ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา เมื่อก้าวเข้าสู่เดือนมิถุนายน เรามักเห็นแบรนด์ดังต่าง ๆ รวมถึงบริษัทยักษ์ใหญ่ หลาย ๆ แห่ง ต่างพากันเปลี่ยนภาพโปรไฟล์ในช่องทาง Social Media ออกแคมเปญการตลาด หรือสินค้าคอลเลกชันใหม่ ให้เป็น “สีรุ้ง” เพื่อเฉลิมฉลองเดือนแห่งความภาคภูมิใจ หรือ Pride Month
มีหลายคนที่เข้าใจความหมายของสายรุ้งนี้ แต่ก็มีคนอีกมากมายที่ไม่รู้ หรืออาจไม่เข้าใจ ว่าเทรนด์นี้เกิดขึ้นได้อย่างไร ทำไมถึงต้องเป็นเดือนมิถุนายน และการแสดงออกของแบรนด์ควรต้องระวังอะไรบ้าง เราลองมาหาคำตอบกันในบทความนี้
สื่อสารและแสดงออกอย่างจริงใจ ไม่ใช่หวังแค่ตัวเลข
เมื่อโลกของเราเริ่มเปิดกว้างมากขึ้น และในทุก ๆ ปีเริ่มมีแบรนด์เล็ก และใหญ่ ที่เข้ามาร่วมกับกิจกรรม Pride Month ที่มากขึ้น และหนึ่งเรื่องที่น่าสนใจคือ
จากผลการศึกษาของบริษัท Unilever เมื่อปี 2021 พบว่ากว่า 66% ของเหล่า บุคคล LGBTQ+ ที่มีอายุระหว่าง 18 ถึง 34 ปี มีความเห็นว่าแบรนด์ส่วนใหญ่ ร่วมกิจกรรมกับวันแห่งความภาคภูมิใจของพวกเขา เพียงเพื่อหวังในเรื่องของตัวเลข และยอดขายเท่านั้น
ซึ่งการกระทำนี้นอกจากจะไม่ได้ทำให้พวกเขา “อิน” กับแบรนด์ แต่ กลับยิ่งทำให้เกิดความรู้สึกในแง่ลบกับแบรนด์เหล่านั้นมากขึ้นด้วย
ซึ่งสิ่งสำคัญที่แบรนด์ควรทำ นอกเหนือจากการเปลี่ยนภาพโปรไฟล์เป็นสีรุ้ง หรือทำสินค้าสีรุ้งออกสู่ตลาด คือ การทำความเข้าใจและสนับสนุนพวกเขาอย่างแท้จริง เช่น การทำความเข้าใจถึงความชอบ ความต้องการและออกแบบสินค้าเพื่อพวกเขาอย่างต่อเนื่อง หรือการสนับสนุนการจ้างงาน การเลื่อนตำแหน่งอย่างเท่าเทียม รวมถึงการสนับสนุนองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร เพื่อช่วยเหลือชุมชนของเหล่าผู้มีความหลากหลายทางเพศอย่างแท้จริง
ยกตัวอย่างแบรนด์ชื่อดัง ที่มีการร่วมเฉลิมฉลองกับ Pride Month ในปี 2023 เช่น
ในปีนี้ Disney มีการออกคอลเลคชัน Star Wars Pride ในคอนเซ็ปต์ของ rainbow BB-8 พร้อมเข็มกลัด BB-8 Pride Pin ที่มาพร้อมกับสโลแกน “Belong, Belive, Be Proud” ที่นอกจากแฝงไปด้วยความน่ารักของตัวละครแล้ว เขายังแบ่งรายได้ส่วนหนึ่งให้กับองค์กร "It Gets Better" ซึ่งเป็นองค์กรที่ยกระดับ เพิ่มศักยภาพ และเชื่อมโยงเยาวชน LGBTQ+ ทั่วโลก โดยโครงการ "It Gets Better" นี้เป็นแรงบันดาลใจให้ชาว LGBTQ+ สามารถแบ่งปันเรื่องราวของพวกเขาและเตือนเยาวชนรุ่นต่อ ๆ ไป ให้มีความฝันและความหวังมากขึ้นเรื่อย ๆ
แบรนด์เครื่องสำอาง ของคุณ รวิศ หาญอุตสาหะ ที่ในปีนี้ ก็ร่วมเฉลิมฉลอง Pride Month อีกเช่นเคย โดยมีการแสดงออกผ่านโซเชียลมีเดีย
พร้อมกับมีสินค้าที่ออกแบบมาเพื่อคนทุกกลุ่ม รวมถึงเพิ่มสวัสดิการพนักงานให้ครอบคลุมทุกกลุ่ม และทุกเพศสภาพ ด้วยแนวคิดที่ว่า เพราะพนักงานคือหัวใจหลัก ในการขับเคลื่อนองค์กรให้เติบโตไปข้างหน้า ประกอบกับภายในองค์กรที่มีคนหลากหลายรุ่น ตั้งแต่ Baby Boomer จนถึง Gen Z และสิ่งที่เพิ่มขึ้นมา คือ มีพนักงานในกลุ่ม LGBT ร่วมงานกับเราถึง 10% จึงพัฒนาสวัสดิการดูแลคุณภาพชีวิตพนักงานให้สอดคล้องกับพนักงานช่วงวัยต่างจึงอยากมอบโอกาสให้กับทุกคนและพร้อมจะสร้างให้เกิดความสุขและรอยยิ้มในทุกๆ วัน
แม้ว่า Pride Month นั้นถือเป็นเดือนของสีสันของการเฉลิมฉลอง ที่ยิ่งใหญ่ของกลุ่มเพศทางเลือก หรือ LGBTQ+ ทั่วโลกที่ต่างพร้อมใจกันออกมาสร้้างสีสัน เดินขบวนพาเรต และแสดงออกถึงความเท่าเทียมกันอย่างสนุกสนาน แต่กว่าจะมาถึงวันนี้ได้นั้น พวกเขาต้องผ่านเบื้องหลังที่แฝงด้วยหยาดเหงื่อและคราบน้ำตา จากการถูกดูหมิ่นและกีดกันทางสังคมอย่างรุนแรง จนไม่สามารถแสดงตัวตนในที่สาธารณะได้ ต้องคอยหลบหลีกและนัดพบกันตามสถานที่อโคจรในเวลากลางคืน ที่ที่พวกเขาสามารถเปิดเผยตัวตนได้อย่างสบายใจโดยไม่ถูกตัดสินว่าเป็นตัวประหลาด หรือส่วนเกินในสังคม
จนถึงวันหนึ่งที่เป็นจุดเปลี่ยน ..ในเช้ารุ่งสางของวันที่ 28 มิถุนายน 1969 เมื่อเจ้าหน้าที่ตำรวจได้บุกเข้าไปยัง Stonewall Inn ซึ่งเป็นบาร์เกย์ชื่อดัง ในย่าน Greenwich Village
โดยพยายามยัดข้อหาว่าที่บาร์ มีการขายแอลกอฮอล์โดยไม่ได้รับอนุญาต และใช้กำลังทำร้ายลูกค้าภายในร้านซึ่งส่วนใหญ่เป็นกลุ่ม LGBTQ+ จนเกิดเหตุจลาจลขึ้น เมื่อในครั้งนี้ ผู้คนภายในบาร์เริ่มตอบโต้และลุกขึ้นสู้เพื่อปกป้องสิทธิของตัวเอง
จากเหตุการณ์คืนนั้น ทำให้มีผู้คนนับร้อยออกมาร่วมเดินขบวนประท้วงกันบนท้องถนน โดยเฉพาะบริเวณคริสโตเฟอร์สตรีท ซึ่งเป็นที่ตั้งของ Stonewall Inn พร้อมการปะทะกันระหว่างกลุ่ม LGBTQ+ และตำรวจหลายครั้ง และเริ่มรุนแรงขึ้นพร้อมสื่อมวลชนที่เข้ามาทำข่าวและเผยแพร่เรื่องราวที่เกิดขึ้นออกไปจนคนทั่วไปรู้จัก
การประท้วงครั้งนี้เอง ถือเป็นการจุดประกาย และกลายเป็นจุดเริ่มต้นการเรียกร้องความเท่าเทียมทางเพศในสหรัฐอเมริกา ข่าวการจลาจลที่สโตนวอลล์ทำให้เกิดกระแสของการเรียกร้องเสรีภาพในการแสดงออกของชาว LGBTQ+ ในหลายประเทศ
สำหรับงาน Pride ครั้งแรก เกิดขึ้นในปี 1970 และดำเนินต่อเนื่องนับแต่นั้นเป็นต้นมา เพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้น โดยมีสัญลักษณ์พิเศษคือธงรุ้งจากการประดิษฐ์ของ Gilbert Baker ศิลปินและนักขับเคลื่อนสิทธิมนุษยชนของชาวเกย์ โดยเขาได้แรงบันดาลใจมาจากธงชาติของประเทศสหรัฐอเมริกาในวาระฉลองครบรอบ 200 ปี ในปี 1976 โดยประกอบด้วย 8 สี ได้แก่
หลังจากนั้นได้ถูกลดทอนลงจนเหลือ 6 สี โดยตัดสีชมพู และสีน้ำเงินเข้มออก และใช้กันต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน ที่สื่อถึงความหลากหลายในของความเป็นมนุษย์ และย้ำเตือนว่าทุก ๆ คน ล้วนเป็นสีที่ช่วยเติมเต็มสังคมให้สวยงามและน่าอยู่ขึ้น รวมถึงในประเทศไทยของเราเองก็เริ่มมีการร่วมกิจกรรมเกี่ยวกับเดือนแห่งความภาคภูมิใจนี้ ซึ่งปี 2023 ก็มีการจัดงานอย่างยิ่งใหญ่ ที่กำลังจะเกิดขึ้นในวันที่ 4 มิถุนายน และคงได้มีหลากหลายแบรนด์ที่ออกแคมเปญการตลาดให้เราได้เห็นกัน
จากบทความนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของเรื่องราวเคล้าสีสัน ความสนุก และประวัติศาสตร์ที่สำคัญของกลุ่ม LGBT+ และยังเป็นจุดเริ่มต้นของสิทธิที่เท่าเทียมกันของทุก ๆ คน ที่ไม่ใช่เพียงเรื่องของเพศเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการเข้าใจ และยอมรับ ความแตกต่างของเชื้อชาติ สีผิว ภาษา ศาสนา ความคิดเห็นทางการเมือง หรือสถานะทางสังคมอีกด้วย
Reference :
https://www.facebook.com/srichand1948
https://www.linkedin.com/pulse/asia-you-ready-pink-dollar-david-ko/?trk=pulse-article