หน้าหลัก
>

บทความทั้งหมด

March 21, 2023

3 สิ่งที่เจ้าสัวธนินท์อยากบอกนักธุรกิจรุ่นใหม่

วันนี้เราอยู่กับ โค้ชของนักธุรกิจ ที่นักธุรกิจหลายคนในประเทศไทย ให้ความนับถือและเชื่อว่า คำแนะนำของท่านจะเป็นประโยชน์กับคนที่กำลังเริ่มทำธุรกิจ startup SME ทุกๆคน

มุมมองในการทำธุรกิจให้ประสบความสำเร็จของคุณธนินท์ เจียรวนนท์

ในมุมมองของผม ยุค 4.0 startup ที่เขาสำเร็จรวดเร็ว เขาทำในสิ่งที่โลกยังไม่เคยทำ ซึ่งผมเรียกว่า ตัวเบา หรือง่ายๆคือ ยุคใหม่ และตัวหนัก คือวิธีการเก่าๆ ในยุคใหม่นี้ส่วนใหญ่จะทำตัวเบา แล้วความสำเร็จของเขาคือขี่อยู่บนตัวหนัก
รุ่นใหม่ เรื่องใหม่ แน่นอนถ้าเรื่องเก่าที่ผมทำสำเร็จแล้ว เขาต้องเรียนรู้กับผม แต่ยุค4.0 เรากำลังทำของใหม่ ไม่ใช่เอาของเก่าไปเปลี่ยนแปลง ไปปรับปรุง เราต้องต่อยอด ทำของเก่าที่ยังไม่เคยทำ อย่างเช่น สื่อออนไลน์


ตัวเบา คือการต่อยอด ซึ่งไม่ต้องมารับผิดชอบ เหมือนกับตัวหนักที่ต้องเสียเวลานาน ในการผลิตสินค้าออกมา ต้องดูแลหลายขั้นตอน แต่คนรุ่นใหม่ ที่เขาทำสำเร็จ เพราะเขารับของจากร้านขายเพชรที่เป็นต้นทาง นำมาขายบนเว็บไซต์ ติดต่อกับบริษัทระดับโลกให้ได้การรับรองว่าเพชรนี้จริง มีตำหนิอะไรอย่างไร แล้วให้เขานำเพชรมาให้คุณ โดยที่ติดต่อกับบริษัทที่มีชื่อเสียงที่สุดในโลก เท่านี้คนก็กล้าซื้อแล้ว

ตัวเบาไม่ต้องมีค่าใช้จ่ายที่สูงมาก ทั้งค่าดูแลหน้าร้าน ค่าสถานที่ เพียงแค่มีกล้องถ่ายรูปอยู่ที่บ้านก็สามารถทำได้ ถ่ายแล้วขึ้นบนเว็บไซต์โดยที่ใช้เครดิตที่มีอยู่แล้วในโลก เท่านี้ก็สามารถทำธุรกิจได้แล้ว ซึ่งกลายเป็นว่าธุรกิจที่เป็นตัวเบา มีความสามารถที่จะปรับเปลี่ยน สามารถที่จะทำอะไรได้มากกว่าธุรกิจของตัวหนักสิ่งที่เราควรจะทำคือเรียนรู้จากสิ่งที่มันเกิดขึ้นมาแล้ว เพราะว่าสิ่งที่เกิดขึ้นคือ ผมเอาประสบการณ์ทั้งชีวิตมาแนะนำให้เรา ซึ่งสามารถที่จะนำไปต่อยอดได้ไกลขึ้น

ตัวเบา ต้องใช้รุ่นใหม่คิด เขาจะมีความรู้ใหม่ๆ เขาจะมีแลกเปลี่ยนความรู้กันกับเพื่อนฝูง แลกเปลี่ยนในอินเทอร์เน็ต อย่างบริษัท Google ที่ผมไปรู้มา เขาบังคับพนักงานเขา คุณทำงาน 80% อีก 20% ให้พวกคุณไปคิดอะไรที่มันนอกกรอบ แล้วนำมาเสนอ ถูกผิดไม่เป็นไร แม้กระทั่งแม่บ้านก็ต้องคิด 20% นี้ด้วย

เขาต้องคิดว่าในฐานะแม่บ้าน ว่าเขาจะเสนออะไรใหม่ๆ ผู้บริหารก็มาร่วมฟังด้วย ว่าแม่บ้านมีไอเดียอะไร
เลยกลายเป็นว่า พนักงานสองหมื่นคนนั้น จะกลายเป็นสองหมื่นไอเดียธุรกิจใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นในทุกเดือน

ปัจจุบันนี้คือยุคใหม่ คนยุคเก่าไม่ค่อยฟังเสียงคนยุคใหม่ ยุคเก่ามีขั้นตอนเยอะแยะ กว่าเสียงจะขึ้นมาถึงคนยุคเก่า ในยุค 4.0 ผมไม่มีขั้นตอนนั้น ผมให้อำนาจเขา คนทำงานอยู่หน้างาน ผมให้ความรู้เขา หาคนที่เหมาะสมแล้วให้อำนาจเขาเลย ผิดก็แก้ ทำของใหม่ไม่มีใครหรอกไม่ผิด ผิดไม่เป็นไร ผิดวันนี้แก้พรุ่งนี้ ไม่ใช่ทำของเก่า ของเก่ามันมีทางเดินเรียบร้อย มีตำรา มีคู่มือปฏิบัติ แต่ของใหม่มันไม่มี ลองถูกลองผิด

อย่างเช่น ผมสร้างทีมใหม่ ต้องไปเรียนรู้ทั้งทีม รู้เรื่องเดียวกัน รู้เรื่องขาย รู้เรื่องตลาด ทุกคนต้องไปสัมผัส รู้เหมือนกันหมด ถึงจะผนึกกำลังกันได้ ผมไม่รู้เรื่องคุณ คุณไม่รู้เรื่องผม แล้วผมจะช่วยคุณได้อย่างไร ยุค4.0 จำเป็นต้องรู้ทุกเรื่อง ผมเลยได้เป็นเถ้าแก่ เพราะเถ้าแก่ต้องรู้ทุกเรื่อง และมีอำนาจในการแก้ไขทันที คำสอนของผมคือ ผิดเป็นครู แต่จะไม่ยอมอยู่เรื่องหนึ่งที่ว่า การผิดแล้วผิดอีก คนที่ไม่รู้เรื่องมาก่อนจะไปทำถูกได้อย่างไร ก็ต้องมาจากผิดแล้วถึงจะถูก

ผมทำให้เด็กกล้าคิด กล้าทำ ต้องให้เด็กมีอำนาจ ให้เขามีโอกาสแสดงความคิดเห็นของเขา โดยไม่ต้องถูกบังคับ ไม่เอาไปอยู่ใต้ผู้นำซึ่งผู้นำคิดไม่เหมือนกันก็ไม่ยอมให้ทำ ความรู้ความเก่งเขาก็ไม่กล้าแสดงออก เขาก็ไม่อยากอยู่ เพราะว่าผู้นำไม่เข้าใจเขาแต่วิธี 4.0 ที่จะใช้คนเก่ง ต้องสนับสนุนเขา จะให้คนเก่งทำงานแล้วสนุก ทุ่มเท
เรื่องแรกเลยต้องให้อำนาจ ไม่ใช่เงิน เงินเป็นสิ่งที่ต้องใช้ก็จริง แต่เราต้องให้เขาแบบเหมาะสม ถ้าให้ไม่เหมาะสมเขาก็ไปที่อื่น อย่ามองว่าเขาเห็นแก่เงิน เรื่องเงินคือพื้นฐานของมนุษย์

หนึ่งในคำถามที่ได้ยินบ่อยๆ คือ คำถามที่ว่า ทำไมเด็กรุ่นใหม่อยู่กับบริษัทไม่นาน
คำตอบคือ เขามีโอกาสที่จะได้แสดงความสามารถไหม เขามีโอกาสที่จะได้ทำอะไรที่มันเปลี่ยนแปลงไหม มีอนาคตไหม


ก่อนอื่นเราต้องทำให้เขาเห็นอนาคต ว่าเวทีนี้ถ้าคุณเก่งนะ เวทีนี้มันยิ่งใหญ่นะ เพราะฉะนั้นบางทีเราจำเป็นต้องทำให้บริษัทยิ่งใหญ่ ไปสู้กับต่างประเทศ เราถึงจะมีโอกาสได้คนเก่งมาทำงานช่วยกัน


คนเก่งถ้าบ่อน้ำมันเล็กไป แต่ปลาตัวใหญ่ก็ต้องไปอยู่ในมหาสมุทร เขาไม่ได้มาอยู่ในบ่อน้ำหรอก มันเล็กไป ฉะนั้นเราต้องเป็นมหาสมุทร ถ้าเราจะเลี้ยงปลาใหญ่ เราจะใช้คนเก่งร่วมมือกับคนเก่ง พัฒนาบริษัท เราต้องให้เขาเห็นอนาคตว่า ถ้าเขาเก่งเขาทำสำเร็จ เขาเติบโตได้อย่างไร ให้อำนาจ ให้เกียรติแล้วก็ให้เงิน

ในหนังสือของผมมีอยู่บทหนึ่ง พูดถึงความไม่ยอมแพ้ ทุกๆอย่างก่อนที่จะสำเร็จได้ ชีวิตคือการต่อสู้ เราต้องมีความมุ่งมั่น ความขยันอดทน ไม่พอยังต้องหมั่นเพียร เราต้องตั้งเป้าหมายแล้วมุ่งให้ได้ตามเป้ามุมมองในการบริหารการเงินในส่วนของการเงินที่เป็นธุรกิจ

ผมจะไปช่วยเกษตรกรที่ไม่มีเงิน ซึ่งผมไม่ได้อยากจะไปยึดที่ดินเขา ผมจะไปเป็นคนการันตีแบงค์ให้กับเขา แล้วมีเงื่อนไข เพื่อทำให้ที่ผมการันตีนั้นไม่ล้มเหลว ผมนำเทคโนโลยีเข้าไปช่วย นำตลาดเข้าไป ถ้าเราจะปล่อยหนี้ให้เขา เราต้องไปช่วยเขาว่าเขาจะคืนหนี้ได้อย่างไร เขามีอุปสรรคอะไร เราต้องไปช่วยจัดการตรงนี้ แล้วยังต้องไปสอนเขา ในเรื่องการอย่าใช้เงินเกินตัว เพราะส่วนใหญ่พอมีเงิน มักจะมีคนมายุให้ซื้อของ

ฉะนั้นสิ่งที่สำคัญคือ ถ้าผมการันตีเขาแล้ว ผมต้องรับผิดชอบ ผมคิดอย่างเดียวว่า ผมต้องทำให้เขาสำเร็จ ผมบอกว่าเราเป็นคู่ชีวิตกัน คำพูดในสมัยนั้น CP กับลูกค้าเป็นคู่ชีวิตกัน ถ้าเขาอยู่ได้เราก็อยู่ได้ เหมือนมันครบวงจร พอเขาได้ทำธุรกิจของที่บ้านเขาได้ สร้างขึ้นมาได้ เขาก็คืนเงินต้นได้ เลี้ยงครอบครัวได้ เขาก็ไม่ต้องมีหนี้มีสิน แล้วก็สอนเขาอย่าไปเพิ่มหนี้ เหมือนในหลวงที่สอนให้พอเพียง พอเพียงของในหลวงคือพอเพียงของแต่ละระดับ ไม่ใช่ว่าให้ทุกคนประหยัดเงิน ไม่ใช้เงิน แล้วสังคมจะเกิดการค้าขึ้นได้อย่างไร เศรษฐกิจก็อัมพาต คนต้องเข้าใจ ฉะนั้นการเงินสำคัญ

ถ้าผมจะกู้ให้ใครต้องดูว่าเขาไปรอดไหม ถ้าเขาไปไม่รอด เรากู้ไป วันหนึ่งก็ต้องเกิดปัญหาแน่นอน นอกจากไปเอาดอกเบี้ยสูงๆ มีหนี้เสีย แล้วเขาก็หมดตัว เราก็หมดลูกค้า แต่อย่างนี้เราไปช่วยเขา ถ้าเราจะกู้ให้เขา เราต้องไปดูว่าธุรกิจที่เขาทำ หรือเงินเดือนเขาเป็นอย่างไร เราต้องไปสอนเขา ให้เงินกู้เขาอย่างเดียวไม่พอ เราต้องไปสอนเขาให้พอเพียง อย่าใช้เงินเกินตัว ดีที่สุดคือให้ความรู้เขา ทำให้เขามีรายได้มากขึ้นอีก ใช้ความสามารถ ใช้ความรู้ เสริมความรู้ให้เขา เหมือนกับที่ผมได้ไปช่วยเกษตรกร เขาไม่มีเงิน ผมจะไปเอากำไรจากเขาได้อย่างไร

ผมต้องช่วยให้เขาร่ำรวยก่อน แล้วเขาถึงจะมีเงินมาคืนเรา เขาถึงจะมีเงินขยายพื้นที่ เลี้ยงไก่มากขึ้น ผมก็มีโอกาสซื้อไก่มากขึ้น ไปขายต่างประเทศ ขายตลาดภายใน


วิธีของผมคือ อย่างสมัยที่เขาเลี้ยงกันอยู่ ตัวละ 20 บาท เดือนนึงเฉลี่ยได้หนึ่งพันบาทต่อครอบครัว เลี้ยงได้ร้อยตัว ตัวละ 20 บาท ผมให้เขาเลี้ยงหมื่นตัว ตัวหนึ่งให้กำไรเขา 3 บาท ถูกไป 17 บาท สามารถส่งขายได้เลย แล้วคนเลี้ยงกำไรสามหมื่น เพราะหมื่นตัว ตัวละสามบาทก็สามหมื่นบาท คืนดอกเบี้ยเงินต้น ได้อย่างน้อยหกพันถึงหนึ่งหมื่น คืนแบงค์ ดอกเบี้ยเงินต้น พอเขาคืนเงินต้นเสร็จ ให้เขาเลี้ยงอีกหมื่นตัว คราวนี้สองหมื่น

ข้อคิดสำหรับคนทำธุรกิจใหม่ ที่ใช้ตั้งแต่วันแรกในการทำธุรกิจ CP มาจนถึงทุกวันนี้

เรื่องหนึ่งความสำเร็จของผม งานแรกของผม ผมไปอยู่สหพันธ์ สหกรณ์ค้าไข่แห่งประเทศไทย เป็นผู้จัดการ แล้วก็รองมาเป็นผู้จัดการสหสามัคคีค้าสัตว์ ในเรื่องสัตว์ปีก แล้วก็เลิก จอมพลสฤษดิ์สั่งเลิก ผมก็ตกงาน กลับมาช่วยครอบครัวตอนอายุ25 ผมทำงานตั้งแต่เด็กเลย 21ผมก็เป็นผู้จัดการแล้ว เดินทางต่างประเทศแล้ว แต่พอมาทำอาหารสัตว์ ต้องบอกเลยว่าผมไม่ได้ชอบ ผมชอบการสร้างหนัง ลงทุนเรื่องหนังเป็นผู้กำกับหนัง ชอบมาตั้งแต่เด็ก ชอบถ่ายรูป

แต่ถ้าผมเสียเวลากับสิ่งไหนแล้ว ไม่ชอบก็ต้องชอบ ไหนๆเราเสียเวลาแล้ว ก็ต้องไปเรียนรู้ให้รู้จริง ไม่ใช่ผิวเผิน ผมเป็นคนทำอะไรทำจริง ทุกครั้งผมต้องถามว่า แล้วเวลาที่ผมเสียไปผมได้อะไร ผมต้องเรียนรู้ให้เต็มที่ เรียนรู้ให้รู้จริง ต้องไปสัมผัส ต้องไปยอมเสียเวลามากขึ้น ผมทำอะไรผมมีสองเวลา เวลาหนึ่งคือส่วนตัว เสียไปเท่าไรคือความสุขส่วนตัว แต่ถ้าเมื่อไรต้องใช้เงินกับเสียเวลาที่เป็นเวลาส่วนตัวของผมแล้ว ผมต้องคิดว่าแล้วผมได้อะไร

ผมอยากจะฝากพวก startup ต้องทบทวนดูว่า เวลาทุกๆวันเราทำอะไรไป เวลาที่เสียไปเอากลับมาไม่ได้แล้วนะ เงินเท่าไรก็ซื้อกลับไม่ได้แล้ว เหมือนวันนี้ผมเอาเงินพันล้านมาซื้อให้ผมอายุน้อยลงอีกสิบปี ก็ทำไม่ได้ ฉะนั้นเราต้องเสียดายเวลาที่เราผ่านไป อย่าคิดว่าไม่เป็นไร ไปเที่ยวสนุก สุดท้ายมันไม่ได้สนุก ผ่านแล้วมันก็ผ่านไป แต่เราไปทำงาน เราจะมีงานติดกับเรา จะล้มเหลว หรือสำเร็จก็ตามมันอยู่กับตัวเราแล้ว

การเรียนรู้ใครๆก็เรียนรู้ได้ แต่การรู้จริง เราต้องทำ ทำแล้วได้ผลหรือไม่ได้ผล ถึงจะเรียกว่ารู้จริง 

อีกเรื่องหนึ่งคือ การควบคุมตัวเราเอง ไม่ใช่พอเราเป็นเถ้าแก่ เราจะพักผ่อนก็ได้ ไม่ทำงานก็ได้ ไปเที่ยวก็ได้ เรายังต้องใช้เวลาอันมีค่า เป็นเรื่องสำคัญยิ่ง ต้องใช้เงินให้เหมาะสม ไม่ใช่เรากำไร เงินวันนี้มีแค่นี้ ควรจะซื้อรถ Toyota ไปซื้อแบงค์ นี่คือบริหารเงินไม่เป็น ล้มเหลวแน่นอน startupที่จะสำเร็จแล้ว สุดท้ายต้องควบคุมตัวเอง เหมือนอยากจะสอบทุกวัน ไม่มีใครควบคุมเราแล้ว เราต้องควบคุมตัวเอง ถ้าไม่ได้ก็ไม่สำเร็จ สำเร็จก็แค่ชั่วคราว 

คุณบริหารเงินเป็นไหม นี่เป็นสิ่งที่สำคัญมากๆ ถ้าบริหารเงินไม่เป็นสุดท้ายก็หมดตัว กำไรก็ไม่พอใช้ ใช้เงินที่มันไม่เป็นประโยชน์ แน่นอนถ้าเราไปเที่ยว งบประมาณตรงนี้เราต้องมี ไม่ต้องกลัวไม่ห่วง ใช้เที่ยวใช้ให้มันสนุก แต่ถ้ามันเกินควรเมื่อไร จะทำให้เราล้มละลาย ทำให้เราจากสำเร็จกลายเป็นล้มเหลว ส่วนใหญ่startup ถ้าทำสามข้อนี้ได้ถึงจะยั่งยืน

ดังนั้นวันนี้ถ้าเราใช้ทุกวินาทีให้คุ้มสิบปี เหมือนเรากำไรเป็นพันล้าน นี่เป็นข้อคิดที่เด็กรุ่นใหม่น่าจะเอาไปเป็นแรงบันดาลใจได้

เรื่องของโครงการบ่มเพาะที่คุณธนินท์ เจียรวนนท์พูดถึง คือโครงการฟักไข่ สิ่งที่เราจะได้จากโครงการนี้คือประสบการณ์ ชั่วโมงบินของคนเก่งๆ ที่คอยมาโค้ชเรา คอยมาสอนเรา บางครั้งเราทำเองอาจจะใช้เวลากรุยทางสักสิบปี แต่พอมีโค้ช มีผู้ชี้แนะเก่งๆ เราอาจจะใช้เวลาทำแค่สองเดือน สามเดือนแบบนี้ก็สามารถเป็นไปได้

แล้วตอนนี้ True Incube กำลังเปิดรับสมัครรอบใหม่ ซึ่งเปิดรับสมัครในทุกๆปี สำหรับคนที่ทำ startup SME หรือว่ากำลังมีไอเดีย กำลังอยากจะทำธุรกิจ อยากจะมาเรียนรู้ประสบการณ์จากคนเก่งๆเหล่านี้ ไม่ควรที่จะพลาด ในการสมัครเข้าร่วมโครงการนี้

และสำหรับวันนี้ คาดว่าข้อคิดและบทเรียนที่คุณธนินท์ เจียรวนนท์ได้นำมาแบ่งปัน จะเป็นประโยชน์อย่างมหาศาลกับทุกๆคน และจะสามารถนำข้อคิดไปปรับ ประยุกต์ใช้กับชีวิตแล้วก็การทำธุรกิจได้

<แนะนำ>

ถ้าใครอยากเริ่มธุรกิจของตัวเองที่ต้องการองค์ความรู้ในการทำธุรกิจแบบ Step-by-step แนะนำหลักสูตร

Shortcut MBA ที่สอนทุกอย่างที่คนอยากทำธุรกิจให้สำเร็จต้องรู้ดูรายละเอียดได้ที่ลิงค์ http://bit.ly/3FYL93N 

Reference:

Copyright ©2024Eddu Group International Co.,Ltd.

คอร์สยอดนิยมด้าน Business

อัปสกิลไปพร้อมกับ Eddu

ทีมงานพร้อมให้คำแนะนำและคำปรึกษาในการเรียน
ตลอดจนแนะนำหลักสูตรที่เหมาะสมกับผู้เรียน ทั้งบุคคลและองค์กร

ร่วมเป็น Trainer กับเรา

สร้างสรรค์ผลงานออนไลน แบ่งปันความรู้พร้อมกับหารายได้

We use cookies, please see our policy and setting

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save
linkedin facebook pinterest youtube rss twitter instagram facebook-blank rss-blank linkedin-blank pinterest youtube twitter instagram