การวางกลยุทธ์ทางธุรกิจเป็นสิ่งที่มีความสำคัญเป็นอันดับต้น ๆ ที่ส่งผลต่อการเติบโตขององค์กร ซึ่งหนึ่งในกลยุทธ์ทางการตลาดที่เราไม่ควรมองข้ามคือการวิเคราะห์คู่แข่งและสภาพการแข่งขันในตลาด ผ่านการใช้เครื่องมือ Five Forces Model เครื่องมือที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อการนี้โดยเฉพาะ
นักธุรกิจที่มีประสบการณ์ยาวนานและเคยเข้าคอร์สเรียนหลักสูตรผู้บริหารคงมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้งานเครื่องมือตัวนี้เป็นอย่างดี แต่สำหรับนักธุรกิจรุ่นใหม่ หรือยังมีประสบการณ์น้อย อาจยังไม่คุ้นหูเครื่องมือตัวนี้มากนัก ฉะนั้นเราจะพาไปศึกษากันว่า Five Forces Model เป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์ทางด้านใด แล้วมีประโยชน์มากแค่ไหนต่อการทำธุรกิจ
Key takeaways
สารบัญบทความ
Five Forces Model คือเครื่องมือสำหรับการวิเคราะห์คู่แข่ง วิเคราะห์สภาพการแข่งขันทางการตลาด และปัจจัยที่ส่งผลต่อความก้าวหน้าของธุรกิจ เพื่อให้นักธุรกิจสามารถวางแผนกลยุทธ์ทางการตลาดที่มีประสิทธิภาพเพื่อรับมือต่อคู่แข่ง และสภาพการแข่งขันของตลาดที่เปลี่ยนไป
ซึ่งเครื่องมือนี้มีชื่อเต็มคือ Porter’s Five Forces Model ถูกคิดค้นโดยศาสตราจารย์จากมหาวิทยาลัย Harvard Business School ที่มีนามว่า Michael E. Porter ซึ่งเป็นทฤษฎีรวมปัจจัยทั้ง 5 ที่ช่วยให้เราสามารถวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสทำกำไร และอัตราการแข่งขันของในแต่ละอุตสาหกรรมได้ ทำให้ทฤษฎี Five Forces Model ถือเป็นเครื่องมือที่มีความน่าสนใจและมีประโยชน์ต่อการทำธุรกิจเป็นอย่างมาก
Five Forces Model เครื่องมือวิเคราะห์คู่แข่งและสภาพการแข่งขันในตลาด ถูกแบ่งออกเป็น 5 ปัจจัยหลักที่ช่วยผลักดันให้การทำธุรกิจของเราดีขึ้นได้ ฉะนั้นเราลองมานั่งศึกษารายละเอียดของแต่ละตัวของ Five Forces Model For Competition มีอะไรบ้างที่น่าสนใจ และแต่ละปัจจัยมีการวิเคราะห์อย่างไร เราลองไปดูกัน
การพบเจอสินค้าประเภทเดียวกันที่ถูกวางขายคนละร้านค้า ถือเป็นเรื่องปกติที่เราสามารถพบเจอได้ทั่วไป โดยวิธีการสู้ตลาดแบบนี้สามารถ Brand Loyalty หรือความจงรักภักดีของแบรนด์ที่มีต่อลูกค้า เช่น การบริการหลังการขายที่ดีกว่า การรับประกันที่มากกว่า หรือการให้ของแถมที่ดีกว่า
ธุรกิจทุกรูปแบบย่อมมีคู่แข่งเกิดใหม่และเติบโตขึ้นทุกวัน ซึ่งส่งผลให้เกิดส่วนแบ่งทางการตลาดที่สูงขึ้น ซึ่งสิ่งนี้เรียกว่า “อุปสรรคในการเข้าสู่ตลาด (Barrier to Entry)” โดยอุปสรรคของการเข้าสู่ตลาดของคู่แข่งหน้าใหม่ จะถูกแบ่งออกเป็น
หากลูกค้ามีอำนาจต่อรองราคามากเท่าไหร่ ย่อมส่งผลกระทบด้านลบต่อการทำธุรกิจและผลกำไรมากเท่านั้น ซึ่งปัจจัยที่ส่งผลต่ออำนาจการต่อรองลูกค้ามีดังนี้
หากเราเป็นผู้ผลิตสินค้าหรือซัพพลายเออร์ที่ต้องดีลกับร้านค้าเพื่อนำสินค้าไปวางขาย ซึ่งแน่นอนว่าเรามีอำนาจต่อรองน้อย เนื่องจากว่าผู้ประกอบการรายใหญ่ที่ทำตลาดเกี่ยวกับร้านค้ามีจำนวนไม่มาก ส่งผลให้สินค้าไหนมีอัตราสร้างยอดขายได้น้อยก็จะไม่ได้รับเลือกให้วางขายสินค้าหน้าร้าน
ต้องมีการวิเคราะห์เสมอว่าธุรกิจของเรากลุ่มลูกค้าจะสามารถหาสินค้าเข้ามาทดแทนได้ง่ายเพียงใด ซึ่งหากหาสินค้ามาทดแทนได้ง่ายจะส่งผลต่อการทำธุรกิจที่อาจถึงขั้นต้องปิดตัวลง แต่ถ้าหากเป็นรูปแบบสินค้าที่หาทดแทนได้ยากก็อาจทำธุรกิจได้ยาว ๆ เช่น การมาถึงของ Smartphone ซึ่งเป็นเทคโนโลยีล้ำหน้ากว่าโทรศัพท์ปุ่มกด ทำให้ Smartphone เข้ามาครองตลาดแทน เป็นต้น
ได้ทราบกันไปแล้วกับ 5 ปัจจัยผลักดันที่ส่งผลต่อการวิเคราะห์คู่แข่ง และสภาพการแข่งขันในตลาด ซึ่งหลายคนอาจยังมองไม่เห็นภาพถึงข้อดีของ Five Forces Model สักเท่าไหร่ ถ้าอย่างนั้นเราจะลองมาเจาะลึกกันเพิ่มเติมว่าเครื่องมือ Five Forces Model มีอะไรบ้างที่เป็นประโยชน์ต่อการเติบโตของธุรกิจ
Five Forces Model ช่วยให้เราทราบข้อมูลระดับแข่งขันภายในตลาดถือเป็นความสำคัญอย่างมากในการวางแผนกลยุทธ์เพื่อทำธุรกิจ เนื่องจากว่าจะเป็นตัวช่วยตัดสินใจได้ว่าเราควรเข้าตลาดไหนจึงมีความเหมาะสมมากที่สุด
Five Forces Model ช่วยให้เราทราบข้อมูลจุดแข็งและจุดอ่อนทางธุรกิจของเราเอง เนื่องจากได้มีการเปรียบเทียบกับคู่แข่งทั้งเจ้าเก่าและเจ้าใหม่ภายในตลาด เพื่อนำมาปรับปรุงกลยุทธ์และพัฒนารูปแบบการทำงานขององค์กรให้ดียิ่งขึ้น
การวิเคราะห์ทั้ง 5 ปัจจัยจากเครื่องมือ Five Forces Model ช่วยให้ธุรกิจสามารถกำหนดกลยุทธ์ที่เหมาะสมเพื่อการแข่งขันภายในตลาดต่อไปได้ในระยะยาว เช่น การบริการหลังการขายที่ดีขึ้น การขยายสินค้าไปยังตลาดใหม่ที่ใช้ต้นทุนไม่สูงและมีความเสี่ยงต่ำ เป็นต้น
การประเมินถึงอุปสรรคและความเป็นไปได้ต่าง ๆ ต่อการเข้าสู่ตลาดใหม่ด้วยเครื่องมือ Five Forces Model ช่วยให้เข้าใจถึงความเสี่ยงที่ต้องพึงระวัง อีกทั้งยังเป็นตัวช่วยตัดสินใจว่าเราควรมีการผลิตสินค้าแบบไหน ที่ตอบโจทย์กับกลุ่มลูกค้าในตลาด เพื่อเป็นอีกวิธีการดึงดูดกลุ่มลูกค้าได้มากขึ้น
Five Forces Model ช่วยพิจารณาอำนาจในการต่อรองของทั้งกลุ่มลูกค้าและซัพพลายเออร์ได้ทำให้ธุรกิจสามารถมองเห็นภาพรวมของแรงกดดันจากทั้งสองฝ่าย และสามารถวางกลยุทธ์ในการจัดการกับอำนาจเหล่านี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
กรณีศึกษา Five Forces Model เราลองยกตัวอย่างกรณีศึกษากับแบรนด์รองเท้าระดับโลกอย่าง Nike มาวิเคราะห์ได้ดูเพื่อให้เห็นภาพมากขึ้น ดังนี้
1. การแข่งขันในตลาดเดียวกัน (Industry Rivalry)
2. ภัยคุกคามจากผู้แข่งขันรายใหม่ (Threat of New Entrants)
3. อำนาจต่อรองของลูกค้า (Bargaining Power of Customers)
4. อำนาจต่อรองของซัพพลายเออร์ (Bargaining Power of Suppliers)
5. ภัยคุกคามจากสินค้าทดแทน (Threat of Substitute Products or Services)
การใช้เครื่องมือ Five Forces Model ถือเป็นเครื่องมือที่ช่วยวิเคราะห์คู่แข่ง และสภาพการแข่งขันในตลาด เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาปรับกลยุทธ์การเดินทางขององค์กรเราได้อย่างดี ซึ่งถ้าหากใครที่ต้องการเรียนรู้ให้ลึกขึ้น เข้าใจเทคนิคการใช้งานได้ดีขึ้น พร้อมฟังกรณีศึกษาจากหลายเคส สามารถเข้ามาสมัครคอร์สหลักสูตรผู้บริการจาก eddu ได้เลย การันตีจัดเต็มทุกเนื้อหา พร้อมอัปเดตความรู้ใหม่ ๆ ที่รับรองได้ว่าไม่เสียเวลาเปล่าแน่นอน
Copyright ©2024Eddu Group International Co.,Ltd.