เชื่อว่า ทุกคนในโลกนี้ ไม่ว่าจะวัยไหน ต้องเคยได้ยิน สโลแกน สุดแสนคลาสสิก อย่าง I’m Love’in it อย่างแน่นอน และคงไม่มีใครที่ไม่รู้จักร้านอาหารฟาสต์ฟู้ดอันดับหนึ่งของโลกอย่าง McDonald's
ตำนานความอร่อยของ McDonald’s นี้เริ่มต้นในปี ค.ศ. 1940 ณ ซานเบอร์นาดิโน เมืองเล็ก ๆ ในรัฐแคลิฟอร์เนีย โดย 2 พี่น้องแมคโดนัลด์ “ดิ๊ก” (Richard James “Dick” McDonald) และ “แมค” (Maurice James “Mac” McDonald) ที่เริ่มต้นจากร้านแฮมเบอร์เกอร์เล็ก ๆ ที่มีเมนูให้เลือกกว่า 25 เมนู และให้บริการแบบ “ไดร์ฟทรู”
เมื่อธุรกิจดำเนินไปได้ระยะหนึ่ง และถือว่าประสบความสำเร็จ แต่ทั้งสอง มองเห็นว่าร้านของพวกเขายังมีกำไรน้อยเกินไป และมีปัญหาในการบริหารจัดการมากมาย ทั้งเมนูอาหารที่มากเกินไป ขั้นตอนการสั่งอาหารที่ยุ่งยาก รวมถึงเรื่องการเตรียมวัตถุดิบที่หลากหลาย และบางเมนู เช่น บาร์บีคิว หากเตรียมไว้ล่วงหน้า จะทำให้อาหารเสียรสชาติ
ช่วงปี ค.ศ. 1948 พวกเขาจึงกลับไปทบทวนธุรกิจของตัวเอง และปิดปรับปรุงร้านเป็นเวลา 3 เดือน และกลับมาให้บริการลูกค้าอีกครั้ง โดยลดเมนูอาหารลงจาก 25 เมนู แล้วชูให้ “แฮมเบอเกอร์” เป็นเมนูหลัก พร้อมเครื่องเคียงอย่างเฟรนช์ฟรายส์ (มันฝรั่งทอด) พาย และเครื่องดื่ม “มิลค์เชค” เน้นในรูปแบบลูกค้าบริการตัวเอง ผลลัพธ์ที่ได้คือ นอกจากจะลดต้นทุนการบริหารจัดการ การจ้างพนักงานเสิร์ฟ พ่อครัวมืออาชีพ ทำให้ราคาแฮมเบอร์เกอร์ของ McDonald ถูกกว่าร้าน อื่น ๆ ด้วยความสะดวก ประหยัดเวลา และราคาเข้าถึงได้ ทำให้ลูกค้าที่่เข้ามาใช้บริการมากขึ้นเรื่อยๆ และนี่นับว่าจุดเริ่มต้นของ McDonald ในฐานะร้านอาหารฟาสต์ฟู้ดอย่างแท้จริง
ต่อมาในปี ค.ศ. 1954 ทั้งสองคนได้รู้จักกับ “เรย์ คร็อก” (Raymond Albert ‘Ray’ Kroc) ซึ่งเป็นเซลล์ขายเครื่องปั่นมิลค์เชค ที่ได้รับยอดสั่งซื้อสินค้าจากพวกเขา และมองเห็นโอกาสจากธุรกิจของร้าน McDonald จึงอยากร่วมทำธุรกิจด้วย โดยเขาเป็นผู้คิดระบบแฟรนไชส์ขึ้นมาเสนอทั้งสองพี่น้อง รวมถึงการนำโมเดลธุรกิจแบบ Localize Marketing ขึ้นมาด้วยการให้มีการปรับเปลี่ยนเมนูไปตามแต่ละพื้นที่ และยังคงชู “แฮมเบอร์เกอร์” ให้เป็นเมนูหลักประจำร้าน เน้นราคาถูก บริการรวดเร็ว
McDonale เริ่มต้นสาขาแรกในต่างประเทศที่ แคนาดา และปัจจุบันประสบความสำเร็จ และขยายสาขา ไปทั่วโลก 40,275 สาขาใน 118 ประเทศทั่วโลก รวมถึงประเทศไทย โดยมีจำนวนลูกค้าทั่วโลกที่เข้าใช้บริการประมาณ 69 ล้านคนต่อวัน ประมาณว่า McDonald's สามารถขายแฮมเบอร์เกอร์ได้ 75 ชิ้นต่อวินาที เลยทีเดียว และสร้างรายได้ทั่วโลกถึง 23.18 พันล้านดอลลาร์ในปี 2022 (Zippia, 2023)
ความสำเร็จของ McDonald นั้น เกิดมาพร้อมหลายปัจจัย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การทำ Localized Marketing หรือการปรับตัวขององค์กรให้เข้ากับวัฒนธรรมที่แตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ เพื่อทำให้แบรนด์มีความเป็นหนึ่งเดียวกับท้องถิ่น สร้างความเป็นกันเองและทำให้ลูกค้าเกิดการจดจำในแบรนด์มากขึ้น จนประสบความสำเร็จเราลองมาดูตัวอย่างการใช้ โมเดล Localize Marketing ของ McDonald กัน
เริ่มที่ประเทศเยอรมนี ดินแดนแห่งคนรักเนื้อ และไส้กรอก
ด้วยการทำการบ้านอย่างดีของ McDonald ทำให้ออกเมนูพิเศษอย่าง Nürnburger ที่ทำจากใช้แป้งเบอร์เกอร์ เสิร์ฟพร้อมไส้กรอกเนิร์นแบร์เกอร์ ( Nürnberger sausages ) รวมถึงคิดค้นเมนู แฮมเบอร์เกอร์เนื้อ ที่สามารถทานคู่กับเบียร์ ซึ่งตอบรับกับลักษณะนิสัยของชาวเยอรมันที่นิยมดื่มเบียร์ขณะรับประทานอาหาร ได้เป็นอย่างดี
ต่อมาที่อินโดนีเซีย ประเทศแถบเอเชียที่มีประชากรมากกว่า 260 ล้านคน โดยส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม
McDonald's ทำ Localize Marketing ได้อย่างเหมาะสม ด้วยการตัดเนื้อหมูออกจากเมนู โดยเน้นไปที่การใช้วัตถุดิบจากปลาและเนื้อแทน นอกจากนี้ McDonald ยังวางตัวให้ทุกสาขาในอินโดนีเซียทำร้านให้ได้มาตรฐานฮาลาล พร้อมปรับเปลี่ยนเมนูหลักจากแฮมเบอร์เกอร์ เป็นเมนูข้าว ให้ตอบรับกับวิถีชีวิตของชาวอินโดนีเซียที่บริโภค “ข้าว” เป็นอาหารหลัก
ถัดมาที่ประเทศญี่ปุ่น อย่างที่เรารู้กันว่า อาหารญี่ปุ่น มีชื่อเสียงและมีความเฉพาะตัวที่แตกต่างจากที่อื่นในโลก
McDonald’s ในญี่ปุ่น ยังคงแฮมเบอร์เกอร์ไว้เป็นเมนูหลัก และค่อย ๆ ปรับเปลี่ยนเมนูให้หลากหลายขึ้น เพื่อตอบสนองความต้องการของชาวญี่ปุ่น ไม่ว่าจะเป็น Teriyaki Burger (เทอริยากิเบอร์เกอร์ ด้วยตัวแป้งที่ราดซอสเทอริยากิหวาน ๆ เสิร์ฟพร้อมหัวหอม) (Oyako Teriyaki McBurger : 親子てりやきマックバーガー) ที่ได้แรงบันดาลใจมาจากโอยะโกะด้ง ข้าวหน้าไก่ราดไข่ คราวนี้มาเป็นเนื้อไก่ทอดกรอบนอกนุ่มในชุ่มซอสเทริยากิเลมอนรสหวาน พร้อมไข่ดาวและผักกาด รวมทั้ง อุจิมัทฉะกรีนที เครื่องดื่มชาเขียวจาก McCafe by Barista
ตัวอย่างสุดท้าย ขอยกตัวอย่างที่ โมร็อกโก ซึ่งเป็นประเทศที่ตั้งอยู่ในภูมิภาค Maghreb ของแอฟริกาเหนือ
McDonalds ทำ Localize Marketing ที่เหมาะสมกับการใช้ชีวิตของผู้คนในประเทศได้เป็นอย่างดี โดยออกแบบเมนู McArabia Sandwich ซึ่งเป็นแซนวิชที่ทำจากขนมปังพิต้าและเครื่องเทศแบบดั้งเดิม เช่น ผงยี่หร่าและผักชี หรือในช่วงเดือนรอมฎอน McDonalds ยังจัดทำเมนูพิเศษที่เรียกว่า "f'tor" F'tor แปลว่า สิ้นสุดการถือศีลอด เมนูนี้ประกอบด้วยซุปแบบดั้งเดิม อินทผลัม นม และ BigMac
จากตัวอย่างข้างต้นนี้ จะเห็นได้ว่า McDonald’s ประสบความสำเร็จในการตีตลาดกลุ่มผู้บริโภคในแต่ละประเทศเพียงแค่ใช้ความใส่ใจในการปรับปรุงสินค้าให้ตรงกับประเทศนั้น ๆ เท่านั้นเอง
สำหรับผู้อ่านหรือผู้ประกอบการ ที่มองหาช่องทางการขยับขยายกิจการไปต่างประเทศ การทำการตลาดด้วย Localize Marketing ก็เป็นอีกหนึ่งมุมมองที่น่าสนใจ และคุณอาจประสบความสำเร็จเหมือนกับ McDonald’s ได้เพราะข้อคิดหลักของเรื่องนี้มีเพียง แค่ใส่ใจและค้นคว้าข้อมูลของ “กลุ่มเป้าหมาย” ที่เราต้องการ จะเจาะตลาดเท่านั้นเอง
<แนะนำ>
ถ้าใครอยากเริ่มธุรกิจของตัวเองที่ต้องการองค์ความรู้ในการทำธุรกิจแบบ Step-by-step แนะนำหลักสูตร
Shortcut MBA ที่สอนทุกอย่างที่คนอยากทำธุรกิจให้สำเร็จต้องรู้ดูรายละเอียดได้ที่ลิงค์ http://bit.ly/3FYL93N
Reference
https://www.zippia.com/advice/mcdonalds-statistics/
http://naturallygreattraders.blogspot.com/2016/11/mcdonalds-marketing-strategy-of.html
https://www.thaismescenter.com/ประวัติของแมคโดนัลด์-ที่โลกต้องรู้/