ในโลกที่การแข่งขันทางธุรกิจสูงขึ้นทุกวัน ธุรกิจ SME คือธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ที่บางธุรกิจกำลังเผชิญกับปัญหาความยากลำบาก ในขณะเดียวกันบางธุรกิจก็เติบโตรวดเร็วราวกับก้าวกระโดด อะไรคือปัจจัยที่ทำให้ธุรกิจ SME เหล่านั้นแตกต่างกัน บทความนี้เรามีคำตอบมาไว้ให้แล้ว ตามเรามาทำความรู้จักว่า SME คืออะไร ทำไมมันถึงสำคัญต่อเศรษฐกิจ และทำอย่างไรถึงจะประสบความสำเร็จ
Key Takeaways
สารบัญบทความ
Small and Medium Enterprises หรือ SME คือ ธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็กที่มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ ธุรกิจกลุ่มนี้มักเป็นกิจการที่มีการดำเนินงานในชุมชน หรือเป็นธุรกิจครอบครัวที่มีความยืดหยุ่นในการบริหารจัดการ แม้ว่าจะไม่ได้มีขนาดใหญ่หรือทุนสูงเหมือนบริษัทข้ามชาติ แต่ธุรกิจ SME คือแหล่งสร้างงานและรายได้ที่สำคัญ รวมถึงเป็นพื้นที่ของนวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์ที่ช่วยกระจายความเจริญมาสู่ชุมชน
อย่างที่ได้อธิบายไปแล้วข้างต้นว่า SME คือธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก ดำเนินการกิจการโดยเจ้าของธุรกิจรายย่อย เป็นรูปแบบธุรกิจที่เราสามารถพบเห็นได้ทั่วไปในชีวิตประจำวัน ตั้งแต่ร้านขายของชำในชุมชน ร้านอาหารเล็ก ๆ ไปจนถึงโรงงานผลิตสินค้าขนาดย่อม อย่างไรก็ตามธุรกิจ SME ได้ถูกแบ่งออกเป็น 3 ประเภทกิจการด้วยกัน ดังนี้
กิจการประเภทนี้ผู้ประกอบการ SME จะเน้นการผลิตสินค้าเพื่อจำหน่าย ทั้งในรูปแบบของการผลิตขนาดเล็ก เช่น โรงงานขนาดเล็กแบบครอบครัว ไปจนถึงโรงงานขนาดกลาง เช่น โรงงานผลิตอาหารและเครื่องดื่ม
SME ประเภทนี้ เป็นธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายสินค้า โดยครอบคลุมธุรกิจทั้งในระดับท้องถิ่น ระดับประเทศ และการส่งออก เช่น ร้านขายของชำ ธุรกิจขายส่ง หรือธุรกิจค้าปลีก
กิจการ SME ประเภทนี้ เป็นการบริการที่ครอบคลุมธุรกิจหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น ธุรกิจร้านอาหารและคาเฟ่ ธุรกิจท่องเที่ยว เช่น โฮมสเตย์ การให้เช่ารถ หรือธุรกิจบริการด้านสุขภาพ โดยจะมุ่งเน้นการให้บริการและตอบโจทย์ความต้องการเฉพาะด้านของลูกค้า
แม้ว่าธุรกิจ SME คือธุรกิจขนาดเล็ก แต่ก็มีข้อได้เปรียบและจุดเด่นที่สำคัญไม่น้อยไปกว่าธุรกิจขนาดใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นความยืดหยุ่นในการดำเนินงาน ความสามารถในการสื่อสารกับลูกค้า หรือความเหมาะสมกับวิถีชีวิตของคนรุ่นใหม่ นอกจากนี้ยังมีข้อได้เปรียบในด้านอื่น ๆ ที่น่าสนใจดังนี้
ธุรกิจ SME คือ ธุรกิจที่มีโครงสร้างองค์กรที่เรียบง่ายกว่าธุรกิจขนาดใหญ่ ทำให้กระบวนการตัดสินใจและการปรับตัวในสถานการณ์ต่าง ๆ เป็นไปอย่างรวดเร็ว ผู้ประกอบการสามารถบริหารจัดการได้โดยตรง เห็นภาพรวมของธุรกิจชัดเจน และสามารถแก้ปัญหาได้อย่างทันเวลาโดยไม่ต้องผ่านขั้นตอนที่ซับซ้อน นอกจากนี้ ความคล่องตัวในการจัดการยังช่วยให้ธุรกิจสามารถเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ด้วยความที่ผู้ประกอบการ SME คือ เจ้าของกิจการขนาดเล็ก จึงมีความสามารถพิเศษในการเข้าถึงและสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้าได้ง่าย ไม่ว่าจะเป็นการพูดคุย การรับฟังข้อเสนอแนะ หรือการตอบสนองความต้องการเฉพาะด้านได้อย่างรวดเร็ว ทำให้เป็นจุดเด่นที่สำคัญที่ทำให้เกิดความไว้วางใจ และมีความภักดีต่อแบรนด์
ปัจจุบันคนรุ่นใหม่มักมองหาการทำงานที่ยืดหยุ่น และมีความสมดุลระหว่างชีวิตส่วนตัวกับการทำงานมากขึ้น (Work-Life Balance) ซึ่งธุรกิจ SME ตอบโจทย์ความต้องการได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นบรรยากาศการทำงานที่อบอุ่นและเป็นกันเอง ความหลากหลายของบทบาทหน้าที่ในองค์กร รวมถึงโอกาสในการแสดงความคิดสร้างสรรค์ หรือมีส่วนร่วมในการพัฒนาธุรกิจโดยตรง อีกทั้งการทำงานใน SME ยังช่วยให้พนักงานได้เรียนรู้ทักษะต่าง ๆ ที่ครอบคลุมและเติบโตอย่างรวดเร็วในสายอาชีพอีกด้วย
ธุรกิจ SME คือหนึ่งในกลไกที่ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไทยอย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยจำนวนธุรกิจ SME ที่มีอยู่กว่า 90% ของธุรกิจทั้งหมดในประเทศ ทำให้ SME ไม่เพียงแต่สร้างงานและรายได้ให้แก่คนในท้องถิ่นเท่านั้น แต่ยังส่งเสริมความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจในหลายมิติอย่างยั่งยืน ดังนี้
1. การสร้างงานและกระจายรายได้สู่ชุมชน
SME คือ ธุรกิจที่มีบทบาทสำคัญในการสร้างงานให้กับคนในพื้นที่ทั่วประเทศ ไม่ว่าจะเป็นแรงงานในอุตสาหกรรมการผลิต การค้า หรือบริการ ช่วยลดปัญหาการว่างงาน และยังเป็นแหล่งรายได้ที่กระจายไปสู่ครอบครัวในชุมชนต่าง ๆ อีกทั้งยังช่วยเสริมสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจในระดับฐานรากได้อีกด้วย
2. การกระจายความเจริญสู่ภูมิภาคต่าง ๆ
ในขณะที่บริษัทธุรกิจขนาดใหญ่มักกระจุกตัวอยู่ในเขตเมืองหรือศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ แต่ บริษัท SME คือ ธุรกิจขนาดเล็กที่ส่วนใหญ่กลับกระจายตัวอยู่ในทุกภูมิภาค ไม่ว่าจะเป็นในชนบทหรือในเมืองเล็ก ๆ ก็ตาม ซึ่งการกระจายตัวของ SME ช่วยนำพาความเจริญไปสู่พื้นที่ที่ธุรกิจขนาดใหญ่ไม่สามารถเข้าถึงได้ เช่น กิจการแปรรูปสินค้าท้องถิ่น การท่องเที่ยวชุมชน และธุรกิจบริการในระดับท้องถิ่น เป็นต้น
3. การสนับสนุนนวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์
กิจการ SME คือ กิจการที่มีความยืดหยุ่นสูง และสามารถพัฒนานวัตกรรมที่ตอบโจทย์ตลาดได้อย่างรวดเร็ว เช่น การสร้างสินค้าใหม่ ๆ หรือการปรับปรุงบริการที่ตรงกับความต้องการของผู้บริโภคโดยเฉพาะ นอกจากนี้ ธุรกิจ SME ยังเป็นพื้นที่สำคัญสำหรับนักธุรกิจรุ่นใหม่ในการทดลองความคิดสร้างสรรค์และขยายธุรกิจของตนเอง
4. การขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยความยั่งยืน
SME หลายแห่งมีแนวทางการดำเนินธุรกิจที่ยึดหลักการพัฒนาที่ยั่งยืน เช่น การใช้วัตถุดิบในท้องถิ่น การลดของเสียในการผลิต และการสนับสนุนเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ทำให้ช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ในขณะที่ยังสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าและบริการได้อย่างต่อเนื่อง
5. การสนับสนุนอุตสาหกรรมอื่น ๆ ในห่วงโซ่อุปทาน
ธุรกิจ SME เป็นส่วนสำคัญในห่วงโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ เช่น การเป็นซัพพลายเออร์ที่จัดหาวัตถุดิบหรือชิ้นส่วนสำคัญในกระบวนการผลิต นอกจากนี้ SME ยังช่วยเพิ่มความคล่องตัวให้กับอุตสาหกรรม โดยเฉพาะในแง่ของการผลิตและการกระจายสินค้า
เมื่อได้รู้ข้อดีและจุดเด่นของธุรกิจ SME กันไปแล้ว คราวนี้เรามาทำความเข้าใจก่อนเริ่มต้นทำธุรกิจกันบ้าง แน่นอนว่าการสร้างธุรกิจให้ประสบความสำเร็จนั้น ไม่ได้เป็นเรื่องที่ยาก แต่ทว่าต้องอาศัยการวางแผนและการเตรียมความพร้อมอย่างรอบคอบ หากคุณเป็นคนหนึ่งที่กำลังมีความคิดอยากจะเป็น ผู้ประกอบการ SME เรามีข้อควรรู้ก่อนทำธุรกิจมาฝาก ดังนี้
รู้จักตลาดเป้าหมายและลูกค้า รวมถึงความต้องการและพฤติกรรมของผู้บริโภค โดยทำการศึกษาคู่แข่งและวิเคราะห์ว่าธุรกิจของคุณจะโดดเด่นได้อย่างไรในตลาด
การเขียนแผนธุรกิจเป็นสิ่งจำเป็น เพราะจะช่วยกำหนดทิศทางของธุรกิจ ทั้งในด้านเป้าหมาย กลยุทธ์ และการจัดการทรัพยากรต่าง ๆ
ประเมินความจำเป็นด้านการเงิน รวมถึงคำนวณต้นทุนเริ่มต้นและค่าใช้จ่ายที่อาจเกิดขึ้น เข้าใจว่าธุรกิจ SME อาจเริ่มต้นด้วยเงินทุนที่จำกัด แต่ต้องมั่นใจว่ามีการบริหารจัดการเงินไว้อย่างรอบคอบ
พิจารณาว่าธุรกิจของคุณจะเกี่ยวข้องกับการผลิตประเภทใด เช่น การค้า หรือการบริการ เพื่อให้เหมาะกับความถนัดและทรัพยากรที่มี
ตรวจสอบว่าได้รับใบอนุญาตหรือการขึ้นทะเบียนธุรกิจที่ถูกต้อง รวมถึงทำความเข้าใจเกี่ยวกับภาระภาษีที่ธุรกิจต้องปฏิบัติตามที่กฎหมายกำหนด
การบริหารจัดการธุรกิจ SME ต้องการทักษะที่หลากหลาย ตั้งแต่การบริหารทีมงาน การจัดการสินค้าคงคลัง การจัดการเวลา ไปจนถึงการทำตลาด
การทำธุรกิจมักต้องเจอความท้าทายและความเสี่ยง เช่น ปัญหาเศรษฐกิจ ความเปลี่ยนแปลงของตลาด หรือปัญหาในการดำเนินงาน ดังนั้นคุณจึงควรวางแผนรับมืออย่างรอบคอบ
ในยุคปัจจุบัน ธุรกิจ SME คือ ธุรกิจที่กำลังมาแรงและเป็นที่สนใจของผู้ประกอบการและผู้เริ่มต้นธุรกิจใหม่ เนื่องจากมีความยืดหยุ่นและสามารถเติบโตได้ตามกระแสความต้องการของตลาด หากคุณกำลังมองหาแนวทางธุรกิจที่น่าสนใจและเหมาะสมกับศักยภาพ เรามี 3 ตัวอย่างธุรกิจ SME ที่มีโอกาสประสบความสำเร็จมาแนะนำ
1. ธุรกิจร้านกาแฟและเครื่องดื่มสุขภาพ
ในยุคที่ผู้คนหันมาใส่ใจเรื่องสุขภาพมากขึ้น ธุรกิจร้านกาแฟที่มีเมนูเพื่อสุขภาพ เช่น น้ำผลไม้คั้นสด สมูทตี้โปรตีนสูง หรือกาแฟสูตรแคลอรีต่ำ เป็นอีกหนึ่งแนวทางที่ดึงดูดกลุ่มลูกค้าได้ดี
2. ธุรกิจขายสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์
การขายของออนไลน์หรือขายสินค้าผ่านแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ เช่น Shopee Lazada หรือ Facebook Marketplace กำลังเป็นที่นิยมอย่างมาก หากคุณทำธุรกิจ SME ที่เน้นสินค้าแบบเฉพาะเจาะจง เช่น เสื้อผ้าดีไซน์เฉพาะตัว สินค้าทำมือ หรือสินค้าออร์แกนิก ก็จะสามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างง่ายดาย อีกทั้งยังประหยัดต้นทุนในการเปิดหน้าร้านอีกด้วย
3. ธุรกิจโฮมสเตย์และการท่องเที่ยวเชิงชุมชน
ประเทศไทยเป็นจุดหมายปลายทางยอดนิยมของนักท่องเที่ยว การทำธุรกิจในรูปแบบโฮมสเตย์ จัดเป็นรูปแบบธุรกิจที่ตอบโจทย์ความต้องการได้เป็นอย่างดี เพราะมีทั้งนักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างชาติให้ความสนใจและมองหาที่พักรูปแบบนี้อย่างต่อเนื่อง
แม้ว่าทั้งธุรกิจ SME และธุรกิจ StartUp จะเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่เหมือนกัน แต่รู้หรือไม่ว่าธุรกิจทั้งสองประเภทมีลักษณะเฉพาะตัวและแนวทางการดำเนินธุรกิจที่แตกต่างกัน ดังนี้
1. เป้าหมายและวิสัยทัศน์
SME คือ ธุรกิจที่มุ่งเน้นการสร้างรายได้และการเติบโตอย่างมั่นคงในระยะยาว โดยผู้ประกอบการ SME ส่วนใหญ่มักดำเนินกิจการในชุมชนหรือระดับประเทศ
StartUp คือธุรกิจที่เน้นการเติบโตอย่างรวดเร็วและขยายตัวในระดับสากลด้วยการแก้ปัญหาหรือสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ เพื่อสร้างผลกระทบที่ใหญ่และแตกต่าง
2. ลักษณะธุรกิจ
SME มักเป็นธุรกิจดั้งเดิม เช่น ร้านค้า โรงงานผลิต หรือธุรกิจบริการ ที่เน้นความยั่งยืนและตอบสนองความต้องการของตลาดในพื้นที่
StartUp มักเป็นธุรกิจที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีหรือมีโมเดลธุรกิจที่แปลกใหม่ เช่น แอปพลิเคชัน แพลตฟอร์ม หรือบริการดิจิทัล
3. วิธีการเติบโต
SME เป็นธุรกิจที่เติบโตผ่านกำไรที่สะสมมาและการบริหารจัดการต้นทุนที่มีประสิทธิภาพ
StartUp เติบโตผ่านการลงทุนจากนักลงทุน (เช่น Venture Capital) เพื่อขยายธุรกิจอย่างรวดเร็ว
4. ความเสี่ยงและการบริหารจัดการ
SME มีความเสี่ยงต่ำกว่า เนื่องจากการดำเนินธุรกิจในลักษณะคงที่และมั่นคง
StartUp มีความเสี่ยงสูง เนื่องจากต้องเผชิญกับการทดลองและพัฒนาโมเดลธุรกิจใหม่ ๆ
5. ระยะเวลาความสำเร็จ
SME มักเน้นการสร้างธุรกิจที่มั่นคงในระยะยาวและมีความยั่งยืน
StartUp เน้นการเติบโตและบรรลุเป้าหมายในระยะเวลาอันสั้นเพื่อสร้างผลตอบแทนที่รวดเร็ว
ธุรกิจ SME คือ ธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก เปรียบเสมือน "เส้นเลือดฝอย" ที่หล่อเลี้ยงเศรษฐกิจในชุมชนให้มีความแข็งแรง และธุรกิจ SME ก็ไม่ได้เป็นแค่ "ทางเลือก" สำหรับผู้ที่ต้องการเป็นนายตัวเองเท่านั้น แต่ยังเป็น "กลไกสำคัญ" ในการพัฒนาเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน หากคุณเป็นอีกคนหนึ่งที่ต้องการเรียนรู้ธุรกิจ SMEs ว่ามีอะไรบ้าง ทาง Eddu มีหลักสูตรเสริมความรู้ให้กับผู้ประกอบการ ไม่ว่าจะเป็นด้านการจัดการเงินทุน การตลาดดิจิทัล การวางแผนธุรกิจ และการพัฒนาสินค้าให้ตอบโจทย์ลูกค้า หากสนใจก็เข้ามาลงทะเบียนเรียนกับเรากันวันนี้ได้เลย
Copyright ©2024Eddu Group International Co.,Ltd.