั้งแรกครั้งที่ 2 แล้วก็ประสบความสำเร็จเลยแล้วก็ข้อคิดที่ 2 แล้วก็น่าจะเป็นข้อคิดที่ผู้ประกอบการหลายๆคนน่าจะเอาไปปรับประยุกต์ใช้ได้นั่นก็คือความช่างสังเกตเป็นมูลค่ามหาศาล เหมือนอย่างเช่นร้านค้าร้านหนึ่งที่มีจักรยานจอดอยู่ข้างหน้าเป็นสิบๆคันทุกๆคนที่เดินผ่านแถวนั้นต่างก็เคยเดินผ่านแล้วเห็นจักรยาน 10 คันนี้แน่ๆแต่ทำไมคุณยาโนะถึงสามารถมองเห็นแล้วสนใจมาไป