เทรนด์การทำ Brand Strategy คือสิ่งสำคัญที่เป็นการสร้างรากฐานเพื่อส่งเสริมและพัฒนาแบรนด์ของเราให้ดียิ่งขึ้นอย่างยั่งยืน แต่ต้องมีการอัปเดตความรู้เทรนด์การตลาดในทุก ๆ ปี เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วภายในตลาดการแข่งขัน ส่งผลให้การสร้าง Brand Strategy ต้องเปลี่ยนตาม เพื่อการปรับตัวให้พร้อมต่อการแข่งขันภายในตลาดอย่างต่อเนื่อง
ซึ่งการวางแผนด้วยกลยุทธ์การสร้างแบรนด์เต็มไปด้วยองค์ประกอบและเทคนิคที่จำเป็น หลายคนมักหาความรู้จักคอร์สเรียน Mini MBA เพิ่มเติม ซึ่งหากใครที่กำลังมองหาวิธีสร้างแบรนด์ด้วยการวางแผนกลยุทธ์ Brand Strategy เบื้องต้น ในบทความนี้เราเตรียมข้อมูลไว้ให้เรียบร้อย และพร้อมต่อการนำไปปรับใช้กับธุรกิจของทุกคนได้ทันที
Key Takeaways
สารบัญบทความ
Brand Strategy คือ กลยุทธ์การวางแผนเพื่อสร้างเส้นทางให้กับแบรนด์ไปสู่ความสำเร็จจากการกำหนดเป้าหมายการดำเนินธุรกิจที่ชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นขั้นตอนในการสื่อสาร ขั้นตอนในการบริการ ขั้นตอนทำการตลาด ซึ่งถือเป็นกลยุทธ์การสร้างแบรนด์ที่ช่วยกำหนดคุณค่า จุดยืน และภาพลักษณ์ที่ชัดเจน ส่งผลให้กลุ่มเป้าหมายได้รู้จักตัวตนและเป็นการสร้างการจดจำได้มากยิ่งขึ้น
แม้ทั้งสองจะมีความเชื่อมโยงกัน แต่จริง ๆ แล้ว Brand Strategy มีความแตกต่างกับ Business Strategy ในด้านของแนวทางการดำเนินงาน ขอบเขต และเป้าหมาย ซึ่งจะประกอบไปด้วย
Brand Strategy เป็นรูปแบบการวางแผนในการสร้างการเติบโตให้กับแบรนด์ในระยะยาว จากการสร้างแบบแผนที่มีความแตกต่างกันแบรนด์คู่แข่งเพื่อสร้างจุดเด่นที่น่าจดจำให้กับแบรนด์ได้อย่างชัดเจน อีกทั้งยังเป็นการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มลูกค้ากับแบรนด์จากการกำหนดวิธีสื่อสารและการบริการ ทำให้กลุ่มลูกค้าเกิดการจดจำทั้งความมีเอกลักษณ์ และการบริการที่ครอบคลุม
การวางกลยุทธ์ด้วย Brand Strategy ที่มีประสิทธิภาพ ต้องเติมเต็มด้วยองค์ประกอบทั้ง 5 อย่างครบถ้วน หากขาดส่วนใดไปก็อาจส่งผลต่อความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นได้ ซึ่งองค์ประกอบของกลยุทธ์การสร้างแบรนด์ มีดังนี้
อย่างที่ได้เกริ่นไปตั้งแต่ช่วงเริ่มต้นว่าการสร้าง Brand Strategy นั้นมีการปรับเปลี่ยนเทรนด์อยู่ตลอดเวลา จากการเปลี่ยนแปลงของตลาดการแข่งขัน คู่แข่ง และพฤติกรรมของผู้บริโภค ฉะนั้นต้องทำความรู้จักกับเทรนด์หลักทั้ง 5 เพื่อการทำกลยุทธ์สร้างแบรนด์ที่สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
หากเราเลือกซื้อสินค้าแล้วไปพบเจอเข้ากับแบรนด์ที่ดูแลลูกค้าเป็นอย่างดีทั้งก่อนและหลังการขาย มีการสื่อสารที่ดี และสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคได้ แน่นอนว่าเราก็ต้องไว้ใจและกลับมาซื้อหรือใช้บริการซ้ำอย่างแน่นอน ซึ่งถือเป็นองค์ประกอบในการทำ Brand Strategy ที่มีความสำคัญและจำเป็นต่อการทำธุรกิจเป็นอย่างมาก
การใช้ Authenticity Brand Strategy ยกตัวอย่างเช่น HOKA แบรนด์ผลิต Sport Wear เพื่อการออกกำลังกายโดยเฉพาะ ที่มีการแสดงจุดยืนในการมอบอุปกรณ์ที่มีคุณภาพ เพื่อประสิทธิภาพและความสำเร็จในการเล่นกีฬาของลูกค้าทุกคน
หากเรามองเห็นแบรนด์สินค้าที่มีความใส่ใจและรับผิดชอบต่อโลกของเรา แน่นอนว่าเราก็พร้อมสนับสนุน เพื่อบำรุงรักษาและฟื้นฟูธรรมชาติให้กลับคืนมา กลายเป็นโลกใบเดิมที่เราทุกคนคุ้นเคย ซึ่งการทำ Brand Strategy รูปแบบนี้ส่งผลให้ผู้คนตระหนักและพร้อมเป็นส่วนหนึ่งในการมีความรับผิดชอบต่อสังคม
ตัวอย่าง Sustainability Brand Strategy : Yued Pao แบรนด์เสื้อผ้าของคนไทยที่นำเศษผ้าเหลือใช้มาผลิตเป็นเสื้อ Collection “ECO TECH” ที่มีเป้าหมายเพื่อลดขยะจากการผลิตเสื้อผ้าแฟชัน
หากเราเคยได้รับบริการที่เหมาะสม มีการแนะนำสินค้าและบริการที่ตรงใจ ก็ต้องมีความรู้สึกประทับใจพร้อมกับความรู้สึกที่ได้รับความใส่ใจจากแบรนด์อย่างเต็มที่ ซึ่งการทำ Brand Strategy รูปแบบนี้ส่งผลให้กลุ่มลูกค้ารู้สึกมีความประทับใจจากการใช้บริการ และพร้อมกลับมาอีกทุกเมื่อที่ต้องการ
ตัวอย่าง Personalization Brand Strategy : Disney + แอปดูหนังสตรีมมิ่งที่ได้รับความนิยม ที่แนะนำภาพยนต์และซีรีย์ในแนวที่มีความคล้ายคลึงกันให้เราได้เลือกรับชม
หากเราไม่เคยใช้บริการหรือสินค้าของแบรนด์มาก่อน แต่หลังจากได้เข้าร่วมกิจกรรมแล้วมีความรู้สึกชื่นชอบ ใช้งานได้ดี และต้องการมาใช้ในชีวิตประจำวัน นั่นคือวิธีการสร้างความผูกพันที่ช่วยให้แบรนด์และกลุ่มลูกค้าเข้าถึงกันได้มากขึ้น ซึ่งการทำ Brand Strategy รูปแบบนี้ส่งผลให้กลุ่มลูกค้าเข้าใจถึงประสิทธิภาพ และมีความต้องการสินค้าและบริการจากการได้ร่วมกิจกรรม
ตัวอย่าง Community Brand Strategy : ไมโล แบรนด์นมช็อกโกแลตที่ไปออกบู๊ทตามโรงเรียนต่าง ๆ และให้น้องนักเรียนได้ชิมฟรี ซึ่งมีเป้าหมายให้เด็ก ๆ ชื่นชอบ ทำให้มีความรู้สึกผูกพัน กลับบ้านไปแล้วก็ขอให้ผู้ปกครองช่วยสั่งซื้อมาให้ทาน
หากเราได้พบเจอกับแบรนด์สินค้าที่ให้ความสำคัญกับความแตกต่าง ไม่ว่าจะเป็น เพศ เชื่อชาติ อายุ รสนิยม รูปร่าง เราก็ต่างมีความสนใจและต้องการเลือกซื้อสินค้า ซึ่งการทำ Brand Strategy รูปแบบนี้ส่งผลให้กลุ่มลูกค้ามีความรู้สึกว่าพวกเขาเหมือนเป็นตัวแทนสะท้อนไปยังภาพลักษณ์ที่แบรนด์ให้ความสำคัญ
ตัวอย่าง Inclusive and Diverse Brand Representation Brand Strategy : Nike แบรนด์ผลิตเสื้อผ้าและรองเท้าชั้นนำ ที่มีการใช้หุ่นลองเสื้อทั้งสีขาวและสีดำ หรือการใช้หุ่นลองเสื้อที่มีรูปร่างผอมและอ้วน ซึ่งเป็นภาพลักษณ์ของแบรนด์สร้างขึ้นเพื่อเปิดรับกลุ่มลูกค้าที่มีความหลากหลาย
ได้รู้จักกับเทรนด์ทั้ง 5 อย่างของกลยุทธ์การสร้างแบรนด์กันไปแล้ว อีกสิ่งที่เราต้องทำความเข้าใจและจำเป็นต้องหยิบมาใช้คือขั้นตอนการสร้างแบรนด์ ซึ่งจะประกอบไปด้วย
การสร้าง Brand Strategy คือการกำหนดรากฐานให้กับการสร้างแบรนด์ที่มีความจำเป็น อีกทั้งยังเป็นตัวช่วยกำหนดเส้นทางการเติบโตให้กับธุรกิจของเราได้เป็นอย่างดี ซึ่งกลยุทธ์สร้างแบรนด์ประกอบไปด้วยองค์ประกอบ เทคนิค และขั้นตอนการใช้งานที่มีความซับซ้อนพอสมควร
ซึ่งถ้าหากต้องการศึกษาให้ลึกมากยิ่งขึ้นเพื่อการพัฒนารูปแบบแผนธุรกิจ สามารถมาสมัครคอร์เรียน Shortcut Business Model เขียนแผนธุรกิจได้ใน 7 วันจากผู้สอนที่เป็นนักธุรกิจตัวจริงมากประสบการณ์ สามารถเข้ามารับชมรายละเอียดได้ที่หน้าเว็บไซต์ eddu.org
Copyright ©2024Eddu Group International Co.,Ltd.