หน้าหลัก

>

บทความทั้งหมด

March 10, 2023

Android สตาร์ทอัพที่เกือบเจ๊ง สู่ธุรกิจที่เปลี่ยนชีวิตคนทั้งโลก

คุณเชื่อมั้ยว่านานมาแล้วเคยมีอดีตพนักงาน MSN อยากจะทำ Startup เป็นของตัวเอง

แล้วก็ตั้งบริษัทขึ้นมา แต่ว่าทำไปได้ไม่นานก็ประสบปัญหาทางการเงินอย่างหนัก 

ถึงแม้จะประสบปัญหาการเงินที่แทบจะไม่เหลือ สิ่งที่เขาสร้างขึ้นมานั้น ไปเข้าตา Larry Page กับ Sergey Brin เจ้าของ Google แล้ว Google ก็ตัดสินใจว่าขอซื้อกิจการนี้ในมูลค่า 50 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จากวันนั้นที่หลายคนมองว่า Google จะตัดสินใจไปซื้อบริษัทนี้ทำไม แต่สุดท้ายแล้วบริษัทนี้ 

ทำให้ Google เนี่ยมีฐานลูกค้าใหญ่ขึ้นถึง 2,500 ล้านคนทั่วโลก บริษัทที่ว่ามานี้คือบริษัทที่มีชื่อว่า Android ซึ่งเป็นระบบปฏิบัติการที่อยู่ในโทรศัพท์มือถือที่มีทั่วโลกในทุกวันนี้ ประวัติที่ไปที่มาของ Android เป็นยังไง เขาต้องผ่านอะไรมาบ้าง กว่าจะประสบความสำเร็จอย่างทุกวันนี้ วันนี้จะเล่าให้ฟัง

นั่นก็คือประวัติที่ไปที่มาของบริษัทที่มีชื่อว่า Android Ink จุดเริ่มต้นของ Android 

ก็ต้องย้อนกลับไปในปี 2003 ซึ่งเป็นปีก่อนที่ Steve Jobs จะเปิดตัว iPhone 

ซึ่งเป็นการเปลี่ยนพลิกโฉมวงการสมาร์ทโฟนของทั่วโลกไปอย่างสิ้นเชิง 

ตอนนั้นเองมีบริษัทเล็กๆบริษัทนึงที่ก่อตั้งขึ้นมาชื่อว่า Android Ink โดยผู้ร่วมก่อตั้ง 4 คน 

ได้แก่ Rich Miner, Nick Sears, Chris White, และ Andy Rubin ซึ่งพวกเขาเคยทำงานในบริษัทใหญ่ๆบริษัทชั้นนำไม่ว่าจะเป็น MSN หรือว่า Apple ส่วนสาเหตุที่ชื่อบริษัทว่า Android ก็เป็นเพราะว่าพวกเขาทำงานหนักกัน ทำงานไม่หลับไม่นอน ไม่กินไม่ยอมไปพักผ่อน จนเพื่อนๆของเขาเรียกพวกเขาเป็นเหมือนหุ่นยนต์เลย เป็น Android นั้นเอง พวกเขาก็เลยได้ไอเดียว่าจะเอาชื่อนี้ มาตั้งเป็นชื่อบริษัท 

ซึ่งจริงๆ แล้วในตอนที่เขาได้ก่อตั้งบริษัทขึ้นมา Android ไม่ได้เป็นบริษัทที่จะผลิตระบบปฏิบัติการให้โทรศัพท์แต่อย่างใด แต่เหตุผลที่พวกเขาจะเปิดบริษัทนี้ขึ้นมา เพราะพวกเขาอยากจะพัฒนาระบบ ซึ่งเป็นระบบปฏิบัติการ หรือ Operating System ที่เอาไปใช้ในกล้องดิจิตอล เพราะพวกเขาเห็นว่ากล้องดิจิตอลในสมัยเนี่ยมันมีฟังก์ชันที่มันใช้งานยาก กล้องแต่ละตัวแต่ละยี่ห้อก็ต้องใช้แตกต่างกันไป 

ปรับสี ปรับแสงปรับค่าต่างๆ ในกล้องแต่ละตัวมันดูใช้ยากจังเลย พวกเขาก็เลยมีความคิดว่าจะสร้างบริษัท Android ขึ้นมาเพื่อทำระบบปฏิบัติการในกล้องให้มันใช้ง่ายที่สุด นั่นคือไอเดียตั้งต้นของบริษัท Android Ink 

แล้วบริษัท Android ก็ได้ Present ไป Pitch ไอเดียนี้ให้กับนักลงทุนหลายๆคน ซึ่งนักลงทุนบางคน

ก็ได้เชื่อในไอเดียนี้ แล้วก็ให้เงินลงทุนกับ Android มาในช่วงแรก แต่ปรากฏว่าหลังจากที่ได้รับเงินทุนมา พวกเขาทำระบบไปสักพักนึง ตอนนั้นก็ไปเห็นเทรนในการใช้กล้องดิจิตอลเนี่ยมันลดลงเรื่อยๆ 

ในขณะที่คนซื้อโทรศัพท์มือถือกันมากขึ้น โทรศัพท์มือถือก็มีกล้องดิจิตอลที่ชัดขึ้น ทำให้คนก็นิยม

น้อยลงมาเรื่อยๆ ตอนนั้นเองเขาก็เลยมาคุยกันว่าจะเอายังไงกับไอเดียโปรเจคนี้ต่อดี จะล้ม Project นี้ไปเลย หรือว่าจะเปลี่ยนมาทำอย่างอื่น ซึ่งตรงนี้เองในภาษา Startup หรือภาษาธุรกิจ เราจะเรียกกันว่า Pivot ซึ่งก็มาจากการเปลี่ยน คือการเปลี่ยนไอเดียจากไอเดียเดิมที่จะทำอีกอย่างนึง เปลี่ยนเป็นทำอีกอย่างนึงเลย 

ส่วนการ Pivot Market ก็คือจากแต่ก่อนที่สินค้านี้อยากจะเอาไปขายในตลาดนี้ แต่พอไปลองแล้วตลาดนี้ไม่มีคนอยากได้เลย ลองเอาไปขายตลาดอื่นดู นี่คือการเปลี่ยนตลาด แม้กระทั่ง Pivot Team ก็คือเปลี่ยนทั้งทีมเลย เช่นผู้ร่วมก่อตั้งคุยกันไปคุยกันมาทำงานด้วยกันเนี่ยไม่สนุกแล้ว หรือว่าไม่ได้มีแรงบันดาลใจไม่ได้มีไฟที่จะทำอะไรด้วยกันแล้ว ก็อาจจะเปลี่ยนทีม นี่ก็คือการ Pivot team ซึ่ง Startup ที่ดีคือ  Sartup ที่จะไม่จมปลักอยู่กับไอเดียเดิมๆ ตลาดเดิมๆ ถึงแม้ว่ามันจะต้องฝืนธรรมชาตินิดนึง นั่นก็คือเราเนี่ยการเปลี่ยนไปทำอะไรใหม่ๆ มันอาจจะต้องเหนื่อยกว่า ทุ่มเทมากกว่า แล้วก็มีโอกาสล้มเหลวมากกว่า แต่ถ้าสมมุติว่าคุณมองว่า อันใหม่ที่คุณจะไปทำนั้นมีโอกาสมากกว่า คุณก็ควรจะไปลอง นี่คือ ไอเดีย ของการทำ Startup ใน Silicon Valley ก็เลยเป็นที่มาที่พวกเขา 4 คนตัดสินใจที่จะ Pivot ไอเดีย จากไอเดียที่จะทำระบบ Operating System หรือ ระบบปฏิบัติการในกล้องดิจิตอล ก็เปลี่ยนมาทำระบบปฏิบัติการให้กับโทรศัพท์มือถือแทน 

โดย Android ก็ถูกพัฒนามาจาก Open source base ซึ่งเป็น Version ที่ Modify มาจาก Linux kernel โปรแกรมที่เป็นศูนย์กลางในระบบ computer ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานตั้งแต่เริ่ม boot server รวมถึงการ start/stop program และ input/output จาก software ทั้งหมด อธิบายคำว่า Open source นิดนึง ปกติแล้วเวลาที่เราเขียนโปรแกรมพัฒนาโปรแกรมขึ้นมาเนี่ย มันก็จะมี open source คือซอฟต์แวร์แบบเปิด นั่นก็คือพัฒนาซอฟต์แวร์ขึ้นมาแล้ว ใครอยากจะทำอะไรมาต่อ อยากจะพัฒนาไปทางไหน ก็สามารถที่จะเข้ามาเขียน เข้ามาร่วมพัฒนากันได้ มันก็จะทำให้ Platform มันเติบโตไปได้ มันสามารถขยายแล้วก็เก่งขึ้นได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งจะตรงกันข้ามกับซอฟต์แวร์แบบปิดอย่างเช่น iOS ของ Apple ซึ่งก็จะถูกจำกัดว่าการพัฒนา ก็จะต้องมาจากส่วนกลาง มาจากทีมวิจัยและทีมผลิตภัณฑ์ของ Apple เอง ซึ่งมันก็มีข้อดีข้อเสียต่างกัน 

การเป็น Open source ก็ทำให้ควบคุมหลายๆอย่างไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นคุณภาพ มาตรฐาน อะไรหลายๆอย่าง แต่ว่าถ้าเป็นซอฟต์แวร์แบบปิด เนี่ยข้อเสียก็มีเช่นกัน นั่นก็คือโอกาสที่จะพัฒนาได้เร็วหรือไปได้ไกลเนี่ย ก็อาจจะช้ากว่าซอฟต์แวร์แบบ Open source  แต่ว่าอย่างไรก็ตาม จากการที่พวกเขาพยายามทำ Software ขึ้นมาตอนแรก ได้เงินมามีเงินทุนเนี่ย อยากจะทำกล้องดิจิตอล แต่ปรากฏว่าเปลี่ยนไอเดียกลางคัน แบบนี้ก็เลยทำให้ทุนที่เขามีเนี่ยมันไม่เพียงพอที่จะเลี้ยงบริษัทต่อไปได้ ตอนนั้นเองถึงจุดที่บริษัทใกล้จะถึงจุดต่ำสุด คือแทบจะไม่มีเงินสดเหลือในบริษัทเลย ไม่มีพอที่จะมาจ่ายเงินเดือน จ่ายค่าเช่า จ่ายค่าจ้างพนักงาน ซึ่งทำให้หนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้งที่มี ชื่อว่ารูบิ้นก็เลยไปถามเพื่อนๆ ว่ามีใครที่เชื่อมั้ยว่า ถ้าผมทำระบบปฏิบัติการ Operating system ที่ชื่อ Android สำเร็จแล้วมันจะกลายเป็นระบบที่สามารถไปอยู่ในโทรศัพท์ ในกระเป๋าทุกคนบนโลกได้ ก็มีเพื่อนหลายคนที่ไม่เชื่อ แต่ก็มีเพื่อนคนนึงที่มีวิสัยทัศน์ แล้วก็มองว่าถ้าไอ้พวกนี้มันทำสำเร็จจริงๆ ก็อาจจะเป็นอย่างที่มันว่าจริงๆก็ได้ก็เลยให้เงินมาเป็นการลงทุนด้วยเงินส่วนตัวจำนวน 10,000 ดอลลาร์สหรัฐหรือตีเป็นเงินไทยก็ประมาณ 300,000 บาท เพื่อที่จะ ต่อลมหายใจของบริษัทไปได้อีกเฮือกหนึ่ง ซึ่งนักลงทุนคนนี้ ก็คือเพื่อนของรูบิ้นนี่แหละ ที่ชื่อว่า สตีฟเพอแมน ซึ่งเพอแมน ก็ไม่ใช่เศรษฐีที่มีเงินถุงเงินถังมาจากไหน แต่พอฟังไอเดียของรูบิ้นเสร็จเขาก็เดินไปที่ธนาคารแล้วก็ถอนเงินออกมาได้ทันที 

Reference 

Copyright ©2023Eddu Group International Co.,Ltd.

คอร์สยอดนิยมด้าน Business

31,200 ผู้เรียน
99% (30K)

Shortcut Executive MBA

สรุป MBA ใน 2 สัปดาห์ สอนทุกเรื่องที่นักธุรกิจ และ ผู้บริหาร ที่ต้องการวางกลบุทธ จำเป็นต้องรู้

อ.นพ พงศธร ธนบดีภัทร

12 ชม.
149,990
99,990
31,200 ผู้เรียน
99% (30K)

Shortcut Executive MBA

สรุป MBA ใน 2 สัปดาห์ สอนทุกเรื่องที่นักธุรกิจ และ ผู้บริหาร ที่ต้องการวางกลบุทธ จำเป็นต้องรู้

อ.นพ พงศธร ธนบดีภัทร

12 ชม.
149,990
99,990
31,200 ผู้เรียน
99% (30K)

Shortcut Executive MBA

สรุป MBA ใน 2 สัปดาห์ สอนทุกเรื่องที่นักธุรกิจ และ ผู้บริหาร ที่ต้องการวางกลบุทธ จำเป็นต้องรู้

อ.นพ พงศธร ธนบดีภัทร

12 ชม.
149,990
99,990
31,200 ผู้เรียน
99% (30K)

Shortcut Executive MBA

สรุป MBA ใน 2 สัปดาห์ สอนทุกเรื่องที่นักธุรกิจ และ ผู้บริหาร ที่ต้องการวางกลบุทธ จำเป็นต้องรู้

อ.นพ พงศธร ธนบดีภัทร

12 ชม.
149,990
99,990

อัปสกิลไปพร้อมกับ Eddu

ทีมงานพร้อมให้คำแนะนำและคำปรึกษาในการเรียน
ตลอดจนแนะนำหลักสูตรที่เหมาะสมกับผู้เรียน ทั้งบุคคลและองค์กร

ร่วมเป็น Trainer กับเรา

สร้างสรรค์ผลงานออนไลน แบ่งปันความรู้พร้อมกับหารายได้

Eddu คอร์ส

คอร์สออนไลน์ทั้งหมด
สำหรับองค์กร
คำถามที่พบบ่อย (FAQs)

We use cookies, please see our policy and setting

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save
linkedin facebook pinterest youtube rss twitter instagram facebook-blank rss-blank linkedin-blank pinterest youtube twitter instagram