การมองหาความต้องการของลูกค้าคืออีกหนึ่งหน้าที่สำคัญในการทำธุรกิจ เพื่อการวางแผนกลยุทธ์การตลาดต่อไปได้เป็นอย่างดี ซึ่งเราสามารถทำได้ง่าย ๆ ด้วยการสร้าง Persona หรือเรียกได้ว่าเป็นการสร้างตัวตนจำลอง ที่ใช้ฐานข้อมูลหลังจากลูกค้ามาเป็นที่ตั้ง
โดยการทำ Customer Persona เป็นสิ่งที่หลายองค์กรใช้กันมาอย่างแพร่หลาย เนื่องจากเพื่อเป็นการกำหนดความต้องการของลูกค้า ได้ทราบถึงปัญหาและสิ่งที่ลูกค้าต้องการ นอกจากนี้ยังเป็นตัวช่วยอย่างดีในการวางแผน Customer Journey ที่มีประสิทธิภาพอีกด้วย ฉะนั้นเราลองมาเจาะลึกถึงตัว Persona กันว่ามันคืออะไร มีความสำคัญอย่างไร แล้วสามารถใช้งานอย่างไรได้บ้าง
Key Takeaways
สารบัญบทความ
Persona คือการสร้างตัวแทนสมมติที่ถูกอ้างอิงข้อมูลบุคลิกจากกลุ่มลูกค้าตัวจริง เพื่อให้องค์กรสามารถเห็นภาพความต้องการของกลุ่มลูกค้าได้ชัดมากยิ่งขึ้น ได้ทราบว่ากลุ่มลูกค้าต้องการอะไร มีปัญหาอะไร และต้องใช้อะไรแก้ปัญหา ชื่นชอบอะไร มีไลฟ์สไตล์ชีวิตแบบไหน ทำให้เราสามารถสร้างการสื่อสารที่เจาะได้ตรงจุดตามที่กลุ่มเป้าหมายต้องการแบบเป๊ะ ๆ
ซึ่งแน่นอนว่าการทำ Persona ถือว่ามีความสำคัญต่อการทำกลยุทธ์การตลาดเป็นอย่างมาก เนื่องจากการที่เราทราบความต้องการของลูกค้าทั้งฐานลูกค้าเดิม และฐานลูกค้าใหม่ จะส่งผลให้การวางแผนกลยุทธ์เพื่อมอบสิ่งที่ลูกค้าต้องการโดยตรงได้ง่ายขึ้น ตรงจุดมากยิ่งขึ้น โดยที่ไม่ต้องทดลอง หรือคาดการณ์ให้เสียเวลาเลยแม้แต่น้อย
เข้าใจกันไปแล้วถึงความหมายของ Customer Persona ว่าคืออีกหนึ่งวิธีการมองหาความต้องการของกลุ่มลูกค้าที่มีประสิทธิภาพมากเลยทีเดียว เนื่องจากการใช้ชุดข้อมูลจริงของกลุ่มลูกค้าที่มีอยู่เพื่อนำมาจำลองเป็นตัวแทนของลูกค้า และค้นหาความต้องการต่าง ๆ ที่สามารถนำสิ่งที่ได้ไปปรับใช้งานในกลยุทธ์ทางธุรกิจต่อไป ซึ่งการสร้าง Persona ประกอบไปด้วย 3 ประเภทหลักด้วยกัน ได้แก่
เป็นการสร้าง Persona จากการใช้ชุดข้อมูลของพฤติกรรมการเลือกซื้อสินค้าของกลุ่มลูกค้าภายในตลาด เพื่อนำมากำหนดเป็นบุคลิก เพื่อให้สามารถนำมาวิเคราะห์และอธิบายลักษณะของลูกค้านั้น ๆ ให้กลายเป็นเหมือนมีตัวตนอยู่จริง พร้อมทำความเข้าใจด้วยการใช้ข้อมูลเชิงคุณภาพ
เป็นการสร้าง Persona ให้กับแบรนด์ของเราเอง โดยมีการกำหนดวิสัยทัศน์ ทัศนคติ และคุณภาพของสินค้าที่ต้องการจัดจำหน่ายให้ผู้บริโภค ซึ่งใช้องค์ประกอบทั้ง 3 นี้นำมาวิเคราะห์รวมกันเพื่อการสร้างบุคลิกของแบรนด์ที่มีความโดดเด่น และแตกต่างจากคู่แข่ง
เป็นการสร้าง User Persona ที่ถือเป็นตัวแทนของกลุ่มเป้าหมายของแบรนด์ เพื่อสร้างการรับรู้ให้กับแบรนด์เองว่ากลุ่มลูกค้าเป็นอย่างไร ต้องการอะไร สนใจสิ่งไหน มีปัญหาอะไรในชีวิตประจำวัน ทั้งหมดนี้เป็นการสร้างกลุ่มเป้าหมายในอุดมคติ เพื่อการคาดการณ์ถึงความต้องการในการเลือกใช้สินค้าและบริการจากแบรนด์
องค์ประกอบของการสร้าง User Persona คืออีกสิ่งที่จำเป็นต้องคำนึงถึง เพราะเป็นกำหนดข้อมูลสิ่งที่ต้องมองหาเพื่อการจัดทำ Persona ที่ถูกต้อง โดยแบ่งออกเป็น 7 อย่างด้วยกัน ได้แก่
เพื่อให้เห็นภาพที่ชัดขึ้นเราได้มีการลองทำ Persona ตัวอย่างที่เป็นการยกตัวอย่างกลุ่มลูกค้า 1 ท่านที่มีความชื่นชอบการออกกำลังกาย แต่ด้วยงานที่มีจำนวนเยอะในปัจจุบัน ส่งผลให้ไม่มีเวลาออกกำลังกายเหมือนแต่ก่อน ดังต่อไปนี้
ได้เห็นตัวอย่างของการสร้าง Persona กันไปแล้ว แต่เราจะรู้ได้อย่างไรว่าการสร้าง Target Persona คือรูปแบบที่ดีที่สุด ซึ่งแน่นอนว่าการทำ Persona ที่ดีก็จะมีลักษณะสำคัญหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น
การสร้าง Persona ถือเป็นเครื่องมือที่ช่วยในการวางแผนกลยุทธ์ทางธุรกิจได้เป็นอย่างดี เพื่อสร้างความเข้าใจและเข้าถึงความรู้สึกและความสนใจของกลุ่มลูกค้าได้มากที่สุด ซึ่งวิธีการสร้าง Persona ที่ดีประกอบไปด้วย 5 ขั้นตอนด้วยกัน ได้แก่
ร่วมมือกับคนภายในองค์กร โดยเฉพาะกับตำแหน่งที่มีการพบปะหรือคุยกับลูกค้ามากที่สุด เพื่อการทำความเข้าใจว่าลูกค้าเป็นใคร มีความต้องการในเรื่องไหน เป็นกลุ่มลูกค้าแบบไหน เพื่อให้ทราบถึงการตัดสินใจของกลุ่มลูกค้าได้อย่างดี อีกทั้งยังเป็นการทำความเข้าใจว่าลูกค้ารู้จักแบรนด์ได้อย่างไร มีความสนใจสินค้าประเภทไหน และมีคำถามสงสัยเกี่ยวกับแบรนด์หรือสินค้าในเรื่องอะไรบ้าง เป็นต้น
ปัจจุบันช่องทางออนไลน์มักมีการเก็บข้อมูลในเชิงลึกที่สำคัญต่อการวิเคราะห์ทางธุรกิจเป็นอย่างมาก เช่น จำนวนในการเข้าชม จำนวนการกดคลิก การกรอกเพื่อขอข้อมูลเพิ่มเติม ฯลฯ ซึ่งชุดข้อมูลเหล่านี้ถือว่ามีความสำคัญต่อการวางกลยุทธ์ในทางธุรกิจเป็นอย่างมาก เนื่องจากทำให้เราทราบว่าลูกค้าชื่นชอบอะไร ต้องการอะไร และไม่ชอบอะไรบ้าง
แน่นอนว่าข้อมูลที่รวบรวมมาอาจยังไม่มีความครอบคลุมที่มากพอ ฉะนั้นการสัมภาษณ์ความเห็นจากลูกค้าเพิ่มเติมก็ถือเป็นสิ่งที่ควรทำ เพื่อให้การเก็บข้อมูลในเชิงลึกมีความครบครันมากขึ้น และสามารถนำไปจัดทำเป็น Persona รวมกับคนในทีมได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด อีกทั้งอาจยังได้รับข้อมูลที่สามารถต่อยอดในทางธุรกิจเพิ่มเติมต่อไปได้อีกด้วย
เมื่อเรามีข้อมูลในเชิงลึกตามที่ต้องการเพียงพอ ก็สามารถเริ่มสร้าง Persona ได้เลย ซึ่งควรมีการใส่รายละเอียดข้อมูลที่ชัดเจน พร้อมใส่รูปภาพเพื่อเป็นตัวแทนของบุคคลเพิ่มเข้าไป หรืออาจเป็นการใส่ลูกค้าตัวจริงของแบรนด์เลยก็ได้เช่นกัน ซึ่งการทำ Persona ก็สามารถแบ่งกลุ่มย่อยลงไปได้อีก เพื่อขยายกลุ่มเป้าหมายที่มากขึ้น
เมื่อกำหนด Persona เสร็จสิ้นแล้ว นำข้อมูลเหล่านั้นมาวิเคราะห์ในทางธุรกิจต่อไป ว่าเราควรปรับปรุงด้านไหน พัฒนาด้านไหน และจุดไหนที่สามารถดำเนินการต่อไปได้ เพื่อเป็นการพัฒนาทั้งธุรกิจ ตัวสินค้า และองค์กรไปพร้อมกัน อีกทั้งยังเพื่อเป็นการวางกลยุทธ์การตลาดต่อไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ
อย่างที่ผมได้เกริ่นไปตลอดของการเขียนบทความครับว่าการสร้าง Persona สามารถนำไปปรับใช้ในการวางแผนกลยุทธ์การตลาดได้ เนื่องจากว่าเรามีข้อมูลเชิงลึกที่อ้างอิงมาจากกลุ่มลูกค้าอยู่ในมือทำให้เราสามารถทำความเข้าใจกลุ่มเป้าหมายได้ถึงสิ่งที่พวกเขาเป็น สิ่งที่พวกเขาสนใจ สิ่งที่พวกเขาต้องการ และสิ่งที่พวกเขาไม่ชอบ เพื่อการปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพของสินค้า รวมไปถึงปรับกลยุทธ์การตลาดที่ตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมายมากยิ่งขึ้น เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายกลายมาเป็นกลุ่มลูกค้าของเราในที่สุด
การเริ่มต้นสร้าง Persona เพื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์ทางการตลาด ควรมีการมองหาและรวบรวมข้อมูลในหลาย ๆ แหล่งเท่าที่เป็นไปได้ เพื่อให้สามารถสร้างออกมาได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด นอกเหนือจากนี้ยังมีองค์ประกอบอื่น ๆ ที่ส่งผลต่อการวางแผนกลยุทธ์การตลาดอีกมาก ซึ่งทุกคนสามารถเข้ามาสมัครคอร์สเรียน Shortcut Reinventing จากสถาบันการเรียน eddu.org ที่สอนให้คุณเรียนรู้การปรับเปลี่ยนแผนทางธุรกิจ เพื่อเพิ่มเส้นทางการเติบโตขององค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ รับรองว่าไม่ว่าจะเจอการเปลี่ยนแปลงรูปแบบไหน หลังเรียนจบคอร์สนี้ไปไม่ว่าใครก็เอาอยู่
Copyright ©2024Eddu Group International Co.,Ltd.