thumbnail
February 27, 2025

USP คือกลยุทธ์แย่งชิงความสนใจ เพื่อการสร้างแบรนด์ให้โดดเด่น 

ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเติบโตของธุรกิจเรียกได้ว่ามีหลากหลาย ซึ่งหนึ่งในนั้นคือการสร้างจุดขายของสินค้าและบริการที่ไม่เหมือนใครอย่างการใช้กลยุทธ์ USP คืออีกหนึ่งกลยุทธ์ที่หลายธุรกิจเลือกใช้ เนื่องจากการมีจุดเด่นหรือมีเอกลักษณ์ที่แตกต่างจากคู่แข่งล้วนเป็นตัวช่วยให้กลุ่มเป้าหมายสามารถจดจำแบรนด์ได้ดีมากยิ่งขึ้น 

นอกจากนี้การเริ่มต้นธุรกิจยังต้องมีการใช้กลยุทธ์การตลาดอื่น ๆ ร่วมด้วย ไม่ว่าจะเป็นการใช้เครื่องมือวิเคราะห์ภาพรวมธุรกิจอย่าง SWOT หรือการใช้เครื่องมือวิเคราะห์คู่แข่งด้วย Five Forces Model รวมไปถึงกลยุทธ์อื่น ๆ อีกมาก แต่ในบทความนี้ผมจะพาไปทำความรู้จักกันว่า USP คืออะไร สามารถช่วยสร้างจุดเด่นให้กับแบรนด์ได้อย่างไร เราลองไปดูกันเลย


Key Takeaways

  • USP คือเครื่องมือกำหนดจุดเด่นของสินค้าและบริการ ที่มีความเป็นเอกลักษณ์ และแตกต่างจากคู่แข่ง เพื่อสร้างแรงดึงดูดให้กลุ่มลูกค้าหันมาสนใจเลือกซื้อสินค้าและบริการ
  • 5 ประเภทของการใช้งาน USP ที่มีความสำคัญต่อการสร้างจุดเด่นให้กับสินค้าและบริการเป็นอย่างมาก เพื่อสร้างการจดจำ และขยายฐานลูกค้าให้มากกว่าเดิม
  • ขั้นตอนการใช้งาน USP อย่างมีประสิทธิภาพจะต้องมีการตรวจสอบและทดลองที่หลากหลาย ซึ่งมีขั้นตอนไหนที่มีความจำเป็นต้องทำบ้าง เราสรุปไว้ให้แล้ว

สารบัญบทความ


USP คืออะไร เราจะสร้างแบรนด์อย่างไรให้ลูกค้าถูกใจ

USP หรือ Unique Selling Point คือ รูปแบบการเสนอขายสินค้าและบริการที่ไม่เหมือนใคร ซึ่งจะมีการอ้างอิงถึงตัวผลิตภัณฑ์ที่มีความแตกต่างและโดดเด่นกว่าคู่แข่งอย่างสิ้นเชิง ซึ่งความสำคัญของการใช้งานกลยุทธ์นี้ขึ้นอยู่กับคำถามที่ว่า “เหตุใดลูกค้าจึงต้องเลือกซื้อสินค้าและบริการของเรามากกว่าอื่น”

เนื่องจากการแข่งขันที่ดุเดือดภายในตลาดเดียวกัน การใช้งาน USP คือตัวช่วยกำหนดความต่างของเรากับคู่แข่งอย่างชัดเจน โดยการกำหนด Selling Point คือสิ่งที่เราจะต้องมั่นใจว่ากลุ่มลูกค้าจะเปลี่ยนมาเลือกซื้อเราอย่างแน่นอน


USP ได้เปรียบกับการทำธุรกิจมากแค่ไหน? 

Unique Selling Point

การใช้งาน USP คือหัวใจสำคัญต่อการแข่งขันในทางธุรกิจ ที่เป็นตัวช่วยนำไปสู่เส้นทางแห่งความสำเร็จได้ดียิ่งขึ้น เนื่องจากเป็นการเขียนแผนธุรกิจที่สร้างความโดดเด่นและมีความแตกต่างจากคู่แข่ง เพื่อดึงดูดความสนใจของกลุ่มเป้าหมายให้เข้ามาเลือกซื้อสินค้าและบริการของแบรนด์ นอกจากนี้ยังเป็นตัวช่วยในการทำธุรกิจที่สร้างการรับรู้ และสร้างอัตลักษณ์ที่แข็งแกร่ง รวมถึงช่วยให้ธุรกิจของเราสามารถโฟกัสในสิ่งที่มีความจำเป็นเพื่อการตัดสินใจการวางกลยุทธ์การตลาดอย่างถูกต้องและดีที่สุด


องค์ประกอบของ USP ที่ช่วยสร้างความได้เปรียบให้กับแบรนด์

ก่อนเริ่มต้นใช้กลยุทธ์ USP จะต้องมีการกำหนดตามองค์ประกอบอย่างชัดเจน เพื่อสร้างความได้เปรียบให้สินค้าและบริการของเราดูมีความน่าสนใจและน่าเลือกซื้อมากกว่าของคู่แข่ง ซึ่งจะมีองค์ประกอบด้วยกันทั้งหมด 6 ข้อหลัก ๆ ด้วยกัน ได้แก่

  • ความมีเอกลักษณ์ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่สุดของ USP นอกจากเป็นการสร้างจุดสนใจให้กับลูกค้าแล้ว ยังเป็นการสร้างการจดจำให้กับกลุ่มลูกค้าด้วยว่าสินค้าและบริการของเรามีเอกลักษณ์อะไรที่เป็นจุดเด่นและไม่มีใครเหมือน
  • การนำเสนอคุณค่าที่ลูกค้าจะได้จากการเลือกซื้อสินค้าและบริการ เช่น สินค้าของเรามีคุณภาพดีกว่ายังไง คุ้มค่ากับราคาที่ต้องจ่ายยังไงบ้าง 
  • การดึงดูดทางอารมณ์ที่เป็นการย้ำเข้าไปเพิ่มเติมว่าสินค้าและบริการของเรามีความแตกต่างและโดดเด่น จากการทำ USP ด้วยการออกแบบดีไซน์ผลิตภัณฑ์ หรือการดีไซน์ตัวสินค้าที่เป็นตัวดึงดูดความสนใจของกลุ่มลูกค้าได้เป็นอย่างดี
  • ความเกี่ยวข้องระหว่างสินค้าและบริการที่ลูกค้าต้องการ เนื่องจากความต้องการที่จะนำไปใช้เพื่อแก้ไขต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน ฉะนั้นการดึงจุดเด่นของสินค้าให้มีความเกี่ยวข้องกับสิ่งที่ลูกค้าต้องการก็จะช่วยดึงดูดกลุ่มลูกค้าได้ดียิ่งขึ้น
  • ความชัดเจนและรัดกุมด้วยการใช้ประโยคในการนำเสนอสินค้าที่มีความสั้น กระชับ เข้าใจง่าย เป็นการทำ USP ที่สร้างแรงกระตุ้นให้กลุ่มลูกค้ามั่นใจในการเลือกซื้อสินค้าและบริการของเรา
  • ความน่าเชื่อถือและความถูกต้องจากหลักฐานที่มี จะช่วยสร้างความมั่นใจให้กับกลุ่มลูกค้าที่มีต่อสินค้าและบริการ

5 ประเภทของ USP (Unique Selling Point) มีอะไรกันบ้าง

การสร้างจุดเด่นของสินค้าและบริการให้มีความน่าดึงดูดต่อกลุ่มลูกค้า นอกจากองค์ประกอบที่ต้องทราบ ยังต้องรู้ประเภททั้ง 5 ของ USP ว่ามีอะไรบ้างที่มีความจำเป็นต่อการใช้งาน Unique Selling Proposition ให้เกิดยอดขายที่เพิ่มขึ้น สร้างการจดจำให้ลูกค้ามากขึ้น และขยายฐานลูกค้าได้ดียิ่งขึ้น เราลองไปดูกัน

  1. USP ด้านผลิตภัณฑ์ เน้นไปที่วิธีการนำเสนอตัวสินค้าให้น่าสนใจและคู่แข่งสู้ไม่ได้
  2. USP ด้านบริการ เน้นไปที่วิธีการนำเสนองานบริการที่ดีกว่าคู่แข่ง เพื่อสร้างการดึงดูดที่มากขึ้น 
  3. USP ด้านราคา เน้นไปที่วิธีการนำเสนอความคุ้มค่าที่ลูกค้าจะได้รับ
  4. USP ด้านอัตลักษณ์ของแบรนด์ เน้นไปที่การนำเสนอความน่าเชื่อถือของแบรนด์ เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับลูกค้า
  5. USP ด้านลูกค้าเฉพาะกลุ่ม เน้นการนำเสนอสินค้ากับกลุ่มลูกค้าที่คู่แข่งให้ความสนใจน้อย

สร้างกลยุทธ์ให้โดดเด่นด้วยการใช้งาน USP ให้เป็นงาน

วิธีสร้าง USP

Unique Selling Proposition หรือ USP คือเครื่องมือสำหรับการใช้งานเพื่อสร้างความโดดเด่นที่มีความจำเป็นและสำคัญต่อการเริ่มต้นธุรกิจ แต่หากยังขาดวิธีการใช้งานให้มีประสิทธิภาพ ก็ไม่อาจสร้างแรงดึงดูดกลุ่มลูกค้าได้มากพอ ฉะนั้นลองมาศึกษาเพิ่มเติมถึงวิธีการสร้างกลยุทธ์ให้โดดเด่นจากการใช้งาน เครื่องมือนี้กัน

1. ทำความเข้าใจกลุ่มเป้าหมาย 

ต้องทำความรู้จักกลุ่มลูกค้าอย่างลึกซึ้ง เพื่อการทำ USP ที่มีประสิทธิภาพ เช่น ลูกค้าชื่นชอบทานรสชาติแบบไหน หรือนำสินค้าของเราไปแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างไร เพื่อมองหาวิธีการนำเสนอสินค้าที่สร้างจุดเด่น และตอบโจทย์ความต้องการ

2. ให้ความสำคัญกับจุดแข็ง 

กลับมาวิเคราะห์ถึงการทำธุรกิจของเราว่าเรามีจุดเด่นด้านใดที่สามารถใช้ USP ในการดึงดูดกลุ่มลูกค้าได้บ้าง สามารถผลิตได้ตามต้องการหรือไม่ และมีจุดไหนที่สามารถพัฒนาให้ดีได้มากกว่าคู่แข่ง เพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันภายในตลาดที่มากขึ้น

3. มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว 

กำหนดเอกลักษณ์ของสินค้าที่ไม่เหมือนใครเป็นส่วนสำคัญในการทำ USP มีจุดเด่นและได้เปรียบมากกว่าคู่แข่ง และสามารถตอบสนองความต้องการให้กับลูกค้าได้มากกว่าอย่างไรบ้าง เพื่อช่วยสร้างแรงดึงดูดให้กลุ่มลูกค้าได้มากยิ่งขึ้น

4. เน้นสิทธิประโยชน์ 

การทำ USP จะต้องคงไว้ทั้งคุณภาพและจุดเด่นของสินค้า เนื่องจากลูกค้ายังคำนึงถึงคุณภาพและประโยชน์ในการใช้งานเป็นหลัก ถ้าหากว่า Unique Selling Proposition ของเราราคาดีกว่า แต่คุณภาพต่ำกว่าคู่แข่ง อาจส่งผลให้การทำ USP ไม่มีประสิทธิภาพ

5. สื่อสารผ่านช่องทางต่าง ๆ อย่างสม่ำเสมอ 

การสื่อสารอย่างสม่ำเสมอพร้อมการใช้งาน USP ในทุกช่องทางมีความสำคัญ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะการสร้างความน่าเชื่อถือให้กลุ่มลูกค้า เพื่อช่วยสร้างการจดจำให้แบรนด์ได้ดียิ่งขึ้นจากการทำ USP ที่ตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้เป็นอย่างดี

6. ทดสอบและทบทวนอยู่เสมอ 

การทำ USP พร้อมกับการพัฒนาสินค้าได้ดีต้องมีการทดสอบและรับฟังความเห็นของลูกค้าเสมอ เพื่อพัฒนาสินค้าและปรับการทำ USP ให้อยู่ในความต้องการของกลุ่มลูกค้าอยู่เสมอ และสร้าง Unique Selling Point ที่เหมาะสมในการเพิ่มยอดขายไปพร้อมกัน

7. ความสอดคล้องกับคุณค่าของแบรนด์

เป็นการทำ USP ที่สร้างค่านิยมของแบรนด์ให้มีจุดยืนที่ชัดเจนในการมอบความคุ้มค่าให้กับกลุ่มลูกค้า ซึ่งเป็นตัวช่วยสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างแบรนด์และลูกค้าต่อไป


ตัวอย่างการสร้างแรงดึงดูดให้กลุ่มเป้าหมายด้วย USP 

ยกตัวอย่างการใช้งาน Unique Selling Proposition ด้วยบริษัท Delivery เจ้าหนึ่งที่ต้องใช้ทั้งความรวดเร็วในการจัดส่งอาหาร มีดังนี้

  • กลยุทธ์สร้างความโดดเด่นด้วย USP : “ส่งด่วนเร็วสุดไม่เกินครึ่งชั่วโมง ในเขตเมืองใหญ่” บริษัทนี้มุ่งเน้นการให้บริการขนส่งที่รวดเร็ว โดยเน้นบริการที่สะดวกสบายและทันใจสำหรับลูกค้าที่ต้องการอาหารหรือสิ่งของด่วน

ข้อจำกัดของ USP ที่จุดเด่นยังช่วยไม่ได้

แม้การใช้งาน USP จะเป็นประโยชน์ต่อการสร้างการจดจำ เพิ่มยอดขาย และสร้างแรงดึงดูดให้กลุ่มลูกค้าได้เป็นอย่างดี แต่ก็ยังเป็นเครื่องมือที่ยังมีข้อจำกัดอยู่พอสมควร ไม่ว่าจะเป็น

  • การใช้งาน USP ที่ดันมีความคล้ายคลึงกับคู่แข่งในสายตาผู้บริโภค และเป็นประเภทสินค้าที่สามารถใช้งานแทนกันได้ ทำให้อาจไม่ช่วยสร้างแรงดึงดูดให้กลุ่มเป้าหมายได้มากพอ
  • USP เป็นเครื่องมือที่เราใช้ได้ แต่อย่าลืมว่าคู่แข่งก็ใช้ได้เช่นกัน อีกทั้งยังเป็นประเภทสินค้าที่เหมือนกันในตลาด ส่งผลให้ลูกค้าไม่สนใจจุดเด่น แต่สนใจที่คุณภาพกับการบริการ
  • USP ที่สร้างความต่างได้ แต่ไม่เป็นที่ต้องการของกลุ่มเป้าหมาย และในตลาดไม่ให้ความสนใจกับรูปแบบนี้ ส่งผลให้ลูกค้าก็คงยังไม่สนใจและเลือกซื้อคู่แข่งตามเดิม

USP คือการสร้างจุดเด่น เพื่อความได้เปรียบในการทำแบรนด์ของเรา

การสร้างจุดเด่นของสินค้าและบริการด้วย USP ถือเป็นอีกสิ่งที่ช่วยสร้างแรงดึงดูดให้กับลูกค้า พร้อมช่วยสร้างการเติบโตของธุรกิจได้เป็นอย่างดี แต่แน่นอนว่าต้องสร้างจุดเด่นที่เป็นความต้องการ ไม่เช่นนั้นอาจเป็นการทำ USP ที่สูญเปล่า หากใครที่ยังไม่รู้ว่าควรใช้งาน USP เพื่อการเล่าเรื่องให้ตัวสินค้าอย่างไร มาสมัครคอร์สเรียน Shortcut Story Telling กับ eddu ได้เลย รับรองว่าเปลี่ยนสินค้าราคา 100 บาท ให้กลายเป็นสินค้าราคา 1,000 บาทได้จากเทคนิคการสร้างเรื่องราวให้กับสินค้าและบริการของคุณ

หากต้องการเรียนรู้วิธีเริ่มต้นธุรกิจให้มากยิ่งขึ้น อาจศึกษาเครื่องวิเคราะห์อย่าง SWOT หรือ Five Forces Model เพิ่มเติม

Copyright ©2024Eddu Group International Co.,Ltd.

หลักสูตรที่เกี่ยวข้อง

อัปสกิลไปพร้อมกับ eddu
ทีมงานพร้อมให้คำแนะนำและคำปรึกษาในการเรียน
ตลอดจนแนะนำหลักสูตรที่เหมาะสม
กับผู้เรียน ทั้งบุคคลและองค์กร