โลกที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วทางด้านเทคโนโลยี พฤติกรรมของผู้บริโภค และการแข่งขันภายในตลาด ส่งผลให้รูปแบบการทำงานหลายองค์กรเริ่มเปลี่ยนไป โดยใช้แนวคิด Agile ซึ่งก็คือแนวทางการทำงานที่เน้นความรวดเร็ว ยืดหยุ่น และมีการปรับเปลี่ยนอย่างต่อเนื่อง เพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของโลกที่รวดเร็ว
สำหรับเพื่อน ๆ ที่ผ่านการเรียนหลักสูตรผู้บริหารน่าจะคุ้นหูกับหลักการทํางานแบบ Agile กันดีว่า คือบทเรียนในคอร์ส Agile สร้างระบบการบริหารจัดการทรัพยากรบุคคลได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่สำหรับท่านอื่นที่พึ่งเคยได้ยินแนวคิดนี้ และมาเจอบทความนี้ เราจะลองพาไปทำความรู้จักเพิ่มเติมกันว่า Agile Mindset คืออะไร มีระบบการทำงานรูปแบบไหน แล้วสำคัญอย่างไรต่อการพัฒนาองค์กร
Key Takeaways
สารบัญบทความ
แนวคิดหลักการทำงาน Agile คือการปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงานขององค์กรที่เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานด้วยการลดขั้นตอนการสั่งการด้วยการแบ่งงานพร้อมตั้งเป็นกลุ่มเล็ก ๆ หลายครั้ง โดยที่ไม่มีการจำกัดตำแหน่ง เพื่อมาทำงานร่วมกันตามเป้าหมายในระยะสั้น
กลยุทธ์ Agile คือวิธีที่เปรียบเสมือนการวิ่งระยะสั้น แต่ไปถึงเป้าหมายได้เร็ว ซึ่งวิธีนี้เป็นการช่วยให้มองเห็นข้อผิดพลาดและสามารถแก้ไขได้อย่างรวดเร็ว จากการทำงานที่ถูกแบ่งเป็นสัดส่วนเล็ก ๆ ทำให้หลักการทำงานแบบ Agile ถือว่ามีความน่าสนใจมากเลยทีเดียว
จุดเริ่มต้นของหลักการทำงานแบบ Agile คือการรวมตัวกันของพนักงานที่มองหาวิธีเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานจากรูปแบบเดิม ๆ ซึ่งได้ข้อสรุปแนวคิดการทำงานแบบนี้ในชื่อเต็มว่า Agile Manifesto คือถ้อยคำแถลงแห่ง Agile และ Agile Software Development คือรูปแบบของ 12 Agile Principles โดยแบ่งเป็นรูปแบบ ดังนี้
หลักการทำงานแบบ Agile ยังมีการแบ่งกรอบการทำงานที่เรียกว่า Agile Methodology คือการปรับสภาพตามความต้องการของลูกค้า มีรูปแบบการทำงานที่ยืดหยุ่น ซึ่งประกอบไปด้วย 3 ส่วน ได้แก่
เป็นกรอบการทำงานที่โฟกัสปัญหาเป็นหลัก เพื่อหาสาเหตุที่มีความซับซ้อนและดำเนินการเปลี่ยนแปลงได้อย่างถูกจุด ซึ่งข้อดีขององค์ประกอบ Scrum ในการทำแบบ Agile นั่นก็คือเพื่อสร้าง Team Work ในการทำงานยิ่งขึ้น
เป็นกรอบการทำงานที่ตัดสิ่งที่ไม่จำเป็นออก และแบ่งเป็นทีมเล็ก ๆ ในทำงานร่วมกัน เพื่อลดกระบวนการที่มีความวุ่นวาย และลดการใช้ทรัพยากรอย่างสิ้นเปลือง ซึ่งข้อดีของ Agile ตัวนี้คือสามารถช่วยให้ทำงานได้เร็วขึ้น สะดวกมากขึ้น และลดงบประมาณบริษัทได้
เป็นกรอบการทำงานที่เน้นประสิทธิภาพของชิ้นงานที่ดำเนินการเสร็จสิ้น โดยจะมีการแบ่งทีมย่อย เพื่อช่วยลดเวลาในการตัดสินใจ และดึงเทคโนโลยีมาใช้เพื่อช่วยให้ทุกคนทำงานสะดวกยิ่งขึ้น และสามารถตรวจได้ว่างานของแต่ละกลุ่มไปถึงไหนแล้ว
หลายคนได้เห็นประสิทธิภาพและเข้าใจกันแล้วว่า Agile คืออะไร แต่แน่นอนว่าการปรับรูปแบบการทำงานขององค์กรใหม่ไมใช่เรื่องง่าย ฉะนั้นลองมาดู 5 วิธีการปรับรูปแบบการทำงานภายในองค์กรด้วยแนวคิด Agile มาให้แล้ว ลองมาดูกันว่ามีขั้นตอนอย่างไรบ้าง
การปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงานด้วยแนวคิด Agile ต้องวิเคราะห์และตรวจสอบพนักงานภายในทีมว่ามีคุณสมบัติเพียงพอหรือไม่ ซึ่งคุณสมบัติที่ต้องมีสำหรับการทำงานภายใต้แนวคิด Agile คือ…
Agile Organization คือรูปแบบการทำงานขององค์กรที่สามารถตอบสนองและเปลี่ยนแปลงตามทันโลกได้อย่างรวดเร็ว จากการปรับเปลี่ยนทั้งแนวคิดและทัศนคติ หากต้องการปรับองค์กรให้เป็นไปตามแนวทาง Agile ต้องเริ่มด้วยวิธีตามนี้!
การปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงานในองค์กรภายใต้แนวคิด Agile คือสิ่งที่มีความน่าสนใจ ซึ่งหลายคนมองว่าดูเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพ แต่แน่นอนว่าการทำงานในรูปแบบนี้ยังมีทั้งข้อดีและข้อเสียที่ไม่ควรมองข้าม โดยข้อดีและข้อเสียของการทำงานแบบ Agile Team คืออะไรบ้างมาดูกัน
หลายคนอาจยังไม่เห็นภาพอย่างชัดเจนว่า Agile คือเครื่องมือที่ควรหยิบมาใช้งานอย่างไร ซึ่งเรานำกรณีศึกษาของ 2 องค์กรมาให้ทุกคนทำความเข้าใจ มาดูกันครับ
Spotify มีรูปแบบการใช้งาน Agile Model คือดึงเอาโมเดลทั้ง 4 ตัวที่เรียกว่า Squads, Tribes, Chapters และ Guilds ซึ่งการทำงานแต่ละ Squad จะคล้ายกับการทำงานใน Agile Scrum คือการมุ่งเน้นการพัฒนาฟีเจอร์ที่มีคุณค่าให้กับลูกค้าในระยะเวลาสั้นๆ (iterative delivery) เพื่อการรักษาวัฒนธรรมที่เปิดกว้างและยืดหยุ่น
รูปแบบการใช้งาน Agile Leadership ของ Microsoft คือรูปแบบที่นำทีมโดย Satya Nadella ซึ่งมีการใช้ Agile Scrum ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของตน รวมถึงการพัฒนาเครื่องมืออย่าง Azure DevOps เพื่อรองรับการทำงานแบบ Agile รวมถึงการส่งเสริมให้มีการทำงานร่วมกันอย่างเปิดเผยระหว่างทีมพัฒนาและผู้ใช้งาน รวมถึงให้ความสำคัญกับฟีดแบ็คจากลูกค้าในทุกๆ ขั้นตอนของการพัฒนา
Agile คือเครื่องมือเพื่อการเปลี่ยนแปลงระบบการทำงานขององค์กรที่มีประสิทธิภาพ แต่มีความเหมาะสมกับองค์กรที่ไม่ใหญ่มาก หรือองค์กรที่ยังมีการจัดการทำงานไม่ดีพอ ซึ่งหากผู้บริหารท่านไหนต้องการเรียนรู้กลยุทธ์การใช้งาน Agile ให้ลึกยิ่งขึ้น สามารถเข้ามาเรียนหลักสูตร Agile Project Management จาก eddu ได้เลยครับ รับรองว่าสามารถนำความรู้ไปปรับใช้กับองค์กรได้อย่างยั่งยืน
Copyright ©2024Eddu Group International Co.,Ltd.